อธิปไตยพระราชทาน
จากหนังสือ “สุพจน์ ด่านตระกูล โต้ ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ”
จากหนังสือ “สุพจน์ ด่านตระกูล โต้ ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ”
รัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มีที่แตกต่างอย่างสำคัญกับธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ในหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่บัญญัติเป็นถ้อยคำภาษาไทยว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” มาเป็นคำบาลีว่า “อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม”
จากถ้อยคำและความหมายที่บอกไว้อย่างชัดเจนว่า อำนาจสูงสุดของประเทศ(หรืออำนาจอธิปไตย) “เป็นของ” ราษฎรทั้งหลายมากลายเป็นอำนาจอธิปไตย (หรืออำนาจสูงสุด) “มาจาก” ปวงชนชาวสยาม จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดนับแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ การเลือกตั้งคือหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
ความจริงการเลือกตั้งเป็นแต่เพียงวิธีการอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับการฟังเสียงข้างมากที่เป็นวิธีการของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งระบอบเผด็จการก็ใช้วิธีการเลือกตั้งและฟังเสียงข้างมากเช่นกัน
ความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการจึงอยู่ที่อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศว่าเป็นของใคร
ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของปวงชนหรือราษฎรทั้งหลาย แต่ในระบอบเผด็จการไม่ว่าจะเป็นเผด็จการทาส เผด็จการศักดินาหรือเผด็จการทุนนิยม อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของแผ่นดินเป็นของคนกลุ่มหนึ่ง คือเป็นของกลุ่มเจ้าทาสในยุคทาส เป็นของกลุ่มเจ้าศักดินาในยุคศักดินา ดังปรากกการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ด้วยเหตุนี้ท่านปรีดี พนมยงค์ จึงได้เสนอร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ ทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลายหรือปวงชน เพื่อบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในหมวดที่ ๑ ของร่างเค้าโครงการนั้นตอนหนึ่งว่า “ในการทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาที่จะเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวมาเป็นหลายองค์ ซึ่งเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่เปลือกนอกเท่านั้น ข้าพเจ้ามุ่งต่อสาระสำคัญ (ของระบอบประชาธิปไตย-สุพจน์) คือบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"
แต่ความตั้งใจของท่านไม่บรรลุความสำเร็จ เพราะถูกขัดขวางจากอำนาจด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งด้วยวิธีการอย่างซึ่งหน้าและอย่างแยบยล ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ อันนำไปสู่ความแตกต่างในความหมาย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(ความแยบคายของอำนาจเก่าในการทำลายคณะราษฎรเพื่อช่วงชิงอำนาจคืน โปรดอ่านในหัวข้อ บทความเนื่องในวาระ ๗๕ ปีการอภิวัฒน์การปกครอง แผนลิดลอนปรีดี พนมยงค์ ที่http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/06/blog-post_24.html
จากถ้อยคำและความหมายที่บอกไว้อย่างชัดเจนว่า อำนาจสูงสุดของประเทศ(หรืออำนาจอธิปไตย) “เป็นของ” ราษฎรทั้งหลายมากลายเป็นอำนาจอธิปไตย (หรืออำนาจสูงสุด) “มาจาก” ปวงชนชาวสยาม จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดนับแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ การเลือกตั้งคือหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
ความจริงการเลือกตั้งเป็นแต่เพียงวิธีการอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับการฟังเสียงข้างมากที่เป็นวิธีการของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งระบอบเผด็จการก็ใช้วิธีการเลือกตั้งและฟังเสียงข้างมากเช่นกัน
ความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการจึงอยู่ที่อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศว่าเป็นของใคร
ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของปวงชนหรือราษฎรทั้งหลาย แต่ในระบอบเผด็จการไม่ว่าจะเป็นเผด็จการทาส เผด็จการศักดินาหรือเผด็จการทุนนิยม อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของแผ่นดินเป็นของคนกลุ่มหนึ่ง คือเป็นของกลุ่มเจ้าทาสในยุคทาส เป็นของกลุ่มเจ้าศักดินาในยุคศักดินา ดังปรากกการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ด้วยเหตุนี้ท่านปรีดี พนมยงค์ จึงได้เสนอร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ ทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลายหรือปวงชน เพื่อบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในหมวดที่ ๑ ของร่างเค้าโครงการนั้นตอนหนึ่งว่า “ในการทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาที่จะเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวมาเป็นหลายองค์ ซึ่งเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่เปลือกนอกเท่านั้น ข้าพเจ้ามุ่งต่อสาระสำคัญ (ของระบอบประชาธิปไตย-สุพจน์) คือบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"
แต่ความตั้งใจของท่านไม่บรรลุความสำเร็จ เพราะถูกขัดขวางจากอำนาจด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งด้วยวิธีการอย่างซึ่งหน้าและอย่างแยบยล ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ อันนำไปสู่ความแตกต่างในความหมาย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(ความแยบคายของอำนาจเก่าในการทำลายคณะราษฎรเพื่อช่วงชิงอำนาจคืน โปรดอ่านในหัวข้อ บทความเนื่องในวาระ ๗๕ ปีการอภิวัฒน์การปกครอง แผนลิดลอนปรีดี พนมยงค์ ที่http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/06/blog-post_24.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/06/blog-post_5400.html )
คำพิพากษาศาลพิเศษ พุทธศักราช ๒๔๘๒ คดีกบฏ คดีแดงที่ ๑-๑๔/๒๔๘๒ เรื่องกบฏภายในพระราชอาณาจักร มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ก่อนเกิดกบฏ ๒๔๗๖ (กบฏบวรเดช) พระปกเกล้าฯให้หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ มาพูดทาบทามพระยาพหลฯ ว่าจะพระราชทานเงินให้พระยาพหลฯ ๒๐๐,๐๐๐ บาทแต่พระยาพหลฯมาคิดว่า การที่จะพระราชทานคงต้องแลกเปลี่ยนอะไรสักอย่างหนึ่งในเรื่องการเมือง จึงไม่ยอมรับ”
ข้อความอีกตอนหนึ่งคำพิพากษากล่าวว่า
“ส่วนพระปกเกล้าฯ ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ.๒๔๗๖ (กบฏบวรเดช) เล็กน้อย ได้ความตามคำของพระยาอิสราธิราชเสวี นายพันตรีหมื่นรณภพพิชิต เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ และพระนรราชจำนง พยานโจทก์ประกอบด้วยเอกสารว่า ได้ไปประทับอยู่ ณ พระที่นั่งไกลกังวล พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสำคัญๆ หลายคนอยู่ที่หัวหินในระหว่างนั้น พระปกเกล้าฯ ได้สั่งให้พระยาอิศราธิราชเสวี จ่ายเงินให้แก่เจ้ากาวิละวงศ์ ๒ ครั้งเป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท เพื่อใช้ซื้อเสบียงและสิ่งของต่างๆไว้สำหรับใช้เมื่อคราวที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ้ากาวิละวงศ์ได้จัดซื้อข้าวและเครื่องกระป๋องไว้ นอกจากนี้พระปกเกล้าฯ ได้ใช้ให้เจ้ากาวิละวงศ์ตัดถนนจากหัวหินถึงปากทวารชายแดนพม่า เจ้ากาวิละวงศ์ยังได้เข้าเฝ้าพระปกเกล้าฯอยู่เสมอ ตลอดจนเกิดกบฏขึ้น แสดงว่าพระปกเกล้าฯ รู้เห็นในเหตุการณ์กบฏจึงเตรียมรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า” อีกตอนหนึ่งคำพิพากษาระบุว่า
“..นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานทางทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พระปกเกล้าฯ ได้จ่ายเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเข้าใจว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการกบฏครั้งนั้น..”
จากคำพิพากษาดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงความพยายามของอำนาจเก่าที่จะหมุนกงล้อประวัติศาสตร์ให้ทวนกระแสกลับไปสู่ยุคสมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ลงหลุมฝังศพไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง นับแต่ความพยายามของพระยามโนฯ กับพวก จนถึงกบฏบวรเดช และความพยายามเหล่านั้น คำพิพากษาระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีส่วนร่วมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลพิเศษ พุทธศักราช ๒๔๘๒ คดีกบฏ คดีแดงที่ ๑-๑๔/๒๔๘๒ เรื่องกบฏภายในพระราชอาณาจักร มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ก่อนเกิดกบฏ ๒๔๗๖ (กบฏบวรเดช) พระปกเกล้าฯให้หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ มาพูดทาบทามพระยาพหลฯ ว่าจะพระราชทานเงินให้พระยาพหลฯ ๒๐๐,๐๐๐ บาทแต่พระยาพหลฯมาคิดว่า การที่จะพระราชทานคงต้องแลกเปลี่ยนอะไรสักอย่างหนึ่งในเรื่องการเมือง จึงไม่ยอมรับ”
ข้อความอีกตอนหนึ่งคำพิพากษากล่าวว่า
“ส่วนพระปกเกล้าฯ ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ.๒๔๗๖ (กบฏบวรเดช) เล็กน้อย ได้ความตามคำของพระยาอิสราธิราชเสวี นายพันตรีหมื่นรณภพพิชิต เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ และพระนรราชจำนง พยานโจทก์ประกอบด้วยเอกสารว่า ได้ไปประทับอยู่ ณ พระที่นั่งไกลกังวล พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสำคัญๆ หลายคนอยู่ที่หัวหินในระหว่างนั้น พระปกเกล้าฯ ได้สั่งให้พระยาอิศราธิราชเสวี จ่ายเงินให้แก่เจ้ากาวิละวงศ์ ๒ ครั้งเป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท เพื่อใช้ซื้อเสบียงและสิ่งของต่างๆไว้สำหรับใช้เมื่อคราวที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ้ากาวิละวงศ์ได้จัดซื้อข้าวและเครื่องกระป๋องไว้ นอกจากนี้พระปกเกล้าฯ ได้ใช้ให้เจ้ากาวิละวงศ์ตัดถนนจากหัวหินถึงปากทวารชายแดนพม่า เจ้ากาวิละวงศ์ยังได้เข้าเฝ้าพระปกเกล้าฯอยู่เสมอ ตลอดจนเกิดกบฏขึ้น แสดงว่าพระปกเกล้าฯ รู้เห็นในเหตุการณ์กบฏจึงเตรียมรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า” อีกตอนหนึ่งคำพิพากษาระบุว่า
“..นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานทางทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พระปกเกล้าฯ ได้จ่ายเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเข้าใจว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการกบฏครั้งนั้น..”
จากคำพิพากษาดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงความพยายามของอำนาจเก่าที่จะหมุนกงล้อประวัติศาสตร์ให้ทวนกระแสกลับไปสู่ยุคสมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ลงหลุมฝังศพไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง นับแต่ความพยายามของพระยามโนฯ กับพวก จนถึงกบฏบวรเดช และความพยายามเหล่านั้น คำพิพากษาระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีส่วนร่วมอยู่ด้วย
No comments:
Post a Comment