ส.ศิวรักษ์ลอกคราบชนชั้นกฎุมพีของตน
ตอนที่ ๔
เราเป็นเด็กชั้นหลัง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระยาศรีวิศาลวาจานั้นเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันนายปีรดี ที่นายควงนำเอามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของเขา เพื่อโค่นล้างเพื่อนน้ำมิตรเดิม ยิ่งพระยาศรีฯ เป็นโหรที่มาหาเจ้าคุณอาจารย์ที่วัดเป็นประจำ โดยมาซ้ำเติมนายปรีดี พนมยงค์และพวกอยู่เสมอ แล้วเราหรือจะไม่เชื่อเจ้าคุณพระยาอดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศที่หนุ่มที่สุดในเวลานั้น ซึ่งได้ดีเพราะความรู้ความสามารถแห่งความเป็นนักเรียนอังกฤษโดยไม่มีชาติวุฒิเกี่ยวข้อง กระไรได้ ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าเติบโตขึ้น ได้เรียนรู้ว่าท่านปราศจากความสามารถในการบริหาร และขาดจริยธรรมหลักในการตัดสินใจเสียด้วย
ยิ่งตอนท่านยอมลดสถานะจากองคมนตรี ลงมาเป็นสมุนรับใช้เผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ด้วยแล้ว ยิ่งเห็นจุดยืนของท่านอย่างเด่นชัดว่า ผู้ที่รับพระราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญในรัชกาลที่ ๗ มีจิตสำนึกต่อต้านประชาธิปไตยเพียงใด
และที่ร้ายยิ่งกว่านั้นก็ตรงที่จอมพลสฤษดิ์ไม่เห็นคุณค่าของบุคคลผู้นี้ ถึงกับเคยเอ็ดเอาต่อหน้าธารกำนัล โดยเห็นว่าคุณสมบัติของท่านด้อยกว่าหลวงวิจิตรวาทการด้วยประการทั้งปวงอีกด้วย
ว่าจำเพาะตัวข้าพเจ้า แม้เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ได้เริ่มหาหนังสือจากหอสมุดมาอ่านอยู่อย่างขะมักขะเม้นเช่น สาส์นสมเด็จ ซึ่งเพิ่งเริ่มมีพิมพ์เป็นเล่มแรกในงานศพพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยที่สมัยนั้นตลาดหนังสือก็อุดมไปด้วยเรื่องราวที่ยกย่องสมัยเจ้าโดยโยนความผิดต่าง ๆ ไปให้คณะราษฎร หนังสือของ “ไทรน้อย” “นายหนหวย” ฯลฯ ล้วนสรรเสริญ “เจ้าฟ้าประชาธิปก” “ราชันย์ผู้นิราศ” และพระองค์เจ้าบวรเดช ยังบุคคลเช่นพระยาศราภัยพิพัฒน์ผู้เขียนเรื่อง “ฝันร้ายของข้าพเจ้า” ออกมาในช่วงนี้อีกด้วย
แม้ตัวร้ายในเรื่องจะเป็นพิบูลสงครามและอดุลเดชจรัส ยิ่งกว่าประดิษฐ์มนูธรรม แต่แทบทุกกลุ่มก็อดเสียไม่ได้ที่จะให้คะแนนลบแก่ท่านผู้นั้นด้วย หาไม่ก็หาทางกระแนะกระแหน เช่น โยงคดีนายถวัติ ฤทธิ์เดช ฟ้องพระปกเกล้าฯ ว่าต้องได้รับความสนับสนุนหรือเห็นชอบจากผู้ที่เขียนแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ โจมตีพระมหากษัตริย์องค์นั้น และเจ้านายในพระราชวงศ์ อย่างไม่ต้องสงสัย
โดยที่รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ภายหลังรัฐประหาร ได้มีขุนนางเก่าเข้าร่วมด้วย และมีทีท่าว่าจะสามารถมาก หากแต่ “ถูกจี้” ออกไปเสียก่อน เราจึงฝันหวานกัน ว่าท่านผู้บริสุทธิ์ยุติธรรมในสมัยราชาธิปไตยเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสคงปกครองบ้านเมืองได้ดีกว่าพวกคณะราษฎรเป็นแน่แท้ เพราะอย่างน้อยหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ทิ้งอุดมการณ์ ๒๔๗๕ ไปแล้ว
ทั้งนี้ย่อมเป็นเหตุให้คนอย่างข้าพเจ้านิยมชมชอบระบบอภิรัฐมนตรี องคมนตรี และวุฒิสภาซึ่งพระมหากษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักเลือกสรรท่านพระน้ำพระยารุ่นลายครามกลับเข้ามามีบทบาทกันอีก โดยทิ้งพวกผู้ก่อการไปเกือบหมดสิ้น แล้วจะไม่ให้เรานิยมชมชอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ยิ่งกว่าฉบับ ๒๔๘๙ กระไรได้
โดยที่ฉบับใต้ตุ่มนั้น ถึงแม้เราจะรังเกียจแต่ก็เห็นว่าเป็นการเหมาะสมแล้วละกระมัง ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาปลดอำนาจพวกที่เป็นคณะราษฎรไปเสียได้ เพราะข้าพเจ้ารำคาญมานานแล้วที่วันที่ ๒๔ มิถุนายนกลายมาเป็นวันชาติ และคณะราษฎรก็ปกครองแผ่นดินมาถึง ๑๕ ปีแล้ว แต่ชีวิตอย่างเรา ๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น โดยเราฝันหวานกันไปว่าประชาธิปไตยใช้เวลาเพียง ๑๕ ปีก็พอ
และเราก็ลืมดูให้กว้างไกลออกไปถึงผลได้ในชนบท ถึงสิทธิเสรีภาพของมวลชน ที่แปรสภาพจากความเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมาเป็นราษฎร คือ เจ้าของประเทศ ที่อย่างน้อยก็มีสิทธิส่งผู้แทนของตนเข้ามายังรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร โดยที่เขาสามารถทำหน้าที่ของเขาอย่างสมควรหรือไม่เพียงใดเป็นอีกประเด็นหนึ่ง
คนที่ไม่รู้จักแยกแยะประเด็นหลักประเด็นย่อย ไม่รู้จักหลักการ อุดมการณ์ว่าแตกต่างไปจากการมอมเมาโดยวิธีโฆษณาชวนเชื่อ ไม่แลเห็นเนื้อหาที่เป็นสาระหรือแก่น ว่าต่างไปจากเปลือกกระพี้ที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยย่อมยากที่จะเลื่อมใสระบบการปกครองโดยวิธีนี้ได้
แม้จอมพลพิบูลจะจี้รัฐบาลควงออกไปแล้ว แต่ก็ฉลาดในการรักษาโครงสร้างอย่างวิธีการของพรรคประชาธิปัตย์และวุฒิสภาไว้ ให้เห็นว่าเขานิยมชมชอบระบอบก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ เสียซ้ำ (โดยเขาเริ่มซื้อผู้แทนพรรคต่าง ๆ มาเป็นพวกเขายิ่งขึ้นทุกที รวมทั้งผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ด้วย)
ที่จริงประเพณีก้มลงกราบถวายบังคม พระราชพิธีถวายพระเพลิง ตลอดจนงานบรมราชาภิเษก ฯลฯ ล้วนเกิดจากน้ำมือรัฐบาลพิบูลสงคราม หรือของพวกรัฐประหารทั้งสิ้น
ใช่แต่เท่านั้นเขายังเชิญเจ้านายและขุนนางเก่า ๆ ตลอดจนพวกปฏิกิริยา เข้าอยู่ในคณะรัฐมนตรีของเขาด้วย เช่น พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย พระยาเทพหัสดินทร์ (ซึ่งเขาเป็นคนเอาเข้าคุกโดยให้จำไว้ตลอดชีวิต และสั่งประหารชีวิตลูกชายท่านมาแล้วถึง ๒ คน) และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น
ยิ่งอภิมหาอำนาจที่พวกเรานับถือมาแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือก่อนนั้น โดยเฉพาะก็อังกฤษและอเมริกา ก็ล้วนรับรองรัฐบาลอย่างนี้ โดยที่กรมประชาสัมพันธ์ (ซึ่งเปลี่ยนมาจากกรมโฆษณาการ) และหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ก็ให้การสนับสนุน (เพราะถ้าไม่สนับสนุนก็ถูกจับกันเป็นระลอก โดยถูกฆ่าตายกันเนือง ๆ ด้วย โดยที่เรากลับไปเกลียดแต่อธิบดีเผ่า ศรียานนท์เพียงคนเดียว โดยที่ยังคิดให้เป็นระบบไม่เป็นนั่นเอง) แล้วเราจะไม่ชอบพอรัฐบาลพิบูลสงครามกระไรได้ เพราะมีทั้งผู้สำเร็จราชการ องคมนตรี วุฒิสมาชิก คอยคานอำนาจไว้ และให้ความรับรองอย่างถูกต้องถ่องแท้อีกด้วย โดยที่ท่านเหล่านี้ส่วนมากเป็นตัวแทนมาจากสายราชาธิปไตย ย่อมช่วยกระพือความคิดอนุรักษ์นิยมเดิมของเราให้เคารพเลื่อมใสรัฐบาลใหม่อยู่เองเป็นธรรมดา
เราเป็นเด็กชั้นหลัง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระยาศรีวิศาลวาจานั้นเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันนายปีรดี ที่นายควงนำเอามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของเขา เพื่อโค่นล้างเพื่อนน้ำมิตรเดิม ยิ่งพระยาศรีฯ เป็นโหรที่มาหาเจ้าคุณอาจารย์ที่วัดเป็นประจำ โดยมาซ้ำเติมนายปรีดี พนมยงค์และพวกอยู่เสมอ แล้วเราหรือจะไม่เชื่อเจ้าคุณพระยาอดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศที่หนุ่มที่สุดในเวลานั้น ซึ่งได้ดีเพราะความรู้ความสามารถแห่งความเป็นนักเรียนอังกฤษโดยไม่มีชาติวุฒิเกี่ยวข้อง กระไรได้ ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าเติบโตขึ้น ได้เรียนรู้ว่าท่านปราศจากความสามารถในการบริหาร และขาดจริยธรรมหลักในการตัดสินใจเสียด้วย
ยิ่งตอนท่านยอมลดสถานะจากองคมนตรี ลงมาเป็นสมุนรับใช้เผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ด้วยแล้ว ยิ่งเห็นจุดยืนของท่านอย่างเด่นชัดว่า ผู้ที่รับพระราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญในรัชกาลที่ ๗ มีจิตสำนึกต่อต้านประชาธิปไตยเพียงใด
และที่ร้ายยิ่งกว่านั้นก็ตรงที่จอมพลสฤษดิ์ไม่เห็นคุณค่าของบุคคลผู้นี้ ถึงกับเคยเอ็ดเอาต่อหน้าธารกำนัล โดยเห็นว่าคุณสมบัติของท่านด้อยกว่าหลวงวิจิตรวาทการด้วยประการทั้งปวงอีกด้วย
ว่าจำเพาะตัวข้าพเจ้า แม้เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ได้เริ่มหาหนังสือจากหอสมุดมาอ่านอยู่อย่างขะมักขะเม้นเช่น สาส์นสมเด็จ ซึ่งเพิ่งเริ่มมีพิมพ์เป็นเล่มแรกในงานศพพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยที่สมัยนั้นตลาดหนังสือก็อุดมไปด้วยเรื่องราวที่ยกย่องสมัยเจ้าโดยโยนความผิดต่าง ๆ ไปให้คณะราษฎร หนังสือของ “ไทรน้อย” “นายหนหวย” ฯลฯ ล้วนสรรเสริญ “เจ้าฟ้าประชาธิปก” “ราชันย์ผู้นิราศ” และพระองค์เจ้าบวรเดช ยังบุคคลเช่นพระยาศราภัยพิพัฒน์ผู้เขียนเรื่อง “ฝันร้ายของข้าพเจ้า” ออกมาในช่วงนี้อีกด้วย
แม้ตัวร้ายในเรื่องจะเป็นพิบูลสงครามและอดุลเดชจรัส ยิ่งกว่าประดิษฐ์มนูธรรม แต่แทบทุกกลุ่มก็อดเสียไม่ได้ที่จะให้คะแนนลบแก่ท่านผู้นั้นด้วย หาไม่ก็หาทางกระแนะกระแหน เช่น โยงคดีนายถวัติ ฤทธิ์เดช ฟ้องพระปกเกล้าฯ ว่าต้องได้รับความสนับสนุนหรือเห็นชอบจากผู้ที่เขียนแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ โจมตีพระมหากษัตริย์องค์นั้น และเจ้านายในพระราชวงศ์ อย่างไม่ต้องสงสัย
โดยที่รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ภายหลังรัฐประหาร ได้มีขุนนางเก่าเข้าร่วมด้วย และมีทีท่าว่าจะสามารถมาก หากแต่ “ถูกจี้” ออกไปเสียก่อน เราจึงฝันหวานกัน ว่าท่านผู้บริสุทธิ์ยุติธรรมในสมัยราชาธิปไตยเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสคงปกครองบ้านเมืองได้ดีกว่าพวกคณะราษฎรเป็นแน่แท้ เพราะอย่างน้อยหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ทิ้งอุดมการณ์ ๒๔๗๕ ไปแล้ว
ทั้งนี้ย่อมเป็นเหตุให้คนอย่างข้าพเจ้านิยมชมชอบระบบอภิรัฐมนตรี องคมนตรี และวุฒิสภาซึ่งพระมหากษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักเลือกสรรท่านพระน้ำพระยารุ่นลายครามกลับเข้ามามีบทบาทกันอีก โดยทิ้งพวกผู้ก่อการไปเกือบหมดสิ้น แล้วจะไม่ให้เรานิยมชมชอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ยิ่งกว่าฉบับ ๒๔๘๙ กระไรได้
โดยที่ฉบับใต้ตุ่มนั้น ถึงแม้เราจะรังเกียจแต่ก็เห็นว่าเป็นการเหมาะสมแล้วละกระมัง ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาปลดอำนาจพวกที่เป็นคณะราษฎรไปเสียได้ เพราะข้าพเจ้ารำคาญมานานแล้วที่วันที่ ๒๔ มิถุนายนกลายมาเป็นวันชาติ และคณะราษฎรก็ปกครองแผ่นดินมาถึง ๑๕ ปีแล้ว แต่ชีวิตอย่างเรา ๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น โดยเราฝันหวานกันไปว่าประชาธิปไตยใช้เวลาเพียง ๑๕ ปีก็พอ
และเราก็ลืมดูให้กว้างไกลออกไปถึงผลได้ในชนบท ถึงสิทธิเสรีภาพของมวลชน ที่แปรสภาพจากความเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมาเป็นราษฎร คือ เจ้าของประเทศ ที่อย่างน้อยก็มีสิทธิส่งผู้แทนของตนเข้ามายังรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร โดยที่เขาสามารถทำหน้าที่ของเขาอย่างสมควรหรือไม่เพียงใดเป็นอีกประเด็นหนึ่ง
คนที่ไม่รู้จักแยกแยะประเด็นหลักประเด็นย่อย ไม่รู้จักหลักการ อุดมการณ์ว่าแตกต่างไปจากการมอมเมาโดยวิธีโฆษณาชวนเชื่อ ไม่แลเห็นเนื้อหาที่เป็นสาระหรือแก่น ว่าต่างไปจากเปลือกกระพี้ที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยย่อมยากที่จะเลื่อมใสระบบการปกครองโดยวิธีนี้ได้
แม้จอมพลพิบูลจะจี้รัฐบาลควงออกไปแล้ว แต่ก็ฉลาดในการรักษาโครงสร้างอย่างวิธีการของพรรคประชาธิปัตย์และวุฒิสภาไว้ ให้เห็นว่าเขานิยมชมชอบระบอบก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ เสียซ้ำ (โดยเขาเริ่มซื้อผู้แทนพรรคต่าง ๆ มาเป็นพวกเขายิ่งขึ้นทุกที รวมทั้งผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ด้วย)
ที่จริงประเพณีก้มลงกราบถวายบังคม พระราชพิธีถวายพระเพลิง ตลอดจนงานบรมราชาภิเษก ฯลฯ ล้วนเกิดจากน้ำมือรัฐบาลพิบูลสงคราม หรือของพวกรัฐประหารทั้งสิ้น
ใช่แต่เท่านั้นเขายังเชิญเจ้านายและขุนนางเก่า ๆ ตลอดจนพวกปฏิกิริยา เข้าอยู่ในคณะรัฐมนตรีของเขาด้วย เช่น พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย พระยาเทพหัสดินทร์ (ซึ่งเขาเป็นคนเอาเข้าคุกโดยให้จำไว้ตลอดชีวิต และสั่งประหารชีวิตลูกชายท่านมาแล้วถึง ๒ คน) และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น
ยิ่งอภิมหาอำนาจที่พวกเรานับถือมาแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือก่อนนั้น โดยเฉพาะก็อังกฤษและอเมริกา ก็ล้วนรับรองรัฐบาลอย่างนี้ โดยที่กรมประชาสัมพันธ์ (ซึ่งเปลี่ยนมาจากกรมโฆษณาการ) และหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ก็ให้การสนับสนุน (เพราะถ้าไม่สนับสนุนก็ถูกจับกันเป็นระลอก โดยถูกฆ่าตายกันเนือง ๆ ด้วย โดยที่เรากลับไปเกลียดแต่อธิบดีเผ่า ศรียานนท์เพียงคนเดียว โดยที่ยังคิดให้เป็นระบบไม่เป็นนั่นเอง) แล้วเราจะไม่ชอบพอรัฐบาลพิบูลสงครามกระไรได้ เพราะมีทั้งผู้สำเร็จราชการ องคมนตรี วุฒิสมาชิก คอยคานอำนาจไว้ และให้ความรับรองอย่างถูกต้องถ่องแท้อีกด้วย โดยที่ท่านเหล่านี้ส่วนมากเป็นตัวแทนมาจากสายราชาธิปไตย ย่อมช่วยกระพือความคิดอนุรักษ์นิยมเดิมของเราให้เคารพเลื่อมใสรัฐบาลใหม่อยู่เองเป็นธรรมดา
No comments:
Post a Comment