บทความเนื่องในวาระ ๗๕ ปีการอภิวัฒน์การปกครอง
แผนลิดลอนปรีดี พนมยงค์
ตอนที่ ๕. ต้นแบบเผด็จการ
นายจรูญ สืบแสง ลุกขึ้นอภิปราย กรณีที่พระยามโนฯ ให้ทหารมาตรวจค้นอาวุธสมาชิกสภาผู้แทนฯว่า
“แรกเริ่มเริ่มก็พกอาวุธปืนกันได้ แต่การพกมิได้หาเรื่องจะยิงกัน เป็นการพกเพื่อป้องกันตัวและแต่ก่อนก็มิได้มีการตรวจค้น ทำไมเพิ่งจะมารู้สึกเกรงกลัวกันในเวลานี้เอง และได้ทราบว่าเวลานี้ นายกรัฐมนตรีได้อพยพไปอยู่ในวังปารุสกวัน เพราะเหตุใด เพราะกลัวจะถูกยิงหรือ ?
ทหารที่เอามารักษาการตามความที่ตกลงกันไว้แต่ดั้งเดิมมีว่าจะป้องกันอันตรายแก่สมาชิกของสภา ไมให้คนข้างนอกมาทำอันตรายแก่สมาชิก มาบัดนี้เอาทหารมารักษาป้องกันมิให้สมาชิกทำอันตรายซึ่งกันและกัน ตัวข้าพเจ้าเองก็รู้สึกว่าถูกหมายหน้าไว้ว่าจะเป็นผู้กระทำการรุนแรงนี้ ความจริงสำหรับการชนิดนี้ ข้าพเจ้าในเกียรติยศของลูกผู้ชายจะให้ Assuranace ว่าจะไม่กระทำการรุนแรง ถ้าจำเป็นแล้วก็เล่นอย่างที่เรียกว่า Frairplay เช่นกับว่าต้องการยิงหรือทำร้ายพระยามโนฯ พระยาศรีฯ หรือนายประยูร เป็นต้น ก็จะบอกให้รู้ตัวว่าจะยิ่งเล่นอย่างยุติธรรมไม่ทำอย่างที่ว่า “ลอบกัด”
อีกประการหนึ่ง การที่จะยิงกันในสภานั้นไม่ใช่ของดี ซึ่งข้าพเจ้าเองก็รู้ดี ก็เช่นนั้นจะทำให้เป็นที่เสื่อมทรามขายหน้าทำไม เพราะนอกจากจะกระทำความระส่ำระสายภายในแล้ว ต่างประเทศเขารู้ก็จะดูถูกได้ ทหารที่เอามานี้ดูเหมือนว่าไม่ได้เอามาเพื่อรักษาการณ์ แต่เอามาเพื่อท้าทายให้รบ ซึ่งใครจะรู้สึกอย่างไร อำนาจที่บังคับบัญชาทหารเช่นนี้เป็นอำนาจอย่างติตเตเตอร์ ผิดกับการปกครองอย่างที่มีรัฐธรรมนูญเมื่อคราวก่อนี้ก็ครั้งหนึ่ง คือ เมื่อวันพุธมีประชุมพิเศษ คณะรัฐมนตรีนึกว่าจะมีโหวตคอนฟีเดนซ์
สังเกตดูทหารเข้ามาอยู่มาก ตามบริเวณข้างนอก และดูเหมือนเอาลูกบอมส์มาด้วยสำหรับคอยระวังเวลาโหวต การที่ทำเช่นนี้เพราะอะไร เพื่อเอาอำนาจที่ได้ข่าวว่าจะมีโหวตคอนฟิเดนซ์นั้น นำทหารเข้ามาเพื่อจะล้มสภาหรือ ? ทำเช่นนี้ถูกอยู่หรือ ข้าพเจ้าเห็นว่าที่รัฐมนตรีทำนั้นไม่ถูกกับรัฐธรรมนูญ เป็นการผิดเพราะการห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ย่อมทำได้ด้วยอำนาจของสภาทำไมคณะรัฐมนตรีจึงได้ใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมเช่นนี้ มี Reason อย่างใด”
นายควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิทอภัยวงศ์) อภิปรายว่า การกระทำครั้งนี้ผิดมาก รู้สึกว่าคณะรัฐมนตรีจะกลับกลายเป็นดิตเตเตอร์ไปเสียแล้ว อำนาจสภาย่อมอยู่เหนือคณะรัฐมนตรี ซึ่งทราบกันดีอยู่ทุกคนแล้ว การกระทำครั้งนี้ทำให้เกิดความระส่ำระสาย อับอายขายหน้าเพราะไหนหนังสือพิมพ์จะนำไปลงเป็นการรัฐมนตรีใช้อำนาจไม่ชอบด้วยทางทหาร จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีแถลงในเรื่องนี้ว่า เหตุใดจึงไม่ไว้วางใจเรา หรือจะเดินแบบดิตเตเตอร์ชิปก็ให้รู้กันไป (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๔๗๕)
ยังมีสมาชิกสภาอีกหลายคน ติเตียนการกระทำของรัฐบาลว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง ในที่สุดที่ประชุมสภาได้ลงมติว่า ในสภานั้น ประธานสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ใดจะมาสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การตรวจค้นอาวุธสมาชิกสภาเช่นนี้ ย่อมทำไม่ได้
ในวันนั้น เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาไม่ได้มาประชุม พล.ร.ต.พระยาศรยุทธเสนี ทำการแทน ได้ยอมรับต่อที่ประชุมสภาว่า ต่อไปจะไม่ให้ผู้อื่นมาใช้อำนาจในสภาเช่นนี้อีก
การเอาทหารมาควบคุมสภาผู้แทน ฯ และยังให้ทหารค้นอาวุธสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ทั้ง ๆ ที่มีตำรวจสภาอยู่แล้ว นับว่าเป็นพฤติการณ์ของเผด็จการโดยแท้
สถานการณ์ได้ก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤติเช่นนี้ แทนการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย พระยามโนปกรณ์ฯ กลับแก้ปัญหาด้วยการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ ประกาศปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญพร้อมกับยุบคณะรัฐมนตรีเสีย
ได้มีผู้วิจารณ์กันมากว่า การกระทำของพระยามโนปกรณ์นิติธาดานี้เป็นการถอยหลังเข้าคลอง และเป็นต้นแบบให้แก่นักเผด็จการทั้งหลายต่อมา อาทิ จอมพล ป.พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิตติขจร, ผิน ชุณหะวัน ล้วนต่างก็ใช้การกระทำรัฐประหารแก้ปัญหาบ้านเมืองทั้งสิ้น
นายจรูญ สืบแสง ลุกขึ้นอภิปราย กรณีที่พระยามโนฯ ให้ทหารมาตรวจค้นอาวุธสมาชิกสภาผู้แทนฯว่า
“แรกเริ่มเริ่มก็พกอาวุธปืนกันได้ แต่การพกมิได้หาเรื่องจะยิงกัน เป็นการพกเพื่อป้องกันตัวและแต่ก่อนก็มิได้มีการตรวจค้น ทำไมเพิ่งจะมารู้สึกเกรงกลัวกันในเวลานี้เอง และได้ทราบว่าเวลานี้ นายกรัฐมนตรีได้อพยพไปอยู่ในวังปารุสกวัน เพราะเหตุใด เพราะกลัวจะถูกยิงหรือ ?
ทหารที่เอามารักษาการตามความที่ตกลงกันไว้แต่ดั้งเดิมมีว่าจะป้องกันอันตรายแก่สมาชิกของสภา ไมให้คนข้างนอกมาทำอันตรายแก่สมาชิก มาบัดนี้เอาทหารมารักษาป้องกันมิให้สมาชิกทำอันตรายซึ่งกันและกัน ตัวข้าพเจ้าเองก็รู้สึกว่าถูกหมายหน้าไว้ว่าจะเป็นผู้กระทำการรุนแรงนี้ ความจริงสำหรับการชนิดนี้ ข้าพเจ้าในเกียรติยศของลูกผู้ชายจะให้ Assuranace ว่าจะไม่กระทำการรุนแรง ถ้าจำเป็นแล้วก็เล่นอย่างที่เรียกว่า Frairplay เช่นกับว่าต้องการยิงหรือทำร้ายพระยามโนฯ พระยาศรีฯ หรือนายประยูร เป็นต้น ก็จะบอกให้รู้ตัวว่าจะยิ่งเล่นอย่างยุติธรรมไม่ทำอย่างที่ว่า “ลอบกัด”
อีกประการหนึ่ง การที่จะยิงกันในสภานั้นไม่ใช่ของดี ซึ่งข้าพเจ้าเองก็รู้ดี ก็เช่นนั้นจะทำให้เป็นที่เสื่อมทรามขายหน้าทำไม เพราะนอกจากจะกระทำความระส่ำระสายภายในแล้ว ต่างประเทศเขารู้ก็จะดูถูกได้ ทหารที่เอามานี้ดูเหมือนว่าไม่ได้เอามาเพื่อรักษาการณ์ แต่เอามาเพื่อท้าทายให้รบ ซึ่งใครจะรู้สึกอย่างไร อำนาจที่บังคับบัญชาทหารเช่นนี้เป็นอำนาจอย่างติตเตเตอร์ ผิดกับการปกครองอย่างที่มีรัฐธรรมนูญเมื่อคราวก่อนี้ก็ครั้งหนึ่ง คือ เมื่อวันพุธมีประชุมพิเศษ คณะรัฐมนตรีนึกว่าจะมีโหวตคอนฟีเดนซ์
สังเกตดูทหารเข้ามาอยู่มาก ตามบริเวณข้างนอก และดูเหมือนเอาลูกบอมส์มาด้วยสำหรับคอยระวังเวลาโหวต การที่ทำเช่นนี้เพราะอะไร เพื่อเอาอำนาจที่ได้ข่าวว่าจะมีโหวตคอนฟิเดนซ์นั้น นำทหารเข้ามาเพื่อจะล้มสภาหรือ ? ทำเช่นนี้ถูกอยู่หรือ ข้าพเจ้าเห็นว่าที่รัฐมนตรีทำนั้นไม่ถูกกับรัฐธรรมนูญ เป็นการผิดเพราะการห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ย่อมทำได้ด้วยอำนาจของสภาทำไมคณะรัฐมนตรีจึงได้ใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมเช่นนี้ มี Reason อย่างใด”
นายควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิทอภัยวงศ์) อภิปรายว่า การกระทำครั้งนี้ผิดมาก รู้สึกว่าคณะรัฐมนตรีจะกลับกลายเป็นดิตเตเตอร์ไปเสียแล้ว อำนาจสภาย่อมอยู่เหนือคณะรัฐมนตรี ซึ่งทราบกันดีอยู่ทุกคนแล้ว การกระทำครั้งนี้ทำให้เกิดความระส่ำระสาย อับอายขายหน้าเพราะไหนหนังสือพิมพ์จะนำไปลงเป็นการรัฐมนตรีใช้อำนาจไม่ชอบด้วยทางทหาร จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีแถลงในเรื่องนี้ว่า เหตุใดจึงไม่ไว้วางใจเรา หรือจะเดินแบบดิตเตเตอร์ชิปก็ให้รู้กันไป (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๔๗๕)
ยังมีสมาชิกสภาอีกหลายคน ติเตียนการกระทำของรัฐบาลว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง ในที่สุดที่ประชุมสภาได้ลงมติว่า ในสภานั้น ประธานสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้ใดจะมาสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การตรวจค้นอาวุธสมาชิกสภาเช่นนี้ ย่อมทำไม่ได้
ในวันนั้น เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาไม่ได้มาประชุม พล.ร.ต.พระยาศรยุทธเสนี ทำการแทน ได้ยอมรับต่อที่ประชุมสภาว่า ต่อไปจะไม่ให้ผู้อื่นมาใช้อำนาจในสภาเช่นนี้อีก
การเอาทหารมาควบคุมสภาผู้แทน ฯ และยังให้ทหารค้นอาวุธสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ทั้ง ๆ ที่มีตำรวจสภาอยู่แล้ว นับว่าเป็นพฤติการณ์ของเผด็จการโดยแท้
สถานการณ์ได้ก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤติเช่นนี้ แทนการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย พระยามโนปกรณ์ฯ กลับแก้ปัญหาด้วยการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ ประกาศปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญพร้อมกับยุบคณะรัฐมนตรีเสีย
ได้มีผู้วิจารณ์กันมากว่า การกระทำของพระยามโนปกรณ์นิติธาดานี้เป็นการถอยหลังเข้าคลอง และเป็นต้นแบบให้แก่นักเผด็จการทั้งหลายต่อมา อาทิ จอมพล ป.พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิตติขจร, ผิน ชุณหะวัน ล้วนต่างก็ใช้การกระทำรัฐประหารแก้ปัญหาบ้านเมืองทั้งสิ้น
No comments:
Post a Comment