มรสุมชีวิต
“อย่ายิง อย่ายิง ! ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก”
ปลายปี ๒๔๘๘ นายปรีดีได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม และในโอกาสนี้ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถวายพระราชอำนาจคืนตามพระราชประเพณี ต่อมาพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายปรีดีเป็นรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสืบไป
หลังสงครามสงบลง สันติภาพกลับคืนมา แต่บ้านเมืองยังวุ่นวาย ถูกรุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะข้าวยากหมากแพงอันเป็นผลพวงจากสงคราม และความไม่มั่นคงทางการเมือง ฝ่ายทหารไม่พอใจรัฐบาลพลเรือนสมัยนั้นที่อำนาจทางการเมืองของตนถูกลดบทบาทลง ขณะที่พรรคการเมืองก็มีการแบ่งขั้วชัดเจน มีความขัดแย้งกันตลอดเวลา
และแล้ววันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ต้องพระแสงปืนสวรรคต พรรคการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ได้ถือโอกาสใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาว่านายปรีดีมีส่วนพัวพันกรณีสวรรคต ถึงกับจ้างคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”
นายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม และ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ในเวลานั้นนายปรีดีและภรรยาได้เดินทางไปเยือนมิตรประเทศ ๙ ประเทศในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาตามคำเชิญ เป็นเวลานาน ๓ เดือน
แม้ว่าเวลานั้น ปรีดี พนมยงค์ จะไม่ได้เป็นผู้นำรัฐบาลไทย แต่ในสายตาของต่างประเทศนายปรีดีกลับเป็นผู้นำที่โดดเด่นและมีบารมีมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย โดยเฉพาะบทบาทหัวหน้าเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงไม่น่าแปลกใจที่ต่างประเทศจะให้การต้อนรับทั้งสองอย่างสมเกียรติ
เยือนกรุงนานกิง พฤศจิกายน ๒๔๘๙
เริ่มจากไปเยือนประเทศจีนที่กรุงนานกิง ได้รับการเลี้ยงรับรองจากประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ต่อเครื่องบินมากรุงมะนิลา ประธานาธิบดีโรซาสแห่งฟิลิปปินส์ให้การต้อนรับ จากนั้นข้ามไปเยือนสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมนเปิดทำเนียบขาวต้อนรับอย่างดี แล้วข้ามทะเลไปประเทศอังกฤษ มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันกับพระเจ้ายอร์ชที่ ๖ สมเด็จพระราชินี เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต และลอร์ดหลุยส์ เมาน์ทแบตเตน ผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตรในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ในพระราชวังบักกิงแฮม และที่กรุงปารีส ประธานาธิบดีลิออง บรัม แห่งฝรั่งเศสได้เลี้ยงรับรองที่กระทรวงต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชชนนีที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเดินทางต่อไปยังประเทศเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์เป็นประเทศสุดท้าย ก่อนจะนั่งเครื่องบินกลับประเทศไทย มาแลนดิงลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือคลองเตย และได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจากพี่น้องชาวไทย
ประชาชนจำนวนมากมารอรับนายปรีดี พนมยงค์ ที่ท่าเรือคลองเตย ภายหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ มกราคม ๒๔๙๐
นายปรีดีกลับมาเมืองไทยในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองตกต่ำสุดขีด ข่าวลือการทำรัฐประหารเกิดขึ้นเป็นระยะ แต่แล้ววันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ รอยด่างของประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะรัฐประหารนำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล
ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว หลวงอดุลฯ หรือ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก ได้มาหานายปรีดีที่บ้านพักทำเนียบท่าช้างเพื่อแจ้งข่าวว่าจะมีการทำรัฐประหาร แต่หลวงอดุลฯ ได้จัดการเรียบร้อยแล้ว จึงมิได้เฉลียวใจว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น พูนศุข พนมยงค์ ในวัย ๓๕ ปี เล่าเหตุการณ์คืนนั้นให้ผู้เขียนฟังว่า
“วันนั้นฉันไม่สบายไปถอนฟันมา ก็ไม่ได้รับประทานอาหารเย็นด้วยกัน วันนั้นหลวงอดุลฯ กับหลวงธำรงฯ มารับประทานอาหารเย็น ฉันก็เข้านอนก่อนเพราะเป็นไข้ ต่อมาประมาณสองยามฉันก็สังเกตมีแสงไฟสาดเข้ามาในห้องนอน ทีหลังถึงรู้ว่าเป็นไฟจากรถถังที่จอดอยู่หน้าธรรมศาสตร์ แสงไฟจ้าเชียว แปลกใจ ก็ลุกขึ้นมา ลมพัดหนังสือพิมพ์กระจาย ไม่ใช่พัดลมน่ะ เป็นลมจากแม่น้ำ แล้วฉันก็ลงไปชั้นล่าง พบเด็กที่อยู่กับเรายืนอยู่กับตำรวจที่เป็นยามประจำบ้าน ตอนนั้นยังไม่ได้ยิง ฉันก็ถามว่าท่าน (นายปรีดี) อยู่ไหน เด็กบอกว่าท่านไปแล้ว สักครู่หนึ่งทหารก็ยิงเข้ามา เราก็เลยวิ่งมารวมอยู่ห้องนอนลูกริมแม่น้ำ
“ทหารยิงเข้ามาในบ้าน เจาะเข้ามาในห้องพระ รูขนาดนกกระจอกทำรังได้ แต่ไม่ทะลุ เราก็รวบรวมลูกมาอยู่ที่ห้องเดียวกัน แล้วก็บอกให้ลูกนอนหมอบราบไปบนเตียงนะ ฉันก็ตะโกนออกไปว่า อย่ายิง อย่ายิง ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก เขายิงรัว แหม รู้สึกว่าหลายสิบนัดนะ เสียงมันอาจจะสะท้อนด้วย ฉันยังมีใจเป็นธรรมนะ คิดว่าไม่ได้ยิงกราด ผลสุดท้ายเขาก็พังประตูเข้ามา ฉันก็ลงไปพบ มีคณะนายทหารที่เราไม่รู้จัก เขาบอกว่าจะมาเปลี่ยนรัฐบาล ฉันก็ว่าทำไมมาเปลี่ยนที่นี่ ทำไมไม่ไปเปลี่ยนที่สภาเล่า คณะทหารค้นทั่วบ้าน ไม่มีตัวนายปรีดีแล้วนะ ท่านลงเรือรับจ้างที่อยู่ข้าง ๆ ท่าช้างวังหน้าหลบหนีไปแล้ว
“สักตีสี่ หลวงอดุลฯ มาหาฉัน บอกว่าผมไล่พวกกบฏไปหมดแล้ว ให้ไปอยู่ที่ป้อมพระสุเมรุ ตอนนั้นยังเป็นผู้บัญชาการทหารบกอยู่นี่ ท่านก็ออกชื่อผู้ที่มายิงบ้านเรา พอเช้ามีบรรณาธิการ บางกอกโพสต์ มาสัมภาษณ์และได้นำประโยคที่ฉันถามพวกทหารตอนที่เข้ามาค้นไปลงหน้าหนึ่ง เสร็จแล้วตอนสาย ๆ ร.อ. สมบูรณ์ (พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ) เอารถถังมา เพื่อนสนิทของฉัน คุณฉลบชลัยย์ (ภรรยาคุณจำกัด พลางกูร) วิ่งออกไปยืนขวางพวกทหาร ห้ามไม่ให้เข้ามาใกล้บริเวณโรงรถเพราะเป็นมุมอับ เกรงว่าจะเอาสิ่งของต้องห้ามมาใส่ จึงให้คนในบ้านร่วมเป็นพยานการตรวจค้น ซึ่งก็ไม่มีอะไร เราไม่ได้เป็นฝ่ายก่อการกบฏ พวกเขาเป็นผู้มาทำลายเรา แล้วยังมาค้น”
วันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์นายปรีดีได้ฝากคนมาแจ้งให้ภรรยาทราบว่า “ไม่ต้องเป็นห่วง ตอนนี้อยู่กับพวกทหารเรือ”
นายปรีดีหลบไปอยู่ที่กรมสรรพาวุธ บางนา ต่อจากนั้นไม่นานด้วยความช่วยเหลือของ พล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ อดีตผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ และผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน นายปรีดีได้หลบภัยไปอยู่ที่กรมนาวิกโยธิน สัตหีบ มีเสรีไทยหลายคนเดินทางมาปรึกษาหารือกับนายปรีดี จนเมื่อฝ่ายรัฐประหารสืบทราบว่านายปรีดีหลบอยู่ในฐานทัพเรือ จึงมีหนังสือมาขอตัว
ปรีดีคิดว่าหากอยู่ต่อไปจะทำความเดือดร้อนให้แก่ทหารเรือ จึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองไทย โดยได้ติดต่อ น.อ. สแตรทฟอร์ด เดนนิส ซึ่งเคยร่วมต่อสู้ระหว่างสงคราม และเป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ เพื่อให้ช่วยติดต่อทางอังกฤษ ขอลี้ภัยทางการเมืองในสิงคโปร์ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และไม่นานปรีดีได้ลักลอบออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ ไปขึ้นเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษมุ่งหน้าไปสิงคโปร์
การรัฐประหารครั้งนั้นนำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ อดีตนายทหารนอกราชการ พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. กาจ กาจสงคราม พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร ฯลฯ หลังจากนั้นได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ก่อนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
“อย่ายิง อย่ายิง ! ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก”
ปลายปี ๒๔๘๘ นายปรีดีได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม และในโอกาสนี้ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถวายพระราชอำนาจคืนตามพระราชประเพณี ต่อมาพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายปรีดีเป็นรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสืบไป
หลังสงครามสงบลง สันติภาพกลับคืนมา แต่บ้านเมืองยังวุ่นวาย ถูกรุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะข้าวยากหมากแพงอันเป็นผลพวงจากสงคราม และความไม่มั่นคงทางการเมือง ฝ่ายทหารไม่พอใจรัฐบาลพลเรือนสมัยนั้นที่อำนาจทางการเมืองของตนถูกลดบทบาทลง ขณะที่พรรคการเมืองก็มีการแบ่งขั้วชัดเจน มีความขัดแย้งกันตลอดเวลา
และแล้ววันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ต้องพระแสงปืนสวรรคต พรรคการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ได้ถือโอกาสใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาว่านายปรีดีมีส่วนพัวพันกรณีสวรรคต ถึงกับจ้างคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”
นายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม และ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ในเวลานั้นนายปรีดีและภรรยาได้เดินทางไปเยือนมิตรประเทศ ๙ ประเทศในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาตามคำเชิญ เป็นเวลานาน ๓ เดือน
แม้ว่าเวลานั้น ปรีดี พนมยงค์ จะไม่ได้เป็นผู้นำรัฐบาลไทย แต่ในสายตาของต่างประเทศนายปรีดีกลับเป็นผู้นำที่โดดเด่นและมีบารมีมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย โดยเฉพาะบทบาทหัวหน้าเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงไม่น่าแปลกใจที่ต่างประเทศจะให้การต้อนรับทั้งสองอย่างสมเกียรติ
เยือนกรุงนานกิง พฤศจิกายน ๒๔๘๙
เริ่มจากไปเยือนประเทศจีนที่กรุงนานกิง ได้รับการเลี้ยงรับรองจากประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ต่อเครื่องบินมากรุงมะนิลา ประธานาธิบดีโรซาสแห่งฟิลิปปินส์ให้การต้อนรับ จากนั้นข้ามไปเยือนสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมนเปิดทำเนียบขาวต้อนรับอย่างดี แล้วข้ามทะเลไปประเทศอังกฤษ มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันกับพระเจ้ายอร์ชที่ ๖ สมเด็จพระราชินี เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต และลอร์ดหลุยส์ เมาน์ทแบตเตน ผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตรในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ในพระราชวังบักกิงแฮม และที่กรุงปารีส ประธานาธิบดีลิออง บรัม แห่งฝรั่งเศสได้เลี้ยงรับรองที่กระทรวงต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชชนนีที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเดินทางต่อไปยังประเทศเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์เป็นประเทศสุดท้าย ก่อนจะนั่งเครื่องบินกลับประเทศไทย มาแลนดิงลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือคลองเตย และได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจากพี่น้องชาวไทย
ประชาชนจำนวนมากมารอรับนายปรีดี พนมยงค์ ที่ท่าเรือคลองเตย ภายหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ มกราคม ๒๔๙๐
นายปรีดีกลับมาเมืองไทยในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองตกต่ำสุดขีด ข่าวลือการทำรัฐประหารเกิดขึ้นเป็นระยะ แต่แล้ววันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ รอยด่างของประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะรัฐประหารนำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล
ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว หลวงอดุลฯ หรือ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก ได้มาหานายปรีดีที่บ้านพักทำเนียบท่าช้างเพื่อแจ้งข่าวว่าจะมีการทำรัฐประหาร แต่หลวงอดุลฯ ได้จัดการเรียบร้อยแล้ว จึงมิได้เฉลียวใจว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น พูนศุข พนมยงค์ ในวัย ๓๕ ปี เล่าเหตุการณ์คืนนั้นให้ผู้เขียนฟังว่า
“วันนั้นฉันไม่สบายไปถอนฟันมา ก็ไม่ได้รับประทานอาหารเย็นด้วยกัน วันนั้นหลวงอดุลฯ กับหลวงธำรงฯ มารับประทานอาหารเย็น ฉันก็เข้านอนก่อนเพราะเป็นไข้ ต่อมาประมาณสองยามฉันก็สังเกตมีแสงไฟสาดเข้ามาในห้องนอน ทีหลังถึงรู้ว่าเป็นไฟจากรถถังที่จอดอยู่หน้าธรรมศาสตร์ แสงไฟจ้าเชียว แปลกใจ ก็ลุกขึ้นมา ลมพัดหนังสือพิมพ์กระจาย ไม่ใช่พัดลมน่ะ เป็นลมจากแม่น้ำ แล้วฉันก็ลงไปชั้นล่าง พบเด็กที่อยู่กับเรายืนอยู่กับตำรวจที่เป็นยามประจำบ้าน ตอนนั้นยังไม่ได้ยิง ฉันก็ถามว่าท่าน (นายปรีดี) อยู่ไหน เด็กบอกว่าท่านไปแล้ว สักครู่หนึ่งทหารก็ยิงเข้ามา เราก็เลยวิ่งมารวมอยู่ห้องนอนลูกริมแม่น้ำ
“ทหารยิงเข้ามาในบ้าน เจาะเข้ามาในห้องพระ รูขนาดนกกระจอกทำรังได้ แต่ไม่ทะลุ เราก็รวบรวมลูกมาอยู่ที่ห้องเดียวกัน แล้วก็บอกให้ลูกนอนหมอบราบไปบนเตียงนะ ฉันก็ตะโกนออกไปว่า อย่ายิง อย่ายิง ที่นี่มีแต่ผู้หญิงกับเด็ก เขายิงรัว แหม รู้สึกว่าหลายสิบนัดนะ เสียงมันอาจจะสะท้อนด้วย ฉันยังมีใจเป็นธรรมนะ คิดว่าไม่ได้ยิงกราด ผลสุดท้ายเขาก็พังประตูเข้ามา ฉันก็ลงไปพบ มีคณะนายทหารที่เราไม่รู้จัก เขาบอกว่าจะมาเปลี่ยนรัฐบาล ฉันก็ว่าทำไมมาเปลี่ยนที่นี่ ทำไมไม่ไปเปลี่ยนที่สภาเล่า คณะทหารค้นทั่วบ้าน ไม่มีตัวนายปรีดีแล้วนะ ท่านลงเรือรับจ้างที่อยู่ข้าง ๆ ท่าช้างวังหน้าหลบหนีไปแล้ว
“สักตีสี่ หลวงอดุลฯ มาหาฉัน บอกว่าผมไล่พวกกบฏไปหมดแล้ว ให้ไปอยู่ที่ป้อมพระสุเมรุ ตอนนั้นยังเป็นผู้บัญชาการทหารบกอยู่นี่ ท่านก็ออกชื่อผู้ที่มายิงบ้านเรา พอเช้ามีบรรณาธิการ บางกอกโพสต์ มาสัมภาษณ์และได้นำประโยคที่ฉันถามพวกทหารตอนที่เข้ามาค้นไปลงหน้าหนึ่ง เสร็จแล้วตอนสาย ๆ ร.อ. สมบูรณ์ (พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ) เอารถถังมา เพื่อนสนิทของฉัน คุณฉลบชลัยย์ (ภรรยาคุณจำกัด พลางกูร) วิ่งออกไปยืนขวางพวกทหาร ห้ามไม่ให้เข้ามาใกล้บริเวณโรงรถเพราะเป็นมุมอับ เกรงว่าจะเอาสิ่งของต้องห้ามมาใส่ จึงให้คนในบ้านร่วมเป็นพยานการตรวจค้น ซึ่งก็ไม่มีอะไร เราไม่ได้เป็นฝ่ายก่อการกบฏ พวกเขาเป็นผู้มาทำลายเรา แล้วยังมาค้น”
วันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์นายปรีดีได้ฝากคนมาแจ้งให้ภรรยาทราบว่า “ไม่ต้องเป็นห่วง ตอนนี้อยู่กับพวกทหารเรือ”
นายปรีดีหลบไปอยู่ที่กรมสรรพาวุธ บางนา ต่อจากนั้นไม่นานด้วยความช่วยเหลือของ พล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ อดีตผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ และผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน นายปรีดีได้หลบภัยไปอยู่ที่กรมนาวิกโยธิน สัตหีบ มีเสรีไทยหลายคนเดินทางมาปรึกษาหารือกับนายปรีดี จนเมื่อฝ่ายรัฐประหารสืบทราบว่านายปรีดีหลบอยู่ในฐานทัพเรือ จึงมีหนังสือมาขอตัว
ปรีดีคิดว่าหากอยู่ต่อไปจะทำความเดือดร้อนให้แก่ทหารเรือ จึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองไทย โดยได้ติดต่อ น.อ. สแตรทฟอร์ด เดนนิส ซึ่งเคยร่วมต่อสู้ระหว่างสงคราม และเป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ เพื่อให้ช่วยติดต่อทางอังกฤษ ขอลี้ภัยทางการเมืองในสิงคโปร์ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และไม่นานปรีดีได้ลักลอบออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ ไปขึ้นเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษมุ่งหน้าไปสิงคโปร์
การรัฐประหารครั้งนั้นนำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ อดีตนายทหารนอกราชการ พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. กาจ กาจสงคราม พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร ฯลฯ หลังจากนั้นได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ก่อนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
No comments:
Post a Comment