ขบวนการกู้ชาติ
จำกัด พลางกูร อักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดแกนนำคนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติ ได้เล่าไว้ในหนังสือ การกู้ชาติ ว่า
"เมื่อข้าพเจ้ายังเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษข้าพเจ้ารวบรวมสมัครพรรคพวกได้เป็นอันมาก เพื่อจะมาตั้งคณะต่อสู้กับจอมพลแปลกเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงขึ้นทางลับ ๆ ในประเทศไทยแต่ครั้นข้าพเจ้าถูกไล่ออกจากทางราชการ เพราะข้าพเจ้าไม่ไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับประชาธิปไตยของข้าพเจ้าเพื่อนฝูงก็เริ่มเหินห่างออกไป"
แต่เมื่อทราบข่าวญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ยอมต่อต้านญี่ปุ่น ความพยายามในการก่อตั้งขบวนการกู้ชาติก็กลับมาอีกครั้ง
"ตอนบ่ายวันที่ ๙ ธันวาคม (๒๔๘๔) ...ข้าพเจ้าได้ปรึกษานายเตียง หาทางออกไปนอกอาณาจักรไทยไปยังพม่า ทราบว่ามีทางออกอยู่ทางแม่สอดและกาญจนบุรี แต่ต่อมาอีกสองวันก็ได้ข่าวว่าญี่ปุ่นได้ยึดสองทางนั้นเสียแล้ว เป็นอันว่าการเตรียมตัวของเราต้องล้มเหลวไปข้าพเจ้าจึงรวบรวมเพื่อนพ้องเพื่อตั้งขบวนการกู้ชาติ ... หลักการของข้าพเจ้ามีอยู่ว่า จะรวบรวมพรรคพวกเท่าที่จะหาได้ แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ พวกที่รู้แผนการของข้าพเจ้า ชั้นที่ ๒ คือพวกที่รู้เลา ๆ ว่าข้าพเจ้าทำอะไร และชั้นที่ ๓ คือพวกที่มีความเลื่อมใสและนิยมในตัวข้าพเจ้า พวกเหล่านี้ให้ล่วงรู้อะไรโดยตรงไม่ได้ และถึงเวลาจำเป็นก็คงใช้บริการได้ พวกนี้ได้แก่ศิษย์ข้าพเจ้าโดยมาก
พวกชั้นที่ ๑ เท่าที่รวบรวมได้ก็มีนายเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายเรือโท โกเมศ เครือตราชู นายยล สมานนท์ ชั้นที่ ๒ ภรรยา ข้าพเจ้า (นางฉลบชลัยย์ พลางกูร) ได้ไปชวน นางปิ่น บุนนาค (นางราชญาติรักษา) และพวก ข้าพเจ้าได้ไปชวนนายแพทย์เฉลิม บุรณนนท์ ฯลฯ ชั้น ๓ นั้นมีมากมาย
แต่ข้อที่สำคัญก็คือ แม้ว่าพวกเราจะหนีไปตั้งรัฐบาลได้ เราก็ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับกองทัพของจอมพลได้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ในระหว่างผู้มีอำนาจคงมีใครบ้างที่คิดอย่างเรา แล้วรวมคณะเราเข้าไป คงทำประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าส่ายตาดูก็เห็นมีแต่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้เดียวซึ่งจะเป็นหัวหน้า เป็นกำลังสำคัญของคณะกู้ชาติของเราได้ ข้าพเจ้าจึงตรงไปหาท่านที่บ้านสีลมทันที"
ต่อมา ขบวนการกู้ชาติและองค์การต่อต้านญี่ปุ่นได้รวมตัวกันในปลายปี ๒๔๘๔
จำกัด พลางกูร อักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดแกนนำคนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติ ได้เล่าไว้ในหนังสือ การกู้ชาติ ว่า
"เมื่อข้าพเจ้ายังเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษข้าพเจ้ารวบรวมสมัครพรรคพวกได้เป็นอันมาก เพื่อจะมาตั้งคณะต่อสู้กับจอมพลแปลกเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงขึ้นทางลับ ๆ ในประเทศไทยแต่ครั้นข้าพเจ้าถูกไล่ออกจากทางราชการ เพราะข้าพเจ้าไม่ไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับประชาธิปไตยของข้าพเจ้าเพื่อนฝูงก็เริ่มเหินห่างออกไป"
แต่เมื่อทราบข่าวญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ยอมต่อต้านญี่ปุ่น ความพยายามในการก่อตั้งขบวนการกู้ชาติก็กลับมาอีกครั้ง
"ตอนบ่ายวันที่ ๙ ธันวาคม (๒๔๘๔) ...ข้าพเจ้าได้ปรึกษานายเตียง หาทางออกไปนอกอาณาจักรไทยไปยังพม่า ทราบว่ามีทางออกอยู่ทางแม่สอดและกาญจนบุรี แต่ต่อมาอีกสองวันก็ได้ข่าวว่าญี่ปุ่นได้ยึดสองทางนั้นเสียแล้ว เป็นอันว่าการเตรียมตัวของเราต้องล้มเหลวไปข้าพเจ้าจึงรวบรวมเพื่อนพ้องเพื่อตั้งขบวนการกู้ชาติ ... หลักการของข้าพเจ้ามีอยู่ว่า จะรวบรวมพรรคพวกเท่าที่จะหาได้ แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ พวกที่รู้แผนการของข้าพเจ้า ชั้นที่ ๒ คือพวกที่รู้เลา ๆ ว่าข้าพเจ้าทำอะไร และชั้นที่ ๓ คือพวกที่มีความเลื่อมใสและนิยมในตัวข้าพเจ้า พวกเหล่านี้ให้ล่วงรู้อะไรโดยตรงไม่ได้ และถึงเวลาจำเป็นก็คงใช้บริการได้ พวกนี้ได้แก่ศิษย์ข้าพเจ้าโดยมาก
พวกชั้นที่ ๑ เท่าที่รวบรวมได้ก็มีนายเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายเรือโท โกเมศ เครือตราชู นายยล สมานนท์ ชั้นที่ ๒ ภรรยา ข้าพเจ้า (นางฉลบชลัยย์ พลางกูร) ได้ไปชวน นางปิ่น บุนนาค (นางราชญาติรักษา) และพวก ข้าพเจ้าได้ไปชวนนายแพทย์เฉลิม บุรณนนท์ ฯลฯ ชั้น ๓ นั้นมีมากมาย
แต่ข้อที่สำคัญก็คือ แม้ว่าพวกเราจะหนีไปตั้งรัฐบาลได้ เราก็ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับกองทัพของจอมพลได้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ในระหว่างผู้มีอำนาจคงมีใครบ้างที่คิดอย่างเรา แล้วรวมคณะเราเข้าไป คงทำประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าส่ายตาดูก็เห็นมีแต่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้เดียวซึ่งจะเป็นหัวหน้า เป็นกำลังสำคัญของคณะกู้ชาติของเราได้ ข้าพเจ้าจึงตรงไปหาท่านที่บ้านสีลมทันที"
ต่อมา ขบวนการกู้ชาติและองค์การต่อต้านญี่ปุ่นได้รวมตัวกันในปลายปี ๒๔๘๔
No comments:
Post a Comment