ศิวรักษ์สำนึก
ในช่วงเวลานั้น (พ.ศ.๒๕๑๕) วิทยาสารปริทัศน์ ได้ลงคอลัมน์ “ชกไม่มีมุม” เป็นประจำอยู่ด้วย โดยที่วันหนึ่งผู้เขียนส่งข้อความมาให้ว่า นายป๋วยต้องการจะเอานายปรีดีกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดี ข้าพเจ้าถามผู้เขียนว่าเอาข้อเท็จจริงเช่นนี้มาจากไหน ครั้นได้รับทราบว่าเอามาจากผู้อำนวยการสยามรัฐ ต้นสังกัดของผู้เขียนคนนั้น ซึ่งอ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวตรัสบอก โดยมีฝรั่งมากกราบบังคมทูล
ข้าพเจ้าจึงใช้เหตุใช้ผลทางตรรกวิทยาซักไซร้ไล่เลียง ว่าความข้อนี้มีทางเป็นไปได้หรือ จนผู้เขียนคนนั้นยอมรับว่า ดีร้าย ผู้อำนวยการของเขาจะ “กุ” เรื่องขึ้นเอง โดยอ้างพระปรมาภิไธยก็ได้ เขาจึงยอมให้ข้าพเจ้าถอนเรื่องดังกล่าวเสีย โดยที่ตัวเขาเอง ไม่นานหลังจากนั้นก็ได้รับซองขาวถูกไล่ออกจากต้นสังกัดไป
มาถึงตอนนี้แล้ว ข้าพเจ้ากับนายปีดีควารจะเดินทางเข้าหากันได้ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังเมื่อท่านอายุครบ ๗๒ ปีบริบูรณ์ ได้มีการพิมพ์หนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง แจกจ่ายให้บุคคลต่าง ๆ จนหนังสือมาถึงมือข้าพเจ้าด้วย โดยที่วิทยาสารปริทัศน์ ได้ปลาสนาการไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงเขียนไปลงนิตยสาร ชาวบ้านรายเดือน ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ดังนี้
“หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ในโอกาสที่นายปรีดี พนมยงค์ มีอายุครบ ๖ รอบนักษัตร ความจริงนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้วิจารณ์ไว้แล้วในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับมิถุนายน ซึ่งจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกถึง ๔๐ ปีแห่งกาล อันนายปรีดี เรียกว่า “อภิวัฒน์” แต่ข้าพเจ้าก็ใคร่แสดงความนึกคิดเกี่ยวกับหนังสือนี้บ้าง ซึ่งคงจะต่างทัศนะออกไป และข้าพเจ้าจะไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความอื่น ๆ ที่มิได้เขียนโดยนายปรีดีเอง ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ ณ วันที ๙ มิถุนายน อันเป็นปีที่ ๒๖ แห่งวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ จึงขอน้อมถวายแรงงานในการนี้เป็นราชพลี
เจตนารมณ์ของการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ นายชาญวิทย์เข้าใจว่า เพื่อจะลบล้างความคิดที่ว่านายปรีดีไม่ชอบเจ้า นอกไปจากนี้แล้ว ก็ต้องการจะยืนยันงานชิ้นโบว์แดงอันสำคัญ ที่นายปรีดีทำได้สำเร็จอย่างงดงาม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้นายปรีดี จะตัดทอน ไม่แปลบันทึกสังเขปเกี่ยวกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราจะเป็นการสดุดีตนเองมากเกินไป แต่ใคร ก็ย่อมต้องยอมรับความจริงว่าในระยะนี้ นายปรีดีเป็นผู้ที่มีคุณแก่ประเทศชาติที่สามารถ “กู้ชาติ” ได้สำเร็จ บุญคุณข้อนี้ของนายปรีดีเป็นสิ่งที่เราไม่น่าจะลืม และเราควรตอบแทนบุญคุณอันนั้นด้วย
เราต้องอย่าทำตนเป็นชาติที่เนรคุณคน ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเช่นนี้อย่างจริงจังต่อนายปรีดี ดังที่ข้าพเจ้ามีต่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคนอื่น ๆ ในขบวนการเสรีไทย ดังที่ข้าพเจ้ามีต่อชาวบ้านบางระจัน และนักกู้ชาติคนอื่น ๆ มาแล้ว ด้วยเหตุฉะนี้ เมื่อตอนที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ถูกสันติบาลเชิญตัวไปพบ ข้าพเจ้าจึงรู้สึกว่าผู้ที่สั่งให้สันติบาลทำการเช่นนั้นเป็นคนที่ไร้มารยาทอย่างที่สุด และยิ่งเมื่อมาอ่านคำปรารภของนายปรีดี ว่ามีกระซิบ คาดโทษ คุกคามเกี่ยวกับนายปรีดีเนือง ๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งถึงกับเห็นเป็นการรังแกกันชัด ๆ ทีเดียว
การที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองปฏิเสธว่าตนมิได้สั่งในเรื่องการขู่เข็ญคุกคามนั้นฟังไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวง ผู้น้อยจะโอหังทำการไปได้อย่างไร ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้ท้าย หรือผู้ใหญ่สมัยนี้จะเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกไปเสียแล้วเป็นส่วนมาก และนี่หรือคือวิธีที่เราตอบแทนบุญคุณผู้ที่อุทิศชีวิตและจิตใจเพื่อชาติบ้านเมือง
สำหรับข้าพเจ้าก็ได้แต่หวังว่านายปรีดีคงจะได้กลับมาตายในมาตุภูมิและคงไม่กลับมา“เล่น” การเมือง ในประเทศของตนอีก ถ้านายปรีดีมีความหวังที่จะกลับมาจริง ๆ แล้ว ก็น่าที่จะยอมให้กลับอย่างน้อยก็ไม่ควรจองเวรกันต่อไป
ถึงนายปรีดีจะเคยทำผิดทำพลาดอะไรมา ก็น่าจะต้องตราไว้ว่าเขาเคยมีบุญคุณอยู่กับประเทศชาติโดยเฉพาะในตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ และผู้ที่เป็นใหญ่อยู่ในเวลานี้อาจต้องได้รับกรรมดังจอมพล ป. ได้รับมาแล้วที่ญี่ปุ่นและนายปรีดีรับอยู่ในเวลานี้ที่ปารีสก็ได้
การที่กีดกันนายปรีดีไว้ รังแต่จะสร้างให้คนรุ่นใหม่นิยมชมชอบบุคคลผู้นั้นโดยใช่ที่ ดังเช่นที่ไต้หวัน เด็กรุ่นใหม่นึกว่าเมาเซตุงคงมีอะไรดีเด่นเป็นพิเศษนั้นเอง เพราะเอะอะก็กระซิบสั่ง ห้ามพูด ห้ามเขียน เกี่ยวกับบุคคลผู้นั้น เสียตะพึดตะพือไป ยิ่งพวกที่กลัวเกรงปัญญาบารมีนายปรีดีด้วยแล้ว เป็นไปได้หรือ ว่าจะดูถูกความคิดความอ่านของคนไทยไปถึงเพียงนั้น
ชะรอยการที่ผู้มีอำนาจกีดกันไม่ให้นายปรีดีกลับ ตลอดจนกลเม็ดในการ “กระซิบ” คุกคามต่างๆ นั้น จะไม่ใช่เพราะความผิดของนายปรีดี หรือเพราะคนพวกนี้กลัวเกรงสติปัญญาอันแหลมคมของนายปรีดีดอกกระมัง แต่เป็นเพราะเกมส์การเมืองยังเปิดทางให้นำเอานายปรีดีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยกันตัวไว้ให้อยู่ห่าง ๆ ดังสมัยที่ขู่ให้เกลียดเจ้ากันก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นเอง ด้วยแม้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็เคยทรงถูกหาว่าจะนำทัพกระเหรี่ยงเข้ามาตีเมืองไทย สมัยที่เสด็จประพาสพม่าจากปีนัง ทั้ง ๆ ที่เวลานั้นพระชนม์ก็กว่า ๗๐ แล้ว
การที่นักการเมืองเอานายปรีดีเป็นเครื่องมือนั้น เห็นได้ชัดแม้ก่อนการปฏิวัติตัวเองครั้งนี้ก็มีเรื่องของนายปรีดีลงพิมพ์อยู่เนือง ๆ และแล้วพวกผู้มีอำนาจก็เลยถือโอกาสอ้างด้วยวิธี กระซิบ ว่าที่ต้องปฏิวัติ ก็เพราะสาเหตุหนึ่งคือมีคนคิดจะเอานายปรีดีกลับมาอีก มีการเพาะความนิยมให้นายปรีดีอีกเป็นการกระทบกระเทือนราชบัลลังก์ ฯลฯ
แท้ที่จริง ราชบัลลังก์นี้ก็มั่นคงถาวรยิ่งกว่าที่จะต้องตั้งอยู่บนบ่าหรือไหล่ของนายปรีดีหลายเท่านัก ข้าพเจ้าเห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะเลิกรหัสยนัยเกี่ยวกับนายปรีดีเสียที วิถีทางการเมืองต่อแต่นี้ไป ควรจะดำเนินแต้มคูกันอย่างซื่อ ๆ อย่าใช้วิธีขู่ วิธีกระซิบ หรือคุกคามอีกเลย และถ้าผู้บริหารประเทศฉลาด อาจฟังคำปรึกษาบางประการจากนายปรีดีได้ด้วยซ้ำไป ในฐานะที่รู้จักทั้งจีนและญวนเหนือ ยังประสบการณ์อื่น ๆ อีก”
งานเขียนชิ้นนี้ ข้าพเจ้าใช้ภาษาแรงตามแบบข้าพเจ้า และมีการค่อนแคะกระแนะกระแหนท่านรัฐบุรุษอาวุโส ตามวิธีของข้าพเจ้าที่ไม่ชอบยกย่องวีรบุรุษชนิดที่ติโทษอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าอ่านกันอย่างยุติธรรมแล้ว จะเห็นได้ว่าข้าพเจ้ารู้จักนายปรีดีมากขึ้น อย่างน้อยก็สิ้นกังวลไปแล้วในข้อที่ว่าท่านไม่เป็นคอมมูนิสต์... นอกไปจากนี้แล้ว บทวิจารณ์ชิ้นนี้ของข้าพเจ้ายังเรียกร้องต้องการให้ท่านได้มีโอกาสกลับบ้านกลับเมือง แต่สำนวนโวหารอันสามหาวกร้าวร้าวของข้าพเจ้า นับว่าน่าละอายยิ่ง ทั้งยังโยงไปสู่สมัยราชาธิปไตยกับสถาบันกษัตริย์อย่างใช้อารมณ์ยิ่งกว่าเหตุผล
ผลก็คือ นี่คงเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นายปรีดีจะได้รับจากข้าพเจ้า ดังจะเห็นได้ว่า วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๕ นั้นเอง นายปรีดีได้ให้ตีพิมพ์ข้อเขียนของท่านอีกเรื่องหนึ่ง ให้ชื่อว่า “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบอบประชาธิปไตย” นับเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ไม่ถึง ๕๕ หน้าดี แต่เขียนพาดพิงด่าว่าข้าพเจ้าร่วม ๗ หน้ากระดาษ ซึ่งนับว่าเกิด ๑๐ % ของหนังสือทั้งเล่ม โดยท่านหาว่าข้าพเจ้าเป็น “ซากเดนศักดินา สวะสังคม หรือเศษโสมมซึ่งอวดดีและเห็นแก่ตัว”
ทั้งหมดนี้ เห็นทีที่ข้าพเจ้าจะปฏิเสธได้ยาก แต่เมื่อตอนอ่านได้บันดาลโทสะขึ้นอย่างแรง จึงโต้ตอบในนิตยสาร อนาคต ของสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเพิ่งออกใหม่ โดยมีข้าพจเป็นบรรณาธิการ ข้าพเจ้าแสดงปฏิกิริยาเป็นบรรทัด ๆ อย่างขาดสัมมาคารวะด้วยประการทั้งปวง
ข้อเขียน ๒ ชิ้นนี้ คือของนายปรีดีและของข้าพเจ้า ควรนับได้ว่าเป็นการปิดฉากระหว่างเราทั้งสอง ซึ่งคงไม่มีทางหันหน้าเข้าหากันได้
ในช่วงเวลานั้น (พ.ศ.๒๕๑๕) วิทยาสารปริทัศน์ ได้ลงคอลัมน์ “ชกไม่มีมุม” เป็นประจำอยู่ด้วย โดยที่วันหนึ่งผู้เขียนส่งข้อความมาให้ว่า นายป๋วยต้องการจะเอานายปรีดีกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดี ข้าพเจ้าถามผู้เขียนว่าเอาข้อเท็จจริงเช่นนี้มาจากไหน ครั้นได้รับทราบว่าเอามาจากผู้อำนวยการสยามรัฐ ต้นสังกัดของผู้เขียนคนนั้น ซึ่งอ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวตรัสบอก โดยมีฝรั่งมากกราบบังคมทูล
ข้าพเจ้าจึงใช้เหตุใช้ผลทางตรรกวิทยาซักไซร้ไล่เลียง ว่าความข้อนี้มีทางเป็นไปได้หรือ จนผู้เขียนคนนั้นยอมรับว่า ดีร้าย ผู้อำนวยการของเขาจะ “กุ” เรื่องขึ้นเอง โดยอ้างพระปรมาภิไธยก็ได้ เขาจึงยอมให้ข้าพเจ้าถอนเรื่องดังกล่าวเสีย โดยที่ตัวเขาเอง ไม่นานหลังจากนั้นก็ได้รับซองขาวถูกไล่ออกจากต้นสังกัดไป
มาถึงตอนนี้แล้ว ข้าพเจ้ากับนายปีดีควารจะเดินทางเข้าหากันได้ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังเมื่อท่านอายุครบ ๗๒ ปีบริบูรณ์ ได้มีการพิมพ์หนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง แจกจ่ายให้บุคคลต่าง ๆ จนหนังสือมาถึงมือข้าพเจ้าด้วย โดยที่วิทยาสารปริทัศน์ ได้ปลาสนาการไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงเขียนไปลงนิตยสาร ชาวบ้านรายเดือน ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ดังนี้
“หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ในโอกาสที่นายปรีดี พนมยงค์ มีอายุครบ ๖ รอบนักษัตร ความจริงนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้วิจารณ์ไว้แล้วในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับมิถุนายน ซึ่งจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกถึง ๔๐ ปีแห่งกาล อันนายปรีดี เรียกว่า “อภิวัฒน์” แต่ข้าพเจ้าก็ใคร่แสดงความนึกคิดเกี่ยวกับหนังสือนี้บ้าง ซึ่งคงจะต่างทัศนะออกไป และข้าพเจ้าจะไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความอื่น ๆ ที่มิได้เขียนโดยนายปรีดีเอง ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ ณ วันที ๙ มิถุนายน อันเป็นปีที่ ๒๖ แห่งวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ จึงขอน้อมถวายแรงงานในการนี้เป็นราชพลี
เจตนารมณ์ของการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ นายชาญวิทย์เข้าใจว่า เพื่อจะลบล้างความคิดที่ว่านายปรีดีไม่ชอบเจ้า นอกไปจากนี้แล้ว ก็ต้องการจะยืนยันงานชิ้นโบว์แดงอันสำคัญ ที่นายปรีดีทำได้สำเร็จอย่างงดงาม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้นายปรีดี จะตัดทอน ไม่แปลบันทึกสังเขปเกี่ยวกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราจะเป็นการสดุดีตนเองมากเกินไป แต่ใคร ก็ย่อมต้องยอมรับความจริงว่าในระยะนี้ นายปรีดีเป็นผู้ที่มีคุณแก่ประเทศชาติที่สามารถ “กู้ชาติ” ได้สำเร็จ บุญคุณข้อนี้ของนายปรีดีเป็นสิ่งที่เราไม่น่าจะลืม และเราควรตอบแทนบุญคุณอันนั้นด้วย
เราต้องอย่าทำตนเป็นชาติที่เนรคุณคน ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเช่นนี้อย่างจริงจังต่อนายปรีดี ดังที่ข้าพเจ้ามีต่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคนอื่น ๆ ในขบวนการเสรีไทย ดังที่ข้าพเจ้ามีต่อชาวบ้านบางระจัน และนักกู้ชาติคนอื่น ๆ มาแล้ว ด้วยเหตุฉะนี้ เมื่อตอนที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ถูกสันติบาลเชิญตัวไปพบ ข้าพเจ้าจึงรู้สึกว่าผู้ที่สั่งให้สันติบาลทำการเช่นนั้นเป็นคนที่ไร้มารยาทอย่างที่สุด และยิ่งเมื่อมาอ่านคำปรารภของนายปรีดี ว่ามีกระซิบ คาดโทษ คุกคามเกี่ยวกับนายปรีดีเนือง ๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งถึงกับเห็นเป็นการรังแกกันชัด ๆ ทีเดียว
การที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองปฏิเสธว่าตนมิได้สั่งในเรื่องการขู่เข็ญคุกคามนั้นฟังไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวง ผู้น้อยจะโอหังทำการไปได้อย่างไร ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้ท้าย หรือผู้ใหญ่สมัยนี้จะเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกไปเสียแล้วเป็นส่วนมาก และนี่หรือคือวิธีที่เราตอบแทนบุญคุณผู้ที่อุทิศชีวิตและจิตใจเพื่อชาติบ้านเมือง
สำหรับข้าพเจ้าก็ได้แต่หวังว่านายปรีดีคงจะได้กลับมาตายในมาตุภูมิและคงไม่กลับมา“เล่น” การเมือง ในประเทศของตนอีก ถ้านายปรีดีมีความหวังที่จะกลับมาจริง ๆ แล้ว ก็น่าที่จะยอมให้กลับอย่างน้อยก็ไม่ควรจองเวรกันต่อไป
ถึงนายปรีดีจะเคยทำผิดทำพลาดอะไรมา ก็น่าจะต้องตราไว้ว่าเขาเคยมีบุญคุณอยู่กับประเทศชาติโดยเฉพาะในตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ และผู้ที่เป็นใหญ่อยู่ในเวลานี้อาจต้องได้รับกรรมดังจอมพล ป. ได้รับมาแล้วที่ญี่ปุ่นและนายปรีดีรับอยู่ในเวลานี้ที่ปารีสก็ได้
การที่กีดกันนายปรีดีไว้ รังแต่จะสร้างให้คนรุ่นใหม่นิยมชมชอบบุคคลผู้นั้นโดยใช่ที่ ดังเช่นที่ไต้หวัน เด็กรุ่นใหม่นึกว่าเมาเซตุงคงมีอะไรดีเด่นเป็นพิเศษนั้นเอง เพราะเอะอะก็กระซิบสั่ง ห้ามพูด ห้ามเขียน เกี่ยวกับบุคคลผู้นั้น เสียตะพึดตะพือไป ยิ่งพวกที่กลัวเกรงปัญญาบารมีนายปรีดีด้วยแล้ว เป็นไปได้หรือ ว่าจะดูถูกความคิดความอ่านของคนไทยไปถึงเพียงนั้น
ชะรอยการที่ผู้มีอำนาจกีดกันไม่ให้นายปรีดีกลับ ตลอดจนกลเม็ดในการ “กระซิบ” คุกคามต่างๆ นั้น จะไม่ใช่เพราะความผิดของนายปรีดี หรือเพราะคนพวกนี้กลัวเกรงสติปัญญาอันแหลมคมของนายปรีดีดอกกระมัง แต่เป็นเพราะเกมส์การเมืองยังเปิดทางให้นำเอานายปรีดีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยกันตัวไว้ให้อยู่ห่าง ๆ ดังสมัยที่ขู่ให้เกลียดเจ้ากันก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นเอง ด้วยแม้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็เคยทรงถูกหาว่าจะนำทัพกระเหรี่ยงเข้ามาตีเมืองไทย สมัยที่เสด็จประพาสพม่าจากปีนัง ทั้ง ๆ ที่เวลานั้นพระชนม์ก็กว่า ๗๐ แล้ว
การที่นักการเมืองเอานายปรีดีเป็นเครื่องมือนั้น เห็นได้ชัดแม้ก่อนการปฏิวัติตัวเองครั้งนี้ก็มีเรื่องของนายปรีดีลงพิมพ์อยู่เนือง ๆ และแล้วพวกผู้มีอำนาจก็เลยถือโอกาสอ้างด้วยวิธี กระซิบ ว่าที่ต้องปฏิวัติ ก็เพราะสาเหตุหนึ่งคือมีคนคิดจะเอานายปรีดีกลับมาอีก มีการเพาะความนิยมให้นายปรีดีอีกเป็นการกระทบกระเทือนราชบัลลังก์ ฯลฯ
แท้ที่จริง ราชบัลลังก์นี้ก็มั่นคงถาวรยิ่งกว่าที่จะต้องตั้งอยู่บนบ่าหรือไหล่ของนายปรีดีหลายเท่านัก ข้าพเจ้าเห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะเลิกรหัสยนัยเกี่ยวกับนายปรีดีเสียที วิถีทางการเมืองต่อแต่นี้ไป ควรจะดำเนินแต้มคูกันอย่างซื่อ ๆ อย่าใช้วิธีขู่ วิธีกระซิบ หรือคุกคามอีกเลย และถ้าผู้บริหารประเทศฉลาด อาจฟังคำปรึกษาบางประการจากนายปรีดีได้ด้วยซ้ำไป ในฐานะที่รู้จักทั้งจีนและญวนเหนือ ยังประสบการณ์อื่น ๆ อีก”
งานเขียนชิ้นนี้ ข้าพเจ้าใช้ภาษาแรงตามแบบข้าพเจ้า และมีการค่อนแคะกระแนะกระแหนท่านรัฐบุรุษอาวุโส ตามวิธีของข้าพเจ้าที่ไม่ชอบยกย่องวีรบุรุษชนิดที่ติโทษอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าอ่านกันอย่างยุติธรรมแล้ว จะเห็นได้ว่าข้าพเจ้ารู้จักนายปรีดีมากขึ้น อย่างน้อยก็สิ้นกังวลไปแล้วในข้อที่ว่าท่านไม่เป็นคอมมูนิสต์... นอกไปจากนี้แล้ว บทวิจารณ์ชิ้นนี้ของข้าพเจ้ายังเรียกร้องต้องการให้ท่านได้มีโอกาสกลับบ้านกลับเมือง แต่สำนวนโวหารอันสามหาวกร้าวร้าวของข้าพเจ้า นับว่าน่าละอายยิ่ง ทั้งยังโยงไปสู่สมัยราชาธิปไตยกับสถาบันกษัตริย์อย่างใช้อารมณ์ยิ่งกว่าเหตุผล
ผลก็คือ นี่คงเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นายปรีดีจะได้รับจากข้าพเจ้า ดังจะเห็นได้ว่า วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๕ นั้นเอง นายปรีดีได้ให้ตีพิมพ์ข้อเขียนของท่านอีกเรื่องหนึ่ง ให้ชื่อว่า “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบอบประชาธิปไตย” นับเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ไม่ถึง ๕๕ หน้าดี แต่เขียนพาดพิงด่าว่าข้าพเจ้าร่วม ๗ หน้ากระดาษ ซึ่งนับว่าเกิด ๑๐ % ของหนังสือทั้งเล่ม โดยท่านหาว่าข้าพเจ้าเป็น “ซากเดนศักดินา สวะสังคม หรือเศษโสมมซึ่งอวดดีและเห็นแก่ตัว”
ทั้งหมดนี้ เห็นทีที่ข้าพเจ้าจะปฏิเสธได้ยาก แต่เมื่อตอนอ่านได้บันดาลโทสะขึ้นอย่างแรง จึงโต้ตอบในนิตยสาร อนาคต ของสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเพิ่งออกใหม่ โดยมีข้าพจเป็นบรรณาธิการ ข้าพเจ้าแสดงปฏิกิริยาเป็นบรรทัด ๆ อย่างขาดสัมมาคารวะด้วยประการทั้งปวง
ข้อเขียน ๒ ชิ้นนี้ คือของนายปรีดีและของข้าพเจ้า ควรนับได้ว่าเป็นการปิดฉากระหว่างเราทั้งสอง ซึ่งคงไม่มีทางหันหน้าเข้าหากันได้
No comments:
Post a Comment