ศิวรักษ์สำนึก
ในช่วงเผด็จการธานินทร์ กรัยวิเชียร ข้าพเจ้าต้องระหกระเหินไปอยู่อังกฤษ อเมริกาและคานาดา เมื่อกลับเข้ามาใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็ยังไม่มีงานทำ เคราะห์ดีได้ทุนมาศึกษาจากสภาวิจัยทางสังคมศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อค้นคว้าในระดับที่พ้นปริญญาเอกออกไป ในเรื่องสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังได้จัดพิมพ์เรื่อง “ให้พระยาอนุมาน” อันเป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงโต้ตอบกับท่านผู้นั้น(ท่านปรีดี) ขึ้นไว้ในปลายศกนั้น สำหรับคำนำหนังสือเล่มนั้น ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า
“มีเรื่องเพิ่มเติมที่จะแจ้งให้ทราบอีกข้อหนึ่งคือ เมื่อสมเด็จฯ เสด็จกลับเข้ามาจากเกาะหมากนั้น ท่านพระยาอนุมานราชธนมักหาโอกาสไปเฝ้าแหนที่วังวรดิศเสมอ จนถึงกับมีคนไปรายงานอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งควบคุมตำรวจลับ(สันติบาล) อย่างกวดขัน และลือกันว่าดุร้ายเหี้ยมโหดนักด้วย เผอิญอธิบดีเป็นนักเรียนอัสสัมชัญรุ่นไล่ ๆ กับท่าน และรู้จักท่านดี จึงบอกว่า “พระยาอนุมานแกไม่สนใจการเมืองดอก แกสนใจแต่วิชาความรู้ อย่าไปติดตามแกเลย” เรื่องเป็นอันพับไป (เสียดายที่เวลานี้ เราไม่มีคนอย่างนี้เสียแล้ว และจดหมายที่ส่งไปถวายยังเกาะหมาก ถูกแอบเปิดออกอ่านบ้างหรือไม่ ก็ไม่ทราบได้)
ทั้งเวลานั้น ท่านอธิบดีผู้นี้ เริ่มหันมาสนับสนุนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ก่อการคนสำคัญฝ่ายพลเรือน ที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างออกไปจากนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นยิ่งขึ้นทุกทีด้วยแล้ว ทัศนคติของท่านอธิบดีที่เกี่ยวกับเจ้านายจึงคลายความตึงเครียดลง (หลังจากที่จับกรมขุนชัยนาทนเรนทรมาแล้ว) ท่านผู้สำเร็จราชการนั้นเอง(ท่านปรีดี พนมยงค์) ก็มีความเคารพนับถือสมเด็จฯถึงกับมาเฝ้าที่วังวรดิศ (โดยที่นายกรัฐมนตรีไม่เคยมาเลย เมื่อสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทราบว่าเพราะหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ไปกระตุ้นเข้าว่าถ้าไม่ไปเคารพพระศพ จะน่าเกลียด จึงได้ไปที่วัง)
ต่อมาภายหลังท่านปรีดีได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีส่วนอย่างสำคัญ ในการตั้งหอสมุดดำรงราชานุภาพขึ้น ซึ่ท่านพระยาอนุมานราชธนได้เป็นตัวตั้งตัวตีที่อยู่เบื้องหลังอย่างไม่ต้องสงสัย”
ข้อความดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่ปรากฏว่าข้าพเจ้าเขียนถึงนายปรีดี พนมยงค์ ด้วยความเคารพ (แม้จะไม่เคยเอ่ยนาม) แต่ก็เขียนขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าสอบสวนค้นคว้ามาจนแน่ใจแล้ว
ความจริงแล้ว จำเดิมแต่ต้น พ.ศ.๒๕๒๑ มาแล้วที่ข้าพเจ้าเริ่มอ่านเอกสารต่าง ๆ ของนายปรีดี และที่เกี่ยวกับท่านผู้นี้มากขึ้น โดยเฉพาะก็คำฟ้องที่เนื่องด้วยกรณีสวรรคต ข้าพเจ้ายอมรับว่าข้อเขียนของท่านบางชิ้นอ่านเข้าใจยากมาก แต่บางชิ้นก็อ่านได้เนื้อหาสาระควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินแม้หลายต่อหลายชิ้นข้าพเจ้าจะไม่เห็นพ้องต้องด้วย ที่สุดจนพฤติกรรมของท่านบางอย่างบางประการที่บริษัทบริวารเอามายกย่องสรรเสริญ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห่อเหิมตามไปด้วย หากมาถึงช่วงนี้อคติที่มีเกี่ยวกับนายปรีดีได้ปลาสนาการไปยิ่งขึ้นทุกที
เมื่อทิฏฐิและข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปถึงเพียงนี้แล้ว จึงไม่ยากที่เมื่อข้าพเจ้าได้รับหนังสือเรื่อง “คำตัดสินใหม่เกี่ยวกับคดีสวรรคต” ที่ตีพิมพ์สำหรับงานฉลองอายุ ๘๐ ปีบริบูรณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ใน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยที่ผู้นำมามอบให้แจ้งว่าท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ขอให้ ๆ ข้าพเจ้าเป็นคนแรก ให้ทันวันที่ ๑๑ พฤษภาคม อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ทั้ง ๆ ที่วันนั้นข้าพเจ้าเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน ถึงบ้านเอาเย็นแต่ก็ได้อ่านหนังสือนั้นจนจบ ซึ่งเป็นเวลาวันใหม่ล่วงแล้วไปหลายชั่วโมง โดยที่ข้าพเจ้าได้อ่านคำคัดค้านและคำฟ้อง คดีอื่น ๆ มาแล้ว เช่น กรณีคึกฤทธิ์ ปราโมช, รอง ศยามานนท์, ประยูร ภมรมนตรี และชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ เป็นต้น
คำพิพากษาคดีสวรรคตที่สยามรัฐจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ และต่อมาพิมพ์แจกในงานวันเกิด ม.ร.ว.บุญลับ พินิจชนคดี ชี้ทางให้ข้าพเจ้าไปสู่ความมืดบอดฉันใด คำตัดสินใหม่นี้ชี้ทางสว่างให้ข้าพเจ้าฉันนั้น
วันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้านั่งนักตรึกตรองอยู่แทบทั้งวัน ว่าจะขอขมาโทษนายปรีดีอย่างไรดี ตนจึงจะพ้นผิดและบาปอกุศลอันตนได้เคยประกอบมาทั้งทางมโนกรรม วจีกรรมและ กายกรรม ผลก็คือได้เริ่มร่างจดหมายแล้วส่งไปในวันที่ ๑๓ พฤษภาคมนั้นเอง
ในช่วงเผด็จการธานินทร์ กรัยวิเชียร ข้าพเจ้าต้องระหกระเหินไปอยู่อังกฤษ อเมริกาและคานาดา เมื่อกลับเข้ามาใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็ยังไม่มีงานทำ เคราะห์ดีได้ทุนมาศึกษาจากสภาวิจัยทางสังคมศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อค้นคว้าในระดับที่พ้นปริญญาเอกออกไป ในเรื่องสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังได้จัดพิมพ์เรื่อง “ให้พระยาอนุมาน” อันเป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงโต้ตอบกับท่านผู้นั้น(ท่านปรีดี) ขึ้นไว้ในปลายศกนั้น สำหรับคำนำหนังสือเล่มนั้น ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า
“มีเรื่องเพิ่มเติมที่จะแจ้งให้ทราบอีกข้อหนึ่งคือ เมื่อสมเด็จฯ เสด็จกลับเข้ามาจากเกาะหมากนั้น ท่านพระยาอนุมานราชธนมักหาโอกาสไปเฝ้าแหนที่วังวรดิศเสมอ จนถึงกับมีคนไปรายงานอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งควบคุมตำรวจลับ(สันติบาล) อย่างกวดขัน และลือกันว่าดุร้ายเหี้ยมโหดนักด้วย เผอิญอธิบดีเป็นนักเรียนอัสสัมชัญรุ่นไล่ ๆ กับท่าน และรู้จักท่านดี จึงบอกว่า “พระยาอนุมานแกไม่สนใจการเมืองดอก แกสนใจแต่วิชาความรู้ อย่าไปติดตามแกเลย” เรื่องเป็นอันพับไป (เสียดายที่เวลานี้ เราไม่มีคนอย่างนี้เสียแล้ว และจดหมายที่ส่งไปถวายยังเกาะหมาก ถูกแอบเปิดออกอ่านบ้างหรือไม่ ก็ไม่ทราบได้)
ทั้งเวลานั้น ท่านอธิบดีผู้นี้ เริ่มหันมาสนับสนุนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ก่อการคนสำคัญฝ่ายพลเรือน ที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างออกไปจากนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นยิ่งขึ้นทุกทีด้วยแล้ว ทัศนคติของท่านอธิบดีที่เกี่ยวกับเจ้านายจึงคลายความตึงเครียดลง (หลังจากที่จับกรมขุนชัยนาทนเรนทรมาแล้ว) ท่านผู้สำเร็จราชการนั้นเอง(ท่านปรีดี พนมยงค์) ก็มีความเคารพนับถือสมเด็จฯถึงกับมาเฝ้าที่วังวรดิศ (โดยที่นายกรัฐมนตรีไม่เคยมาเลย เมื่อสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทราบว่าเพราะหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ไปกระตุ้นเข้าว่าถ้าไม่ไปเคารพพระศพ จะน่าเกลียด จึงได้ไปที่วัง)
ต่อมาภายหลังท่านปรีดีได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีส่วนอย่างสำคัญ ในการตั้งหอสมุดดำรงราชานุภาพขึ้น ซึ่ท่านพระยาอนุมานราชธนได้เป็นตัวตั้งตัวตีที่อยู่เบื้องหลังอย่างไม่ต้องสงสัย”
ข้อความดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่ปรากฏว่าข้าพเจ้าเขียนถึงนายปรีดี พนมยงค์ ด้วยความเคารพ (แม้จะไม่เคยเอ่ยนาม) แต่ก็เขียนขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าสอบสวนค้นคว้ามาจนแน่ใจแล้ว
ความจริงแล้ว จำเดิมแต่ต้น พ.ศ.๒๕๒๑ มาแล้วที่ข้าพเจ้าเริ่มอ่านเอกสารต่าง ๆ ของนายปรีดี และที่เกี่ยวกับท่านผู้นี้มากขึ้น โดยเฉพาะก็คำฟ้องที่เนื่องด้วยกรณีสวรรคต ข้าพเจ้ายอมรับว่าข้อเขียนของท่านบางชิ้นอ่านเข้าใจยากมาก แต่บางชิ้นก็อ่านได้เนื้อหาสาระควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินแม้หลายต่อหลายชิ้นข้าพเจ้าจะไม่เห็นพ้องต้องด้วย ที่สุดจนพฤติกรรมของท่านบางอย่างบางประการที่บริษัทบริวารเอามายกย่องสรรเสริญ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห่อเหิมตามไปด้วย หากมาถึงช่วงนี้อคติที่มีเกี่ยวกับนายปรีดีได้ปลาสนาการไปยิ่งขึ้นทุกที
เมื่อทิฏฐิและข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปถึงเพียงนี้แล้ว จึงไม่ยากที่เมื่อข้าพเจ้าได้รับหนังสือเรื่อง “คำตัดสินใหม่เกี่ยวกับคดีสวรรคต” ที่ตีพิมพ์สำหรับงานฉลองอายุ ๘๐ ปีบริบูรณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ใน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยที่ผู้นำมามอบให้แจ้งว่าท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ขอให้ ๆ ข้าพเจ้าเป็นคนแรก ให้ทันวันที่ ๑๑ พฤษภาคม อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ทั้ง ๆ ที่วันนั้นข้าพเจ้าเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน ถึงบ้านเอาเย็นแต่ก็ได้อ่านหนังสือนั้นจนจบ ซึ่งเป็นเวลาวันใหม่ล่วงแล้วไปหลายชั่วโมง โดยที่ข้าพเจ้าได้อ่านคำคัดค้านและคำฟ้อง คดีอื่น ๆ มาแล้ว เช่น กรณีคึกฤทธิ์ ปราโมช, รอง ศยามานนท์, ประยูร ภมรมนตรี และชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ เป็นต้น
คำพิพากษาคดีสวรรคตที่สยามรัฐจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ และต่อมาพิมพ์แจกในงานวันเกิด ม.ร.ว.บุญลับ พินิจชนคดี ชี้ทางให้ข้าพเจ้าไปสู่ความมืดบอดฉันใด คำตัดสินใหม่นี้ชี้ทางสว่างให้ข้าพเจ้าฉันนั้น
วันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้านั่งนักตรึกตรองอยู่แทบทั้งวัน ว่าจะขอขมาโทษนายปรีดีอย่างไรดี ตนจึงจะพ้นผิดและบาปอกุศลอันตนได้เคยประกอบมาทั้งทางมโนกรรม วจีกรรมและ กายกรรม ผลก็คือได้เริ่มร่างจดหมายแล้วส่งไปในวันที่ ๑๓ พฤษภาคมนั้นเอง
No comments:
Post a Comment