ชำแหละ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
โดย สุพจน์ ด่านตระกูล
ตอนที่ ๒ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพระปกเกล้า
ข้อที่ ๑ ดังกล่าวแล้วว่าผมจะชำแหละ ดร.ชัยอนันต์ ฯ เป็นลำดับไปเป็นหน้า ๆ เริ่มจากคำนำของผู้เขียน (หน้า๑๐) ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนโจมตีท่านปรีดี ในประเด็นที่ท่านปรีดีเคยพูดเคยเขียนว่าท่านไม่รู้มาก่อนว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญก่อนหน้าที่คณะราษฎรจะยึดอำนาจเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ดังสุนทรพจน์ของท่านที่แสดงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๘๙ มีความตอนหนึ่งดังนี้
“ในวาระที่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ จะได้สิ้นสุดลงในวันนี้ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้ระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชประสงค์ของพระองค์ซึ่งมีมาแต่ก่อนพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น คณะราษฎรพึ่งทราบเมื่อ ๖ วัน ภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คือเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ได้มีพระกระแสรับสั่งให้พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาปรีชาชลยุทธ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พร้อมทั้งข้าพเจ้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และเจ้าพระยามหิธรซึ่งเป็นราชเลขาธิการขณะนั้นเป็นผู้จดบันทึก
มีพระกระแสรับสั่งว่ามีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อได้ทรงปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้นก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์ ในสุดท้ายเมื่อเสด็จกลับจากประพาสอเมริกา ได้ให้บุคคลคนหนึ่งซึ่งไปเฝ้าในวันนั้นด้วยพิจารณา (พระยาศรีวิสารวาจา-สุพจน์) บุคคลนั้นก็ถวายความเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา และที่ปรึกษาก็กลับเห็นพ้องด้วยบุคคลนั้น คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์มาก่อน การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้กระทำโดยบริสุทธิ์ไม่ได้ช่วงชิงดังที่มีผู้ปลุกเสกข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่น ความจริงทั้งหลายปรากฏในบันทึกการเฝ้าละอองธุลีพระบาทในวันนั้นแล้ว”
ท่านปรีดีได้เขียนไว้ในบทนิพนธ์หนึ่งของท่านเกี่ยวกับการเข้าเฝ้าครั้งนั้นว่า “ข้าพเจ้าจำภาพประทับใจในวันเข้าเฝ้านั้นได้ว่า ได้ทรงตรัสด้วยน้ำพระเนตรคลอเมื่อชี้พระหัตถ์ไปยังพระยาศรีวิสารวาจาที่ไปเฝ้าด้วยในวันนั้นว่า “ศรีวิสาร ฉันส่งเรื่องไปให้แกพิจารณา แกก็บันทึกมาว่ายังไม่ถึงเวลา แล้วส่งบันทึกของสตีเวนส์ (ที่ปรึกษาการต่างประเทศเป็นชาวอเมริกัน) มาด้วยว่าเห็นพ้องกับแก”
ต่อประเด็นนี้ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนไว้ในคำนำ (หน้า๑๐) มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ข้าพเจ้าต้องการท้าทาย คำกล่าวของท่านอาจารย์ปรีดี ฯ ว่าท่านไม่ทราบมาก่อนว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังพระราชทานรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้ามีเอกสารขั้นต้นที่ยืนยันได้ว่า ท่านอาจารย์ปรีดี ฯ จะต้องรู้เห็นความเป็นไปของ สภากรรมกรองคมนตรี มาก่อน เนื่องจากในระยะนั้นท่านเป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมาย”
และอีกตอนหนึ่งในหน้าเดียวกัน ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนไว้ว่า “ผู้สนใจในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคงจะระลึกได้ว่า พระราชบัญญัติองคมนตรีนั้นประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๕ ได้มีสภากรรมการองคมนตรีและเป็นไปไม่ได้ที่เลขานุการกรมร่างกฎหมายจะไม่รู้ถึงความเป็นไปของสภา ฯ นี้ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการกฎหมายแล้ว ตลอดเวลาที่มีสภา ฯ ซึ่งเป็นสภาฯ ทดลองที่จะขยายเป็นสภาผู้แทนราษฎรต่อไปนี้ หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับได้ลงข่าวการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีอยู่เสมอมา” จากข้อเขียนของ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ดังกล่าวนี้ เป็นที่เข้าใจว่าสภากรรมการองคมนตรีเป็นผู้พิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า และโดยที่ท่านปรีดีเป็นเลขานุการกรมร่างกฏหมายจึงจะต้องรู้เห็นความเป็นไปของสภากรรมการองคมนตรี เพราะฉะนั้นท่านปรีดีจะต้องรู้เรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ อย่างแน่นอน.
แต่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ก็ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าได้มีการพิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ในสภากรรมการองคมนตรี ก็ได้แต่พูดส่งเดชกันไปเท่านั้น การอ้างอิงแบบตรรกะ ที่ว่าท่านปรีดีฯ เป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมายก็จะต้องรู้เห็นความเป็นไปของสภากรรมการองคมนตรีนั้น ก็พอจะถูไถไปข้างข้าง ๆ คู ๆ แต่จะไปกะเกณฑ์ให้ท่านปรีดีรู้เห็นกับรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ด้วยนั้นเป็นการไม่ถูกต้องแน่ เพราะถ้าหากว่าสภากรรมการองคมนตรีได้พิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ จริงตามที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ โฆษณาชวนเชื่อแล้ว ก็จะต้องปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นอย่างแน่นอน เพราะ ดร.ชัยอนันต์ ฯ กล่าวว่า
“หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับได้ลงข่าวการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีอยู่เสมอมา”
แต่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ อ้างถึงก็ไม่ได้ลงข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ แต่ประการใดเลย
สมมติว่าได้มีรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ จริง แต่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ มีหลักฐานอะไรที่บอกว่าได้มีการพิจารณากันในสภากรรมการองคมนตรีแล้วบังคับให้ท่านปรีดีได้รู้เห็น เพราะว่า สภาการแผ่นดิน ในสมัยนั้นไม่ใช่มีแต่สภากรรมการองคมนตรีแต่เพียงสภาเดียว หากมีถึง ๓ สภา ซึ่งคนชั้นด๊อกเตอร์อย่างชัยอนันต์ ฯ ก็น่าจะรู้ สภาการแผ่นดินทั้ง ๓ ที่กล่าวถึงนี้ คือ
๑. อภิรัฐมนตรีสภา๒.เสนาบดีสภา๓.สภากรรมการองคมนตรี
จะเห็นได้ว่าจำนวนสมาชิกของสภากรรมการองคมนตรีมีถึง ๔๐ ท่าน เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าสภานี้ได้พิจารณาหรือรับรู้เรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ดังที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ โฆษณาชวนเชื่อแล้ว ความเรื่องนี้จะต้องปรากฏออกมาให้คนภายนอกได้ล่วงรู้อย่างแน่นอน แต่เรื่องพระปกเกล้า ฯ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนี้ พึ่งมาพูดกันภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ก่อนหน้านี้ไม่มีใครพูดถึงเลย แม้แต่หนังสือพิมพ์รายวันที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ อ้างว่าส่งข่าวการประชุมสภาองคมนตรีเป็นประจำ ก็ไม่ปรากฏว่าได้ลงข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญเลย . . .
แม้ว่าเราจะไม่มีร่างรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ แต่เราก็พอจะมองเห็นเค้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นอยู่บ้าง จากบทนิพนธ์ของท่านปรีดีที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“ในวันที่พระยาพหล ฯ และข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พร้อมด้วยพระยามโนฯ พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชกระแสว่า พระองค์ประสงค์พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองทีละขั้น ๆ ขั้นแรกก็จะให้เสนาบดีมีการประชุมโดยพระองค์จะไม่ประทับเป็นประธาน คือให้เสนาบดีมุรธาธรเป็นประธาน ท่านผู้นี้คือเจ้าพระยามหิธร ซึ่งได้เปลี่ยนจากตำแหน่งราชเลขาธิการมาดำรงตำแหน่งนี้ ส่วนรัฐสภานั้น พระองค์จะได้ปรับปรุงสภากรรมการองคมนตรีที่ได้ทรงทดลองตั้งขึ้นไว้ก่อนนั้นให้มีสภาพเป็นรัฐสภา”
ก็เป็นที่แน่ชัดว่าสภากรรมการองคมนตรีนั้นเองที่จะแปรสภาพมาเป็นสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ ที่นี้ขอให้เราได้พิจารณาถึงอำนาจหน้าที่และที่มาของกรรมการองคมนตรีดังกล่าวข้างต้น เราก็จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ นั้นเป็นประชาธิปไตยแค่ไหนเพียงใด ในเมื่อ
๑.กรรมการองคมนตรีที่จะมาประกอบเป็นสภากรรมการองคมนตรีนั้น มาจากการแต่งตั้งขององค์พระมหากษัตริย์
๒.มีหน้าที่ปรึกษาหารือข้อราชการตามแต่จะโปรดเกล้า ฯ และ
๓. มติของคำปรึกษาหารือนั้นไม่จำเป็นที่องค์พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติตามแต่ “สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ”
จากอำนาจหน้าที่และที่มาของสภากรรมการองคมนตรีที่จะกลายมาเป็นสภาผู้แทนราษฎร ดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า ล้าหลังและไม่มีเค้าของความเป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อยนิด ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลยกับรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ที่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยและถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ได้กำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาไว้เพื่อความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์เป็นขั้น ๆ ไป
ตอนที่ ๒ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพระปกเกล้า
ข้อที่ ๑ ดังกล่าวแล้วว่าผมจะชำแหละ ดร.ชัยอนันต์ ฯ เป็นลำดับไปเป็นหน้า ๆ เริ่มจากคำนำของผู้เขียน (หน้า๑๐) ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนโจมตีท่านปรีดี ในประเด็นที่ท่านปรีดีเคยพูดเคยเขียนว่าท่านไม่รู้มาก่อนว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญก่อนหน้าที่คณะราษฎรจะยึดอำนาจเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ดังสุนทรพจน์ของท่านที่แสดงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๘๙ มีความตอนหนึ่งดังนี้
“ในวาระที่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ จะได้สิ้นสุดลงในวันนี้ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้ระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชประสงค์ของพระองค์ซึ่งมีมาแต่ก่อนพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น คณะราษฎรพึ่งทราบเมื่อ ๖ วัน ภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คือเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ได้มีพระกระแสรับสั่งให้พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาปรีชาชลยุทธ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พร้อมทั้งข้าพเจ้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และเจ้าพระยามหิธรซึ่งเป็นราชเลขาธิการขณะนั้นเป็นผู้จดบันทึก
มีพระกระแสรับสั่งว่ามีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อได้ทรงปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้นก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์ ในสุดท้ายเมื่อเสด็จกลับจากประพาสอเมริกา ได้ให้บุคคลคนหนึ่งซึ่งไปเฝ้าในวันนั้นด้วยพิจารณา (พระยาศรีวิสารวาจา-สุพจน์) บุคคลนั้นก็ถวายความเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา และที่ปรึกษาก็กลับเห็นพ้องด้วยบุคคลนั้น คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์มาก่อน การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้กระทำโดยบริสุทธิ์ไม่ได้ช่วงชิงดังที่มีผู้ปลุกเสกข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่น ความจริงทั้งหลายปรากฏในบันทึกการเฝ้าละอองธุลีพระบาทในวันนั้นแล้ว”
ท่านปรีดีได้เขียนไว้ในบทนิพนธ์หนึ่งของท่านเกี่ยวกับการเข้าเฝ้าครั้งนั้นว่า “ข้าพเจ้าจำภาพประทับใจในวันเข้าเฝ้านั้นได้ว่า ได้ทรงตรัสด้วยน้ำพระเนตรคลอเมื่อชี้พระหัตถ์ไปยังพระยาศรีวิสารวาจาที่ไปเฝ้าด้วยในวันนั้นว่า “ศรีวิสาร ฉันส่งเรื่องไปให้แกพิจารณา แกก็บันทึกมาว่ายังไม่ถึงเวลา แล้วส่งบันทึกของสตีเวนส์ (ที่ปรึกษาการต่างประเทศเป็นชาวอเมริกัน) มาด้วยว่าเห็นพ้องกับแก”
ต่อประเด็นนี้ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนไว้ในคำนำ (หน้า๑๐) มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ข้าพเจ้าต้องการท้าทาย คำกล่าวของท่านอาจารย์ปรีดี ฯ ว่าท่านไม่ทราบมาก่อนว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังพระราชทานรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้ามีเอกสารขั้นต้นที่ยืนยันได้ว่า ท่านอาจารย์ปรีดี ฯ จะต้องรู้เห็นความเป็นไปของ สภากรรมกรองคมนตรี มาก่อน เนื่องจากในระยะนั้นท่านเป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมาย”
และอีกตอนหนึ่งในหน้าเดียวกัน ดร.ชัยอนันต์ ฯ ได้เขียนไว้ว่า “ผู้สนใจในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคงจะระลึกได้ว่า พระราชบัญญัติองคมนตรีนั้นประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๕ ได้มีสภากรรมการองคมนตรีและเป็นไปไม่ได้ที่เลขานุการกรมร่างกฎหมายจะไม่รู้ถึงความเป็นไปของสภา ฯ นี้ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการกฎหมายแล้ว ตลอดเวลาที่มีสภา ฯ ซึ่งเป็นสภาฯ ทดลองที่จะขยายเป็นสภาผู้แทนราษฎรต่อไปนี้ หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับได้ลงข่าวการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีอยู่เสมอมา” จากข้อเขียนของ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ดังกล่าวนี้ เป็นที่เข้าใจว่าสภากรรมการองคมนตรีเป็นผู้พิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า และโดยที่ท่านปรีดีเป็นเลขานุการกรมร่างกฏหมายจึงจะต้องรู้เห็นความเป็นไปของสภากรรมการองคมนตรี เพราะฉะนั้นท่านปรีดีจะต้องรู้เรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ อย่างแน่นอน.
แต่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ ก็ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าได้มีการพิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ในสภากรรมการองคมนตรี ก็ได้แต่พูดส่งเดชกันไปเท่านั้น การอ้างอิงแบบตรรกะ ที่ว่าท่านปรีดีฯ เป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมายก็จะต้องรู้เห็นความเป็นไปของสภากรรมการองคมนตรีนั้น ก็พอจะถูไถไปข้างข้าง ๆ คู ๆ แต่จะไปกะเกณฑ์ให้ท่านปรีดีรู้เห็นกับรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ด้วยนั้นเป็นการไม่ถูกต้องแน่ เพราะถ้าหากว่าสภากรรมการองคมนตรีได้พิจารณารัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ จริงตามที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ โฆษณาชวนเชื่อแล้ว ก็จะต้องปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นอย่างแน่นอน เพราะ ดร.ชัยอนันต์ ฯ กล่าวว่า
“หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับได้ลงข่าวการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีอยู่เสมอมา”
แต่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ อ้างถึงก็ไม่ได้ลงข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ แต่ประการใดเลย
สมมติว่าได้มีรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ จริง แต่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ มีหลักฐานอะไรที่บอกว่าได้มีการพิจารณากันในสภากรรมการองคมนตรีแล้วบังคับให้ท่านปรีดีได้รู้เห็น เพราะว่า สภาการแผ่นดิน ในสมัยนั้นไม่ใช่มีแต่สภากรรมการองคมนตรีแต่เพียงสภาเดียว หากมีถึง ๓ สภา ซึ่งคนชั้นด๊อกเตอร์อย่างชัยอนันต์ ฯ ก็น่าจะรู้ สภาการแผ่นดินทั้ง ๓ ที่กล่าวถึงนี้ คือ
๑. อภิรัฐมนตรีสภา๒.เสนาบดีสภา๓.สภากรรมการองคมนตรี
จะเห็นได้ว่าจำนวนสมาชิกของสภากรรมการองคมนตรีมีถึง ๔๐ ท่าน เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าสภานี้ได้พิจารณาหรือรับรู้เรื่องรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้าฯ ดังที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ โฆษณาชวนเชื่อแล้ว ความเรื่องนี้จะต้องปรากฏออกมาให้คนภายนอกได้ล่วงรู้อย่างแน่นอน แต่เรื่องพระปกเกล้า ฯ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนี้ พึ่งมาพูดกันภายหลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ก่อนหน้านี้ไม่มีใครพูดถึงเลย แม้แต่หนังสือพิมพ์รายวันที่ ดร.ชัยอนันต์ ฯ อ้างว่าส่งข่าวการประชุมสภาองคมนตรีเป็นประจำ ก็ไม่ปรากฏว่าได้ลงข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญเลย . . .
แม้ว่าเราจะไม่มีร่างรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ แต่เราก็พอจะมองเห็นเค้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นอยู่บ้าง จากบทนิพนธ์ของท่านปรีดีที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“ในวันที่พระยาพหล ฯ และข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พร้อมด้วยพระยามโนฯ พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชกระแสว่า พระองค์ประสงค์พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองทีละขั้น ๆ ขั้นแรกก็จะให้เสนาบดีมีการประชุมโดยพระองค์จะไม่ประทับเป็นประธาน คือให้เสนาบดีมุรธาธรเป็นประธาน ท่านผู้นี้คือเจ้าพระยามหิธร ซึ่งได้เปลี่ยนจากตำแหน่งราชเลขาธิการมาดำรงตำแหน่งนี้ ส่วนรัฐสภานั้น พระองค์จะได้ปรับปรุงสภากรรมการองคมนตรีที่ได้ทรงทดลองตั้งขึ้นไว้ก่อนนั้นให้มีสภาพเป็นรัฐสภา”
ก็เป็นที่แน่ชัดว่าสภากรรมการองคมนตรีนั้นเองที่จะแปรสภาพมาเป็นสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ ที่นี้ขอให้เราได้พิจารณาถึงอำนาจหน้าที่และที่มาของกรรมการองคมนตรีดังกล่าวข้างต้น เราก็จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญของพระปกเกล้า ฯ นั้นเป็นประชาธิปไตยแค่ไหนเพียงใด ในเมื่อ
๑.กรรมการองคมนตรีที่จะมาประกอบเป็นสภากรรมการองคมนตรีนั้น มาจากการแต่งตั้งขององค์พระมหากษัตริย์
๒.มีหน้าที่ปรึกษาหารือข้อราชการตามแต่จะโปรดเกล้า ฯ และ
๓. มติของคำปรึกษาหารือนั้นไม่จำเป็นที่องค์พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติตามแต่ “สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ”
จากอำนาจหน้าที่และที่มาของสภากรรมการองคมนตรีที่จะกลายมาเป็นสภาผู้แทนราษฎร ดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า ล้าหลังและไม่มีเค้าของความเป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อยนิด ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลยกับรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ที่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยและถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ได้กำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาไว้เพื่อความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์เป็นขั้น ๆ ไป
No comments:
Post a Comment