Thursday, April 24, 2008

บทความที่๔๒๑.การครองโลกของสหรัฐอเมริกา(จบ)

การครองโลกของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ ๓ (จบ)
“นับตั้งแต่การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ปารีสกลายเป็นต้นกำเนิดแห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศในยุโรปและเอเซีย การอภิวัฒน์ทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิวัติยังคงสืบทอดอยู่ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาที่อยู่นั่น มาร์กซ์ เองเกลส์ และเลนิน นักอภัวฒน์ผู้ยิ่งใหญ่ เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ที่นั่น ชาวเอเซียหลายคนที่ปรารถนาเอกราชที่สมบูรณ์ของชาติ และต้องการนำชาติของตนให้พ้นจากการปกครองแบบอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม ต่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะเหงียน ไอ ก็อค (โฮจิมินห์) โจวเอินไหล เฉินยี่ และนักปฏิวัติชาติอื่นๆ”

“สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น นอกจากข้าพเจ้าจะรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกันและกับเพื่อนชาวฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รู้จักนักอภิวัฒน์เอเซียกลุ่มและต่อมาพวกเราได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความสมานฉันท์และพันธมิตรแห่งเอเซีย”

“ขอให้นึก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศสยามเป็นประเทศเดียวในบรรดาประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่เป็นเอกราช และเป็นสมาชิกดั้งเดิมของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขณะนั้นเวียดนาม กัมพูชา และลาวเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พม่า มาลายู และสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อินโดนีเซียเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ ส่วนฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา”

“ผู้รักชาติจำนวนหนึ่งในประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองและอุดมการณ์ต่างกัน ก็ได้ลี้ภัยหลบซ่อนเข้ามาอยู่ในสยาม ในบรรดาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เหงียน ไอ ก็อค เป็นผู้หนึ่งที่เข้ามาเป็นครั้งคราว ชื่อของเขามีความหมายว่า “เหงียนผู้รักชาติ” เขาเป็นผู้รักชาติที่ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม โดยใช้นามแฝงหลายชื่อก่อนใช้ชื่อว่า “โฮจิมินห์” ในที่สุด เขาได้ลค้ยภัยเข้ามาในสยาม ๒ ครั้ง และพำนักอยู่ระยะหนึ่งโดยใช้ชื่ออีกหลายชื่อ”

“ข้าพเจ้ามีความเห็นใจผู้รักชาติลี้ภัยทุกคนที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์ เพราะแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกทางของตน”

“ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยึดครองทั่วเอเซียอาคเนย์ ญี่ปุ่นหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในประเทศอาณานิคมเหล่านี้ จึงได้ช่วยบรรดาผู้รักชาติจัดตั้งรัฐบาลที่ตนเรียกว่า “รัฐบาลเอกราช” เช่น รัฐบาลเอกราชพม่า ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบามอ ต่อจากนั้นญี่ปุ่นก็ได้สนับสนุนจักพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และกษัตริย์ลาวเพื่อประกาศอิสรภาพ ผู้รักชาติส่วนใหญ่รู้ดีว่า การกระทำของญี่ปุ่นมีจุดหมายเพื่อเปลี่ยนเจ้าอาณานิคมเก่าไปเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่ โดยมีญี่ปุ่นเป็นนาย เพราะทุกประเทศที่ถือว่าได้รับเอกราชใหม่ จะต้องเข้าไปเป็นอาณษนิคมแบบใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันในนาม “การร่วมวงไพบูลย์แห่งเอเซียบูรพา” มีการตั้งกระทรวง “กิจการมหาเอเซียบูรพา” ขึ้นเป็นกระทรวงใหม่ของญี่ปุ่น เพื่อรับผิดชอบกิจการเกวี่ยวกับประเทศเหล่านี้ รวมทั้งประเทศที่อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น และรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว รัฐวังจิงไวของจีนและรัฐสยาม”

“จากการที่ข้าพเจ้าได้สนทนากับผู้รักชาติเหล่านี้ เราได้ลงความเห็นกันว่า ในอนาคตอันใกลนี้ทุกประเทศในเอเซี๊อาคเนย์จะได้รับเอกราช อันเป็นผลจากความพยายามของพวกเขาเองแต่เราจะต้องเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่สองประเทศ ได้แก่ จีนคณะชาติ ซึ่งโดดเด่นขึ้นมาหลังชัยชนะญี่ปุ่น อกีประเทศหนึ่งคืออินเดียซึ่งได้เอกราชจากอังกฤษ ฉะนั้นหากพวกเราแต่ละประเทศต่างคนต่างอยู่ภายหลังทุกประเทศในภูมิภาคนี้ได้เอกราชแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะป้องกันตนเองในกรณีที่ยักษ์ใหญ่สองประเทศรุกรานเรา”

“ด้วยเหตุนี้ เราจึงก่อตั้งสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการป้องกันประเทศ องค์การนี้มิได้เป็นสหภาพหรือสมาพันธรัฐ เนื่องจากแต่ละประเทศมีอิสระทั้งกิจการภายในและกิจการต่างประเทศของตนอย่างสมบูรณ์ องค์การนี้เป็นเพียง “ความเข้าใจกันอย่างฉันท์มิตร” ระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเท่านั้น เพื่อที่จะทำให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ยอมรับสมาคมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเติ่มก่อตั้งสมาคมให้เป็นองค์การของประชาชน เนื่องจากประเทศสยามตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคนี้ ข้าพเจ้าจึงรับที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางแห่งแรกขององค์การ ด้วยการให้สร้างที่ทำการและจัดสรรเงินช่วยเหลือตามความจำเป็น”

ท่านปรีดี พนมยงค์ได้บันทึกไว้ว่า

“ผู้รักชาติในประเทศเอเซียอาคเนย์จำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมสมาคมนี้ นักล่าอาณานิคมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ได้กล่าวหาข้าพเจ้าว่า เป็นผู้นำเหล่าขบถในการต่อต้านรัฐบาลอาณานิคม และเป็นศูนย์กลางของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้”

“รัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งกระทำขึ้นเพื่อเอาใจบรรดานักล่าอณานิคม ได้ยุบสมาคมดังกล่าวและแยกสลายบรรดาสมาชิก”

“สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์มิได้เป็นสันนิบาตคอมมิวนิสต์เพราะสมาชิกประกอบด้วยผู้รักชาติทุกแนวทาง รวมทั้งเจ้าเพ็ดชะลาด อดีตมหาอุปราชลาวด้วย จากการสนทนากับเจ้าเพ็ดชะลาดเกี่ยวกับผู้รักชาติบางคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมนิวนสิต์ พระองค์ได้ตอบด้วยการตั้งคำถามว่า คนที่กำลังจมน้ำนั้น จะมีเวลาพอหรือที่จะดูว่า มือที่ยื่นมานั้นมีสีขาวหรือสีแดง?

เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดของ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาเนย์” จะเห็นว่า วัตถุประสงค์หลักของสมาคมนี้ คือการร่วมมือกันเพื่อสรรค์สร้างความเป็นเอกราช อธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนในอินโดจีน ซึ่งเป็นแนวคิดชาตินิยม (Nationalism)สอดคล้องกับหลักแนวคิดอการอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ที่มุ่งเน้นอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ

หากพิจารณาในเลิงเปรียบเทียบจะเห็ฯว่า สาระสำคัญในแนวคิด “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ของนายปีดี พนมยงค์ มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดโครงการ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มุ่งขยายดินแดนของไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นๆที่มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ อันเป็นแนวคิดคลั่งชาติ (Chauvinism) แบบเดีวกับการเน้นสายเลือดอารยันของฮิตเลอร์ และแนวคิด “การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพา” ของญี่ปุ่น

แนวคิดคลั่งชาติ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กองทัพญี่ปุ่นให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในปี .ศ.๒๔๘๒ สาระสำคัญของข้อตกลงดังกล่าว ฝ่ายญี่ปุ่นจะสนับสนุน “มหาอาณาจักรไทย” ในการผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นของไทย คือยึดครองเชียงตุงแล้วเปลี่ยนเป็นสหรัฐไทเดิม ยึดครองดินแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือของลาว สิบสองเจ้าไทย รวมทั้งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือมณฑลยูนนานและภาคใต้ของมณฑลเสฉวน ส่วนทางภาคใต้นั้นญี่ปุ่นได้มอบดินแดนรัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรีให้ไทยครอบครอง

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หลักการ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่า แนวคิดในหลักการดังกล่าวเป็นพลวัตของพัฒนการทางการเมืองและพัฒนาการทางสังคมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ที่สำคัญ เกียรติคุณของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขวนการเสรีไทย ได้รับการยอมรับเชิดชูจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวางว่า เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการอภิวัฒน์สังคม รวมทั้งมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อขบวนการกู้เอกราชในภูมิภาคอินโดจีน กระทั่งประเทศเหล่านี้บรรลุซึ่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เป็นประเทศเอกราช และมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์
เรียบเรียงจากหนังสือ "ปรีดี พนมยงค์ กับ ขบวนการกู้เอกราชในลาว" ของอุดร วงษ์ทับทิม

บทความที่๔๒๐.การครองโลกของสหรัฐอเมริกา(๒)

การครองโลกของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ ๒
ในการทำรัฐประหารของทหารครั้งนั้น มีการจัดกำลังทหารไปจับกุมบุคคลสำคัญของรัฐบาล ๓ สายด้วยกัน สายแรกคือทำเนียบท่าช้าง ซึ่งเป็นสถานที่พำนักของนายปรีดี พนมยงค์ พันโท ก้าน จำนงภูมิเวท ได้ออกคำสั่งให้ทหารยิงปืนประจำรถถังใส่ทำเนียบท่าช้าง และให้รถวิ่งเข้าทำลายประตู ทว่านายปรีดีฯได้หลบหนีออกไปก่อนแล้ว สายที่สองไปที่บ้านของพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ที่ถนนราชวิถี ข้างสวนจิตรลดา แต่ว่าไม่พบตัว สายที่สามคือบ้านของพลเรือตรีสังวร สุวรรณชีพ อธิบดีกรมตำรวจ ทว่าได้หลบหนีไปอยู่ในอารักขาของทหารเรือที่บางนา

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ดุษฎี พนมยงค์ ได้บันทึกไว้ว่า

“คณะรัฐประหารที่นำโดยพลโทผิน ชุณหวัณ ได้สั่งการให้พันโท ละม้าย อุทยานนท์ นำขบวนรถถังบุกมาที่ทำเนียบท่าช้างและยิงถล่มไปที่เป้าหมายคือห้องนอนของนายปรีดีฯ กระสุนปืนหลายนัดเจาะทะลวงตึก รอยกระสุนใหญ่ขนาดนกกระจอกมาทำรังในเวลาต่อมา แต่ไม่มีกระสุนนัดใดยิงถูกห้องนอนของนายปรีดีฯเลย.. ทำเนียบท่าช้างที่เราอาศัยอยู่มี ๓ ชั้น คุณพ่อและคุณแม่นอนอยู่ชั้น ๓ ด้านติดกับห้องพระ ส่วนลูกๆ นอนอยู่อีกด้านหนึ่ง คืนนั้นพอเขายิงปืนเข้ามา คุณแม่ก็มาอยู่ที่ห้องลูกๆ ดิฉันจำได้แม่นว่า คุณแม่ร้องตะโกนสวนออกไปว่า อย่ายิง อย่ายิง ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก.. เป็นการทำสงครามโดยไม่มีการประกาศให้ทราบ และฝ่ายที่ถูกประหัตประหารคือผู้หญิงและเด็กๆ ที่มีแต่มือเปล่าปราศจากอาวุธ นี่เขาเล่นหวังชีวิตเลย เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมยิ่งกว่าสงครามที่มีการประกาศ...สายวันนั้น ร้อยเอก สมบูรณ์ ชุณหวัณ(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นชาติชาย)ได้นำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกเข้าทำเนียบท่าช้างทางประตูหน้า และพยายามที่จะตรวจค้นบ้าน ครูฉลบฉลัยย์ พลางกูร ภรรยาของคุณจำกัด พลางกูร เสรีไทยที่ได้พลีชีพเพื่อชาติที่ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วย ได้เข้าไปเอะอะห้ามปรามอย่างกล้าหาญโดยไม่เกรงกลัวกระบอกปืนเลย...”(ดุษฎี พนมยงค์ ๒๕๔๑:๑๙-๒๑)

เพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้ออกแถลงการณ์โจมมีรัฐบาลว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ และมีการทุจริตคอรัปชั่น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำคณะรัฐประหารได้เปิดเจรจากับนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และเห็นควรให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นคณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ที่ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์ แล้วบังคับใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ซึ่งพลโท หลวงกาจ กาจสงคราม ร่างขึ้นแทน

ก่อนหน้าที่จะลงมือกระทำรัฐประหาร ฝ่ายทหารได้วางแผนปฏิบัติการทางจิตวิทยา ปลุกเร้าทหารในสังกัดกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการโดยยกกรณีการออกคำสั่งปลดทหารในกองทัพพายัพที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในรัฐฉานหรือ “สหรัฐไทเดิม” ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และให้ทหารเหล่านั้นเดินเท้ากลับจากเชียงตุงมาถึงกรุงเทพฯ

สำหรับคณะนายทหารประจำการของกองทัพบกที่เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจภาคสนามในเชียงตุง ในช่วงเวลานั้น พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ท.ถนอม กิติตขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร พ.ท.กฤช ปุญญกันต์ พ.ต.พงษ์ ปุณณกันต์ พ.ท.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา พ.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พ.ต.จิตต์ สุนทานนท์ พ.ต.ผาด ตุงคสมิต ร.อ.สมบูรณ์ ชุณหวัณ (ชาติชาย)และ ร.อ.อนันต์ พิบูลสงคราม ฯลฯ

เป็นหมายหลักของการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว มุ่งโจมตีนายปรีดี พนมยงค์ โดยตรงว่าหมิ่นศักดิ์ศรีกองทัพบก และในช่วงต่อมานายปรีดี ได้มีจดหมายชี้แจงไปยัง่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ดังมีใจความตอนหนึ่งว่า

“รัฐบาลก่อนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี มิได้ปล่อยให้ทหารที่เกณฑ์มาสำหรับทำสงครามอยู่เฉยๆ คือรัฐบาลก่อนนั้นได้ทำการปลดทหารที่เกณฑ์ไปทำสงครามนั้นแล้ว และขอได้โปรดสังเกตุด้วยว่า ระยะเวลา ๖ เดือนก่อนผมเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นเวลานานพอสำหรับรัฐบาลก่อนที่จะทำการปลดทหารเหล่านั้น”

รัฐบาลก่อนหน้านั้นคือรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งลาออกเนื่องจากแพ้มติที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน และต่อมาได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙

หลังจากมีการทำรัฐประหารแล้ว การปฏิบัติการด้านจิตวิทยาของกองทัพบกยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง มีการกล่าวหาจากทหารในกองทัพบกและจากฝ่ายแนวคิดสายอนุรักษ์นิยมว่า “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” เป็นองค์กรสันนิบาติคอมมิวนิสต์ในเอเซียอาคเนย์ การพุ่งเป้าโจมตีใส่ร้ายป้ายสีดังกล่าว ยังผลให้ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ที่ก่อตั้งขึ้นโดยปรีดี พนมยงค์ โฮจิมินห์ และเจ้าอุปราชเพ็ดชะลาด มีอันต้องลดบทบาทและยุบเลิกไปโดยปริยาย

หลังจากนั้น มีการจับกุมบรรดาผู้นำขบวนการเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริทัต นายทองเปลว ชลภูมิ และคนอื่นๆในข้อหากระทำการแบ่งแยกดินแดนอีสานให้เป็นอิสระ

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ย้ายจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาพำนักในกรุงปารีสได้สองปี ได้เขียนหนังสือ MA VIE MOUVEMENTEE ET MES 21 AND D’ EXIL EN CHINE POPULAIRE พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ และจำนงค์ ภาควรวุฒิ-พรทิพย์ โตใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน” กล่าวถึงชีวประวัติช่วงที่ศึกษาอยู่ในฝรั่งเศสและที่มาแห่งการก่อตั้ง “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ไว้ว่า

บทความที่๔๑๙.การครองโลกของสหรัฐอเมริกา(๑)

การครองโลกของสหรัฐอเมริกา

หลังการยอมจำนนของฝ่ายอักษะ คือ เยอรมันและอิตาลีในยุโรป ตามด้วยการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเอเซีย สหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทของตนเองออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น บทบาทดังกล่าวมิใช่ปฏิบัติเพียงเฉพาะประเทศฝ่ายศัตรูที่พ่ายแพ้สงครามเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงพันธมิตรของประเทศเหล่านั้นด้วย พร้อมกันนี้สหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนนโยบายมามุ่งเน้นต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยถือว่า “พรรคคอมมิวนิสต์สากล” นั้นศัตรูอันดับหนึ่ง

วัตถุประสงค์หลักของสหรัฐอเมริกาคือ “การสร้างศตวรรษใหม่และการครอบโลก” ในเชิงปฏิบัติ สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปดำเนินการครอบงำประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเข้าไปผูกขาดและยึดกุมครอบครอง เป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของโลกไว้จดหมดสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำมันซึ่งเป็นยุทธปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อีกทั้งผูกโยงกับอุตสาหกรรมการผลิตและภาวะเศรษฐกิจอย่างแนบแน่น

พร้อมกันนี้ได้เข้าไปเสริมสร้าความแข็งแกร่งและเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารรวมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้แก่บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง หลังสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีจากแฟรงคลิน ดี.รูสเวลท์ มาเป็นเฮนรี่ เอช.ทรูแมน ได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งสำคัญ

เอกสารรายงานของทางสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๔๘๙ ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทบทวนแนวนโยบายเกี่ยวกับจุดยืนในเรื่องชาตินิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์เสียใหม่ ช่วงสมัยประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ให้ความเห็นอกเห็นใจต่อขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต่อสู้เพื่อเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ประธานาธิบดีทรูแมนได้พิจารณาเห็นว่า สมาชิกในขบวนการชาตินิยมบางคนมีแนวคิดอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโฮจิมินห์ผู้ซึ่งในรายงานของหน่วย โอ เอส เอส ระบุว่าเป็น “สมาชิก” ของพรรคคอมมิวนิสต์สากล

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ เอกสารคำรองขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือของโฮจิมินห์ในการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอาณานิคมฝรั่งเศส ที่ยื่นเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๙ จึงมิได้รับการพิจารณาเลยแม้แต่ฉบับเดียว

สถานการณ์ของสหรัฐในช่วงเวลานั้นได้เริ่มแปรเปลี่ยนอย่างมากเรียกได้ว่าเป็นยุค “หมอผีครองเมือง” ก็ว่าได้ เนื่องจากประธานาธิบดี เฮ็นรี่ เอช.ทรูแมน มีแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์อ่างรุนแรง และมีการปลุกผีคอมมิวนิสต์อย่างขนาดใหญ่ ผู้นำสหภาพแรงงาน ผู้นำกรรมกร นักเขียน ศิลปิน ดาราภาพยนตร์ จำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อของขบวนการปลุกผีกดังกล่าว คต้องหนีไปหลบซ่อนต้วอยู่ในซอกเหลือของเมือหญ่ หรือในพื้นที่ชนทบทห่างไกล และมีบางคนที่จำต้องอพยพหนีภัยออกไปอยู่ในต่างประเทศ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ชาลี แชปลิน ที่หลบหนีไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้รับบรรดศักดิ์เป็น “เซอร์ ชาร์ล แชปลิน”

หลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพประชาชนจีน (กองทัพแดง)ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง โจวเอินไหล และนายพล จูเต๋อ ได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาลและกองทัพก๊กมินตั๋ง ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สหรัฐฯมองว่า จีนจะขยายอำนาจอิทธิพลลงมาทางใต้ สถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเด็นปัญหาที่สหรัฐฯให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

กระแสปฏิวัติโลกของรัสเซียและจีนทำให้สหรัฐฯกำหนดนโยบาย “การร่วมมือต่อสู้เพื่อปกป้องโลกเสรีจากภัยพิบัติของลัทธิคอมมิวนิสต์” และกำหนดยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ในการปฏิบัตินโยบายตามยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์สากล ด้วยการรวบรวมบรรดาชาติอิสระมารวมกันเป็นกลุ่มแล้วก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีอาโต้)ขึ้นมาปิดล้อมคอมมิวนิสต์

กรณีของลาว รัฐบาลสหรัฐฯทุ่มเงินช่วยเหลือรัฐบาลลาวฝ่ายขวาในลาว ผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเวียงจันทน์ หน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารและองค์กรข่าวกรองกลางที่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานอยูจำนวนหนึ่ง ภารกิจในช่วงนั้นคือการเข้าไปเสริมสร้าความแข็งแกร่งทางทหาร ติดอาวุธยุทธโปกรณ์อันทันสมัยและฝึกอบทการใช้อาวุธดังกล่าวให้แก่ทหารผ่ายขวา พร้อมกันนี้ยังได้ให้การสนับสนุนทางด้นการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์แก่กองทัพก๊กมินตั่งในพม่า เพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันชนป้องบกันการแพร่ขยายลงมายังภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของลัทธิคอมมิวนิสต์

ส่วนในกรณีของไทย รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองกลางได้สนับสนุนนายทหารกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการ ภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพลโท ผิน ชุนหะวัน อย่างลับๆ ให้กระทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่มีนายปรีดี พนมยงค์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐

คณะนายทหารดังกล่าวประกอบด้วยนายทหารกองทัพบก ตำรวจ และกองทัพอากาศ ๓๖ นาย ได้แก่

๑. จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำการทำรัฐประหาร
๒. พลโท ผิน ชุณหวัณ
๓. พันเอก กาจ กาจสงคราม
๔.พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์
๕. พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย
๖. พันเอก หลวงสถิตยุทธการ
๗.พันเอก น้อม เกตุนุติ
๘.พันเอก ศิลป รัตนวิบูลชัย
๙.พันเอก เผ่า ศรียานนท์
๑๐.พันเอก ไสว ไสวแสนยากร
๑๑.พันเอก ก้าน จำนงภูมิเวท
๑๒.พันเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ
๑๓.พันโท ถนอม กิตติขจร
๑๔.พันโท ประภาส จารุเสถียร
๑๕.พันโท เล็ก สงวนชาติสรไกร
๑๖.พันโท ปรุง รังสิยานนท์
๑๗.พันโท บัญญัติ เทพหัสดินทร์
๑๘.พันโท สุรใจ พูนทรัพย์
๑๙.พันโท ชลอ จารุกลัส
๒๐.พันโท กฤษณ์ ปุณณกันต์
๒๑.พันโท ประเสริฐ รุจิรวงศ์
๒๒.พันโท เผชิญ นิมิบุตร
๒๓.พันโท เฉลิม วงศ์สวัสดิ์
๒๔.พันโท ละม้าย อุทยานนท์
๒๕.พันโท ตรี บุษยกนิษฐ์
๒๖.พันตรี จิตต์ สุทรานนท์
๒๗.พันตรี พงศ์ ปุณณกันต์
๒๘.ร้อยเอก ชาติชาย ชุณหวัณ
๒๙.ร้อยเอก ประจวบ สุนทรางกูร
๓๐.ร้อยเอก ทม จิตต์วิมล
๓๑.ร้อยเอก ขุนปรีชารณเสฏฐ์
๓๒.ร้อยเอก ณรงค์ สาลีรัฐวิภาค
๓๓.ร้อยเอก ทองคำ ยิ้มกำพู
๓๔.นาวาอากาศโท เฉลิม วัฒนากูล
๓๕.นาวาอากาศตรี นักรบ มีศรี
๓๖.ร้อยตำรวจเอก เกษียร ศรุตานนท์

บทความที่๔๑๘.คุณูปการของท่านปรีดีฯต่อขบวนการกู้ชาติในอินโดจีน

คุณูปการของท่านปรีดี พนมยงค์ต่อขบวนการกู้เอกราชในกลุ่มประเทศอินโดจีน

ในช่วงเวลาปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนมีการเคลื่อนไหวและขยายตัวอยู่ในพื้นที่ชนบทภาคใต้ของลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองท่าแขกมีเครือข่ายสมาชิกเข้มแข็งมาก โดยมีเจ้าฟั่นหรือเจ้าสุพานุวง ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการเรียกขานว่า “เจ้าแดง” เป็นผู้นำคนสำคัญร่วมกับไกสอน พมวิหาน สิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี และหนูฮัก พูมสะหวัน

เจ้าสุพานุวงและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมอยู่ในขบวนการลาวอิสระและคณธกรรมการราษฎร ในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชและอิสรภาพของลาว เดือนกันยายน ๒๔๘๘ หนึ่งเดือนก่อนหน้าที่จะมีการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสและเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๑๒ ตุลาคม เจ้าสุพานุวงได้เปิดประชุมบรรดาสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคกลางของประเทศเพื่อกำหนดแนวทางการต่อต้านฝรั่งเศส ปลายเดือนตุลาคมได้เปิดประชุมบรรดาสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานในประเด็นเดียวกันที่ภาคใต้ จากนั้นเดินทางมาประชุมเคลื่อนไหวศูนย์กลางที่เวียงจันทน์ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ เจ้าสุพานุวงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและผู้บัญชาการทหารสูงสุด

แนวคิดมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ขยายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนชนบทป่าเขา ที่มีชนชาติส่วนน้อยตั้งถิ่นฐานอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งนี้อาศัยประเด็นปัญหาการถูกกดขี่เป็นทาสแรงงานและการถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เป็นพลเมืองที่ต่ำต้อยด้อยกว่ามาแต่โบราณเป็นเงื่อนไขหลัก ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวนี้ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้มีการจัดตั้งแกนนำหมู่บ้านขึ้นในพื้นที่เมืองท่าแขกและชนบทรอบนอก รวมทั้งเมืองต่างๆแถบภาคใต้

รายงานของเพนตากอนระบุว่า โฮจิมินห์และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนส่วนหนึ่งได้ใช้กระแสชาตินิยมและกระแสการเรียกร้องเอกราช-อิสรภาพมาเป็นเงื่อนไขในการปฏิวัติสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศในอินโดจีนไปสู่การเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ จึงได้ระงับให้การช่วยเหลือ พร้อมกันนี้ก็แสวงหาแนวทางในการสะกัดกั้นหยุดยั้งการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนอินโดจีนและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

มีการสรุปผลการศึกษาออกมาว่า โฮจิมินห์ใช้วิธีสร้างสามัคคีประชาชาติและหลอมรวมความคิดของคนในชาติให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องเอกราช ปลดปล่อยตนเองจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยผ่านทางแนวคิดชาตินิยมเช่นเดียวกับที่นายพล ตีโต้แห่งยูโกสลาเวียได้นำมาใช้จนประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากกรณีของลาว มีการเรียกขานลัทธิชาตินิยมว่า “ลัทธิฮักชาติ”

ข้อมูลหลักฐานที่เพนตากอนนำมาสนับสนุนข้อกล่าวหาข้างต้นคือโทรเลขของเจ้าสุพานุวงในนามของรัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลลาวอิสระ ฉบับลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ ที่มีไปถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามที่ฮานอยและหัวหน้าลาวอิสระในหลวงพระบาง ซำเหนือ สะหวันนะเขด และตัวแทนประจำเมืองนาเปและเซโปน แจ้งให้ทราบว่า ได้มีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการลาวอิสระขึ้นที่ถนนบาเตรียงในฮานอย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลลาวอิสระกับเวียดมินห์พร้อมกับกล่าวในนามของรัฐบาลและประชาชนว่า มุ่งมั่นที่จะแจ้งให้ชาวโลกประจักษ์ว่า “ประชาชนลาวพร้อมจะสละทุกสิ่งทุกอย่าง กระทั่งเลือดหยดสุดท้าย เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชและอิสภาพ โดยจะร่วมต่อสู้กับเวียดนามและมิตรประเทศอื่นๆ”

ด้วยเหตุผลข้างต้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้ร่วมมือกับรัฐบาลฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด ในการแสวงหาแนวทางการป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในการนี้ ได้มการศึกษาถึงยุทธวิธีของโฮจิมินห์ที่ใช้ในการเผยแพร่แนวคิดอุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ รวมทั้งการขยายฐานมวลชนในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา

แผนการร่วมือของประชาชนในเอเซียอาคเนย์ หรือ “สมาคสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ของนายปรีดี พนมยงค์ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายปรีดี พนมยงค์กับโฮจิมินห์ รวมทั้งความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีต่อ “ขบวนการเวียดนาม ดอคแล็บ ดองมินห์” หรือ “เวียดมินห์” และบรรดามิต ประเทศในอินโดจีน เช่น การก่อตั้ง “ขบวนการเสรีลาว” หรือ “องค์กรลาวอิสระ” ได้เป็นประเด็นสำคัญในรายงานข่าวกรองของหน่วย โอ เอส เอส ว่า “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ของนายปรีดี พนมยงค์ นั้นเป็นองค์กรของพวกคอมมิวนิสต์

นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังได้เพ่งเล็งถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างนายปรีดี พนมยงค์กับบรรดาผู้นำขบวนการชาตินิยมในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา พร้องกับดึงมาเป็นประเด็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้แก่สหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเกรงว่า นายปรีดี พนมยงค์ และโฮจิมินห์จะนำบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ระบบสังคมนิยม

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๖ ช่วงนายปรีดี พนมยงค์เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจเพื่อให้พิจารณาใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถูกบรรดานักการเมืองฝ่ายตรงข้ามวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า เป็นการนำเอาแนวความคิดคอมมิวนิสต์มาใช้และเตรียมการปฏิวัติแบบเลนิน

ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการสอบสวนหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) เป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๗๖ ประธานสภาได้สรุปผลการสอบสวน หลวงประดิษฐ์ฯไม่มีมลทินในเรื่องคำกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์เลย

ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์ภายในประเทศไทยเองก็อยู่ในสภาวะตึงเครียด การปฏิวัติบอลเชวิคในรัสเซียได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๗)ได้กล่าวหาว่า เค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นการนำเอาโครงการแบบคอมมิวนิสต์รัสเซียมาใข้ และหวาดกลัวว่าจะมีการนำเอาการปกครองแบบมหาชนรัฐมาปกครองประเทศ

สำหรับความร่วมมือและความช่วยที่นายปรีดีและขบวนการเสรีไทยมีให้ต่อขบวนการกู้ชาติลาวนั้น โชติ เพชราสี รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและวางแผน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายลาวรักชาติประจำนครเวียงจันทน์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

“ความจริงแท้อันหนึ่งก็คือ ตอนที่ขบวนแนวลาวอิสระกำลังต่อต้านฝรั่งเศสทางผู้ครองอำนาจของไทยตอนนั้นคือขบวนการเสรีไทย พร้อมทั้งมวลประชาชนไทยได้ให้ความสนับสนุนดูแลอย่างดียิ่ง การสนับสนุนของไทยในครั้งนั้นได้เป็นบุญคุณแก่ขบวนการลาวอิสระและประวัติศาสตร์ลาว พวกข้าพเจ้าในขบวนการกู้ชาติขอจารึกคุณงามความดีของประชาชนไทย และบรรดาท่านที่ครองอำนาจในสมัยนั้นไว้อย่างสูงเสมอ”

Wednesday, April 23, 2008

บทความที่๔๑๗.สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ (จบ)

สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ ตอนที่ ๒ (จบ)
นอกเหนือจากอาวุธยุทโธปกรณ์ที่หน่วยบริการทางยุทธศาสตร์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา (OSS)มอบให้ขบวนการเสรีไทย และนายปรีดี พนมยงค์ได้จัดส่วนหนึ่งส่งไปช่วยโฮจิมินห์ในการตั้งกองกำลังกู้ชาติจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแล้ว หน่วยงาน โอ.เอส.เอส.ยังได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ขบวนการพันธมิตรเพื่อเอกราชของเวียดนาม “ขบวนการเวียดมินห์” ในการต่อสู้ขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากอินโดจีน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอให้ขบวนการเวียดมินห์ช่วยเหลือนักบินชาวอเมริกัน ๓ นายที่ถูกทหารญี่ปุ่นคุมขังไว้ในเวียดนามหลังเครื่องบินถูกยิงตก

ในการนี้ ปอล อี.เฮลลิเวลล์ หัวหน้าสำนักงานของหน่วย โอ เอส เอส ภาคพื้นแปซิฟิค ประจำเมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ได้ขอให้โฮจิมินห์รับเงื่อนไขว่าหลังจากที่ได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกไปอินโดจีนแล้ว จะไม่ใช้อาวุธที่ได้รับความช่วยเหลือเหล่านี้ไปรบกับฝรั่งเศส ทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาถือว่า ดินแดนอินโดจีนยังคงเป็นของฝรั่งเศส ทว่าโฮจิมินห์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามโฮจิมินห์ได้ให้คำมั่นว่า ยินดีให้ความช่วยเหลือทหารอเมริกันที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในเวียดนามเหนืออย่างเต็มที่ และได้ส่งกำลังบุกเข้าไปช่วยนักบินทั้ง ๓ นายซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ ออกมาจากที่คุมขังได้อย่างปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๘ กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์โจมตีที่ตั้งขนาดกองร้อยของทหารญี่ปุ่นที่ “ตันเตา” และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน กองกำลังติดอาวุธของโฮจิมินห์ได้โจมตีที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่นที่ “ตำดาว” จากนั้นวันที่ ๑๗ สิงหาคม ปฏิบัติการ “Deer Team” ของ โอ เอส เอส คณะทหารอเมริกันนำโดย พ.ต.อาร์คีมีดิส แพตตี ก็ได้กระโดดร่มลงในดินแดนอินโดจีน และได้ติดต่อกับวัน ซุน ผู้บัญชการทหารของเวียดมินห์ ซึ่งก็คือ นายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ที่ช่วงนั้นยังไม่เปิดเผยนามจริงต่อทหาร โอ เอส เอส

ต่อมามีคณะทหาร โอ เอส เอส อีกคณะหนึ่งนำโดย พ.ต.แอลลิสัน โธมัส พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์หลายชนิดซึ่งมากพอสำหรับทหาร ๓๐๐ กว่าคน ได้เข้าไปช่วยฝึกสอนการใช้อาวุธสมัยใหม่ให้แก่ทหารเวียดมินห์ประมาณ ๓๕๐ คน จากนั้นทหารเวียดมินห์ซึ่งมีทหาร โอ เอส เอส ร่วมด้วย ได้ปฏิบัติการโจมตีที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นหลายแห่ง

นอกเหนือจากความช่วยเหลือของขบวนการเสรีไทยและ โอ เอส เอส ที่มีต่อขบวนการเวียดมินห์แล้ว เวียดมินห์ยังได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ฝ่ายอังกฤษทิ้งร่มให้

ต่อมาพันตรี Archimedes L.A.Patti ซึ่งเคยปฏิบัติการรบร่วมกับกองทหารเวียดมินห์ ภายใต้การบัญชาการของนายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ได้เขียนหนังสือ “Why Veitnam? Prelude to America’s Albatross” จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียที่เบิร์คเล่ย์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ระบุว่า โฮจิมินห์ได้ช่วย โอ เอส เอส วางเครือข่ายข่าวกรองของ โอ เอส เอส ทั่วเวียดนาม และในปี พ.ศ.๒๔๘๘ โฮจิมินห์และนายทหาร โอ เอส เอส ผุ้หนึ่งได้ร่วมกันร่างข้อตกลงร่วมมือกันระหว่างโฮจิมินห์และสหรัฐฯ จากนั้นยื่นเสนอไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ

ทว่าทางการสหรัฐฯ เพิกเฉย ไม่มีคำตอบใดๆ โฮจิมินห์จึงหันไปขอรับความช่วยเหลือจากจีนคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงแทน และในทางตรงกันข้าม สหรัฐฯ ได้หันไปให้ความช่วยเหลือกองทหารฝรั่งเศสในการสู้รบกับทหารเวียดมินห์

วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๘๘ กองทหารเวียดมินห์ ราว ๕,๐๐๐ คนได้เข้าโจมตีกรุงฮานอย โดยทหารญีปุ่นซึ่งมีกำลังราว ๓๐,๐๐๐ คน ไม่ได้ทำการต่อต้านทหารฝรั่งเศสที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ รวมทั้งพลเรือนชาวฝรั่งเศสได้หลบหนีเข้าสู่ประเทศจีน

สำหรับขบวนการเขมรอิสระ ภายใต้การนำของ ดร.เซิน ง็อก ทันห์ ขบวนการเสรีไทยได้มอบหมายให้นายผล แสนสระดี ส.ส.ขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการจัดอาวุธของเสรีไทยอีกส่วนหนึ่งมอบให้ผ่านทางนายสอนและนายทัน อดีต ส.ส.พระตะบอง ส่วนขบวนการกู้เอกราชของอินโดนีเซียได้มอบหมายให้นายแช่ม พรหมยงค์ ขนอาวุธและข้าวสารไปช่วยเหลือซูการ์โนต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฮอลันดา

ส่วนการสนับสนุนช่วยเหลือที่มีต่อขบวนการกู้ชาติของลาวอิสระ ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดและเจ้าสุพานุวงนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ได้มอบหมายให้อยู่ในความรับผิดของกลุ่มผู้นำเสรีไทยสายอีสาน อันได้แก่ นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทิม ภูริพัฒน์ และนายฟอง สิทธิธรรม

บทความที่๔๑๖.สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ (๑)

สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์

ประเทศในอินโดจีนซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีขบวนการทางการเมืองหรือขบวนการกู้เอกราชก่อตัวขึ้นหลายขบวนการด้วยกัน ขบวนการกู้เอกราชในประเทศลาวคือ “ขบวนการลาวอิสระ” หรือที่เรียกว่า “คณะกู้ออิสระพาบ” (ก.อ.พ.) อยู่ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาด

ในเวียดนาม คือ “ขบวนการพันธมิตรเพื่อเอกราชของเวียดนาม” (ขบวนการเวียดนาม ดอคแล็บ ดองมินห์) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสั้นๆว่า “เวียดมินห์” อยู่ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ในกัมพูชา คือ “ขบวนการเขมรอิสระ” อยู่ภายใต้การนำของ เซิน ง็อก ทันห์ และคณะ

บรรดาผู้นำคนสำคัญในขบวนการกู้ชาติดังกล่าว หลายคนเคยเดินทางไปศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศส ได้ซึมซับรับอิทธิพลของแนวคิดการอภิวัฒน์สังคมประชาธิปไตย มุ่งสร้างสรรค์สังคมให้มีอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพแล้วนำแนวความคิดดังกล่าวมาอภิวัฒน์สังคมในประเทศของตน อาทิ เจ้าเพ็ดชะลาด เจ้าสุพานุวง และโฮจิมินห์

ขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศแถบอินโดจีนในช่วงนั้น ล้วนมีวัตถุประสงค์หลักร่วมกันคือต่อสู้เพื่อเอกราช อธิปไตย และสิทธิเสรีภาพในการปกครองตนเอง อันเป็นหลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดการอภิวัฒน์ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.๒๓๓๒ และเพื่อให้ความมุ่งมั่นดังกล่าวบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ แต่ละประเทศต่างเห็นพ้องต้องกันว่า มีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องต่อสู้ล้มล้างอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส ขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากดินแดนอินโดจีน แล้วสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นมา

ที่สำคัญ บรรดาผู้นำขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศในอินโดจีนล้วนมีความสัมพันธ์อันดีกับนายปรีดี พนมยงค์ นอกเหนือจากอิทธิพลแห่งแนวความคิดการอภิวัฒน์สังคมของฝรั่งเศสแล้ว พื้นฐานทางความคิดที่สำคัญของนายปรีดีมีแนวคิดเชิงอุดมคติของแซซินี ปฏิภาณของคาวูร์ และเลือดนักสู้อย่างการิบัลดี

ในการก่อตั้งสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์หลักของเรื่องนี้ไว้ว่า ในอนาคต หากประเทศเมืองขึ้นได้เอกราชและอิสรภาพและรวมผนึกกำลังกัน ก็จะสามารถทำให้ประเทศไทยและประเทศเหล่านั้นสามารถกำหนดชะตากรรมของตนได้โดยอิสระ หลุดพ้นจากการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการบีบบังคับและการชักจูงทางการเมือง เศรษฐกิจและการทหารจากประเทศมหาอำนาจดังเช่นในอดีต

หากพิจารณาถึงแนวคิดหลักของบรรดาประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ จะเห็นว่า แนวคิดการมุ่งสถาปนารัฐอิสระและการรวมตัวต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชโดยอาศัยพื้นฐานความสัมพันธ์ของประชาชนแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ได้พัฒนาไปสู่แผนการร่วมมือของประชาชนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์เป็นต้นคิด และได้รับการขานรับอย่างดียิ่งจากโฮจิมินห์และเจ้าเพ็ดชะลาด ผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านการอภิวัฒน์สังคมของฝรั่งเศสเช่นกัน “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ตั้งขึ้นภายหลังจากที่เจ้าเพ็ดชะลาดและคณะได้เข้ามาตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในกรุงเทพฯ ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของนายปรีดี พนมยงค์ และเหล่าสมาชิกในขบวนการเสรีไทย

แนวคิดของนายปรีดี พนมยงค์ ที่แสดงให้ประจักษ์ถึงการยึดกรอบการอภิวัฒน์สังคม มุ่งให้มีเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ ก็คือการเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนในคณะราษฎรทำการอภิวัฒน์สังคมและเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเสนอหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร สำหรับใช้เป็นหลักในการดำเนินนโยบายของประเทศ (อ่านแถลงการคณะราษฎรฉบับที่๑ และหลัก ๖ ประการได้ที่ http://socialitywisdom.blogspot.com/2008/04/blog-post_16.html)

ในด้านการปฏิบัติตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินความพยายามที่จะสร้างความเสมอภาคกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ นายปรีดี พนมยงค์ได้เริ่มแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่ฝ่ายไทยเสียเปรียบให้เท่าเทียมกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิการพึ่งพากัน ประเทศไทยจึงได้รับอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบจากต่างประเทศ แต่ว่าภายในประเทศนั้นนายปรีดียังไม่สามารถกุมอำนาจได้อย่างแท้จริง

ในการดำเนินการสรรสร้างเอกภาพในหมู่ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตามแผนการร่วมมือของ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” นายปรีดี พนมยงค์ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้ติดต่อผู้นำขบวนการกู้เอกราชในภูมิภาคนี้เป็นการส่วนตัว และสนับสนุนให้จัดประชุมขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๙๐ โดยมีผู้นำขบวนการกู้ชาติในเวียดนาม ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย ฯลฯ เข้าร่วมประชุม หลังเสร็จสิ้นการประชุมมีการประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๙๐ สาระสำคัญที่ตกลงกันคือ จะผนึกกำลังกันต่อสู้เพื่อต่อต้านการกลับคืนมาของประเทศล่าเมืองขึ้น

ต่อมาในเดือนกันยายน ๒๔๙๐ ได้มีการจัดประชุมผู้นำขบวนการกู้เอกราชขึ้นในกรุงเทพฯ อีกครั้งและได้มีการประกาศก่อตั้ง “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” (Union of Southeast Asia)อย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังกันต่อต้านการกลับคืนมาของลัทธิอาณานิคม และช่วยเหลือกันในการต่อสู้เพื่อเอกราช ในการนี้ได้มีการเลือกคณะกรรมการ นายเตียง ศิริขันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เป็นประธาน นายตรัน วัน เกียว เป็นรองประธาน นายเลอ ฮี เป็นเหรัญญิก นายถวิล อุดล วุฒิสมาชิก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประชาสัมพันธ์ และมีเจ้าสุพานุวงเป็นเลขาธิการ

สำหรับการดำเนินความพยายามเพื่อกอบกู้เอกราชของประเทศในอินโดจีนในฐานะที่ไทยเป็นศูนย์กลางสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ นายปรีดี พนมยงค์หัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ให้ความเห็นใจ สนับสนุนช่วยเหลือทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยมอบหมายให้ พล.ร.ต. หลวงสังวรยุทธ (สังวร สุวรรณชีพ)และ ร.อ.พงศ์เลิศ ศรีสุขนันท์ เป็นผู้ดำเนินการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ของขบวนการเสรีไทยที่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพสหรัฐอเมริกา (OSS)และฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติของเวียดนามภายใต้การนำของโฮจิมินห์ซึ่งก็คือ “ขบวนการเวียดมินห์” ผ่านทางเสรีไทยสายอีสาน

อาวุธดังกล่าวมีจำนวนมากพอที่จะตั้งกองทัพได้ถึงสองกองพัน ความช่วยเหลือดังกล่าวนี้ถือเป็นความช่วยเหลือจากเสรีไทยในนามของประชาชนไทยทั้งมวล เพื่อเป็นเกียรติและเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของนายปรีดี พนมยงค์และประชาชนไทย โฮจิมินห์ได้ตั้งชื่อกองพันพิเศษของกองทัพเวียดมินห์ทั้งสองกองพันนั้นว่า “กองพันสยาม๑” และ “กองพันสยาม๒”

บทความที่๔๑๕.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(จบ)

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่๖ (จบ)


ก่อนเดินทางกลับคืนประเทศ เจ้าเพ็ดชะลาดได้แจ้งให้บรรดาเจ้าหนี้ทุกคนที่กู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในการกู้ชาติทราบว่า ผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนรัฐสภารับปากว่าจะชดใช้หนี้สินดังกล่าวให้ ทั้งในส่วนของกองทหารลาวอิสระตามแนวชายแดน การเลี้ยงดูชาวลาวอพยพ และครอบครัวสมาชิกของคณะรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น

จากนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดได้ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยชั้นทวีติยาภรณ์ พร้อมสายสะพาย แล้วไปอำลาจอมพล ป.พิบูลสงคราม รวมทั้งผู้สนิทชิดชอบในช่วง ๑๐ ปีที่ลี้ภัยอยู่ในเมืองไทย

เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดหนองคาย ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๐ โดยรถไฟขบวนพิเศษที่รัฐบาลไทยจัดให้ พร้อมด้วยวิรัตน์ บุพพะสิริ และคณะผู้ลี้ภัยอีกจำนวนหนึ่ง หลังข้ามแม่น้ำโขงไปยังท่าเดื่อรัฐบาลลาว ในช่วงนั้นมีเจ้าสุวันนะพูมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่เวียงจันทน์

เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง เข้ากราบบังคมทูลเจ้ามหาชีวิตสว่างวงในวันสงกรานต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้ามหาอุปราชคืนดังเดิม ตามที่ฝ่ายฝรั่งเศสและรัฐบาลได้ประกาศไว้ จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมเยียนเจ้าแขวง เจ้าเมือง ตาแสง นายบ้าน และราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ที่สำคัญคือ ได้ไปเยี่ยมเจ้าสุพานุวงยังฐานที่มั่นสำคัญของ “ขบวนการประเทดลาว” ที่ซำเหนือในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๐ และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากทหารและประชาชน

ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลและหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองในลาว พยายามจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายขวาขึ้นในประเทศ โดยสนับสนุนให้นักการเมืองฝ่ายขวา คือ ผุย ชะนะนิกอน ผู้เป็นญาติกับอุ่น ชะนะนิกอน ให้โค่นล้มรัฐบาลผสมของเจ้าสุวันนะพูมา แล้วขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน

รัฐบาลฝ่ายขวาภายใต้การนำของ ผุย ชะนะนิกอน ชุดนี้มีอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นบางคนเข้าร่วม เช่น คำม้าว วิไล กระต่าย โตนสะโสลิด ต่อมาได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายขวายึดบ้านของเจ้าเพ็ดชะลาดในเวียงจันทน์แล้วใช้เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี และมีคำสั่งให้จับเจ้าสุพานุวง สิงกะโปฯ สมาชิกขบวนการประเทศลาวในรัฐสภาไปคุมขัง รวมทั้งสมาชิก “ขบวนการประเทดลาว” ในรัฐสภาอีกหลายคน หลังจากนั้นในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๒ เจ้าเพ็ดชะลาดได้ถึงแก่มรณกรรมที่วังเชียงแก้วด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก ขณะอายุได้ ๗๐ ปี
เรียบเรียงจากหนังสือ "ปรีดี พนมยงค์ กับ ขบวนการกู้เอกราชในลาว" ของอุดร วงษ์ทับทิม

บทความที่๔๑๔.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๒๕)

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่๕

จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ประกาศรับรองรัฐบาลของบุญอุ้ม ณ จำปาสัก และมีคำสั่งให้เจ้าเพ็ดชะลาดรวมทั้งสมาชิกรัฐบาลพลัดถิ่นเดินทางกลับคืนประเทศยังผลให้รัฐบาลพลัดถิ่นของขบวนการลาวอิสระพลัดถิ่นปั่นป่วน ดังที่โชติ เพชราสี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและวางแผน และหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายแนวลาวรักชาติประจำนครเวียงจันทน์ได้กล่าวไว้ว่า

“ขบวนลาวอิสระได้รับความเดือดร้อน อยู่ไม่ได้ ข้าพเจ้าเองก็อยู่ไม่ได้ ต้องเร่ร่อนไปหลายแห่ง มาสกลนคร นครพนม ลงไปบางกอก ขึ้นไปเชียงแสน เชียงรายข้ามมาบ้านต้นผึ้ง ในที่สุดเมื่อเดือดร้อนหลาย ก็พากันเสี่ยงภัยข้ามมาอยู่ตามป่าตามดงทางฝั่งลาว ทำการต่อสู้แบบกองโจร”

แม้ว่าฝรั่งเศสจะล้มเหลวในการเชิญเจ้าเพ็ดชะลาดกลับคืนมาประเทศโดยผ่านทางเจ้ากรมสุวันนะราช แต่ก็มิได้ละความพยายาม ในช่วงต่อมารัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสได้ให้ทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ เชิญเจ้าเพ็ดชะลาดไปเป็นแขกที่ปารีส ทว่าเจ้าเพ็ดชะลาดปฏิเสธ ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำอินโดจีนจึงส่งดูกัดเยต์ ทูตที่ปรึกษา ไปเชิญกลับคืนประเทศอีกครั้ง แต่ก็ไร้ผลเช่นกัน

ด้านเจ้าสุพานุวงมีความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าวิธีเดียวที่จะบงคับให้ฝรั่งเศสมอบเอกราชอันแท้จริงให้แก่ลาวก็คือการต่อสู้ในสมรภูมิเท่านั้น และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เจ้าสุพานุวง สิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี และคณะจึงได้เดินทางไปยังชายแดนลาว-เวียดนามที่ตูเยนกวงซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ขณะนั้นเป็นกองบัญชาการใหญ่ของเวียดมินห์ แล้วจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นมาต่อสู้ พร้อมกับมีการรวมตัวกันเป็นองค์การภายใต้การกำกับชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนในนาม “คณะกรรมการลาวผ่ายต่อต้านภาคตะวันออก” ซึ่งมีแกนนำคนสำคัญคือหนูฮัก พูมสะหวัน ซึ่งมีเชื้อสายลาว ไกสอน พมวิหาน ซึ่งมีเชื้อสายลาว-เวียดนาม และผู้นำชุมชนเผ่าลาวเทิงและลาวสูงที่มีประวัติศาสตร์ต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสมายาวนานคือ สีทน กมมะดัน ผู้นำชนเผ่าข่าทางภาคใต้และเฟยดาง เลาเบยยือ ผู้นำชนเผ่าม้งทางภาคเหนือ ตามนโยบายสามัคคีประชาชาติต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยม

เจ้าสุพานุวงได้ปรึกษากับโฮจิมินห์และโว เหงียน เกี๊ยบ จากนั้นในวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ก็ได้เปิดประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนของแนวร่วมต่อต้านขึ้นเป็นครั้งแรก

ต่อจากนั้นที่ประชุมสมัชชาก็ได้จัดตั้งรัฐบาล “ผ่ายประเทดลาว” โดยเจ้าสุพานุวง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ พูมี วงวิจิตเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงภายใน(เทียบได้กับกระทรวงมหาดไทย) หนูฮัก พูมสะหวัน เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ไกสอน พมวิหาน เป็นรัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศ พร้อมกับแต่งตั้งเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นที่ปรึกษา

ส่วนเจ้าสุวันนะพูมา หลังกลับไปเวียงจันทน์ ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากฝ่ายกลาง ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น แล้วได้ออกดำรัสเลขที่ ๑๗๖/๙๙ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แต่งตั้งให้ท้าวโง่น ชะนะนิกอน เป็นหัวหน้าคณะนำเจ้าสมสนิท วงกตรัตนะ พญาคำม้าว และท้าวทง สุทิวงนะราช ไปเชิญเจ้าเพ็ดชะลาดกลับคืนประเทศ

พร้อมกันนี้พญาเพ็ง พงสะหวัน ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือเลขที่ ๑๑/๙๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙ แต่งตั้งให้พระยาบริหารศึกษา(ท้าว บง สุวันนะวงส์)เป็นหัวหน้า นำคณะอีกชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วย คำหัส จุลมะนี จำปา พรมมาจันทร์ ปาว วันทานุวง และมหากุ สุวันนะเมที เดินทางไปเชิญเจ้าเพ็ดชะลาดกลับคืนประเทศ

ขณะเดียวกันองค์สังฆนายก คือพระครูคูนมนีวงส์ ก็ได้มีเอกสารเลขที่ ๒๑๓/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙ แจ้งความประสงค์ของพระภิกษุสามเณรในการเชิญให้เจ้าเพ็ดชะลาดกลับคืนมาทนุบำรุงพระพุทธศาสนาของลาวสืบไป

ต่อมาวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ คณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลซึ่งมีท้าวโง่น ชะนะนิกอน เป็นหัวหน้าคณะและคณะผู้แทนฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีท้าวบง สุวันนะวงส์ เป็นหัวหน้าคณะ ได้เข้าพบกับเจ้าเพ็ดชะลาดที่บ้านพักเลขที่ ๑๑๐ ถนนวิทยุ เพื่อมอบหนังสือเชิญกลับประเทศ เจ้าเพ็ดชะลาดตอบรับคำเชิญ แต่มีเงื่อนไขว่า จะกลับคืนประเทศก็ต่อเมื่อมีการเจรจากตกลงกับ “ฝ่ายประเทดลาว” ภายใต้การนำของเจ้าสุพานุวง และหลังจากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงกลับมมาจากประเทศฝรั่งเศสแล้ว

วันที่ ๑-๕ สิงหาคม ๒๔๙๙ ฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรลาว ซึ่งมีเจ้าสุวันนะพูมา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ มีสมาชิกประกอบด้วย โง่น ชะนะนิกอน บง สุวันนะวงส์ ทง สุทินวงนราช หนูอิ้ง รัตนวงส์ พันตรี กุประสิทธิ์ อภัย พันเอกด้วน ราทิกุล พันโทพูมี หน่อสวรรค์ และสีสุก ได้เปิดเจรจากับ “ฝ่ายประเทดลาว” ขึ้นในกรุงเวียงจันทน์ โดยมีเจ้าสุพานุวงเป็นหัวหน้า ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ประกอบด้วยพูมี วงวิจิต หนูฮัก พูมสะหวัน และท้าวมา การเจรจาของทั้งสองฝ่ายมุ่งแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งตามสนธิสัญญาเจนีวา เพื่อให้ประเทศลาวมีสันติภาพ ประชาธิปไตย เอกภาพและเอกราชอย่างแท้จริง

บทความที่๔๑๓.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๒๔)

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่๔

นอกเหนือจากการดำเนินความพยายามดังกล่าวแล้ว ฝรั่งเศสยังได้เอกเอกราชมาเป็นกลลวง ด้วการผ่อนผันให้ลาวเป็นเอกราช แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส โดยเจ้าชีวิตสว่างวงได้ลงพระมรมาภิไธยในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-ลาว ร่วมกับนายวังชอง โอริโอน(M.Vincent Auriol)ประธานนาธิบดีฝรั่งเศสในวันที่๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๒ มีข้อความสำคัญว่า “ประเทศลาวเป็นประเทศเอกราชพอใจร่มอยู่ในสหพันธ์ฝรั่งเศส (Union Francaise) โดยสมัครใจ”

ต่อมาในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พงศ.๒๔๙๓ นายอลัชชิน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แจ้งต่อประธานาธิบดี เฮนี เอช.ทรูแมน ว่ารัฐสภาของฝรั่งเศสมีมติให้สัตยาบันในอนุสัญญาให้สถาปนาเวียดนาม ลาว และกัมพูชาเป็น “รัฐอิสระ (Autonomous State)ภายใต้การกำกับดูแลของฝรั่งเศส พร้อมทั้งแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริการับรองรัฐบาลหุ่นที่จัดตั้งขึ้นในเวียงจันทน์ พนมเปญและไซ่ง่อน ด้วยเหตุผล ๔ ประการ ดังนี้คือ

๑.สนับสนุนส่งเสริม “ความเป็นชาติ” ตามที่ประชาชนในดินแดนอาณานิคมอินโดจีนเรียกร้อง ทั้งนี้อยู่ภายใต้ผู้นำที่มิใช่คอมมิวนิสต์

๒.ก่อตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและไม่เป็นคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในพื้นที่ติดต่อกับจีน

๓.ให้การสนับสนุนฝรั่งเศสในฐานะเป็นชาติพันธมิตรนาโต้ และ

๔.เพื่อแสดงความไม่พอใจฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ใช้ยุทธวิธีโน้นน้าวชาติในเอเซียไปเป็นพวก โดยใช้ลัทธิชาตินิยมในหมู่ชนชาติส่วนน้อยเป็นเครื่องบังหน้า

ประธานาธิบดีทรูแมนได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๓ และได้ประกาศรับรองรัฐบาลหุ่นที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ทั้งที่เวียงจันทน์ พนมเปญ และไซ่ง่อนอย่างเป็นทางการ

ในช่วงเวลานั้นความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจต่อขบวนการชาตินิยมในอินโดจีนมีขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงในจีน กองทัพก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้แก่กองทัพแดงภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง โจวเอินไหล และนายพล จูเต๋อ ต้องถอนตัวถอยร่นออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ลงมายังพม่า ลาวและไทย ประธานาธิบดีเฮนรี เอช.ทูรแมน และคณะที่ปรึกษาได้พิจารณาว่า การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ลงมายังดินแดนอินโดจีนนั้นเปรียบเสมือน “การแพร่ตัวของเชื้อโรคร้าย” ต้องหาทางยับยั้งการแพร่ระบาดเสียแต่แรก เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ร้ายแรงเกินกว่าจะควบคุมได้

หลังจากมีการเผยแพร่สมมติฐานแห่งตรรกะของทฤษฎีโดมิโน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศเสียใหม่ ขณะเดียวกันเพนตากอนหรือกระทรวงกลาโหมก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้เช่นกัน ดังระบุไว้ในรายงานของเพนตากอน เสนอให้ช่วยเหลือรัฐบาลหุ่นเชิดทั้งในเวียดนามใต้ เวียงจันทน์ และพนมเปญ ที่ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนในการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายขบวนการชาตินิยมในอินโดจีน และมุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งมีเสถียรภาพของรัฐบาลที่สหรัฐฯ เข้าไปให้การสนับสนุนโดยถือว่าเป็น “การทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์”

ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปผลักดันสนับสนุนฝ่ายทหารในกองทัพบกของไทย ให้กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นผู้นำ และมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีคลัง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย และเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญของการเมืองในลาว รวมทั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ทางด้านฝรั่งเศสได้แต่งตั้งเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ที่เคยช่วยกองทหารฝรั่งเศสหลบหนีการปราบปรามของกองทหารญี่ปุ่น ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรอง การให้การรับรองดังกล่าวมีผลให้รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมายไปทันที

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในประเทศไทย ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ ต้องยุติบทบาทและปิดฉากลงโดยสิ้นเชิง เมื่อฝ่ายกองทัพไทยยึดอำนาจการปกครองประเทศไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ การก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองของฝ่ายทหารได้พลิกโฉมการเมืองไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่เรียกว่า “ยุคทมิฬ”


บทความที่๔๑๒.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๒๓)

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่ ๓

สหรัฐอเมริกาได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายจากการร่วมมือสนับสนุนขบวนการกู้ชาติในอินโดจีน ช่วงที่ทำสงครามต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นมาเป็นการร่วมมือกับฝรั่งเศสเพื่อป้องกันการแผ่ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนอินโดจีน ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองระดับประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มแปรเปลี่ยน

สมาชิกกองกำลังต่อต้านฝรั่งเศสหรือกองกำลังติดอาวุธขบวนการกู้ชาติลาวได้ข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งไทย เข้าไปปฏิบัติการทางทหารในฝั่งลาวช่วงปี พ.ศ.๒๔๘๙ และ ๒๔๙๐ ทว่าไม่ได้ก่อความเสียหายร้ายแรงเท่าใดนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติการของฝ่ายเวียดมินห์บริเวณชายแดนลาว-เวียดนาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณภาคใต้ของลาวได้มีการก่อตั้ง “คณะกรรมการลาวฝ่ายต่อต้านภาคตะวันออก” ขึ้นมาทำการต่อต้านฝรั่งเศส โดยมีแกนนำคนสำคัญ คือ หนูฮัก พูมสะหวันและไกสอน พมวิหาน ดำเนินการภายใต้ทิศทางของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และมีผู้นำชนชาติส่วนน้อยลาวเทิงหรือข่าในพื้นที่ภาคใต้ที่มีประวัติการต่อสู้กับฝรั่งเศสมายาวนาน คือสีทน กมมะดัน และผู้นำชนเผ่าลาวสูงหรือชนเผ่าม้งคือเฝยดาง เลาเบยยือ เข้าร่วมเป็นแกนนำด้วย

ความเคลื่อนไหวของขบวนการกู้ชาติลาวถูกติดตามตรวจสอบทุกระยะ จากรายงานด้านการข่าว ฝรั่งเศสรู้ดีว่า ในช่วงเวลานั้นมีเพียงไม่กี่คนที่มุ่งมั่นต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศส และยืนกรานต่อสู้เพื่อเอกราชของลาวอย่างไม่สั่นไหวคลอนแคลน กอปรกับช่วงเวลานั้นรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นมีปัญหาในเรื่องการเงินอย่างมาก จำต้องดิ้นรนหารายได้มาใช้ในการดำรงชีพ เจ้าสุวันะพูมาใช้ความรู้และทักษะในด้านวิศวกรรม สมัครเข้าทำงานที่โรงไฟฟ้าของไทย ส่วนทหารที่กระจายกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในบริเวณเมืองต่างๆ ตลอดแนวน้ำโขงในฝั่งไทย หาเงินด้วยการขายแรงงานรับจ้างทำงานสุจริตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคนงาน คนสวน แม้กระทั่งชกมวยตามงานวัด ฯลฯ โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า เงินที่หามาได้ให้แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งใช้ส่วนตัว อีกสองส่วนมอบให้กองกลางเพื่อนำไปจัดซื้อหาอาวุธต่อสู้เพื่อเอกราช

นอกจากปัญหาด้านการเงินแล้ว ยังมีความแตกต่างและขาดความเป็นเอกภาพทางความคิดค่อนข้างมาก จนนำไปสู่ปัญหาขัดแย้งกันเองในช่วงต่อมา

ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นที่ฝรั่งเศสนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ด้วยการตอกลิ่มให้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกต่างทางความคิดมีช่องว่างห่างยิ่งขึ้น วิธีการหนึ่งที่ฝรั่งเศสใช้ก็คือส่งชายาของเจ้าสุวันนะพูมา ซึ่งเป็นสตรีเชื้อสายฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจา ยื่นข้อเสนอให้บรรดาเหล่าสมาชิกและรัฐมนตรีในรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นพิจารณา

ข้อเสนอดังกล่าวก็คือ ให้คำมั่นสัญญาว่า จะให้นิรโทษกรรมไม่เอาผิดใดๆ ทั้งสิ้น จ่ายเงินเดือนย้อนหลังให้ทั้งหมด คืนยศและบรรดาศักดิ์ให้ดังเดิม อีกทั้งยังจ่ายค่าเดินทางให้อีก ๘๐๐,๐๐๐ เปียสต้า

การเผชิญปัญหาด้านการเงินและปัญหาความแตกต่างในแนวคิดส่งผลให้คนสำคัญในคณะรัฐบาลพลัดถิ่น คือ เจ้าสุวันนะพูมา คำม้าว วิไล และกระต่าย โตนสะโสลิด ตลอดจนสมาชิกในรัฐบาลหลายคน รวมทั้งทหารลาวอิสระส่วนหนึ่ง ตัดสินใจรับข้อเสนอการนิรโทษกรรมของฝรั่งเศส ยกเลิกการต่อสู้ ยุติการต่อต้าน แล้วเดินทางกลับคืนประเทศในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๒

ทว่าเจ้าเพ็ดชะลาด เจ้าสุพานุวง สิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี ลุตุลาน จุงคำหมื่น ลุงเสิม และสีทน กมมะดำ ผู้นำของชนชาติขมุ รวมทั้งคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งไม่ยอมกลับ มุ่งมั่นยืนกรานที่จะต่อสู้เพื่อเอกราชและอธิปไตยของประเทศต่อไปให้ถึงที่สุด

กระนั้นฝรั่งเศสก็ไม่ละความพยายาม ใช้วิธีเอาผลประโยชน์เข้าล่อในลักษณะขุดบ่อล่อปลาเหมือนเช่นเดิม โดยยืมมือเจ้ากรมแสงสุวันนะราช อนุชาของเจ้าเพ็ดชะลาด ซึ่งยอมรับนโยบายของฝรั่งเศสและยินยอมทำงานให้ ฝรั่งเศสจึงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือเชิญเจ้าเพ็ดชะลาดและเหล่าบรรดาสมาชิกในคณะรัฐบาลพลัดถิ่น รวมทั้งชักจูงให้กองกำลังทหารลาวอิสระที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี สกลนคร อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย และในบริเวณแนวตะเข็บชายแดนไทย-ลาวด้านริมฝั่งแม่น้ำโขง วางอาวุธยุติการต่อสู้ แล้วเดินทางกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน

Tuesday, April 22, 2008

บทความที่๔๑๑.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๒๒)

รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่๒

ด้านอุ่น ชะนะนิกอน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นหัวหน้าลาวอิสระประจำเมืองสะหวันนะเขด เรียนมาทางด้านสัตวแพทย์ และเคยทำงานในกรมโฆษณาการของไทย ได้ใช้สายสัมพันธ์อันดีที่มีกับพันตรี เจมส์ ธอมสัน แห่งหน่วยบริการยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา (O.S.S.) ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการทำธุรกิจการค้าผ้าไหม(คือต่อมาเป็นบริษัทจิม ธอมสัน)ขณะเดียวกันก็ติดต่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์จากทางนายเตียง ศิริขันธ์ โดยได้รับคำแนะนำจากพันตรี เจมส์ ธอมสัน

ในช่วงที่ลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น กองกำลังลาวอิสระภายใต้การบัญชาการของอุ่น ชะนะนิกอน มีฐานบัญชาการอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายและพันตรี เจมส์ ธอมสันได้แนะนำให้อุ่น ชะนะนิกอน ย้ายฐานบัญชาการมาอยู่จังหวัดอุดรธานีและสกลนครเพื่อติดต่อขอรับการช่วยเหลือจากเสรีไทยได้สะดวก อีกทั้งการที่เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจค้าผ้าไหมกับพันตรี เจมส์ฯ ได้เอื้ออำนวยให้อุ่นเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคอิสานบ่อยครั้ง และได้พบปะเจรจาขอรับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากนายเตียง ศิริขันธ์ ผู้นำขบวนการเสรีไทยสายอีสาน

นายเตียง ศิริขันธ์ได้ส่งมอบเงินช่วยเหลือจำนวนมากผ่านทางโง่น ชะนะนิกอน ไปให้ผู้ปฏิบัติงานกู้ชาติในเมืองต่างๆ ตามที่ลาวอิสระได้มอบหมายหน้าที่ไว้แล้ว คือ เมืองสะหวันนะเขด โดบมี พูมี หน่อสะหวัน เกื้อ วงวงส์ เป็นผู้รับผิดชอบ และ ดร.พูวง หน่อสะหวัน (น้องพูมี) เป็นผู้ติดต่อประสานงาน เมืองท่าแขกมีโง่น ชะนะนิกอน และพง ชะนะนิกอนเป็นผู้รับผิดชอบ

ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นคือ การแสวงหาแหล่งขายอาวุธและหาเงินมาจัดซื้ออาวุธสำหรับกองทหารเพื่อกลับไปกอบกู้เอกราชจากฝรั่งเศส การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ในช่วงนั้นมีการแย่งกันซื้อถึง ๕ ชาติ คือ เวียดนาม กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย และลาว สมาชิกในขบวนการกู้เอกราชทั้ง ๕ ชาติได้มีการประชุมตกลงกันเป็นการลับในกรุงเทพฯ และมีข้อตกลงร่วมกัน ๒ ข้อคือ

๑.การสืบแหล่งค้าปืนเถื่อน หากชาติใดสืบพบ ให้ชาตินั้นซื้อจนพอแก่ความต้องการ จากนั้นชาติอื่นจึงซื้อได้ ถ้าชาติที่สืบพบไม่มีเงิน ชาติอื่นควรยื่นมือให้ความช่วยเหลือ และ

๒. เนื่องจากขบวนการกู้ชาติทั้ง ๕ ชาติต่างทำงานโดยอิสระไม่มีการร่วมมือกันมาแต่แรกเป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูได้เปรียบ จึงมีมติร่วมกันระหว่างเวียดนาม กัมพูชา และลาวว่า ต่างมีศัตรูร่วมกันคือ ฝรั่งเศส

พร้อมกันนี้ยังมีข้อตกลงย่อยอีก ๒ ประการ คือ


๑.แต่ละชาติจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในอาณาจักรของฝ่ายใดก็ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายนั้น เช่น ญวนเข้ามาอยู่ในลาวก็ต้องขึ้นกับลาว

๒.ลาวและกัมพูชามีพลเมืองน้อย ไม่ให้ทำการรบใหญ่ในสนาม ให้ปฏิบัติการแบบกองโจรรบกวนทุกแห่งทุกโอกาส เพื่อหน่วงกำลังฝรั่งเศสให้อยู่ในกัมพูชาและลาวให้มากที่สุด อย่าให้รวมกำลังไปเล่นงานเวียดนามได้ ส่วนเวียดนามมีพลเมืองมาก เมื่อมีโอกาสให้ใช้กำลังโจมตีเพื่อทำลายฝรั่งเศสในเวียดนามให้ละลายไปทีละน้อย ขณะที่เวียดนามเปิดการรบใหญ่คราวใด ให้กัมพูชาและลาวเปิดการรบแบบกองโจร ประวิงไว้ให้นานเท่านานเท่าที่จะทำได้

การรวมตัวกันเป็นสมาคมสหชาติแห่งเอเชียอาคเนย์เพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือการกอบกู้เอกราช ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์,โฮจิมินห์ และเจ้าเพ็ดชะลาดได้เป็นประเด็นปัญหาที่กระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นกังวลอย่างมาก ทั้งนี้ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงในสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาหวั่นเกรงว่า บรรดาประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งในแถบอินโดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวและกัมพูชาจะถูกครอบงำโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มเพ่งความสนใจในประเด็นปัญหานี้อย่างจริงจัง และเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของขบวนการกู้เอกราชในอินโดจีนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการรายงานสถานการณ์ในไทย พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซียไปยังกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงวอชิงตันอย่างต่อเนื่อง

บทความที่๔๑๐.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว (๒๑)

ท่านปรีดี พนมยงค์กับขบวนการกู้เอกราชในลาว ตอน รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น ตอนที่ ๑

ในการเดินทางจากลาวเข้ามาลี้ภัยและจัดตั้รัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในประเทศไทยนั้น ช่วงแรกเริ่ม บรรดาผู้มีแนวคิดชาตินิยมมุ่งสรรค์สร้างสังคมลาวให้มีความเป็นเอกราชและเพื่ออธิปไตยโดยสมบูรณ์ ที่อยู่ในเวียงจันทน์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดได้เดินทางขามแม่น้ำโขงมารวมตัวกันที่จังหวัดหนองคาย จากนั้นเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ ในช่วงนั้นมีการใช้เส้นทาง ๓ เส้นทางด้วยกันคือ เส้นทางน้ำโขงจากหลวงพระบางไปยังอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, เส้นทางจากเวียงจันทน์มายังหนองคายและกรุงเทพฯ และเส้นทางบกจากหลวงพระบางไปยังเมืองไชยะบุลีและเมืองปากลาย จากนั้นเข้าสู่ชายแดนไทยที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

คณะที่ข้ามทางทางด้านจังหวัดหนองคายคือคณะของอุ่น ชะนะนิกอน สีลา วีระวงส์ อำพอน พลราช เจ้าสุวันนะพูมา ฯลฯ

สำหรับเจ้าเพ็ดชะลาดและคณะอันประกอบด้วย เจ้าคำตัน เจ้าคำผาย และผู้ติดตามอีกประมาณ ๔๐ คน ได้ขี่ม้าออกจากเมืองหลวงพระบางในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ฝรั่งเศสได้ส่งทหารกระโดดร่มลงที่ทุ่งนาบ้านเมืองขาย แล้วบุกค้นวังเชียงแก้ว ทว่าไม่พบตัวเจ้าเพ็ดชะลาด จึงให้เครื่องบินออกไล่ล่าสังหาร

เจ้าเพ็ดชะลาดชอบเดินป่าและเคยดินทางตรวจราชการในพื้นที่ชนบท จึงรู้จักเส้นทางซับซ้อนแถบนั้นเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางที่ชาวม้งใช้ในการลำเลียงฝิ่นเข้าสู่ประเทศไทย บางช่วงเดินป่าไต่สันเขาไปตามเส้นทางที่ทอดเชื่อมระหว่างหมู่บ้านม้ง บางช่วงใช้เส้นทางน้ำกระทั่งเข้าสู่เมืองไชยะบุลี มีผู้เดินทางมาร่วมสมบทคือเจ้าบุนยะวัด เจ้าแขวงเมืองหลวงพระบาง และพัตรี อ้วน ราทิกุล จากนั้นเข้าสู่เมืองปากลาย และเข้าสู่เขตแดนไทยที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๙ ในเวลาเดินป่าถึง ๑ เดือนเต็ม

เมื่อเข้าสู่ดินแดนไทย เจ้าเพ็ดชะลาดได้พักที่บ้านข้าราชการฝ่ายปกครอง คือบ้านนายอำเภอฟากท่า นายอำเภอลับแล นายอำเภอแสนตอ กำนันสบน้ำปาด และกำนันบ้านด่าน ก่อนจะพบกับพันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลของท่านปรีดี พนมยงค์ ที่เดินทางขึ้นไปตรวจราชการที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดได้ขอยืมเงินข้าหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์เดินทางลงมายังกรุงเทพฯ

เจ้าเพ็ดชะลาดได้ให้เจ้าคำตันย้อนขึ้นไปทางหนองคาย เจ้าสมสนิทได้หลบจากเวียงจันทน์เอาเสื้อผ้ามาส่งให้ แล้วเดินทางพร้อมกับทหารและผู้ติดตามไปยังจังหวัดพิษณุโลก เข้าพักที่บ้านข้าหลวงนายพรมสูตรสุคนธ์ ก่อนจะเดินทางเข้ามาสมบทกันที่กรุงเทพฯ

นอกจากนั้นยังมีผู้ติดตามมาสมบทในภายหลังอีกจำนวนหนึ่ง คือคณะของท้าวคำเหล็กและสมาชิกลาวอิสระจากหลวงพระบาง ที่ถ่อเรือทวนแม่น้ำโขงมายังเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อีกส่วนหนึ่งล่องเรือจากหลวงพระบางมายังอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งอยู่ตรงข้ามเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ในปัจจุบัน จากนั้นเดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ

เมื่อเจ้าเพ็ดชะลาดมาถึงกรุงเทพฯ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี โดยให้พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีมหาดไทย จัดบ้านพักให้หลังหนึ่งที่ตำบลบางกะปิ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในเขตอำเภอพระโขนง และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ซอยงามดูพลี พร้อมกันนี้ท่านผู้หญิงพูนศูข พนมยงค์ ได้ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยให้หม่อมอภิณพร บุตรสาวของนายเชื้อ ยงใจยุทธไปช่วยทำหน้าที่ติดต่อประสานทั้งเป็นแม่บ้านคอยดูแล และต่อมาได้เป็นชายาของเจ้าเพ็ดชะลาด

นอกจากนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ยังได้จัดที่พักให้สมาชิกลาวอิสระอีกหลายคนได้พักอาศัยคือ บ้านคิงส์ดอนที่ปากซอยสาธร๑ สำหรับเป็นที่พำนักของเจ้าสุวันนะพูมาและคณะผู้ติดตาม อีกหลังหนึ่งคือบ้านไม้สองชั้นในซอยพิกุล สาธร ๙ สำหรับเป็นที่พำนักของเจ้าสุพานุวงและสมาชิกอิสระจำนวนหนึ่ง

ส่วนครอบครัวกระต่าย โตนสะโสลิด รองนายกรัฐมนตรีรัฐบาลลาวอิสระ ผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ได้เช่าบ้านของ ร.ต.อ.เชื้อ สุวรรณศร คือบ้านไชโย ที่หัวลำโพงให้เป็นที่พำนัก

ในช่วงเวลานั้นมีบรรดานักกู้เอกราชของลาวเข้ามาลี้ภัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ต่มามีการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ โดยมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นนายกรัฐมนตรี เจ้าสุวันนะพูมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีโยธา ฯลฯ สำหรับเจ้าสุพานุวง นอกเหนือจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศแล้ว ยังมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าสุพานุวงได้ก่อตั้งกองกำลังผสมลาว-เวียดนามขึ้นที่เมืองท่าแขก ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ และมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหาร

ส่วนในด้านงบประมาณ รัฐบาลลาวพลัดถิ่นในกรุงเทพฯ ต้องพึ่งตนเอง ทุนรอนในการดำเนินการกู้ชาติได้มาจากการจำนำทรัพย์สินตามโรงจำนำต่างๆ โดยทรัพย์สินเหล่านี้เจ้าเพ็ดชะลาดนำติดตัวมา ส่วนเงินที่นำมาใช้ซื้ออาวุธนั้นหม่อมอภิณพรได้กู้ยืมเงินจากหลวงเสรีเริงฤทธิ์เป็นจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมกันนี้ก็แสวงหาการสนับสนุนช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ

แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งจากนายปรีดี พนมยงค์ และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ แต่ก็เป็นเพียงจำนวนน้อยเพราะมิใช่เป็นการช่วยเหลือในนามรัฐบาล กอปรกับการที่มีสมาชิกอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากทำให้มีรายจ่ายมาก ต้องดิ้นรนแสวงหาทุนทรัพย์จากแหล่งต่างๆ อีกทั้งต้องเก็บออมเงินส่วนหนึ่งไว้ซื้อหาอาวุธเพื่อกู้ชาติ สมาชิกในรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นหลายคนต้องออกไปทำงาน

Friday, April 18, 2008

บทความที่๔๐๙.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๒๐)

การกลับมาของฝรั่งเศส (จบ)
กองทหารฝ่ายสัมพันธมิตร คือกองทหารอังกฤษ ได้ช่วยกองทหารฝรั่งเศสในการยึดครองปากเซ สาละวัน อัตตะปือ และจำปาสัก ก่อนจะถอนตัวออกไปจากลาวในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ต่อมาทหารฝรั่งเศสได้รวมตัวกันอีกครั้ง แล้วโหมปฏิบัติการต่อกองกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาลในแขวงต่างๆ ทั้งในภาคเหนือ คือเชียงขวาง และในภาคใต้คือสะหวันนะเขด ส่งผลให้รัฐบาลไม่อาจดำเนินการบริหารประเทศได้ดังปกติ สถานการณ์ทางด้านการสู้รบกับฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

กองทหารรัฐบาลลาวอิสระเผชิญกับการล้อมปราบในหลายจุด ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังเข้าปฏิบัติการโจมตีเมืองเชียงขวางในภาคเหนือ หลังยึดได้แล้ว กองทหารของรัฐบาลลาวจากหลวงพระบางได้ขึ้นไปยึดเมืองกลับคืน ฝรั่งเศสจึงหันไปส่งกำลังจำนวนมากบุกโจมตียึดเมืองสะหวันนะเขด ในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ แม้จะต้านทานจนสุดกำลังแล้วแต่ก็สุดจะต้านทานไหว รัฐบาลลาวอิสระมองว่ากำลังของฝรั่งเศสเหนือกว่ามาก และเห็นว่าควรถอนกำลังออกจากสะหวันนะเขดในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เพื่อสงวนกำลังเอาไว้

หลังยึดสะหวันนะเขดได้แล้ว วันที่ ๒๑ มีนาคม ฝรั่งเศสก็ส่งหน่วยคอมมานโดเจ้าโจมตีเมืองท่าแขก ซึ่งเป็นศูย์กลางอำนาจของ “คณะลาวอิสระ” ในภาคใต้ มีผู้รักชาติเข้ามาเป็นสมาชิกกู้ชาติเป็นจำนวนมาก โดยเจ้าสุพานุวงได้ก่อตั้งศูนย์บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยและป้องกันหรือที่เรียกกันว่ากองกำลังผสมลาว-เวียดนาม ซึ่งพระองค์เป็นผู้บัญชาการ มุ่งมั่นต่อสู้ขับไล่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสออกไปจากลาวให้จงได้ กองกำลังผสมลาว-เวียดนามนี้มีสิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี เป็นรองผู้บัญชาการ ช่วงต่อมาได้เป็นผู้บัญชาการทหาร และเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของ “ขบวนการประเทดลาว”

การปะทะสู้รบที่เมืองท่าแขกดำเนินไปอย่างหนักหน่วง ในด้านยุทธการ กองทหารฝรั่งเศสทำสงครามสำเร็จรูป ใช้กำลังเข้าโจมตีทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ หลังจากใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มตัวเมืองจนเกิดไฟไหม้เผาผลาญบ้านเรือนราษฎรเสียหายไปเป็นจำนวนมาก ก็ใช้รถถังยิงถล่มแนวป้องกันอย่างต่อเนื่อง แล้วใช้เครื่องบินโฉบเข้ามายิงกราดซ้ำ กระทั่งสามารถยึดเมืองท่าแขกไว้ได้ ทหารที่ถอยร่นมายังชายหาดทรายริมแม่น้ำและที่ว่ายน้ำข้ามโขงถูกยิงเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ในการสู้รบปกป้องเมืองท่าแขกเป็นระยะเวลา ๓ วัน มีทหารและประชาชนเสียชีวิตทั้งสิ้นถึงประมาณ ๒,๐๐๐ คน

หลังการสู้รบติดพันเป็นระยะเวลา ๓ วัน เจ้าสุพานุวงและกองทหารผสมลาว-เวียดนาม ภายใต้การบัญชการของสิงกะโป สีโคตจุนนะมาละ ได้ตัดสินใจถอนกำลังออกมา โดยนั่งเรือที่น้องชายของนายเตียง ศิริขันธ์ และพวกข้ามแม่น้ำโขงไปรับมายังฝั่งไทยที่จังหวัดนครพนม กระนั้นกองทัพฝรั่งเศสยังใช้เครื่องบินรบโฉบยิงกราดเข้าใส่เรือ จนเจ้าสุพานุวงได้รับบาดเจ็บสาหัส

ภายหลังยึดเมืองท่าแขกไว้ได้ในวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ กองทหารฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลเข้าโอบล้อมกรุงเวียงจันทน์ ในวันที่ ๒๔ มีนาคม โดยเข้าร่วมสมทบกับกองทหารฝรั่งเศสอีกส่วนหนึ่งที่กระจัดกระจายหลบซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ป่าเขาหลังญี่ปุ่นเข้ายึดครอง

กองทหารฝรั่งเศสได้เปิดฉากปฏิบัติการบุกเข้ายึดเวียงจันทน์พร้อมกันถึงสามด้าน โดยกองทหารฝรั่งเศสได้ใช้ยุทธวิธีปิดล้อมตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ช่วงสถานการณ์คับขันประชาชนชาวเมืองเวียงจันทน์พากันหนีข้ามโขงไปอยู่ในหนองคายในวันที่ ๒ เมษายน รัฐบาลลาวอิสระได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่นครหลวงพระบาง

ก่อนหน้านั้นรัฐบาลลาวอิสระเห็นว่า ทหารฝรั่งเศสมีจำนวนมากเกินจะต้านทานไหว จึงเตรียมแผนการที่จะลี้ภัยออกไปยังต่างประเทศ แล้วตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นต่อสู้ เสียงส่วนใหญ่ในรัฐบาลเห็นว่า ไทยเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้องที่ใกล้ชิดสามารถกลับเข้าไปปฏิบัติการทางการเมืองและการทหารได้สะดวก ควรเข้ามาตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในประเทศไทย ส่วนจีนอยู่ห่างไกลขึ้นไปทางเหนือ ไม่สะดวกแก่การดำเนินงานต่อต้านฝรั่งเศสเท่าใดนัก การเดินทางยากลำบาก การเจรจาสื่อสารก็ติดขัด อีกทั้งยังแคลงใจว่า จีนจะเข้ายึดดินแดนทางเหนือ กระนั้นก็ให้ทหารส่วนหนึ่งขึ้นไปลี้ภัยอยู่ที่นั่น

สถานการณ์ช่วงนี้ กองทหารฝรั่งเศสทำการปิดล้อมแคบลงเรื่อยๆ กระทั่งดำเนินการเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์ การปฏิบัติการต้านยันการบุกยึดของทหารฝ่ายรัฐบาลในเวียงจันทน์ดำเนินอยู่เพียง ๓ วัน ในที่สุดทั้งกองทหารลาวและเวียดนามจำต้องถอนกำลังทั้งหมดออกไปร่วมสมบทกับกองทหารหลวงพระบางในวันที่ ๒๔ เมษายน โดยมุ่งขึ้นไปเชียงขวาง หลังมีการปะทะกับกองทหารฝรั่งเศสที่เมืองโพนโฮงและเมืองกาสี กองทหารฝรั่งเศสติดตามโจมตีอย่างไม่ลดละ กระทั่งยึดเมืองเชียงขวางไว้ได้ ส่วนกองทหารลาวได้ถอนตัวมุ่งไปยังหลวงพระบาง กองทหารฝรั่งเศสได้ตามไปถึงหลวงพระบางและมีการปะทะสู้รบกันในพื้นที่นอกเมืองประมาณ ๑ ชั่วโมง เจ้ามหาชีวิตสีสว่างวงได้สั่งให้ทหารลาววางอาวุธยอมจำนนต่อกองทหารฝรั่งเศส

วันที่ ๒๔ พฤษาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นวันที่กองทหารฝรั่งเศสยึดหลวงพระบาง และยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลลาวอิสระไว้ได้โดยสิ้นเชิง

บทความที่๔๐๘.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว (๑๙)

การกลับมาของฝรั่งเศส

นับแต่มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างโฮจิมินห์กับผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสประจำอินโดจีน การสู้รับระหว่างทหารเวียดนามกับทหารฝรั่งเศสก็ได้ยุติลงชั่วคราว ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสนี้ส่งกำลังทหารของตนเข้าไปในประเทศลาวเพิ่มมากขึ้น การปะทะสู้รบกับทหารฝรั่งเศสได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และทวีความถี่ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ กองทหารลาวได้เคลื่อนกำลังจากบ้านสีไคเขาปฏิบิตการโจมตีทหารฝรั่งเศสที่เมืองทุระคม และได้ปะทะสู้รบกันอย่างหนักตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน หลังสู้รบกันเป็นเวลา ๓ วัน ทหารฝรั่งเศสได้ล่าถอยออกไปจากเมือง ทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสียงอาหารไว้เป็นจำนวนมาก

ฝรั่งเศสเตรียมการกลับเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในพื้นที่ภาคเหนือของอินโดจีนแทนกำลังทหารก๊กมินตั่ง ภายใต้การบัญชาการของนายพล หลิว ฮั่น ที่จำต้องถอนกำลังทหารก๊กมินตั๋งทั้งหมดกลับคืนประเทศจีน สาเหตุสำคัญที่ทำให้นายพล เจียงไคเช็คต้องถอนกำลังทหารกลับคืนประเทศก็เนื่องจากต้องเตรียมต่อสู้กับกองทัพแดง ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงและนายพล จูเต๋อ

ฝรั่งเศสได้ใช้โอกาสนี้เปิดเจรจากับนายพล เจียงไคเช็คที่จุงกิง เสนอคืนสิทธิในดินแดนที่ฝรั่งเศสยึดครองไว้ อันได้แก่ เซี่ยงไฮ้ เทียนสิน หางโจว และกวางตุ้ง เพื่อแลกกับการกลับเข้าไปมีอำนาจในดินแดนลาวและเวียดนามดังเดิม เจียงไคเช็ครับข้อเสนอดังกล่าวและมีการลงนามกับฝรั่งเศสในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๙

ก่อนหน้านี้ ในการประชุมที่ปอตสดัม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ได้กำหนดว่า หลังสงครามยุติ ให้กองทหารจีนรับผิดชอบการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนอินโดจีนเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ส่วนดินแดนใต้เส้นขนานที่ ๑๖ ลงไปให้อยู่ภายใต้ควารับผิดชอบของกองทหารอังกฤษ หลังสงครามยุติ ประเทศสัมพันธมิตรคือ จีน อังกฤษ และฝรั่งเศสได้ประชุมร่วมมือกันในการครอบครองพื้นที่อินโดจีน

ผลจากการลงนามในข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว เอื้ออำนวยให้ฝรั่งเศสทุ่มกองกำลังทหารคอมมานโดพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยเข้ามาในฮานอยเป็นจนวนถึง ๑๕,๐๐๐ คน และได้ส่งกองทหารอีกจำนวนหนึ่งกระจายอยู่ในภาคเหนือของเวียดนาม อีกส่วนหนึ่งกลับเข้าไปตั้งฐานบัญชาการอยู่ที่เมืองสิงและหลวงน้ำทาในภาคเหนือของลาว

หลังกองทหารญี่ปุ่นประกาศยอมจำนน และถอนตัวออกไปจากดินแดนลาวหมดแล้ว ทหารฝรั่งเศสี่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขาพยายามรวมตัวกันอีกครั้งโดยตั้งฐานบัญชาการอยู่ที่พูเขาควาย จัดแบ่งกำลังเป็นกรมกอง มีการส่งคนออกไปชักชวนชาวลาวให้มาร่วมเป็นทหาร และเริ่มเคลื่อนไหวปฏิบัติการทางทหารเพื่อกลับมาครอบครองลาวดังเดิม

ในช่วงแรก ทหารฝรั่งเศสจากพูเขาควายได้เคลื่อนกำลังประมาณ ๕๐๐ นายเข้ายึดเมืองทุระคม ทว่าถูกทหารจากองทัพราษฎร ภายใต้การนำของอำพอน พลราชซึ่งกำลังอยู่ทั้งสิ้นเพียง ๑๖๐ คนเข้าปฏิบัติการซุ่มโจมตีแบบกองโจรด้วยอาวุธเก่าที่ทหารญี่ปุ่นทิ้งไว้ จนทหารฝรั่งเศสต้องถอนกำลังกลับ

ในด้านยุทธศาสตร์ ทหารกองทัพราษฎรมีกำลังน้อยกว่ามาก เพื่อหลบหลีกการปฏิบัตากรโจมตีของกองทหารฝรั่งเศส จึงได้เคลื่อนย้ายกำลังไปตั้งอยู่ที่เมืองโพนโอง หลังจากนั้นไม่กี่วันต่อมา กำลังทหารฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลกลับมายึดเมืองทุระคมอีกครั้ง แล้วใช้เป็นฐานในการส่งกำลังบำรุงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยทางเครื่องบิน

หลังกองทหารฝรั่งเศสระดมกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากแล้ว ก็เคลื่อนกำลังทหาร ๖๐๐ นายเข้ายึดบ้านท่าเดื่อซึ่งอยู่ตรงข้ามจังหวัดหนองคาย ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๙ กองบัญชาการกองทัพราษฎรที่เวียงจันทน์รายงานจากทหารด่านท่าเดื่อ จึงแจ้งให้ผู้บัญชาการทหารจีนในเวียงจันทน์ทราบ เพื่อมุ่งหวังให้กองทหารก๊กมินตั๋งที่เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้ช่วยเจรจา

ผู้บัญชาการทหารก๊กมิ่นตั๋งได้ส่งผู้แทนทหารจีนเดินทางไปเจรจา ขอทราบวัตถุประสงค์ และขอให้ยุติการปฏิบัติการ ทว่าทหารฝรั่งเศสไม่สนใจและยิงใส่รถผู้แทนทหารจีนซึ่งติดธงชาติไว้ด้วย ผู้แทนทหารจีนจึงกลับมายังเวียงจันทน์และแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นให้กองบัญชาการกองทัพราษฎรทราบ กองบัญชาการกองทัพราษฎรจึงส่งกองกำลังลาว-เวียดนาม ออกไปปฏิบัติการต้านทานการรุกรบของกองทหารฝรั่งเศส การปะทะสู้รบดำเนินตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น.เรื่อยไปจนถึง ๐๔.๐๐ น.ของวันใหม่

สำหรับทหารเวียดนามนั้นเป็นกำลังทหารที่ฝ่ายเวียดมินห์ส่งมาช่วยเหลือ หลังให้การรับรองในเอกราช อิสรภาพของลาว รวมทั้งให้การรับรองรัฐบาลลาวอิสระที่ได้ก่อตั้งขึ้น และแม้ว่ากองทัพราษฎรและกองกำลังผสมลาว-เวียดนามจะมีกำลังทหารน้อยกว่าถึง ๑๐ ต่อ ๑ อาวุธด้อยประสิทธิภาพกว่า อีกทั้งเสียเปรียบในด้านยุทธภูมิ แต่ก็สามารถตีโต้จนทหารฝรั่งเศสได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ต้องถอยร่นลงไปยังชายฝั่งแม่น้ำโขง และแตกกระจายแยกย้ายหนี ขนทหารที่ได้รับบาดเจ็บส่วนหนึ่งข้ามไปรักษาที่หนองคาย อีกทั้งสูญเสียวอาวุธยุทโธปกรณ์ คือ ปืนครก ๕กระบอก ปืนกลหนัก ๑๐ กระบอก ปืนเล็กยาว ๓๐๐ กระบอก ระเบิดมือและกระสุนอีกหลายพันนัด

ต่อมาทหารฝรั่งเศสกลับไปรวมตัวกันที่เมืองทุระคมอีกครั้ง และจัดแบ่งกำลังออกเป็นหมดหมู่ มีการส่งกำลังทหารมาเพิ่มทางเครื่องบิน เพื่อเตรียมปฏิบัติการครั้งใหญ่ คือรุกเข้าโจมตีเพื่อยึดกรุงเวียงจันทน์

กองทหารผสมลาว-เวียดนาม ได้ออกปฏิบัติการซุ่มโจมตีกองกำลังส่วนหน้าของฝรั่งเศสที่บ้านท่าง่อน ริมแม่น้ำงึม อย่างต่อเนื่อง ก่อนจะเคลื่อนกำลังเข้าโอบล้อมทหารฝรั่งเศสที่เมืองทุระคม ในวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๙ การสู้รบดำเนินอย่างต่อเนื่องตลอดสองวัน ในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๘๙ เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น.กองทหารฝรั่งเศสอีกกองหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่งมั่งได้ยกกำลังมาถึงและกระจายกำลังกันเข้าโอบล้อมกองทหารผสมลาว-เวียดนาม กว่าจะตีแหวกวงล้อมออกมาได้ในเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ก็ต้องสูญเสียกำลังทหารไปเป็นจำนวนมาก

นับแต่นั้นเป็นต้นมา กองทหารผสมลาว-เวียดนามและกองทัพราษฎรได้ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ หันมาใช้วิธีการรบแบบกองโจรเพื่อสงวนกำลังที่มีอยู่ไม่มากนัก และออกปฏิบัติการซุ่มโจมตีทหารฝรั่งเศสเป็นครั้งคราว

บทความที่๔๐๗.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๑๘)

คณะกรรมการราษฎร(ลาว)ประกาศเอกราช ตอนที่ ๔ (จบ)
รุ่งเช้าวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ประชาชนชาวลาวและชาวต่างประเทศอันได้แก่ จีนและเวียดนาม ได้มารวมตัวกันรอฟังคำแถลงประกาศเอกราชอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานแขวงเวียงจันทน์ เวลา ๐๗.๓๐ น. พญาคำม้าว ประธานคณะกรรมการราษฎรได้ขึ้นกล่าวปราศรัยต่อประชาชน ชี้แจงถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและจุดประสงค์ของ “คณะกรรมการราษฎร” เกี่ยวกับการประกาศเอกราชและอิสรภาพ

จากนั้นนายพล ทัม ไชยะสิดเสนา ได้ขึ้นมาอ่านคำปะกาศ ๕ ฉบับ คือ

๑.คำประกาศเอกราชและอิสรภาพของประเทศลาว

๒.คำประกาศรวมผืนแผ่นดินลาวเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

๓. คำแถลงการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๔.คำประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉับชั่วคราวและ

๕.คำประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

หลังเสร็จการประกาศเมื่อเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น.คณะกรรมการราษฎร ซึ่งมีพญาคำม้าวเป็นประธาน รวมทั้งบรรดาประชาชน ได้พากันไปเข้าเฝ้าเจ้าเพ็ดชะลาดและแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีขึ้น

เจ้าเพ็ดชะลาดออกมาต้อนรับและชี้แจงให้ทุกคนทราบว่า เวลานี้หมดภาระหน้าที่ในการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองแล้ว ต่อไปนี้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะตั้งขึ้นในวันนี้เป็นผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการราษฎรจึงกลับมาประชุมเพื่อจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการดำเนินการจัดั้งสภาผู้แทนราษำร ได้มีการเชิญข้าราชการ ทหร พ่อค้าและประชาชนผู้ทรงคณวุฒิมาร่วมเป็นสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน ที่ประชุมได้เลือกพญาคูน พิลาวัน เป็นประธานสภา คำใบ พิลาพันเดด เป็นรองประธานและอำพอน พลราช เป็นเลขาธิการ หลังจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สภาผู้แทนราษฎรได้ให้การรับรองรัฐบาลที่ได้จัดตั้งมาก่อนหน้านี้ โดยมีพญาคำม้าวเป็นนายกรัฐมนตรี

การประกาศเอกราช การมีอิสรภาพ-อธิปไตย การจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรและการมีรัฐบาลเอกราชแห่งชาติบรรลุวัตถุประสงค์โดยสมบูรณ์ในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ถือได้ว่า เจ้าเพ็ดชะลาดและ “คณะกรรมการราษฎร” ได้มีบทบาทอย่างสำคัญยิ่ง

หลัง “คณะกรรมการราษฎร” ประกาศเอกราชและอิสรภาพ ส่งผลให้ลาวมีรัฐบาลเอกราชเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นรัฐบาลได้โทรเลขแจ้งไปยังนานาประเทศเพื่อให้รับรู้และรับรองการเป็นเอกราช ทว่ามีเพียงเวียดนามประเทศเดียวเท่านั้นที่ให้การรับรองในทันที นอกนั้นไม่มีประเทศอื่นใด

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกมาแถลงคัดค้านการประกาศเอกราชและอิสรภาพโดยถือว่า เจ้าชีวิตสว่างวงผู้เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ ได้ยินยอมให้ฝรั่งเศสกลับเข้ามามีอำนาจปกครองลาวดังเดิม จึงตอบโต้รัฐบาลเอกราชด้วยการถอนเงินในคลังออกไปเป็นจำนวนมาก จนส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นในประเทศ และเมื่อกองทัพญี่ปุ่นถอนตัวออกไปจากลาว ก็ได้ขนเงินออกไปอีกเป็นเป็นจำนวนมาก ช่วงนั้นมีเงินเหลือคงคลังไม่ถึงหนึ่งแสนกีบ ส่งผลให้ลาวต้องเผชิญกับวิกฤตด้านเศรษฐกิจการเงินอย่างรุนแรง

ต่อปัญหาดังกล่าว “สมาคมลาวเป็นลาว” ขบวนการชาตินิยม ที่แสดงจุดยืนว่าเป็นสมาคมของคนลาวผูรักชาติ ได้เข้ามามีบทบาทในการพยุงฐานะทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ด้วยการขออนุญาตต่อรัฐบาลลาวอิสระ ทำการเรี่ยไรเงินจากประชาชนทั่วประเทศ เพื่อนำมาใช้จ่ายในภาครัฐและใช้ในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศ พร้อมกันนี้ทางด้านรัฐบาลลาวอิสระได้ติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังประเทศเวียดนามขอแบ่งเงินงบประมาณที่รวมกันอยู่ทั้งสามประเทศ ตามที่ฝรั่งเศสได้จัดสรรงบประมาณไว้ให้ลาวทั้งสิ้น ๔ ล้านกีบ ทว่าคำร้องขอดังกล่าวไม่เป็นผล ด้วยเหตุนี้รัฐบาลลาวอิสระจึงคิดหาทางออกด้วยการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เองใบละ ๕๐ อัฐและ ๑๐ กีบ

นอกเหนือจากปัญหาภาวะวิกฤตด้านการคลังแล้ว ลาวยังต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงไม่แพ้กัน นั่นก็คือ รัฐบาลไม่มีกำลังทหารและไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์มากพอที่จะต่อต้านฝรั่งเศส ซึ่งหวนกลับมาเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่

ด้านคณะกรรมการราษฎรได้ยุบตัวเองและยุติบทบาทลงโดยปริยาย ตามมาตรา ๑๔ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากในการตั้งสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับเลือกให้เข้ามาส่วนใหญ่เนสมาชิกในคณะกรรมการราษฎรนั่นเอง

หลังจากตั้งรัฐบาลอิสระขึ้นเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว เกิดปัญหามีรัฐบาลซ้ำซ้อนสองรัฐบาล คือ รัฐบาลหลวงพระบาง ซึ่งมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นนายกรัฐมนตรีหลังถูกเจ้าชีวิตปลดออกจากตำแหน่งมหาอุปราช ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ และรัฐบาลลาวอิสระ ซึ่งมีพญาคำม้าวเป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลอิสระได้เสนอลู่ทางการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยโทรเลขไปยังเจ้าชีวิตสว่างวง ขอให้รับรองว่า รัฐบาลลาวอิสระเป็นของพระองค์เพียงรัฐบาลเดียวและในการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลลาวอิสระได้ขอให้เจ้าชีวิตสว่างวงตอบกลับภายใน ๒๔ ชั่วโมง หากว่าเลยกำหนดนี้แล้วมิได้รับคำตอบประการใด รัฐบาลลาวอิสระก็จะดำเนินงานทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ

ทว่าไม่มีคำตอบใดๆ จากเจ้าชีวิตสว่างวง รัฐบาลลาวอิสระจึงได้ส่งกำลังทหารจำนวนหนึ่งพร้อมกับคณะกรรมการพิเศษ ลงเรือเดินทางไปยังหลวงพระบางเพื่อกราบทูลทำความเข้าใจ แต่ยังไม่ทันเดินทางไปถึงเมืองหลวงพระบาง บรรดาประชาชนซึ่งมีเจ้าบุนยะวัติ เจ้าแขวงหลวงพระบางเป็นหัวหน้า ได้พากันเข้ากราบทูลให้ทราบถึงการประกาศเอกราชและอิสรภาพ เจ้าชีวิตสว่างวงจึงได้ประกาศสละราชสมบัติ โดยให้เหตุผลว่า สุขภาพไม่สมบูรณ์เนื่องจากทรงดำเนินการกิจมานาน ทำหน้าที่เป็นเจ้าชีวิตสืบราชสมบัติแทน

จากนั้นในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าสีสว่างวง อดีตเจ้าชีวิตก็ได้ส่งบันทึกลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ ให้คำมั่นสัญญาแก่รัฐบาลลาวอิสระ ซึ่งมีพญาคำม้าวเป็นนายกรัฐมนตรี ๓ ข้อ มีใจความสำคัญดังนี้

๑. ข้าพเจ้าสีสว่างอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศลาวอย่างแท้จริง

๒. ช่วงที่ข้าพเจ้าเป็นเจ้าชีวิตอยู่นั้น มิได้ลงนามในสัญญากับทูตฝรั่งเศสผู้หนึ่งผู้ใด เกี่ยวกับประเทศชาติลาว และ

๓. รัฐบาลใหม่นี้ตั้งขึ้นโดยประการใดก็ดี ข้าพเจ้ามิได้ผูกอาฆาตพยาบาทต่อคณะกรรมการราษฎรแต่อย่างใด ขอให้อโหสิกรรมเลิกแล้วต่อกัน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ทำหนังสือนี้ไว้เป็นสำคัญ”

Thursday, April 17, 2008

บทความที่๔๐๖.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว (๑๗)

คณะกรรมการราษฎร(ลาว)ประกาศเอกราช ตอนที่ ๓
ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ คณะกรรมการราษฎรได้พากันเข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาด ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พร้อมกันนี้ได้เชิญเจ้าเพ็ดชะลาดให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล ทว่าเจ้าเพ็ดชะลาดปฏิเสธการรับตำแหน่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลราชอาณาจักรหลวงพระบางของเจ้าชีวิตสีสว่างวงอยู่ในเมื่อเจ้าชีวิตสีสว่างวงยังไม่มีประกาศลบล้างรัฐบาลเก่า อย่างไรก็ตาม เจ้าเพ็ดชะลาดไม่คัดค้านการที่คณะกรรมการราษฎรและประชาชนจะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลและประกาศเอกราช

ในวันเดียวกันนี้ “คณะกรรมการราษฎร” ได้เปิดประชุมด่วนเพื่อสรรหาคนที่จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมได้เสนอชื่อพญาคำม้าวซึ่งมีอาวุโสสูงสุด พญาคำม้าวยินดีรับตำแหน่ง จึงมีการปรับจากรองนายกฯ มาเป็นนายกรัฐมนตรีส่วนตำแหน่งอื่นๆ ในรัฐบาลนั้น ได้มีการปรับให้เจ้าสุพานุวงมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และให้นายพล ทัม ไชยะสิดเสนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

โทรเลขของ “คณะกรรมการราษฎร” ได้เปิดประเด็นความขัดแย้งอย่างรุนแรง เจ้าชีวิตสว่างวงได้ให้รัฐมนตรีมหาดไทยมีโทรเลขปลดเจ้าเพ็ดชะลาด ถึงท้าวอู่ทอง สุวันนะวงส์ รัฐมนตรีคลัง ระบุเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ มีใจความว่า

“ด้วยมีพระราชโองการให้ปรับปรุงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เหมาะสมกับการเมืองและการปกครอง ซึ่งขัดแย้งกับมติมหาชน เรื่องนี้พระองค์มิได้ปรึกษากับเจ้าตัว (เพ็ดชะลาด) มาก่อน และได้สั่งปลดตำแหน่งศักดินาของมหาอุปราชแล้วจึงเรียกท่านขึ้นขึ้นไปที่หลวงพระบาง เพื่อรักษาตำแหน่งหน้าที่ตามปกติ ขอให้เปิดเผยพระราชโองการนี้ให้ประชาชนทราบ และให้ท่านตกลงกับ ฯพณฯท่านอู่ทอง เพื่อหาวิธีป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาราษฎร และให้ชี้แจงเรื่องทั้งหมดนี้ให้พญาคำม้าวทราบ เพื่อถือปฏิบัติตามคำสั่งนี้ต่อไป”

เช้าวันเดียวกันนี้ เจ้าเพ็ดชะลาดได้มีคำสั่งให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในนครเวียงจันทน์เข้าเฝ้าที่เรือนพัก แล้วเอาโทรเลขสั่งปลดจากตำแหน่งอุปราชมาเปิดเผยให้ทุกคนได้ทราบ จากนั้นประกาศต่อหน้าทุกคนในที่นั้นว่า นับแต่นี้เป็นต้นไปจะขอวางมือจากกิจการงานบ้านเมืองทั้งหมด ขอดำรงชีวิตอยู่อย่างสามัญชนคนลาวคนหนึ่งเท่านั้น

ภายหลังมีการเปิดเผยคำสั่งปลดเจ้าเพ็ดชะลาด ผู้เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนและข้าราชการในกรุงเวียงจันทน์ต่างแสดงความไม่พอใจในการกระทำของเจ้าชีวิตสว่างวง ที่ดำเนินนโยบายทางการเมืองตามอำเภอใจไม่รับฟังเสียงของอาณาประชาราษฎร์ และไม่สนใจสถานการณ์โลก

สมาชิก “คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยรีบเดินทางกลับจากตำหนักเจ้าเพ็ดชะลาด แล้วเปิดประชุมหารือกันเป้นการด่วนเพื่อเตรียมการประกาศเอกราชและอิสรภาพในรุ่งเช้าวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ การประชุมเตรียมการประกาศเอกราชและอิสรภาพในรุ่งเช้าวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๘ การประชุมเตรียมการครั้งนั้นมีกำหนดบทบาทและหน้าที่ของฝ่ายทหารและตำรวจรวมทั้งฝ่ายพลเรือนไว้ ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑.ให้ฝ่ายทหารและตำรวจจัดการรักษาความสงบทั้งภายในและภายนอกนครเวียงจันทน์

๒. ให้ฝ่ายพลเรือนจัดการประกาศเชิญชวนข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน มาร่วมชุมนุมฟังคำประกาศเอกราช ในเวลา ๐๗.๓๐ น. ของวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๘ และ

๓.ให้ติดต่อผู้บัญชาการทหารจีน ที่ประจำอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ รับรู้ถึงการประกาศเอกราช และขอความร่วมมือช่วยป้องกันเหตุร้ายอันจะเกิดจากศัตรูภายนอกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ผู้บัญชาการทหารจีนได้ให้การรับรองเป็นอย่างดี

เจ้าเพ็ดชะลาดได้บันทึกเหตุการณ์ผันผวนในช่วงนั้นไว้ในบันทึกส่วนพระองค์มีใจความส่วนหนึ่งดังนี้

“เมื่อได้รับประกาศของพระองค์ดังนั้น ข้าพเจ้าก็โทรเลขกราบตอบว่ายอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ทุกประการ แล้วจึงเอาโทรเลขเกี่ยวกับเรื่องที่พระองค์ประกาศให้อาณาจักรหลวงพระบางอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศสต่อไป มาเปิดเผย พร้อมกับนำโทรเลขสั่งปลดข้าพเจ้าออกจากหน้าที่มาเสนอให้ข้าราชการลาวและประชาชนทราบทั่วกัน โดยชี้แจงว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการแผ่นดินต่อไปแล้ว”

บทความที่๔๐๕.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๑๖)

ตอน คณะกรรมการราษฎร(ลาว)ประกาศเอกราช ตอนที่ ๒

การขยายตัวของแนวคิดมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ดำเนินไปภายใต้การชี้นำของสำนักงานศูนย์บัญชาการของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน “สาขาลาว-สยาม” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี รับผิดชอบการปฏิบัติการในพื้นที่ดินแดนอินโดจีน และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๕ เขต คือ เขตงานภาคกลางมีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี รับผิดชอบวารินทร์ชำราบและจังหวัดสุรินทร์ เขตงานภาคเหนือมีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และเขตงานภาคใต้เคลื่อนไหวกับ “พรรคสยาม-มาลายา” ทั้งนี้สมาชิกระดับนำในศูนย์บัญชาการพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนสาขา “ลาว-สยาม” บางคนมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน

สำหรับในการปฏิบัติงานเคลื่อนไหวเผยแพร่แนวคิดอุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ มีสำนักงานสาขาย่อยกระจายอยู่ในหลายเมืองตลอดแนวสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง อันได้แก่ เวียงจันทน์ หนองคาย หมากแข้ สกลนคร มุกดาหาร ธาตุพนม นครพนม อุบลราชธานี เหมืองแร่ที่คำม่วน ท่าแขก สะหวันนะเขด และปากเซ

สมาชิกผู้ปฏิบัติงานมาลชนมีหลากหลายสาขาอาชีพ สำหรับโฮจิมินห์นั้นเป็นทั้งนักเขียนและกรรมการ นอกจากนี้ยังมีส่วนหนึ่งเป็นปัญญาชน ครู อาจารย์ เช่น สิงคโป สีโคตจุนนะมาลี บ้างเป็นชาวนา กรรมกร เช่น หนูฮัก พูมสะหวัน หรือแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์แห่งราชสำนักเมืองหลวงพระบาง อันได้แก่ เจ้าสุพานุวงหรือ “เจ้าแดง”

ท่ามกลางกระแสชาตินิยมและการขยายตัวของ “ลัทธิฮักชาติ” มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่สมาชิกคณะกรรมการราษฎรและประชาชนทั่วไปว่า มีสมาชิกบางคนฝักใฝ่เป็นใจกับฝรั่งเศส บางคนเอาใจฝักใฝ่เวียดนาม และบางคนก็ฝักใฝ่เป็นใจกับไทย เพื่อลบล้างข้อครหาดังกล่าวจึงมีการตั้ง “สมาคมลาวเป็นลาว” ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลและสรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีภายในชาติ โดยใช้บ้านของคำใบ พิลาพัเดด ในกรุงเวียนจันทน์เป็นที่ประชุม ผู้รับหน้าที่เป็นประธานคนแรกก็คือพันเอก บง สรีรัตนะกุน และมีคำใบ พิลาพันเดดเป็นรองประธาน ท้าวอำพอน พลราช เป็นที่ปรึกษา พร้อมกันนี้มีคณะกรรมการอีก ๘ ท่านและเลขานุการอีก ๓ ท่าน

“สมาคมลาวเป็นลาว” ได้ขยายสาขาออกไปยังแขวงต่างๆ อีก ๔ แขวง คือ

๑. แขวงหลวงพระบาง๒.แขวงสะหวันนะเขด๓.แขวงเชียงขวาง๔.แขวงคำม่วน มีเจ้าสุพานุวง ผู้ที่เรียกขานกันว่า “เจ้าฟั่น” หรือ “เจ้าแดง” เป็นประธาน และมีคณะกรรมการอีกส่วนหนึ่ง เช่น สิงคโป สีโคตจุนนะมาลี

พร้อมกันนี้ “สมาคมลาวเป็นลาว” ได้มีการก่อตั้งกองทัพราษฎรขึ้นในแขวงใหญ่ๆ หลายแขวงด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสและช่วยเหลือกองทหารของรัฐบาล ภายใต้การบัญชาการของนายพล สิง รัตนะสมัย ซึ่งเพิ่งเริ่มก่อตั้งและมีกำลังทหารไม่มากนัก

กองทัพราษฎรที่เวียงจันทน์อยู่ภายใต้การบัญชาการของอำพอน พลราช มีกองกำลังทหารที่เป็นชาวลาวผู้รักชาติอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ท่าแขก อยู่ภายใต้การบัญชาการของเจ้าสุพานุวง มีกองกำลังผสมลาว-เวียดนาม และที่สะหวันนะเขดอยู่ภายใต้การบัญชาการของอุ่น ชะนะนิกอน มีกำลังทหารอยู่อีกจำนวนหนึ่งเช่นกัน

ในวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สมาชิกในขบวนการชาตินิยมส่วนหนึ่งที่รวมตัวกันเป็น “คณะลาวอิสระ” ได้เปิดประชุมวางแผนประกาศเอกราชและอิสรภาพรวมทั้งเตรียมการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นปกครองประเทศ สมาชิกคณะลาวอิสระที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นเรียกตนว่า “คณะกรรมการราษฎร” ประกอบด้วย พญาคำม้าว กระต่าย โตนสะโสลิด เจ้าสุวันนะพูมา นายพล อุดอน ชะนะนิกอน นายพล พัมไชยะสิดเสนา พันเอก บง สรีรัตนะกุน อำพอน พลราช คำใบ พิลาพันเดด บัวจัน อินทะวงศ์ พันตรี สิง รัตนะสมัย เกื่อง ปทุมชาด พญาอุ่นเรือน นรสิงห์ มหาสีลา วีรวงส์ และพันโท ประสาน ทองภักดี

ที่ประชุมมีมติใน ๓ หัวข้อสำคัญ คือ

๑.ให้กำหนดเอาวันที่ ๑๒ ตุลาคม เป็นวันประกาศเอกราชและอิสรภาพ

๒. คัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ

๓.ให้โทรเลขทูลเชิญเจ้าชีวิตสว่างวงมาเป็นเจ้าชีวิตของลาวทั้งมวล ภายใต้รัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้หลังประกาศเอกราชแล้ว ต่อมาในวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ประธานที่ประชุมได้โทรเลขกราบทูลเจ้าชีวิตสว่างวง โดยกำหนดให้ตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง มีใจความว่าดังนี้

(๑)คณะกรรมการราษฎรขอให้พระองค์ทราบในจุดประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คณะกรรมการราษฎรจะได้ประกาศ

(๒)ขอให้พระองค์ทรงรับรองกฏหมายรัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศ ที่คณะกรรมการราษฎรจะได้นำขึ้นทูลเกล้าถวาย

(๓)ขอให้พระองค์ประกาศลบล้างรัฐบาลแห่งอาณาจักรหลวงพระบาง แล้วให้การรับรองรัฐบาลใหม่แห่งราชอาณาจักรลาวทั้งหมด ที่จะได้ประกาศจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ และ

(๔) ขอเชิญพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์ของคนลาวทั้งประเทศ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

บทความที่๔๐๔.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว(๑๕)

ตอน คณะกรรมการราษฎร(ลาว)ประกาศเอกราช ตอนที่ ๑

สถานการณ์ด้านความมั่นคงของลาวช่วงนั้นกล่าวได้ว่า ตกอยู่ในสถานภาพตึงเครียดอย่างรุนแรง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งนี้เนื่องจากในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ เจียงไคเช็คได้ส่งกำลังทหารจีนคณะชาติเข้ามารับผิดชอบในการปลอดอาวุธทหารญี่ปุ่นเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ เป็นจำนวนถึง ๔ กองทัพ และ ๓ กองพลผสมอิสระ รวมกำลังพลทั้งสิ้นถึง ๑.๒ แสนคน ทหารเหล่านี้ไม่ค่อยมีระเบียบวินย ใช้อำนาจรังแกชาวบ้าน หลังปลอดอาวุธทหารญี่ปุ่นแล้วมีแผนการที่จะยึดครองพื้นที่เหนือเส้นขนาดที่ ๑๖ ซึ่งครอบคลุมภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และภาคอีสานของไทย

ในช่วงเดียวกันนี้ พลตรี ดักลาส เกรซี ได้นำกำลงทหารอินเดียจากกองพลทหารราบที่ ๒๐ ในนามของอังกฤษจำนวน ๑กองพล มาโดยทางเรือ และขึ้นบกที่ไซ่ง่อนเพื่อทำการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นใต้เส้นขนานที่ ๑๖ ได้ปลดปล่อยนักโทษและทหารฝรั่งเศสที่ถูกญี่ปุ่นขังไว้ รวมทั้งแจกจ่ายอาวุธของญี่ปุ่นให้ และเกิดการปะทะกันระหว่างทหารฝรั่งเศสกับทหารเวียดมินห์ในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง จนอังกฤษต้องประกาศกฏอัยการศึก

ด้านนายพล เดอโกลล์แห่งรัฐบาลฝรั่งเศสเสรีได้ส่งนายพล ฌ๊าค ฟิลิปเป เลอเคริ์ค พร้อมด้วยทหารคอมมานโด ๒ กองพัน มายังเวียดนามโดยทางเรือ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ และติดอาวุธทันสมัยล่าสุดของอเมริกันที่ฝรั่งเศสได้เช่าซื้อมา อีกทั้งยังได้รับมอบอาวุธของญี่ปุ่นที่กองทหารอังกฤษปลดมาอีกจำนวนหนึ่ง

สถานการณ์ด้านการทหารของอาณานิคมฝรั่งเศสในดินแดนลาวช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ เรียกได้ว่ายังคงมีอำนาจทางการทหารในระดับที่เข้มแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากในการปกครองดินแดนอินโดจีนนั้น ฝรั่งเศสได้วางกำลังทหารไว้ตามเมืองต่างๆ ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทั่วประเทศ รวมทั้งเมืองหลักตลอดแนวลำน้ำโขง

ฐานที่ตั้งทางทหารตามเมืองริมแม่น้ำโขงที่อยู่เหนือสุดคือป้อมคาร์โนท์ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่แก้ว ตรงข้ามอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมืองถัดลงมาตามลำน้ำโขงซึ่งมีฐานทางทหารตั้งอยู่ก็คือเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ปากซัน ท่าแขก สะหวันเขด แก่งกอก และปากเซ

นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังใฐานที่ตั้งทางทหารและฐานหน่วยคอมมานโดกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ในภาคเหนือ มีฐานกองทหารหน่วยคอมมานโดตั้งอยู่ที่เมืองไซ ในแขวงอุดมไซ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฐานกองทหารหน่วยคอมมานโดตั้งอยู่ที่เมืองเชียงขวางและที่เมืองซำเหนือ ในภาคกลางมีฐานกองทหารหน่วยคอมมานโดตั้งอยู่ที่เมืองคำเกิด ยมราช ส่วนภาคใต้นั้นมีฐานกองทหารหน่วยคอมมานโดตั้งอยู่ที่สะหวันเขด สาละวัน และอัตปือ

ขณะเดียวกันทางฝ่ายเวียดมินห์ก็มีหน่วยงานของฝ่ายตนตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชายแดนต่างๆ ของไทย ที่มีรอยต่อตะเข็บชายแดนกับลาว คือบริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองเวียงจันทน์ ปากซัน ท่าแขก และสะหวันเขด โดยมีฐานของเวียดมินห์อยู่ในดินแดนลาวที่เมืองเซโปนและนาเป นอกนั้นเป็นฐานที่ตั้งในพื้นที่ชายแดนเวียดนามด้านตรงข้ามซำเหนือ เชียงขวาง และหัวพัน

ในช่วงเวลานั้นเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ของลาว ตั้งแต่เมืองสะหวันเขดลงไปจนถึงชายแดนกัมพูชาที่อัตปือ ล้วนเป็นพื้นที่ภายใต้การควบคุมของ “คณะลาวอิสระ” ซึ่งมีส่วนหนึ่งรับแนวคิดสังคมนิยมและอุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ที่มีการเผยแพร่อยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียงจันทน์และเมืองต่างๆในทางภาคใต้ อันได้แก่ ปากเซ สะหวันเขด เซโปน สาละวัน อัตปือ เขมลาด คำเกิด รวมทั้งเชียงขวางในภาคเหนือ

กลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ดังกล่าวมีแกนนำสำคัญคือ เจ้าสุพานุวง สิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี หนูฮัก พูมสะหวัน ไกสอน พมวิหาน และคำไต สีพันดอน เป็นต้น

ที่สำคัญก็คือ การกู้ชาติของลาวไม่ค่อยมีความเป็นเอกภาพในองค์กรเท่าใดนัก อันเนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของลุคคลที่มีความแตกต่างในสถานภาพทางสังคม และมีความหลากหลายในทัศนะความคิดค่อนข้างมาก โดยมีพื้นฐานความคิดแบบเสรีนิยม อนุรักษ์นิยม และสังคมนิยม

ในช่วงเวลานั้นพลังประชาชนยังมีความเข้มแข็ง แม้ว่าบรรดาผู้มีบทบาทนำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศจะมีความแตกต่างกันในด้านความคิด ทว่าบรรดาสมาชิกในขบวนการกู้ชาติลาวมีแก่นแกนความคิดที่เป็นจุดร่วมเดียวกัน และหล่อหลอมให้ทุกคนร่วมใจกันต่อสู้ นั่นคือความรักชาติซึ่งเรียกขานกันในช่วงเวลานั้นว่า “ลัทธฮักชาติ” อันเป็นแนวคิดที่ปรากฏขึ้นในท่ามกลางกระแสแนวคิดชาตินิยมที่แผ่ขยายไปทั่วโลก

เหงียน ไอ ก๊อกหรือโฮจิมินห์และเหล่าพลพรรคได้เข้ามาปฏิบัติงานใต้ดินเคลื่อนไหวเผยแพร่แนวคิดอุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ในเวียดนาม กัมพูชา ลาว และไทย ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๓๐ ก่อนหน้าที่แนวคิดชาตินิยมจะก่อตัวไปทั่วโลก

การเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ดังกล่าวดำเนินอย่างต่อเนื่องและมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยอาศัยเงื่อนไขการเข้าครอบรองและปกครองเป็นเจ้าอาณานิคมการแย่งชิงทรัพยากร และกดขี่ขูดรีดแรงงานชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตราการเข้มงวดทางภาษี และการใช้กำลังปราบปรามต่อชนเผ่าม้งซึ่งมีถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ และกรณีการบังคับใช้แรงงานชนชาติข่าในภาคกลางและภาคใต้ในการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมทางบก และเป็นแรงงานถ่อเรือสำรวจแม่น้ำโขง กระทั่งนำไปสู่การก่อตั้งพรรคอมมิวนิสต์อินโดจีนขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๓

Wednesday, April 16, 2008

บทความที่๔๐๓.ท่านปรีดีฯกับขบวนการกู้ชาติลาว (๑๔)

ท่านปรีดี พนมยงค์กับขบวนกู้เอกราชในลาว ตอน ขบวนการชาตินิยม (จบ)
นอกเหนือจากการดำเนินความพยายามเรียกร้องเอกราชอย่างสันติ โดยยื่นเอกสารขอการรับรองความเป็นเอกราชของลาวต่อผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทยแล้ว ยังมีการจัดตั้งกองทหารขึ้นมากองหนึ่ง โดยรวบรวมอาวุธของทหารญี่ปุ่นทิ้งไว้หลังประกาศยอมจำนนและเดินทางกลับประเทศ กองทหารนี้มีพันตรี สิง รัตนะสมัย เป็นผู้บังคับบัญชา

ต่อมามีการเปลี่ยนตัวเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จากนายเอ็ด.เอ็ฟ.แสตนตัน มาเป็นนายโดโนแวน เจ้าเพ็ดชะลาดได้ส่งเจ้าสุพานุวงเดินทางเข้ามาติดต่อขอให้เป็นคนกลางเจรจากับฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยมีพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ทูตทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยเหลือ ต่อมาพันเอก เวอร์จิเนีย ทอมสัน ถูกปลอดและมีการแต่งตั้งพันเอก ลอว์มารับหน้าที่แทน

เจ้าอุปราชเพ็ดชะบาด พยายามดำเนินการเรียกร้องเอกราชด้วยวิธีเจรจาอย่างสันติวิธี ทว่าความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล แม้จะพยายามอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ความพยายามที่ล้มเหลวอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ทางฝ่ายลาวได้สรุปว่า เป็นผลจากสหรับอเมริกาเกรงใจฝรั่งเศสที่ร่วมรบด้วยกันในนามฝ่ายสัมพันธมิตร

ภายหลัง “คณะลาวอิสระ” สิ้นหวังจากการให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการเจรจาขอเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้เปิดประชุมวางแนวทางการประกาศเอกาชและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ ที่ประชุมมีความเห็นต้องกันว่า ในการประกาศเอกราชนั้นต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญสำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น หลังมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย “คณะลาวอิสระ” ได้เข้าพบเจ้าเพ็ดชะลาด เสนอแผนการและข้อตกลงของคณะ พร้อมเสนอให้เจ้าเพ็ดชะลาดประกาศยุบรัฐบาลอาณาจักรหลวงพระบางเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้เป็นรัฐบาลของประชาชนลาวทั้งประเทศ เป็นรัฐบาลที่มีอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมอารักขาของชาติใดๆ

เจ้าเพ็ดชะลาดเห็นพ้องด้วย แต่ขอให้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือในขั้นต้นให้ประกาศรวมดินแดนที่ฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองเขตปกครอง คือเขตเหนือที่มีหลวงพระบางเนเมืองหลวง และเขตใต้ที่มีเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงให้มารวมกันเป็นอาณาจักรเดียวที่มีเอกภาพ พร้อมถามความเห็นไปยังเจ้าแขวงในภาคใต้ทั้งสี่แขวง คือ สะหวันนะเขด สาละวัน คำม่วน และจำปาสักว่าเห็นพ้องด้วยหรือไม่ พร้อมกันนี้ให้โทรเลขไปปรึกษาหารือกับเจ้าชีวิตสีสว่างวง

จากประสบการณ์ทำงานให้อณานิคมฝรั่งเศสมายาวนาน เจ้าเพ็ดชะลาดตระหนักดีถึงกลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองที่อาณานิคมฝรั่งเศสนำมาใช้ในการปกครองลาว จึงดำเนินการรวบรวมดินแดนลาวที่ถูกฝรั่งเศสแบ่งแยกเข้าด้วยกันให้เป็นเอกภาพ ทั้งนี้โดยถือว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความรักชาติเป็นความชอบธรรมที่ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้ามหาอุปราชและนายกรัฐมนตรีสามารถกระทำได้ เจ้าชีวิตจะถือว่าเป็นขบถหรือขัดต่อพระบรมราชโองการไม่ได้

ช่วงนั้นแนวคิดชาตินิยมในลาวได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ศูนย์กลางอำนาจของ “คณะลาวอิสระ” มีฐานอยู่ทั้งที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขด และท่าแขก ความมุ่งมั่นในการรวบรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นหนึ่งเดีวกันและการประกาศเอกราชไม่อยู่ภายใต้อาณํติของชาติอื่นของเจ้าเพ็ดชะลาด ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลราชอาณาจักรหลวงพระบาง ภายใต้การร่วมมืออย่างแข็งแรงแข็งขันของ “คณะลาวอิสระ” ก่อให้เกิดความขัดเคือง และนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงกับชีวิตสว่างวง ทั้งในด้านความคิดและแนวทัศนะทางการเมือง

ความพยายามประการแรกของเจ้าเพ็ดชะลาดในการที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสก็คือ การรวมชาติให้เป็นเอกภาพ และได้มอบหมายให้โง่น ชะนะนิกอน ไปขอความคิดเห็นจากเจ้าแขวงภาคใต้ เมื่อได้รับคำตอบครบแล้ว ในวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าเพ็ดชะลาดจึงได้ออกประกาศในนามของตำแหน่งมหาอุปราชและนายกรัฐมนตรี ผนวกดินแดนแขวงภาคใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรหลวงพระบาง จากนั้นโทรเลขแจ้งให้เจ้าชีวิตสีสว่างวงทราบ

ก่อนหน้านั้น เจ้าเพ็ดชะลาดได้ประชุมสอบถามความเห็ฯในเรื่องการรวมชาติจากเจ้าแขวงทางภาคใต้มาแล้วหลายท่าน อาทิ พญาคำม้าว วิไลเจ้าแขวงเวียงจันทน์,พญาโพทิทัตเจ้าแขวงสะหวันนะเขด,พญาคำบัว มากคำผิวเจ้าแขวงอัตตะปือ และอ่อน วงวงส์เจ้าเมืองปากเซแขวงจำปาสัก ซึ่งทุกคนล้วนต่างมีความเห็นร่วมกันเป็ฯเอกฉันท์ในอันที่จะรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน

ต่อมาเจ้าเพ็ดชะลาดได้ให้โง่น ชะนะนิกอน เดินทางไปติดต่อเจ้าแขวงภาคใต้ทั้งสี่แขวง เพื่อโหวตเสียงประชาชนของแขวงเหล่านั้นว่ายินดีจะเข้ามาร่วมอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบางหรือไม่ หรือจะอยู่กับฝรั่งเศสตามเดิม ผลการโหวตเสียงแสดงว่า ประชาชนลาวมีความต้องการที่จะรวมราชอาณาจักรลาวให้เป็นเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว

ในการดำเนินการกู้เอกราชจากฝรั่งเศสในช่วงแรกนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายจะทำลายล้างฝรั่งเศสในลาวให้พ่ายแพ้ราบคาบแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ฝรั่งเศสคือเอกราชแก่ลาวโดยสันติ

บทความที่๔๐๒.อภิวัฒน์สยาม ตอนที่๕

อภิวัฒน์สยาม ตอนที่ ๕

ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายเรื่องการลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครอง ฉบับดังกล่าวเอาไว้ดังนี้

“การปกครองแผ่นดินสยามตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช์นั้นไมมีบทกฎหมายกำหนดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เพราะพระมหากษตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครองแผ่นดินตามพระราชอัธยาศัย

เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

วันที่ ๒๖ มิถุนายน คณะราฎรได้ส่งคณะผู้แทนเข้าเฝ้าขอพระราชทาน "ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินตามที่คณะราษฎรได้ร่างถวาย" พระมหากษัตริย์ทรงรับไว้พิจารณา
ต่อมาในวันที่ ๒๗ เดือนนั้น ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้ายังทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์ทำการแทนปวงชนชาวสยามได้นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯลงพระปรมาภิไธยพระราช

ทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น โดยทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ไว้ต่อท้ายคำว่า "ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน" ทั้งนี้มีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้ธรรมนูญนั้นไปชั่วคราวก่อน แล้วให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรตั้งอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวารขึ้นใช้ต่อไป

ข้อสังเกตุ

(๑) ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ตราขึ้นโดยถูกต้องทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยตามหลักนิติศาสตร์ทุกประการ

(๒) ธรรมนูญฯ ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้สถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระยะหัวต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองสยามเป็นเวลาหลายพันปี กับระบอบประชาธิปไตยที่เพิ่งเริ่มขึ้น

กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายฉบับท้ายสุดแห่งการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ต้องมี "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ"

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับแรกของสยามเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีสาระสำคัญที่ดังนี้

มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

มาตรา ๒ ให้มีบุคคลและคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร คือ
๑ กษัตริย์
๒ สภาผู้แทนราษฎร
๓ คณะกรรมการราษฎร
๔ ศาล

มาตรา ๓ กษัตริย์เนประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติ คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆก็ดี จะต้องกระทำในนามกษัตริย์

มาตรา ๔ ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบมรดกให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗ และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๗ การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา ๘ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้

มาตรา ๙ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศและมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎร หรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้

มาตรา ๑๐ คณะราษฎร โดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน ๗๐ นายเป็นสมาชิกสภา เมื่อราษฎรทั่วพระราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าไม่เกิน ๑๐ ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น

มาตรา ๒๘ คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าทที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๓๑ ให้เสนาบดีกระทรวงต่างๆเป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรให้กิจการทั้งปวง

มาตรา ๓๒ คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานกรรมการราษฎร ๑ นายและกรรมการราษฎร ๑๔ นาย รวมเป็น ๑๕ นาย

มาตรา ๓๓ ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกสมาชิกสภาฯ ผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการราษฎร และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกสภาฯอีก ๑๔ นายเป็นกรรมการราษฎร โดยความเห็นชอบของสภาฯ

บทความที่๔๐๑.อภิวัฒน์สยาม ตอนที่๔

ตอนที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จจากหัวหินกลับกรุงเทพฯ โดยขบวนรถไฟพิเศษเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน เวลา ๑๙.๔๕ น. เสด็จลงที่สถานีรถไฟจิตรลดาวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน เวลา ๐.๓๗ น. แล้วเสด็จตรงไปประทับที่วังสุโขทัย แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าที่วังสุโขทัยเวลา ๑๑.๐๐ น. ของวันที่ ๒๖ มิถุนายนนั้น

เวลา ๙.๑๑ น. ของเช้าวันนั้น เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นำรถยนต์หลวง ๒ คัน เชิญนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระยาพหลฯ ได้ให้นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี นายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ นายพันตรีหลวงวีระโยธา พร้อมด้วยรถยนต์หุ้มเกราะ ๒ คัน นักเรียนร้อย ๒ หมวด และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี นายจรูณ ณ บางช้าง นายสงวน ตุลารักษ์ ผู้แทนคณะราษฎร จากพระที่นั่งอนันตสมาคม ถึงพระราชวังสุโขทัยเมื่อเวลา ๑๑.๐๕ น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกท้องพระโรงเมื่อเวลา ๑๑.๑๕ น.พอคณะผู้แทนคณะราษฎรขึ้นท้องพระโรง พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ได้เบิกตัวนายพลเรือตรี พระศรยุทธเสนี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และคณะราษฎรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้

ครั้นแล้วหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ยืนขึ้นอ่านพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับฟัง และทรงพยักพระพักตร์เป็นคราวๆ ด้วยความพอพระราชหฤทัย เมื่อหลวงประดิษฐ์ฯ ได้อ่านถวายสิ้นกระแสความแล้ว จึงทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระบรมนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินมีข้อความยืดยาว เพียงแต่ทรงสดับยัไม่เข้าใจดี จึงขอทอดพระเนตรเองอีกครั้งหนึ่ง แล้วหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้น้อมเกล้าถวายพระธรรมนูญการปกครอง ครั้นแล้วเวลา ๑๒.๑๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้น

ครั้นเวลา ๑๒.๔๐ น. พระยาอิศราธิราชเสวีได้นำพระกระแสพระบมราชโองการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้คำตอบในวันที่ ๒๗ เดือนนี้ เวลา ๑๗ น. ตามทางราชการ
ท่านปรีดี พนมยงค์ได้เล่าเสริมความบางตอนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าว ดังนี้
“อันที่จริงธรรมนูญฉบับที่ทูลเกล้าฯ ถวายในวันนั้น พระยาพหลฯได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเชิญพระยามโนปกรณ์ฯ และพระยานิติศาสตร์ฯ มาช่วยพิจารณาตั้งแต่คืนวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วได้นำเสนอพระยาพหลฯ พระยาทรงฯ พระฤทธิ์ฯ เห็นชอบด้วยก่อน แล้วจึงนำมาถวายในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถ้ากรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังเก็บแฟ้มธรรมนูญฉบับนั้นก็จะเห็นลายมือของพระยามโนฯ ที่แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น”

และอีกตอนหนึ่ง

“ในวันนั้น เมื่อในหลวงเสด็จขึ้นแล้ว พระยาอิศราธิราชเสวีได้เชิญผู้แทนคณะราษฎรออกไปนั่งที่ระเบียงพระตำหนักเพื่อรอคอยพระกระแสรับสั่ง และเมื่อมีพระกระแสพระบรมราชโองการมาว่าจะทรงให้คำตอบในวันรุ่งขึ้น คณะผู้แทนของคณะราษฎรก็เดินทางกลับ ต่อมาในวันจันทร์ที่ ๒๗ มิถุนายน คือวันรุ่งขึ้นเวลา ๑๗ น. เจ้าพระยามหิธรฯ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรก็ได้นำธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ทูลเกล้าฯถวาย ณ วังสุโขทัยในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ซึ่งได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว มาพระราชทานคณะราษฎรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม”

บทความที่๔๐๐.อภิวัฒน์สยาม ตอนที่๓

ตอนที่๓

เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ (กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย)ทรงแถลงว่า ก่อนอื่นอยากจะทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตอบมาอย่างไรในเรื่องรัฐบาลใหม่นี้

๔.หลวงประดิษฐ์ฯ กล่าวว่า ในเวลานี้ยังไม่ได้รับตอบ แต่การแจ้งไปให้คณะทูตทราบในปัญหาของชาติทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะ ซึ่งจะต้องจัดการโดยเร็วที่สุด หาเกี่ยวข้องธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เพราะเกรงว่าอาจมีการแทรกแซงได้ อาศัยที่ประเทศเราเป็นประเทศที่เล็ก

๕.เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เวลานี้เข้าใจว่าคงไม่มี

๖.หลวงประดิษฐ์ฯ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การแจ้งไปให้คณะทูตทราบถึงกิจการและทางดำเนินของคณะรัฐบาลใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องกระทำโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ประเทศทั้งหลายทราบถึงความประสงค์อันดีของรัฐบาลใหม่ที่ได้ตั้งขึ้นนี้

๗.เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศทรงถามว่า จะให้แจ้งถึงพฤติการณ์ที่ได้เป็นไปอันไม่เกี่ยวแก่การขอให้รับรอง หรือจะขอให้รับรองรัฐบาลใหม่ด้วย

๘. หลวงประดิษฐ์ฯ กล่าวว่า ต้องการขอให้รับรองรัฐบาลใหม่ด้วย

๙. เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การขอให้รับรองรัฐบาลคณะใหม่นั้น ถ้าเป็นการขอให้รับรองเดอยือร์แล้ว ก็จะต้องได้รับตอบจากพระเจ้าอยู่หัวก่อนหรือมิฉะนั้นข้าพเจ้าก็ลาออก

๑๐. หลวงประดิษฐ์ฯ ขอให้แจ้งไปว่าเวลานี้เสนาบดีได้ทำการไปด้วยความเห็นชอบของคณะราษฎร และขอให้แจ้งวิฑีดำเนินการของรัฐบาลใหม่ต่อสถานทูตทุกประเทศ

๑๑.เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศรับรองที่จะแจ้งไปยังคณะทูตทราบ

๑๒. พระยาพหลฯ กล่าวว่าในเรื่องนี้ได้คิดกันมานานและได้พยายามที่จะใช้วิธีล่ะม่อมที่สุดซึ่งจะหาวิธียอดเยี่ยมกว่านี้ได้

๑๓.พระยาศรีวิสารฯ (ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ) กล่าวว่าถ้ารัฐบาลชั่วคราวได้จัดการระวังอย่างเต็มที่แล้ว การแทรกแซงไม่มี

๑๔.หลวงประดิษฐ์ฯ กล่าวว่าเรื่องการจัดการรักษาความเรียบร้อยของประชาชนนี้ ทางคณะราษฎรได้จัดการทุกทางที่จะมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้รักษาตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธรได้จัดการระวังอย่างเต็มที่ ส่วนตามหัวเมืองก็ขอให้ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย (พระยาราชนุกูล)แจ้งไปให้ทางฝ่ายบ้านเมืองรักษาความสงบเรียบร้อยไปตามเดิม

๑๕. ปลัดทูลฉลองกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พระยาพิพิธสมบัติ)แถลงว่าเวลานี้มีกิจการบางอย่างซึ่งปลัดทูลฉลองไม่มีอำนาจลงนามเพราะเสนาบดีไม่ได้มอบอำนาจไว้

๑๖.หลวงประดิษฐฯกล่าว ตามที่เข้าใจในระเบียบการปกครอง เห็นว่าเมื่อเสนาบดีไม่อยู่ ปลัดทูลฉลองก็มีอำนาจเซ็น แต่ถ้าปลัดทูลฉลองไม่ได้รับมอบอำนาจจากเสนาบดีไว้ ก็มีอำนาจทำได้โดยคำสั่งของคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร

ในวันรุ่งขึ้น คือวันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ พร้อมกับที่ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้รับโทรเลขจาก น.ต.หลวงศุภชลาศัย แจ้งเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ จากหัวหินโดยทางรถไฟ ก็ได้รับพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับอัญเชิญเสด็จกลับพระนครเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินด้วย ทางคณะราษฎรจึงได้เตรียมการที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลเรื่องราวต่างๆ

ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ดังนี้

“ต่อมาในตอนค่ำวันที่ ๒๕ มิถุนายนนั้น พระยาพหลฯ จึงเชิญพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) อดีตอธิบดีกรมกฤษฎีกาแห่งกระทรวงมุรธาธร ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ พิจารณาตรวจร่างกฎหมายก่อนที่พระมหากษัตริย์ทรงพิจารณานั้น ไปร่วมพิจารณากับคณะราษฎร ๓ คน (คือ พระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์)และปรีดีฯ หัวหน้าฝ่ายพลเรือน เรื่องร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมและร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งปรีดีฯเป็นผู้ร่างเบื้องต้นไว้เพื่อจะนำไปถวายพระมหากษัตริย์ในวันที่ ๒๖ เดือนนั้น ณ วังสุโขทัย พระยานิติศาสตร์ฯ ยืนยันว่าในหลวงเคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน แต่ถูกอภิรัฐมนตรีและนายสตีเวนส์(เรย์มอนด์ บ.สตีเวนส์ ที่ปรึกษาการต่างประเทศ)กับพระยาศรีวิสารวาจา (ปลัดทูลฉลอง)ได้คัดค้านไว้

หัวหน้าคณะราษฎรจึงปรารภแก่พระยานิติศาสตร์ฯ ว่า เป็นน่าเสียดายที่ในหลวงมิได้ประกาศพระราชดำริให้ประชาชนทราบ ถ้าคณะราษฎรทราบก่อนแล้วก็จะไม่เอาชีวิตมาเสี่ยงในเรื่องที่จะได้อยู่แล้ว

พระยานิติศาสตร์ฯ ได้ขอให้ฝ่ายคณะราษฎรกล่าวไว้ในอารัมภบท(ของพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕) ตามใจความที่ในหลวงรับสั่งในพระราชหัตถเลขาลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ ว่า

อันที่จริงการปกครองด้วยวิธีมีพระธรรมนูญการปกครองนี้ เราก็ได้ดำริอยู่ก่อนแล้ว ที่คณะราษฎรคณะนี้กระทำมาเป็นการถูกต้องตามนิยมของเราอยู่ด้วย และด้วยเจตนาดีต่อประเทศชาติ อาณาประชาชนแท้ๆ จะหาการกระทำหรือเพียงเจตนาชั่วร้ายแม้แต่น้อยก็หามิได้

ฝ่ายคณะราษฎรได้ตกลงตามที่พระยานิติศาสตร์ฯ เสนอ

เมื่อผู้แทนคณะราษฎรได้นำร่างพระราชกำหนดดังกล่าวทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่วังสุขโขทัยเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยพระราทานทันที

แต่รายละเอียดของพระราชดำริที่จะพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น คณะราษฎรเพิ่งทราบเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จากพระราชกระแสที่พระราชทานแก่ผู้แทนคณะราษฎร ๕ คนที่มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า คือ พระยามโนปกรณ์ฯ พระยาศรีวิสารฯ พระปรีชาชลยุทธ พระยาพหลฯ หลวงประดิษฐ์ฯ โดยมีเจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ เป็นผู้จดบันทึก”(จากบันทึกฉบับ ๖ มีนาคม ๒๕๒๖ ของนายปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “ตอบคำถามบางประการของนิสิตนักศึกษา” ในหนังสือ “แนวความคิดประชาธิปไตยของปรีดี พนมยงค์”,มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ โครงการ ๖๐ ปีประชาธิปไตยพ.ศ.๒๕๓๕ หน้า ๕๐)

บทความที่๓๙๙.อภิวัฒน์สยาม ตอนที่๒

ในวันที่ ๒๔ มิถุนายนนั้นเอง ภายหลังที่หัวหน้าคณะราษฎรได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ลานพระบรมรูปทรงม้าแล้ว ก็ได้เข้าไปตั้งกองบัญาการในพระที่นั่งอนันตสมาคมและเชิญธงไตรรงค์ขึ้นสู่ยอดโดมของพระที่นั่งฯ ขณะที่แต่งตั้งพระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยมีเจ้าคุณพระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎร เป็นหัวหน้า

คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ขออัญเชิญกลับสู่พระนครเพื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้สั่งให้นายนาวาตรีหลวงศุภ ชลาสัย(บุง ศุภชลาศัย)ผู้ก่อการฯสายทหารเรือ นำเรือหลวงสุโขทัยไปยังหัวหิน เพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยเรือรบลำนั้น

เมื่อหลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในตอนกลางวันของวันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วก็ได้ส่งโทรเลขแจ้งมายังผู้รักษาพระนครฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมด้วยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จะเสด็จกลับจากหัวหินโดยทางรถไฟและไม่มีกองทหารติดตาม

ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม คณะราษฎรได้เชิญประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ เมื่อเวลา ๑๖ น. ของวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อการยึดอำนาจรัฐได้เป็นผลสำเร็จแล้ว พระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎรได้ขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม เป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร การประชุมซึ่งใช้เวลา ๒ ชั่วโมง จนถึง ๑๘ น. มีรายงานที่บันทึกไว้ดังนี้ (รายงานการประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ พร้อมกับคณะราษฎร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕)

“๑. พระยาพหลฯ กล่าวว่า การที่เชิญท่านเสนาบดีและปลัดฉลองมาวันนี้เพื่อปรึกษาถึงกิจการซ฿งจะต้องกระทำร่วมกัน และขอให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรมเป็นผู้แถลงแทนคณะราษฎร

๒.หลวงประดิษฐ์ฯ แถลงว่า บัดนี้การที่คณะราษฎรได้ยึอำนาจการปกครองไว้ได้ และได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์มาประทับ ณ ที่นี้แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะฯ คณะฯหาได้มุ่งร้ายที่จะทำการทารุณแต่ประการใดไม่ ระหว่างที่ท่านประทับอยู่คณะราษฎรได้แสดงความเคารพ สิ่งสำคัญที่คณะราษฎรประสงค์ก็เพื่อจะต้องการให้ประเทศได้มีธรรมนูญการปกครองจึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้การปกครองสืบไป

๓. ธรรมนูญการปกครองนี้จะจัดทำขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่ในเวลานี้เป็นการจำเป็นที่คณะทหารจะต้องมีอำนาจเหนือพลเรือน เหตุฉะนั้นจึงต้องมีคณะผู้รักษาการฝ่ายทหาร ส่วนธรรมนูญการปกครองนี้ คณะฯ ได้เตรียมร่างขึ้น และจะได้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่สามารถทำได้

สภาผู้แทนราษฎรนั้น ตามปกติควรจะได้รับเลือกตั้งตามความเห็นชอบของราษฎร แต่จะกระทำโดยเร็ววันยังมิทัน จึงได้คิดไว้ว่าในชั้นต้นจะมีบุคคลที่ได้ร่วมกิจการครั้งนี้เป็นสมาชิกชั่วคราวก่อน ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งในเวลาอันเร็วแต่รู้สึกอยู่ว่า พวกที่ร่วมกิจการครั้งนี้ แม้จะได้รับการศึกษามาบ้าง อย่างไรก็ดีคณะฯ ก็ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่เป็นส่วนมาก จึงปรึกษากันที่จะอัญเชิญผู้ใหญ่ในทางราชการและผู้ที่ประกอบอาชีพในทางอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่เห็นแก่ชาติบ้านเมืองมาเป็นสมาชิกร่วมในสภาด้วยต่อไป

ในสมัยที่ ๒ คือเมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วก็จะให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทนของตนมาเป็นสมาชิกในสภา และคณะราษฎรก็จะได้ตั้งผู้แทนเข้าเป็นจำนวนเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อที่จะระวังให้นโยบายของราษฎรได้ดำเนินไปเพื่อราษฎร

และในสมัยที่ ๓ คือเมื่อราษฎรได้รักการศึกษา ซึ่งจะได้กำหนดตามหลักสูตรใหม่ มีจำนวนมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศและก็ไม่เกินกว่า ๑๐ ปี ราษฎรก็จะได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรของตนฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ต้องมีผู้แทนคณะราษฎรกำกับ ความคิดนี้จะได้นำเสนอสภาเพื่อหารือกันต่อไป

เหตุฉะนั้น คณะราษฎรจึงขอให้ท่านเสนาบดีและปลัดทูลฉลองช่วยกันรักษาความสงบ และขอให้แจ้งไปยังพนักงานกรมกองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ ให้ปฏิบัติการไปตามเดิม สิ่งใดที่เป็นงานเคยปฏิบัติ ก็จะพิจารณาให้เสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทำไป สิ่งใดที่เคยเป็นปัญหานโยบายก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร

สิ่งสำคัญที่จะต้องทำโดยด่วน ก็คือ กิจการที่เกี่ยวแก่การต่างประเทศ ว่ารัฐบาลคราวใหม่นี้ไม่คิดที่จะล้างผลาญชีวิตและทรัพย์สมบัติของคนในบังคับต่างประเทศ สิ่งใดที่เคยกระทำมา ตลอดจนสัญญาทางพระราชไมตรีก็จะได้ดำเนินต่อไป

ขอให้ช่วยกันระวังอย่าให้มีการแทรกแซงของการต่างประเทศได้ ไม่ว่าในประเทศใดๆ ปัญหาในทางการต่างประเทศ คณะการเมืองต่างๆ ก็มีความเห็นลงรอยกัน ทุกประเทศอื่นย่อมไม่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ ภายหลังสงครามนี้ที่ได้มีสันนิบาตชาติขึ้น การแทรกแซงไม่ใช่นโยบายของสันนิบาตชาติ แต่อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของต่างประเทศนั้น ถ้าหากมีขึ้นย่อมกระทบถึงคนไทยทุกชั้น ไม่ว่าเจ้านายหรือราษฎรสามัญ จะถือว่ายุ่งแต่เฉพาะราษฎรไม่ได้