ภาค ๒ ตอนที่ ๒
ในปีเดียวกันนั้น ท่านมหาตมะคานธี ซึ่งถูกจับกุมในข้อหากบฏ ได้พ้นโทษออกมา ท่านได้เริ่มงานขบวนการกู้ชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับติดคุกติดตะรางจนนับครั้งไม่ได้ เป้าหมายของการดำเนินงานก็คือเอกราชของอินเดีย ดังนั้น ประชาชนชาวอินเดีย จึงเคารพท่านโดยให้เกียรติยกย่องว่า “บิดาแห่งเอกราชอินเดีย” ท่านได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นชื่อว่า “พรรคคองเกรส” (Congress Party)
พรรคครองเกรส เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียนับแต่อินเดียได้รับเอกราช อำนาจบริหารประเทศก็ตกอยู่ในกำมือของพรรคคองเกรสมาตลอด ท่านบัณฑิตเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ท่านศาสตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง นางอินทิรา คานธี บุตรสาวท่านบัณฑิตเนห์รู เป็นนายกคนที่ ๓ ในช่วงนี้ พรรคคองเกรสมีความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ระหว่างพวกหัวเก่ากับหัวใหม่จนถึงแตกแยก แบ่งเป็น ๒ พรรค เรียกว่าพรรคคองเกรสใหม่ (New Congrss) ซึ่งมีนางอินทิรา คานธี เป็นผู้นำ และพรรคคองเกรสเก่า (Old Congress) พอแยกกันโดยเด็ดขาดแล้ว ก็มีการเลือกตั้งทั่วไป
นโยบายทางการเมืองของ มหาตมะคานธี นั้นเป็นวิธีการที่นำเอาคำสอนในศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัยและสิ่งแวดล้อม จนได้เป็นปรัชญาการเมืองขึ้นมาใหม่ คือ “ลัทธิคานธี” (Gandhism) วิธีการที่โลกรู้จักดีคือ การปฏิบัติตามหลักอหิงสาไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ให้อภัยแก่ทุกคน วิธีการอีกอย่างหนึ่งของท่านคานธีคือ วิธีการดื้อแพ่ง ไม่ให้ความร่วมมือ สิ่งใดที่เจ้าหน้าที่ของอังกฤษออกคำสั่ง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์หรือเกิดความเป็นธรรมแก่อินเดีย ท่านมหาตมะคานธีจะพาบริวารดื้อ ไม่ปฏิบัติตาม ถ้าถูกลงโทษก็จะใช้หลักอหิงสา จนเป็นเหตุให้อังกฤษต้องพ่ายแพ้ต่อวิธีการนี้ แล้วพิจารณาให้เป็นเอกราชแก่อินเดีย
สำหรับงานปฏิรูปสังคมนั้น นับว่าท่านมหาตมะคานธีก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปฏิรูปที่สำคัญคนหนึ่ง แต่วิธีการของคานธีนั้น ตรงกันข้ามกับวิธีการของเอ็มเบ็ดการ์ มหาตมะคานธีเป็นคนในวรรณะ เกิดในตระกูลแพศย์ บิดาเป็นถึงนายกรัฐมนตรีของรัฐ คานธีเคยศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ เคยมีชีวิตอยู่ในท่ามกลางความฟุ่มเฟือย ซึ่งตรงกันข้ามกับเอ็มเบ็ดการ์ ดังนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ท่านมหาตมะคานธีจะเข้าใจปัญหาชนชั้นต่ำได้ดีเท่ากับเอ็มเบ็ดการ์
มหาตมะคานธียังเชื่อว่าระบบวรรณะนั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมอินเดีย โดยคิดว่าระบบวรรณะเป็นเอกลักษณ์พิเศษของอินเดีย ซึ่งไม่มีที่ไหนอีกแล้วในโลกนี้ ท่านจึงเห็นว่าควรรักษาเอาไว้ เป็นแต่เพียงให้ความช่วยเหลือคนชั้นต่ำโดยเฉพาะพวกอธิศูทร ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นก็เป็นอันใช้ได้ (พิจารณาความคิดของคานธีเรื่องที่จะให้คงระบบวรรณะไว้ และให้ความช่วยเหลือคนวรรณต่ำนั้น เหมือนกับประเทศไทยที่กล่าวกันว่าให้มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง แต่หัวใจของรัฐธรรมนูญกลับเป็นการรักษาระบบความต่างของชนชั้นไว้)
มหาตมะคานธี จึงกล่าวเสมอว่า “เอกราชก่อน สิ่งอื่นทีหลัง” แต่เอ็มเบ็ดการ์มีความเห็นว่า ระบบวรรณะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดในสังคมอินเดีย เอกราชจะได้มาไม่ยากเลย ถ้าคนในชาติมีความสามัคคีกัน ไม่เกลียดกันเอง ระบบวรรณะเป็นระบบที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย เพราะส่งเสริมการทำคนให้เป็นทาส อันความจริงการกระทำความผิดหรืออาชกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล มิใช่เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันตามสายเลือด ดังนั้น เอ็มเบ็ดการ์จึงต้องการทำลายระบบวรรณะให้หมดไปก่อนอื่นใดทั้งสิ้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากลำบาก แต่ก็ต้องสู้ ต้องกระทำ เมื่อมีแนวความคิดแตกต่างกันเช่นนี้ เอ็มเบ็ดการ์จึงต้องขัดแย้งกับมหาตมะคานธีอยู่ตลอดเวลา ส่วนแนวความคิดของใครถูก ของใครผิดนั้น ขอให้อยู่ในดุลพินิจ ซึ่งจะได้นำข้อขัดแย้งของทั้งสองท่านมานำเสนอเป็นลำดับไป
อย่างไรก็ดี นักสังคมวิทยาทั่วไป เรียกท่านมหาตมะคานธีว่า เป็น นักปฏิรูป (Reformer) และเรียกเอ็มเบ็ดการ์ว่า เป็น “นักปฏิวัติสังคม (Revolutionist)” โดยไม่ต้องใช้อาวุธ
เอ็มเบ็ดการ์เชื่อว่า ปัญหาของพวกอธิศูทรจะหมดไปได้ก็โดยที่พวกอธิศูทรรู้จักช่วยเหลือตนเอง และพยายามช่วยเหลือตนเองให้ได้ เอ็มเบ็ดการ์กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมฮินดูจะต้องเคารพถึงหลักความยุติธรรมและความเสมอภาค ความยุติธรรมและความเสมอภาคนี้ จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าหากพวกอธิศูทรยังมัวรอคอยความเมตตาปรานีจากคนในวรรณะอื่นอยู่ โดยไม่คิดที่จะยืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง เขาคิดว่าจะเป็นการดีทีเดียวถ้าจะบอกให้ผู้เป็นทาสรู้เสียทีว่าเขาเป็นทาส ซึ่งจะทำให้ผู้เป็นทาสนั้นรู้สึกขยะแขยงต่อความเป็นทาสของตน เขาปลุกใจพวกอธิศูทรให้เกิดความเชื่อมั่นตนเอง คิดช่วยตนเองและสร้างความเป็นไท ความเสมอภาคกับคนในวรรณะอื่นให้เกิดขึ้น
ครั้งหนึ่งเขาได้กล่าวคำปราศรัยด้วยน้ำเสียงอันห้าวหาญและเร้าใจพวกอธิศูทรว่า
“หัวใจของข้าพเจ้าแทบแตกสลายที่ได้พบภาพอันน่าสงสารบนใบหน้าพวกท่าน ได้ยินเสียงอันเศร้าสร้อยของพวกท่าน พวกท่านได้คร่ำครวญมาเป็นเวลาแสนนาน และพวกท่านไม่รู้สึกอายบ้างหรือ ที่จะปล่อยให้เป็นผู้ไร้ที่พึ่งนี้มีอยู่ต่อไป เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำไมพวกท่านจึงไม่ตายเสียดีกว่าจะอยู่เป็นมนุษย์แบบทาสเช่นนี้
ทำไมพวกท่านจึงพากันสร้างภาพแห่งความเศร้า ความระทมทุกข์ให้มันเลวร้ายลงไปอีก ชีวิตของพวกท่านมันช่าง น่าเกลียด น่าชัง น่าขยะแขยง ท่านปล่อยให้เป็นไปเพื่อให้หนักโลกทำไม ? ถ้าท่านไม่สามารถสร้างและดำเนินชีวิตแบบใหม่ได้ ไม่สามารถสร้างตนเองให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นใหม่ พวกท่านควรตายไปเสียดีกว่า เพื่อให้โลกมีภาระน้อยลง
ความจริงมันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ท่านจะได้รับอาหาร มีที่อยู่อาศัย มีเครื่องนุ่งห่มในผืนแผ่นดินนี้ ในส่วนเสมอภาคกันกับทุก ๆ คน ไม่ว่าสูงหรือต่ำ ถ้าท่านทั้งหลายเชื่อในการดำเนินชีวิตอย่างน่านับถือ เชื่อเรื่องการพึ่งตนเอง ว่าเป็นที่พึ่งที่ประเสริฐสุด”
ในปีเดียวกันนั้น ท่านมหาตมะคานธี ซึ่งถูกจับกุมในข้อหากบฏ ได้พ้นโทษออกมา ท่านได้เริ่มงานขบวนการกู้ชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับติดคุกติดตะรางจนนับครั้งไม่ได้ เป้าหมายของการดำเนินงานก็คือเอกราชของอินเดีย ดังนั้น ประชาชนชาวอินเดีย จึงเคารพท่านโดยให้เกียรติยกย่องว่า “บิดาแห่งเอกราชอินเดีย” ท่านได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นชื่อว่า “พรรคคองเกรส” (Congress Party)
พรรคครองเกรส เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียนับแต่อินเดียได้รับเอกราช อำนาจบริหารประเทศก็ตกอยู่ในกำมือของพรรคคองเกรสมาตลอด ท่านบัณฑิตเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ท่านศาสตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง นางอินทิรา คานธี บุตรสาวท่านบัณฑิตเนห์รู เป็นนายกคนที่ ๓ ในช่วงนี้ พรรคคองเกรสมีความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ระหว่างพวกหัวเก่ากับหัวใหม่จนถึงแตกแยก แบ่งเป็น ๒ พรรค เรียกว่าพรรคคองเกรสใหม่ (New Congrss) ซึ่งมีนางอินทิรา คานธี เป็นผู้นำ และพรรคคองเกรสเก่า (Old Congress) พอแยกกันโดยเด็ดขาดแล้ว ก็มีการเลือกตั้งทั่วไป
นโยบายทางการเมืองของ มหาตมะคานธี นั้นเป็นวิธีการที่นำเอาคำสอนในศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัยและสิ่งแวดล้อม จนได้เป็นปรัชญาการเมืองขึ้นมาใหม่ คือ “ลัทธิคานธี” (Gandhism) วิธีการที่โลกรู้จักดีคือ การปฏิบัติตามหลักอหิงสาไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ให้อภัยแก่ทุกคน วิธีการอีกอย่างหนึ่งของท่านคานธีคือ วิธีการดื้อแพ่ง ไม่ให้ความร่วมมือ สิ่งใดที่เจ้าหน้าที่ของอังกฤษออกคำสั่ง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์หรือเกิดความเป็นธรรมแก่อินเดีย ท่านมหาตมะคานธีจะพาบริวารดื้อ ไม่ปฏิบัติตาม ถ้าถูกลงโทษก็จะใช้หลักอหิงสา จนเป็นเหตุให้อังกฤษต้องพ่ายแพ้ต่อวิธีการนี้ แล้วพิจารณาให้เป็นเอกราชแก่อินเดีย
สำหรับงานปฏิรูปสังคมนั้น นับว่าท่านมหาตมะคานธีก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปฏิรูปที่สำคัญคนหนึ่ง แต่วิธีการของคานธีนั้น ตรงกันข้ามกับวิธีการของเอ็มเบ็ดการ์ มหาตมะคานธีเป็นคนในวรรณะ เกิดในตระกูลแพศย์ บิดาเป็นถึงนายกรัฐมนตรีของรัฐ คานธีเคยศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ เคยมีชีวิตอยู่ในท่ามกลางความฟุ่มเฟือย ซึ่งตรงกันข้ามกับเอ็มเบ็ดการ์ ดังนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ท่านมหาตมะคานธีจะเข้าใจปัญหาชนชั้นต่ำได้ดีเท่ากับเอ็มเบ็ดการ์
มหาตมะคานธียังเชื่อว่าระบบวรรณะนั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมอินเดีย โดยคิดว่าระบบวรรณะเป็นเอกลักษณ์พิเศษของอินเดีย ซึ่งไม่มีที่ไหนอีกแล้วในโลกนี้ ท่านจึงเห็นว่าควรรักษาเอาไว้ เป็นแต่เพียงให้ความช่วยเหลือคนชั้นต่ำโดยเฉพาะพวกอธิศูทร ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นก็เป็นอันใช้ได้ (พิจารณาความคิดของคานธีเรื่องที่จะให้คงระบบวรรณะไว้ และให้ความช่วยเหลือคนวรรณต่ำนั้น เหมือนกับประเทศไทยที่กล่าวกันว่าให้มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง แต่หัวใจของรัฐธรรมนูญกลับเป็นการรักษาระบบความต่างของชนชั้นไว้)
มหาตมะคานธี จึงกล่าวเสมอว่า “เอกราชก่อน สิ่งอื่นทีหลัง” แต่เอ็มเบ็ดการ์มีความเห็นว่า ระบบวรรณะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดในสังคมอินเดีย เอกราชจะได้มาไม่ยากเลย ถ้าคนในชาติมีความสามัคคีกัน ไม่เกลียดกันเอง ระบบวรรณะเป็นระบบที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย เพราะส่งเสริมการทำคนให้เป็นทาส อันความจริงการกระทำความผิดหรืออาชกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล มิใช่เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันตามสายเลือด ดังนั้น เอ็มเบ็ดการ์จึงต้องการทำลายระบบวรรณะให้หมดไปก่อนอื่นใดทั้งสิ้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากลำบาก แต่ก็ต้องสู้ ต้องกระทำ เมื่อมีแนวความคิดแตกต่างกันเช่นนี้ เอ็มเบ็ดการ์จึงต้องขัดแย้งกับมหาตมะคานธีอยู่ตลอดเวลา ส่วนแนวความคิดของใครถูก ของใครผิดนั้น ขอให้อยู่ในดุลพินิจ ซึ่งจะได้นำข้อขัดแย้งของทั้งสองท่านมานำเสนอเป็นลำดับไป
อย่างไรก็ดี นักสังคมวิทยาทั่วไป เรียกท่านมหาตมะคานธีว่า เป็น นักปฏิรูป (Reformer) และเรียกเอ็มเบ็ดการ์ว่า เป็น “นักปฏิวัติสังคม (Revolutionist)” โดยไม่ต้องใช้อาวุธ
เอ็มเบ็ดการ์เชื่อว่า ปัญหาของพวกอธิศูทรจะหมดไปได้ก็โดยที่พวกอธิศูทรรู้จักช่วยเหลือตนเอง และพยายามช่วยเหลือตนเองให้ได้ เอ็มเบ็ดการ์กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมฮินดูจะต้องเคารพถึงหลักความยุติธรรมและความเสมอภาค ความยุติธรรมและความเสมอภาคนี้ จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าหากพวกอธิศูทรยังมัวรอคอยความเมตตาปรานีจากคนในวรรณะอื่นอยู่ โดยไม่คิดที่จะยืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง เขาคิดว่าจะเป็นการดีทีเดียวถ้าจะบอกให้ผู้เป็นทาสรู้เสียทีว่าเขาเป็นทาส ซึ่งจะทำให้ผู้เป็นทาสนั้นรู้สึกขยะแขยงต่อความเป็นทาสของตน เขาปลุกใจพวกอธิศูทรให้เกิดความเชื่อมั่นตนเอง คิดช่วยตนเองและสร้างความเป็นไท ความเสมอภาคกับคนในวรรณะอื่นให้เกิดขึ้น
ครั้งหนึ่งเขาได้กล่าวคำปราศรัยด้วยน้ำเสียงอันห้าวหาญและเร้าใจพวกอธิศูทรว่า
“หัวใจของข้าพเจ้าแทบแตกสลายที่ได้พบภาพอันน่าสงสารบนใบหน้าพวกท่าน ได้ยินเสียงอันเศร้าสร้อยของพวกท่าน พวกท่านได้คร่ำครวญมาเป็นเวลาแสนนาน และพวกท่านไม่รู้สึกอายบ้างหรือ ที่จะปล่อยให้เป็นผู้ไร้ที่พึ่งนี้มีอยู่ต่อไป เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำไมพวกท่านจึงไม่ตายเสียดีกว่าจะอยู่เป็นมนุษย์แบบทาสเช่นนี้
ทำไมพวกท่านจึงพากันสร้างภาพแห่งความเศร้า ความระทมทุกข์ให้มันเลวร้ายลงไปอีก ชีวิตของพวกท่านมันช่าง น่าเกลียด น่าชัง น่าขยะแขยง ท่านปล่อยให้เป็นไปเพื่อให้หนักโลกทำไม ? ถ้าท่านไม่สามารถสร้างและดำเนินชีวิตแบบใหม่ได้ ไม่สามารถสร้างตนเองให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นใหม่ พวกท่านควรตายไปเสียดีกว่า เพื่อให้โลกมีภาระน้อยลง
ความจริงมันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ท่านจะได้รับอาหาร มีที่อยู่อาศัย มีเครื่องนุ่งห่มในผืนแผ่นดินนี้ ในส่วนเสมอภาคกันกับทุก ๆ คน ไม่ว่าสูงหรือต่ำ ถ้าท่านทั้งหลายเชื่อในการดำเนินชีวิตอย่างน่านับถือ เชื่อเรื่องการพึ่งตนเอง ว่าเป็นที่พึ่งที่ประเสริฐสุด”