บทความเนื่องในวาระ ๗๕ ปีการอภิวัฒน์การปกครอง
แผนลิดลอนปรีดี พนมยงค์
ตอนที่ ๑ ความผิดพลาดครั้งแรกหลังการอภิวัฒน์
การที่คณะราษฎร หรือ คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) นั้นมีผู้วิเคราะห์ว่าเพื่อเป็นการประนีประนอมกับกลุ่มพระราชวงศ์หรือกลุ่มเจ้ามากขึ้น เพราะพระยามโนเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และภรรยาของพระยามโนยังเป็นนางสนองพระโอษฐของพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทั้งนี้เพื่อจะให้มีการประสานกันระหว่างคณะผู้ก่อการฯ กับพระปกเกล้าฯ จะได้บริหารราชการไปโดยราบรื่น
ในตอนแรก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เสนอพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นอัครมหาเสนาบดี คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี)แต่ที่ประชุมไม่เห็นชอบเพราะเห็นว่าพระองค์เจ้าบวรเดชจะบริหารไปแบบเผด็จการ ที่ประชุมส่วนใหญ่จึงเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตามที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)เป็นผู้เสนอ ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นการหนีเสือ ปะจระเข้ ซึ่งภายหลังต่อมาท่านปรีดีฯเองก็ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของท่านว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าผู้เดียวที่ทำผิดในการเสนอคณะราษฎรให้เชิญพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นหัวหน้ารัฐบาล เพระสมาชิกคณะราษฎรอื่นๆ มิได้คุ้นเคยกับพระยามโนปกรณ์ฯ มาก่อนเท่ากับข้าพเจ้าที่ได้เคยร่วมงานกับท่านผู้นี้ในการร่างกฎหมาย และในการร่วมเป็นกรรมการสอบไล่นักเรียนกฎหมายหลายครั้ง จึงได้มีการสนทนากับท่านผู้นี้ที่แสดงว่าท่านนิยมประชาธิปไตย และการปฏิบัติของท่านในระหว่างเป็นอธิบดีศาลอุธรณ์นั้นแสดงว่า ท่านกล้าตัดสินคดีโดยมิได้เกรงกลัวอำนาจสมบูรณาฯ ซึ่งนักเรียนกฎหมายหลายคนในเวลานั้นได้นิยมชมชอบท่าน
ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านมีลักษณะต่างกับหยวนซีไข ที่เคยทรยศพระเจ้าจักรพรรดิกวงสูของจีน ข้าพเจ้ามีความผิดที่มิได้วิจารณ์ลึกซึ้งว่า พระยามโนปกรณ์ฯ เป็นบุคคลที่มีซากความคิดแห่งระบอบเก่าเหลืออยู่มาก แต่ข้าพเจ้าขอให้ความเป็นธรรมแก่พระยามโนปกรณ์ฯ ว่า ถ้าโดยลำพังท่านผู้เดียวแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะกระทำการโต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยได้ หากท่านได้รับความสนับสนุนจากบางส่วนของคณะราษฎรเองที่มีทรรศนะอันเป็นซากตกค้างมาจากระบอบเก่าและบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นขุนนางเก่าที่ได้รับเชิญให้เข้ามาร่วมรัฐบาล
ความผิดพลาดของข้าพเจ้าดังกล่าวย่อมเป็นบทเรียนของศูนย์นิสิตนักศึกษาและนักเรียนและชนรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่จะไม่ทำผิดซ้ำอีก”
แผนลิดลอนปรีดี พนมยงค์
ตอนที่ ๑ ความผิดพลาดครั้งแรกหลังการอภิวัฒน์
การที่คณะราษฎร หรือ คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) นั้นมีผู้วิเคราะห์ว่าเพื่อเป็นการประนีประนอมกับกลุ่มพระราชวงศ์หรือกลุ่มเจ้ามากขึ้น เพราะพระยามโนเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และภรรยาของพระยามโนยังเป็นนางสนองพระโอษฐของพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทั้งนี้เพื่อจะให้มีการประสานกันระหว่างคณะผู้ก่อการฯ กับพระปกเกล้าฯ จะได้บริหารราชการไปโดยราบรื่น
ในตอนแรก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เสนอพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นอัครมหาเสนาบดี คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี)แต่ที่ประชุมไม่เห็นชอบเพราะเห็นว่าพระองค์เจ้าบวรเดชจะบริหารไปแบบเผด็จการ ที่ประชุมส่วนใหญ่จึงเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตามที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)เป็นผู้เสนอ ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นการหนีเสือ ปะจระเข้ ซึ่งภายหลังต่อมาท่านปรีดีฯเองก็ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของท่านว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าผู้เดียวที่ทำผิดในการเสนอคณะราษฎรให้เชิญพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นหัวหน้ารัฐบาล เพระสมาชิกคณะราษฎรอื่นๆ มิได้คุ้นเคยกับพระยามโนปกรณ์ฯ มาก่อนเท่ากับข้าพเจ้าที่ได้เคยร่วมงานกับท่านผู้นี้ในการร่างกฎหมาย และในการร่วมเป็นกรรมการสอบไล่นักเรียนกฎหมายหลายครั้ง จึงได้มีการสนทนากับท่านผู้นี้ที่แสดงว่าท่านนิยมประชาธิปไตย และการปฏิบัติของท่านในระหว่างเป็นอธิบดีศาลอุธรณ์นั้นแสดงว่า ท่านกล้าตัดสินคดีโดยมิได้เกรงกลัวอำนาจสมบูรณาฯ ซึ่งนักเรียนกฎหมายหลายคนในเวลานั้นได้นิยมชมชอบท่าน
ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านมีลักษณะต่างกับหยวนซีไข ที่เคยทรยศพระเจ้าจักรพรรดิกวงสูของจีน ข้าพเจ้ามีความผิดที่มิได้วิจารณ์ลึกซึ้งว่า พระยามโนปกรณ์ฯ เป็นบุคคลที่มีซากความคิดแห่งระบอบเก่าเหลืออยู่มาก แต่ข้าพเจ้าขอให้ความเป็นธรรมแก่พระยามโนปกรณ์ฯ ว่า ถ้าโดยลำพังท่านผู้เดียวแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะกระทำการโต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยได้ หากท่านได้รับความสนับสนุนจากบางส่วนของคณะราษฎรเองที่มีทรรศนะอันเป็นซากตกค้างมาจากระบอบเก่าและบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นขุนนางเก่าที่ได้รับเชิญให้เข้ามาร่วมรัฐบาล
ความผิดพลาดของข้าพเจ้าดังกล่าวย่อมเป็นบทเรียนของศูนย์นิสิตนักศึกษาและนักเรียนและชนรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่จะไม่ทำผิดซ้ำอีก”
No comments:
Post a Comment