ความเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย บทเรียนของพุทธศาสนิกชนชาวไทย
บทที่ ๑ พุทธ-พลังท้าทายอำนาจพราหมณ์
ชาวฮินดูในอินเดียหลายคนมักพูดกันว่า ศาสนาฮินดูกับพระพุทธศาสนาเหมือนกันและเป็นศาสนาเดียวกัน โดยมีคำอธิบายว่า “ศาสนาทั้งสองเกิดในอินเดียเหมือนกัน ศาสนิกของทั้ง ๒ ศาสนาเมื่อตายไปแล้ว ก็นิยมเผาเหมือนกัน มีการทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตายเช่นเดียวกัน ทั้งพระพุทธเจ้าเองก็เป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุด้วย”
ความคิดเช่นนี้ค่อนข้างเป็นสากลในอินเดีย คือเป็นความคิดที่ผู้คนยอมรับทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนิกชนชาวฮินดู ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ฟังดูผิวเผินจะเห็นว่า ชาวฮินดูมีทัศนคติที่ค่อนข้างดีต่อพระพุทธศาสนา และมีความประนีประนอมในแนวความคิดอยู่มาก ทัศนคติเช่นนี้นอกจากจะไม่แสดงความเป็นศัตรูแล้ว ยังมีท่าทีดูประหนึ่งเป็นมิตรสนิทสนมเสียด้วยซ้ำ แต่เมื่อเราศึกษาลงลึกไปจึงพบว่า แท้จริงแล้ว ท่าทีเช่นนี้พัฒนามาจากสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ศาสนาฮินดูถือพระพุทธศาสนาเป็นศัตรู และท่าทีเช่นนี้แหละที่ได้ทำลายพระพุทธศาสนาในอินเดียมาโดยตลอด ทั้งยังเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดียอย่างสิ้นเชิงด้วย
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียทำให้เราได้ทราบว่า ในยุคพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระสัทธรรม พระองค์ทรงได้รับการต่อต้านจากพวกคณาจารย์เจ้าลัทธิในศาสนาพราหมณ์และบรรดาพวกพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอันมาก การต่อต้านนั้นเป็นไปในหลายรูปแบบ เช่น โจมตีโต้ตอบคำสอนของพระพุทธองค์โดยส่งลูกศิษย์ไปประวาทะกับพระองค์หรือประวาทะกับสาวกองค์สำคัญ ๆ บ้าง ท้าพระพุทธองค์โต้วาทะบ้าง ท้าประลองอิทธิฤทธิบ้าง กระทั่งใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธองค์และพระสาวกทั้งในด้านหลักธรรม คำสอน วัตรปฏิบัติ รายละเอียดในเรื่องเหล่านี้มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
พระพุทธองค์ได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์เหล่านั้นด้วยพระเมตตาธรรมและขันธิธรรมโดยตลอด ทั้งยังสั่งสอนให้พระสงฆ์ตั้งอยู่ในคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านั้นด้วย ดังปรากฏในพระโอวาทปาติโมกข์ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทานกลางที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตซึ่งถือได้ว่าเป็นแม่บทกแห่งการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนามีลักษณะเอื้อเฝื้ออดกลั้น และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเมตตากรุณามาโดยตลอด ไม่มีการเผยแผ่ด้วยการบีบบังคับหรือทำทารุณกรรมดังที่ศาสนากระทำเลย
แม้ในสมัยหลังพุทธกาล พวกพราหมณ์ก็ยังคงดำเนืนการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง มีเหตุผลสำคัญ ๔ ประการที่เป็นแรงจูงใจคือ
๑. พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับคัมภีร์พระเวท ซึ่งพวกพราหมณ์ถือกันว่าเป็นแม่บทอันศักดิ์สิทธิ์ที่เทพเจ้าประทานมาให้มวลมนุษย์ พระพุทธศาสนาปฏิเสธคำสอนอันไร้สาระของคัมภีร์พระเวท เช่นสอนให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ สอนให้สวดมนต์อ้อนวอนและประกอบพิธีบูชาบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งมีดาษดื่นในสมัยนั้น
๒.พระพุทธศาสนามีคำสอนและแนวปฏิบัติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคำสอนของพวกพราหมณ์คณาจารย์ทั้งสอนที่สอนกันอยู่ในสมัยนั้น พวกพราหมณ์เห็นว่านี่เป็นการท้าทายอำนาจทางความคิดของพวกตน เพราะในสมัยก่อนพุทธกาลความคิดของประชาชนในสังคมล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำของพวกพราหมณ์ทั้งสิ้น พระพุทธองค์และพระพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งการปฏิบัติทางความคิดที่สะเทือนฐานะของพวกพราหมณ์โดยตรง
๓. พระพุทธศาสนาปฏิเสธระบบวรรณะที่พวกพราหมณ์บัญญัติขึ้น พระองค์ไม่ยอมรับฐานะของพวกพราหมณ์ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าสูงส่ง ระบบวรรณะเป็นโครงสร้างทางสังคมของพวกพราหมณ์โดยที่พวกพราหมณ์ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยในสังคมได้ตั้งตนอยู่ในฐานะสูงส่งเหนือกว่าชนชั้นวรรณะอื่น ๆ อาศัยคัมภีร์พระเวทและบทบัญญัติต่าง ๆ ทางศาสนามาเป็นเครื่องมือในการกดขี่เอารัดเอาเปรียบสังคมซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พระพุทธองค์ทรงประณามไว้อย่างรุนแรง สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก
๔. การเจริญเติบโตอย่างรวมเร็วของพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นเหตุให้ฐานะทางสังคมของพวกพราหมณ์ตกต่ำลงแล้ว ยังทำให้พวกพราหมณ์เสื่อมจากลาภสักการะที่เคยได้รับ เพราะเหล่าพราหมณ์คณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงได้ออกบวชเป็นภิกษุในบวรพุทธศาสนา ทำให้สำนักเหล่านั้นต้องปิดตัวลง ก็ซ้ำเติมให้สถานะของพวกพราหมณ์ตกต่ำลงไปอีก
ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงพยายามทุกทางโดยดำเนินกลอุบายในการทำลายล้างพระพุทธศาสนา วิธีการที่ใช้นั้นมีทั้งที่เป็นการบ่อนทำลายแอบแฝงและการใช้ความรุนแรง เช่น ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์และเหล่าเดียรถีย์นอกพุทธศาสนาได้ปลอมตนเข้ามาบวชในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก เพื่อเสวยลาภผลสักการะแห่งพระราชูปถัมภ์และศรัทธาของพุทธบริษัท แต่พวกกาฝากเหล่านี้ได้สั่งสอนสิ่งที่ผิดไปจากหลักธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแสดงไว้
ความสับสนในวงการพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นและแผ่ไปมากในราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช ในที่สุดพระองค์ต้องใช้มาตรการสอบถามหลักธรรมจากภิกษุทุกรูป รูปใดตอบไม่ได้ก็จะถูกจับลาสิกขา(สึก) ผลจากการสอบไล่(สึก)นี้มีภิกษุถูกจับสึกเป็นจำนวนมาก คัมภีร์มหาวงศ์ระบุจำนวนว่าถึง ๖ หมื่นคน
แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์ได้กลับมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยพราหมณ์ปุษยมิตรได้ล้มราชวงศ์เมารยะ(ราชวงศ์ตระกูลของพระเจ้าอโศก) แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ศุงคะ ครองบัลลังก์เมืองมคธสืบมา ในยุคสมัยนี้พระพุทธศาสนาถูกกวาดล้างทำลายอย่างหนัก โดยพระเจ้าปุษยมิตรนั้นถึงกับตั้งรางวัลเป็นทองคำให้แก่ผู้ที่ฆ่าพระภิกษุสงฆ์และนำศีรษะมาแสดงได้ อารามหลายแห่งต้องรกร้างว่างเปล่าลงและถูกทำลายเป็นอันมาก
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายตั้งมั่นในแผ่นดินอินเดียมากแล้ว ดังนั้นแม้จะถูกทำลายด้วยวิธีการรุนแรงต่าง ๆ(ในระยะแรก ๆ ของราชวงศ์ศุงคะ) แต่ประชาชนทั่วไปยังศรัทธาในพระศาสนาและพระภิกษุสงฆ์ก็ยังปฏิบัติกิจของสงฆ์ก็ทำให้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ต่อไปได้ ยุคสมัยใดพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ และจากคหบดี เศรษฐีมหาศาลและพุทธบริษัททั่วไป คราวนั้นสมัยนั้นพระพุทธศาสนาก็กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก
จนกระทั่งพวกพราหมณ์ไม่สามารถทำลายพระพุทธศาสนาได้ด้วยวิธีการบ่อนทำลายแอบแฝง หรือแม้ด้วยวิธีการรุนแรงแล้ว จึงเริ่มดำเนินนโยบายใหม่ เพื่อทำลายพระพุทธศาสนาลงให้จงได้ตามที่ได้พยายามมาเป็นเวลาช้านาน นโยบายใหม่นี้มีลักษณะเป็นมิตร มีความประนีประนอมอย่างเห็นได้ชัด และดูผิวเผินก็ประหนึ่งเป็นท่าทีที่ให้เกียรติแก่พระพุทธศาสนาอยู่มิใช่น้อย แต่ในระยะยาวสิ่งนี้กลายเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการทำลายพระพุทธศาสนา และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการนำพระพุทธศาสนาในอินเดียไปสู่จุดอวสานในที่สุดด้วย
บทที่ ๑ พุทธ-พลังท้าทายอำนาจพราหมณ์
ชาวฮินดูในอินเดียหลายคนมักพูดกันว่า ศาสนาฮินดูกับพระพุทธศาสนาเหมือนกันและเป็นศาสนาเดียวกัน โดยมีคำอธิบายว่า “ศาสนาทั้งสองเกิดในอินเดียเหมือนกัน ศาสนิกของทั้ง ๒ ศาสนาเมื่อตายไปแล้ว ก็นิยมเผาเหมือนกัน มีการทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตายเช่นเดียวกัน ทั้งพระพุทธเจ้าเองก็เป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุด้วย”
ความคิดเช่นนี้ค่อนข้างเป็นสากลในอินเดีย คือเป็นความคิดที่ผู้คนยอมรับทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนิกชนชาวฮินดู ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ฟังดูผิวเผินจะเห็นว่า ชาวฮินดูมีทัศนคติที่ค่อนข้างดีต่อพระพุทธศาสนา และมีความประนีประนอมในแนวความคิดอยู่มาก ทัศนคติเช่นนี้นอกจากจะไม่แสดงความเป็นศัตรูแล้ว ยังมีท่าทีดูประหนึ่งเป็นมิตรสนิทสนมเสียด้วยซ้ำ แต่เมื่อเราศึกษาลงลึกไปจึงพบว่า แท้จริงแล้ว ท่าทีเช่นนี้พัฒนามาจากสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ศาสนาฮินดูถือพระพุทธศาสนาเป็นศัตรู และท่าทีเช่นนี้แหละที่ได้ทำลายพระพุทธศาสนาในอินเดียมาโดยตลอด ทั้งยังเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดียอย่างสิ้นเชิงด้วย
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียทำให้เราได้ทราบว่า ในยุคพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระสัทธรรม พระองค์ทรงได้รับการต่อต้านจากพวกคณาจารย์เจ้าลัทธิในศาสนาพราหมณ์และบรรดาพวกพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอันมาก การต่อต้านนั้นเป็นไปในหลายรูปแบบ เช่น โจมตีโต้ตอบคำสอนของพระพุทธองค์โดยส่งลูกศิษย์ไปประวาทะกับพระองค์หรือประวาทะกับสาวกองค์สำคัญ ๆ บ้าง ท้าพระพุทธองค์โต้วาทะบ้าง ท้าประลองอิทธิฤทธิบ้าง กระทั่งใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธองค์และพระสาวกทั้งในด้านหลักธรรม คำสอน วัตรปฏิบัติ รายละเอียดในเรื่องเหล่านี้มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
พระพุทธองค์ได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์เหล่านั้นด้วยพระเมตตาธรรมและขันธิธรรมโดยตลอด ทั้งยังสั่งสอนให้พระสงฆ์ตั้งอยู่ในคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านั้นด้วย ดังปรากฏในพระโอวาทปาติโมกข์ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทานกลางที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตซึ่งถือได้ว่าเป็นแม่บทกแห่งการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนามีลักษณะเอื้อเฝื้ออดกลั้น และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเมตตากรุณามาโดยตลอด ไม่มีการเผยแผ่ด้วยการบีบบังคับหรือทำทารุณกรรมดังที่ศาสนากระทำเลย
แม้ในสมัยหลังพุทธกาล พวกพราหมณ์ก็ยังคงดำเนืนการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง มีเหตุผลสำคัญ ๔ ประการที่เป็นแรงจูงใจคือ
๑. พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับคัมภีร์พระเวท ซึ่งพวกพราหมณ์ถือกันว่าเป็นแม่บทอันศักดิ์สิทธิ์ที่เทพเจ้าประทานมาให้มวลมนุษย์ พระพุทธศาสนาปฏิเสธคำสอนอันไร้สาระของคัมภีร์พระเวท เช่นสอนให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ สอนให้สวดมนต์อ้อนวอนและประกอบพิธีบูชาบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งมีดาษดื่นในสมัยนั้น
๒.พระพุทธศาสนามีคำสอนและแนวปฏิบัติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคำสอนของพวกพราหมณ์คณาจารย์ทั้งสอนที่สอนกันอยู่ในสมัยนั้น พวกพราหมณ์เห็นว่านี่เป็นการท้าทายอำนาจทางความคิดของพวกตน เพราะในสมัยก่อนพุทธกาลความคิดของประชาชนในสังคมล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำของพวกพราหมณ์ทั้งสิ้น พระพุทธองค์และพระพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งการปฏิบัติทางความคิดที่สะเทือนฐานะของพวกพราหมณ์โดยตรง
๓. พระพุทธศาสนาปฏิเสธระบบวรรณะที่พวกพราหมณ์บัญญัติขึ้น พระองค์ไม่ยอมรับฐานะของพวกพราหมณ์ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าสูงส่ง ระบบวรรณะเป็นโครงสร้างทางสังคมของพวกพราหมณ์โดยที่พวกพราหมณ์ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยในสังคมได้ตั้งตนอยู่ในฐานะสูงส่งเหนือกว่าชนชั้นวรรณะอื่น ๆ อาศัยคัมภีร์พระเวทและบทบัญญัติต่าง ๆ ทางศาสนามาเป็นเครื่องมือในการกดขี่เอารัดเอาเปรียบสังคมซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พระพุทธองค์ทรงประณามไว้อย่างรุนแรง สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก
๔. การเจริญเติบโตอย่างรวมเร็วของพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นเหตุให้ฐานะทางสังคมของพวกพราหมณ์ตกต่ำลงแล้ว ยังทำให้พวกพราหมณ์เสื่อมจากลาภสักการะที่เคยได้รับ เพราะเหล่าพราหมณ์คณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงได้ออกบวชเป็นภิกษุในบวรพุทธศาสนา ทำให้สำนักเหล่านั้นต้องปิดตัวลง ก็ซ้ำเติมให้สถานะของพวกพราหมณ์ตกต่ำลงไปอีก
ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงพยายามทุกทางโดยดำเนินกลอุบายในการทำลายล้างพระพุทธศาสนา วิธีการที่ใช้นั้นมีทั้งที่เป็นการบ่อนทำลายแอบแฝงและการใช้ความรุนแรง เช่น ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์และเหล่าเดียรถีย์นอกพุทธศาสนาได้ปลอมตนเข้ามาบวชในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก เพื่อเสวยลาภผลสักการะแห่งพระราชูปถัมภ์และศรัทธาของพุทธบริษัท แต่พวกกาฝากเหล่านี้ได้สั่งสอนสิ่งที่ผิดไปจากหลักธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแสดงไว้
ความสับสนในวงการพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นและแผ่ไปมากในราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช ในที่สุดพระองค์ต้องใช้มาตรการสอบถามหลักธรรมจากภิกษุทุกรูป รูปใดตอบไม่ได้ก็จะถูกจับลาสิกขา(สึก) ผลจากการสอบไล่(สึก)นี้มีภิกษุถูกจับสึกเป็นจำนวนมาก คัมภีร์มหาวงศ์ระบุจำนวนว่าถึง ๖ หมื่นคน
แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์ได้กลับมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยพราหมณ์ปุษยมิตรได้ล้มราชวงศ์เมารยะ(ราชวงศ์ตระกูลของพระเจ้าอโศก) แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ศุงคะ ครองบัลลังก์เมืองมคธสืบมา ในยุคสมัยนี้พระพุทธศาสนาถูกกวาดล้างทำลายอย่างหนัก โดยพระเจ้าปุษยมิตรนั้นถึงกับตั้งรางวัลเป็นทองคำให้แก่ผู้ที่ฆ่าพระภิกษุสงฆ์และนำศีรษะมาแสดงได้ อารามหลายแห่งต้องรกร้างว่างเปล่าลงและถูกทำลายเป็นอันมาก
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายตั้งมั่นในแผ่นดินอินเดียมากแล้ว ดังนั้นแม้จะถูกทำลายด้วยวิธีการรุนแรงต่าง ๆ(ในระยะแรก ๆ ของราชวงศ์ศุงคะ) แต่ประชาชนทั่วไปยังศรัทธาในพระศาสนาและพระภิกษุสงฆ์ก็ยังปฏิบัติกิจของสงฆ์ก็ทำให้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ต่อไปได้ ยุคสมัยใดพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ และจากคหบดี เศรษฐีมหาศาลและพุทธบริษัททั่วไป คราวนั้นสมัยนั้นพระพุทธศาสนาก็กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก
จนกระทั่งพวกพราหมณ์ไม่สามารถทำลายพระพุทธศาสนาได้ด้วยวิธีการบ่อนทำลายแอบแฝง หรือแม้ด้วยวิธีการรุนแรงแล้ว จึงเริ่มดำเนินนโยบายใหม่ เพื่อทำลายพระพุทธศาสนาลงให้จงได้ตามที่ได้พยายามมาเป็นเวลาช้านาน นโยบายใหม่นี้มีลักษณะเป็นมิตร มีความประนีประนอมอย่างเห็นได้ชัด และดูผิวเผินก็ประหนึ่งเป็นท่าทีที่ให้เกียรติแก่พระพุทธศาสนาอยู่มิใช่น้อย แต่ในระยะยาวสิ่งนี้กลายเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการทำลายพระพุทธศาสนา และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการนำพระพุทธศาสนาในอินเดียไปสู่จุดอวสานในที่สุดด้วย
No comments:
Post a Comment