อธิปไตยพระราชทาน
จากหนังสือ “สุพจน์ ด่านตระกูล โต้ ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ”
ประมวลฯ ได้เสนอพระราชดำริประการที่สามว่า “ทรงมีพระราชดำริว่าการพระราชทานอภัยโทษ ควรให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์โดยตรง” และประมวลฯ ได้สรุปว่า
“พระราชดำริทั้ง ๓ ประการนี้ รัฐบาลไม่เห็นด้วย ไม่ได้รับการตอบกลับมาจากรัฐบาล จนในที่สุดพระองค์ทรงประกาศสละราชสมบัติ”
ซึ่งความจริง พระราชดำริหรือข้อเรียกร้องของพระองค์นั้นมีมากกว่าสามประการ แต่มีถึงสิบประการ และรัฐบาลได้ทำความกระจ่างกับพระองค์ทุกประการแล้ว โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ และนายนาวาตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งไปเข้าเฝ้าพระองค์ตามหนังสือกราบบังคมทูลที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นสื่อกลางระหว่างพระองค์กับรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นเรื่องพระราชทานอภัยโทษ ประมวล รุจนเสรี ยกมาเขียนเสมือนว่ารัฐบาลกีดกันไม่ให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์ ก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงเขียนเช่นนั้น หรือว่าจะให้สอดรับกับชื่อหนังสือพระราชอำนาจโดยขาดสติยั้งคิด ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ความขัดแย้งในประเด็นนี้เกี่ยวกับ เงื่อนไขเวลา ดังคำชี้แจงของ พ.อ.พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี ต่อสภาผู้แทนราษฎร ที่อ้างแล้วข้างต้น ตอนหนึ่งว่าดังนี้
“..มีข้อแตกต่างอันสำคัญอยู่ก็คือ ตามพระราชประสงค์นั้น เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขึ้นไปแล้วจะปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ได้เลย ไม่ว่าเวลาจะล่วงพ้นไปนานสักเท่าใด แต่ตามร่างมาตรานี้ ได้กำหนดเวลาไว้ว่าถ้าไม่พระราชทานวินิจฉัยในฎีกา เมื่อล่วงพ้นกำหนดก็ถือเสมือนได้ทรงปฏิเสธไม่พระราชทานอภัยโทษ และปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ดังนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะควรกำหนดเวลาหรือไม่กำหนดเท่านั้น รัฐบาลเห็นควรกำหนดเวลา (แต่พระปกเกล้าฯไม่ต้องการให้กำหนดเวลา-สุพจน์) ถ้าเวลาในร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่พอ จะขยายให้ยาวออกไปอีกก็ได้..”
แต่อย่างไรก็ดี คำขอของพระองค์หรือที่ประมวลฯ เรียกว่าพระราชดำรินั้น โดยรวมแล้วก็เป็นดังคำอภิปรายของ ร.ต.สอน วงษ์โต ผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท อดีตชาวคณะ ร.ศ.๑๓๐ ได้กล่าวในที่ประชุมสภาฯ ที่อ้างแล้วข้างต้น ตอนหนึ่งดังนี้
“..สำหรับความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่าตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทักท้วงมาโดยคำขอนั้น โดยส่วนมากถ้าจะพูดอ้างโดยความจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ต้องการจะกลับประเทศสยาม นี่ข้าพเจ้าพูดโดยความจริงใจ คำขอชนิดนี้ขอชนิดที่ทรงไม่ต้องการที่จะกลับประเทศสยาม เพราะเหตุที่ขอนี้ ถ้าหากว่าคณะรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎรได้ให้ไปแล้ว ได้ให้โดยคำขอทุกข้อทุกกระทงแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นที่เปลี่ยนมา คณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงมานั้น แปลว่าไม่สมประสงค์เลย”
จากหนังสือ “สุพจน์ ด่านตระกูล โต้ ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ”
ประมวลฯ ได้เสนอพระราชดำริประการที่สามว่า “ทรงมีพระราชดำริว่าการพระราชทานอภัยโทษ ควรให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์โดยตรง” และประมวลฯ ได้สรุปว่า
“พระราชดำริทั้ง ๓ ประการนี้ รัฐบาลไม่เห็นด้วย ไม่ได้รับการตอบกลับมาจากรัฐบาล จนในที่สุดพระองค์ทรงประกาศสละราชสมบัติ”
ซึ่งความจริง พระราชดำริหรือข้อเรียกร้องของพระองค์นั้นมีมากกว่าสามประการ แต่มีถึงสิบประการ และรัฐบาลได้ทำความกระจ่างกับพระองค์ทุกประการแล้ว โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ และนายนาวาตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งไปเข้าเฝ้าพระองค์ตามหนังสือกราบบังคมทูลที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นสื่อกลางระหว่างพระองค์กับรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นเรื่องพระราชทานอภัยโทษ ประมวล รุจนเสรี ยกมาเขียนเสมือนว่ารัฐบาลกีดกันไม่ให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์ ก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงเขียนเช่นนั้น หรือว่าจะให้สอดรับกับชื่อหนังสือพระราชอำนาจโดยขาดสติยั้งคิด ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ความขัดแย้งในประเด็นนี้เกี่ยวกับ เงื่อนไขเวลา ดังคำชี้แจงของ พ.อ.พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี ต่อสภาผู้แทนราษฎร ที่อ้างแล้วข้างต้น ตอนหนึ่งว่าดังนี้
“..มีข้อแตกต่างอันสำคัญอยู่ก็คือ ตามพระราชประสงค์นั้น เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขึ้นไปแล้วจะปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ได้เลย ไม่ว่าเวลาจะล่วงพ้นไปนานสักเท่าใด แต่ตามร่างมาตรานี้ ได้กำหนดเวลาไว้ว่าถ้าไม่พระราชทานวินิจฉัยในฎีกา เมื่อล่วงพ้นกำหนดก็ถือเสมือนได้ทรงปฏิเสธไม่พระราชทานอภัยโทษ และปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ดังนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะควรกำหนดเวลาหรือไม่กำหนดเท่านั้น รัฐบาลเห็นควรกำหนดเวลา (แต่พระปกเกล้าฯไม่ต้องการให้กำหนดเวลา-สุพจน์) ถ้าเวลาในร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่พอ จะขยายให้ยาวออกไปอีกก็ได้..”
แต่อย่างไรก็ดี คำขอของพระองค์หรือที่ประมวลฯ เรียกว่าพระราชดำรินั้น โดยรวมแล้วก็เป็นดังคำอภิปรายของ ร.ต.สอน วงษ์โต ผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท อดีตชาวคณะ ร.ศ.๑๓๐ ได้กล่าวในที่ประชุมสภาฯ ที่อ้างแล้วข้างต้น ตอนหนึ่งดังนี้
“..สำหรับความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่าตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทักท้วงมาโดยคำขอนั้น โดยส่วนมากถ้าจะพูดอ้างโดยความจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ต้องการจะกลับประเทศสยาม นี่ข้าพเจ้าพูดโดยความจริงใจ คำขอชนิดนี้ขอชนิดที่ทรงไม่ต้องการที่จะกลับประเทศสยาม เพราะเหตุที่ขอนี้ ถ้าหากว่าคณะรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎรได้ให้ไปแล้ว ได้ให้โดยคำขอทุกข้อทุกกระทงแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นที่เปลี่ยนมา คณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงมานั้น แปลว่าไม่สมประสงค์เลย”
ร.ท.ทองคำ คล้ายโอกาส ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีอดีตชาวคณะ ร.ศ.๑๓๐ กล่าวในที่ประชุมสภาฯ ในคราวเดียวกันนั้น มีความตอนหนึ่งดังนี้
“ในประเทศที่เขามีกษัตริย์อยูใต้รัฐธรรมนูญ พลเมืองของเขาทุกคนมักจะรู้จักว่า เดอะคิงแคนดูนัทธิง อะไรทุกอย่างที่พระองค์ต้องการ เขาปฏิบัติถวายพระองค์เอง พระองค์ไม่ต้องเดือดร้อน ทีนี้พระราชบันทึกของพระองค์เอง พระองค์ต้องการให้ประเทศเรามีการปกครองอย่างประชาธิปไตยอย่างประเทศอังกฤษแท้ๆ แต่พระองค์ก็บอกไว้ในนั้นเองบอกแย้งในนั้นเองว่า จะให้ฉันทำอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ได้ ทีการปกครองละก้อจะเอาอย่างอังกฤษ แต่ไม่อยากจะเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เพราะฉะนั้นก็เหลือที่จะทนทานเหมือนกัน”
“ในประเทศที่เขามีกษัตริย์อยูใต้รัฐธรรมนูญ พลเมืองของเขาทุกคนมักจะรู้จักว่า เดอะคิงแคนดูนัทธิง อะไรทุกอย่างที่พระองค์ต้องการ เขาปฏิบัติถวายพระองค์เอง พระองค์ไม่ต้องเดือดร้อน ทีนี้พระราชบันทึกของพระองค์เอง พระองค์ต้องการให้ประเทศเรามีการปกครองอย่างประชาธิปไตยอย่างประเทศอังกฤษแท้ๆ แต่พระองค์ก็บอกไว้ในนั้นเองบอกแย้งในนั้นเองว่า จะให้ฉันทำอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ได้ ทีการปกครองละก้อจะเอาอย่างอังกฤษ แต่ไม่อยากจะเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เพราะฉะนั้นก็เหลือที่จะทนทานเหมือนกัน”
No comments:
Post a Comment