รัฐบุรุษผู้ไร้แผ่นดิน (จบ)
อาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล
ความกล้าหาญความเด็ดเดี่ยวที่(ท่านอาจารย์ปรีดี)ไม่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวเหนือผลประโยชน์ส่วนรวมนั้น จนถึงสงครามโลกตอนนั้นท่านอาจารย์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านจะต้องทำงานที่เราเรียกว่า เป็นขบวนการใต้ดินเพื่อจะต่อสู้กับญี่ปุ่น เพราะว่าญี่ปุ่นมายึดครองประเทศ โชคดีว่าญี่ปุ่นนั้นยอมแพ้สงครามก่อนที่จะเกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายเสรีไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นในประเทศ เพราะฉะนั้นก็มีคนพูดว่าทำให้หญิงไทยพ้นจากการเป็นหม้ายไปหลายพันคน
แต่ช่วงระหว่างปี ๒๔๘๔ ถึง ๒๔๘๘ เราลองนึกภาพในเวลา ๔ ปี ต้องทำงานที่จะสู้กับญี่ปุ่นอย่างใต้ดิน มันจะต้องเกิดความเครียดความวิตกกังวลสักแค่ไหน ถ้าได้อ่านจดหมายส่วนตัวและก็ได้คุยกับบุคคลที่ร่วมในขบวนการเสรีไทย เราก็จะรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เป็นเรื่อง ง่าย ๆที่ใครจะตัดสินใจที่จะอุทิศ นี่จะต้องเป็นการยอมอุทิศชีวิตเพื่อประเทศชาติ
และก็มีหลาย ๆ ครั้ง เกี่ยวกับญี่ปุ่น ซึ่งมันเกิดขึ้นในอินโดจีน เชิญพวกที่จะต่อต้านญี่ปุ่นไปกินเลี้ยง แล้วก็จัดการสั่งเก็บเสียให้หมด ผมยกกรณีที่จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงและเด็ดเดี่ยวของท่านอาจารย์
เอาอีกกรณีที่เป็นกรณีส่วนตัว ผมเองเคยท้อถอยเกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย สิ่งนี้ผมอาจจะมีความรู้สึกร่วมกันหลาย ๆ คนก็ได้ว่า ทำไมมันถึงไม่เป็นอย่างที่มันควรจะเป็น ทำไมมันเป็นยังงี้ เราจะทำอะไรดี ผมเคยพูดกับท่านอาจารย์ด้วยน้ำเสียงของความท้อถอย ท่านอาจารย์เหมือนกับโกรธนิด ๆ ว่า นี่คุณยอมแพ้แล้วหรือ คุณท้อถอยแล้วหรือ ตอนที่ท่านพูดนั้นท่านอายุ ๗๐ ปลาย ๆ พูดกับผมเมื่อยังอายุไม่ถึง ๓๐ มันน่าอายสำหรับคนหนุ่ม ๆ ที่จะให้คนแก่ขนาดอายุ ๗๐ ตักเตือนถึงความจะไม่ท้อถอย ความจะต้องเอาจริงเอาจังต่อไปเพื่อส่วนรวมผมยังอายท่านจนถึงบัดนี้
ผมมีความรู้สึกร่วมกับอาจารย์วิชิตวงศ์ ที่รู้สึกว่าเวลาคุยกับท่านอาจารย์แล้วรู้สึกเหมือนเด็ก ว่าไม่รู้อะไรเลย ผมขอเล่าเรื่องส่วนตัวนิดหนึ่ง เมื่อสมัยที่ผมเรียนทางสังคมศาสตร์ใหม่ ๆ นี่ทำเป็นนักดาบหนุ่มทั้ง ๆ ที่ว่าเรียนเพลงดาบมาไม่กี่เพลง ทำเป็นนึกว่าตัวเองรู้แล้ว เก่งแล้ว เหมือนกับสุภาษิตไทยว่า “รู้น้อยว่ารู้มากเริงใจ” ก็ไปพบกับท่านอาจารย์ปรีดี ผมก็ “ปะทะคารม” เพราะอยากจะดูสิว่าปรีดี พนมยงค์ที่มีชื่อเสียงหนักหนานั้นจะสักแค่ไหน ตอนนั้นอายุ ๒๕ ได้กระมัง ลองวาดภาพถ้าเกิดใครดูหนังจีนบ่อย ๆ นักดาบที่ไม่เป็นเพลง ไม่เป็นอะไรเลย เป็นแต่เบื้องต้น เข้าไปท้าฟันดาบกับปรมาจารย์ผู้งำประกาย บนยอดภูเขานักดาบวัยเยาว์นี่ก็รำเพลงกระบี่ เพลงดาบเสียใหญ่โต ท่านอาจารย์เพียงโบกชายแขนเสื้อเบา ๆ เท่านั้น นักดาบหนุ่มก็ถูกพลังลมหอบกลิ้งลงเขาอย่างไม่เป็นท่า ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนให้ลดความโอหังและคิดว่าตัวเองรู้ ลงมาอีกหลาย ๆๆ เท่า และจำได้ว่าหลังจากพบท่านครั้งนั้นแล้ว ต้องกลับไปอ่านหนังสืออีกหลาย ๆ เล่ม
พร้อมกับพบท่านอาจารย์ครั้งต่อไป ต้องกลับมาอ่านหนังสืออีกหลาย ๆ เล่ม ทุกครั้งไป อันนี้พูดด้วยฉันทาคติ ผมรับตั้งแต่แรกว่าพูดด้วยฉันทาคติแต่ว่าเป็นฉันทาคติที่เป็นหลักฐานที่ปฏเสธไม่ได้ คือ ข้อเขียนของท่านต่าง ๆ ในด้านเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายตราสามดวงที่ท่านชำระ กฎหมายพาณิชย์ที่ท่านมีส่วน กฎหมายปกครอง ในฐานะนักปรัชญา มีหนังสือที่ผมว่านักศึกษาอาจจะได้อ่านหรือน่าจะอ่าน “ความเป็นอนิจจังของสังคม”งานเหล่านี้เป็นงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้ลอกมาจากที่อื่น ขอใช้ภาษาอังกฤษว่าเป็น “Original” ในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มสุดท้ายที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ท่านเขียน “เรื่องมหาราชและรัตนโกสินทร์” ท่านที่ได้อ่านแล้วคงเห็นภูมิปัญญาที่มีความรู้ลึกซึ้งขนาดไหนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ ที่พิมพ์เป็นเล่มนี้เป็นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีไทย(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) แต่พณฯนายกไม่ได้ตอบนะ.
ความกล้าหาญความเด็ดเดี่ยวที่(ท่านอาจารย์ปรีดี)ไม่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวเหนือผลประโยชน์ส่วนรวมนั้น จนถึงสงครามโลกตอนนั้นท่านอาจารย์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านจะต้องทำงานที่เราเรียกว่า เป็นขบวนการใต้ดินเพื่อจะต่อสู้กับญี่ปุ่น เพราะว่าญี่ปุ่นมายึดครองประเทศ โชคดีว่าญี่ปุ่นนั้นยอมแพ้สงครามก่อนที่จะเกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายเสรีไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นในประเทศ เพราะฉะนั้นก็มีคนพูดว่าทำให้หญิงไทยพ้นจากการเป็นหม้ายไปหลายพันคน
แต่ช่วงระหว่างปี ๒๔๘๔ ถึง ๒๔๘๘ เราลองนึกภาพในเวลา ๔ ปี ต้องทำงานที่จะสู้กับญี่ปุ่นอย่างใต้ดิน มันจะต้องเกิดความเครียดความวิตกกังวลสักแค่ไหน ถ้าได้อ่านจดหมายส่วนตัวและก็ได้คุยกับบุคคลที่ร่วมในขบวนการเสรีไทย เราก็จะรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เป็นเรื่อง ง่าย ๆที่ใครจะตัดสินใจที่จะอุทิศ นี่จะต้องเป็นการยอมอุทิศชีวิตเพื่อประเทศชาติ
และก็มีหลาย ๆ ครั้ง เกี่ยวกับญี่ปุ่น ซึ่งมันเกิดขึ้นในอินโดจีน เชิญพวกที่จะต่อต้านญี่ปุ่นไปกินเลี้ยง แล้วก็จัดการสั่งเก็บเสียให้หมด ผมยกกรณีที่จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงและเด็ดเดี่ยวของท่านอาจารย์
เอาอีกกรณีที่เป็นกรณีส่วนตัว ผมเองเคยท้อถอยเกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย สิ่งนี้ผมอาจจะมีความรู้สึกร่วมกันหลาย ๆ คนก็ได้ว่า ทำไมมันถึงไม่เป็นอย่างที่มันควรจะเป็น ทำไมมันเป็นยังงี้ เราจะทำอะไรดี ผมเคยพูดกับท่านอาจารย์ด้วยน้ำเสียงของความท้อถอย ท่านอาจารย์เหมือนกับโกรธนิด ๆ ว่า นี่คุณยอมแพ้แล้วหรือ คุณท้อถอยแล้วหรือ ตอนที่ท่านพูดนั้นท่านอายุ ๗๐ ปลาย ๆ พูดกับผมเมื่อยังอายุไม่ถึง ๓๐ มันน่าอายสำหรับคนหนุ่ม ๆ ที่จะให้คนแก่ขนาดอายุ ๗๐ ตักเตือนถึงความจะไม่ท้อถอย ความจะต้องเอาจริงเอาจังต่อไปเพื่อส่วนรวมผมยังอายท่านจนถึงบัดนี้
ผมมีความรู้สึกร่วมกับอาจารย์วิชิตวงศ์ ที่รู้สึกว่าเวลาคุยกับท่านอาจารย์แล้วรู้สึกเหมือนเด็ก ว่าไม่รู้อะไรเลย ผมขอเล่าเรื่องส่วนตัวนิดหนึ่ง เมื่อสมัยที่ผมเรียนทางสังคมศาสตร์ใหม่ ๆ นี่ทำเป็นนักดาบหนุ่มทั้ง ๆ ที่ว่าเรียนเพลงดาบมาไม่กี่เพลง ทำเป็นนึกว่าตัวเองรู้แล้ว เก่งแล้ว เหมือนกับสุภาษิตไทยว่า “รู้น้อยว่ารู้มากเริงใจ” ก็ไปพบกับท่านอาจารย์ปรีดี ผมก็ “ปะทะคารม” เพราะอยากจะดูสิว่าปรีดี พนมยงค์ที่มีชื่อเสียงหนักหนานั้นจะสักแค่ไหน ตอนนั้นอายุ ๒๕ ได้กระมัง ลองวาดภาพถ้าเกิดใครดูหนังจีนบ่อย ๆ นักดาบที่ไม่เป็นเพลง ไม่เป็นอะไรเลย เป็นแต่เบื้องต้น เข้าไปท้าฟันดาบกับปรมาจารย์ผู้งำประกาย บนยอดภูเขานักดาบวัยเยาว์นี่ก็รำเพลงกระบี่ เพลงดาบเสียใหญ่โต ท่านอาจารย์เพียงโบกชายแขนเสื้อเบา ๆ เท่านั้น นักดาบหนุ่มก็ถูกพลังลมหอบกลิ้งลงเขาอย่างไม่เป็นท่า ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนให้ลดความโอหังและคิดว่าตัวเองรู้ ลงมาอีกหลาย ๆๆ เท่า และจำได้ว่าหลังจากพบท่านครั้งนั้นแล้ว ต้องกลับไปอ่านหนังสืออีกหลาย ๆ เล่ม
พร้อมกับพบท่านอาจารย์ครั้งต่อไป ต้องกลับมาอ่านหนังสืออีกหลาย ๆ เล่ม ทุกครั้งไป อันนี้พูดด้วยฉันทาคติ ผมรับตั้งแต่แรกว่าพูดด้วยฉันทาคติแต่ว่าเป็นฉันทาคติที่เป็นหลักฐานที่ปฏเสธไม่ได้ คือ ข้อเขียนของท่านต่าง ๆ ในด้านเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายตราสามดวงที่ท่านชำระ กฎหมายพาณิชย์ที่ท่านมีส่วน กฎหมายปกครอง ในฐานะนักปรัชญา มีหนังสือที่ผมว่านักศึกษาอาจจะได้อ่านหรือน่าจะอ่าน “ความเป็นอนิจจังของสังคม”งานเหล่านี้เป็นงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้ลอกมาจากที่อื่น ขอใช้ภาษาอังกฤษว่าเป็น “Original” ในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มสุดท้ายที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ท่านเขียน “เรื่องมหาราชและรัตนโกสินทร์” ท่านที่ได้อ่านแล้วคงเห็นภูมิปัญญาที่มีความรู้ลึกซึ้งขนาดไหนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ ที่พิมพ์เป็นเล่มนี้เป็นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีไทย(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) แต่พณฯนายกไม่ได้ตอบนะ.
No comments:
Post a Comment