เสรีประชาธิปไตยกลายเป็นทุนนิยมผูกขาด
(จากหนังสือ "ปฏิวัติประชาธิปไตย" ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล)
ดังกล่าวมาแล้วว่า “กำลัง” เป็นที่มาแห่งอำนาจ ผู้แสวงหาอำนาจจึงต้องแสวงหากำลังเป็นเบื้องแรก และจะต้องบำรุงกำลังนั้น ก็เพื่อรักษาอำนาจต่อไป กำลังและอำนาจจึงเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
นายทาสและเจ้าศักดินา ขึ้นมามีอำนาจสถาปนาสังคมทาสและสังคมศักดินา และควบคุมสังคมนั้น ในเบื้องแรกก็โดยอาศัยกำลังทางการทหารเป็นเสาหลักในการรักษาระบอบนั้น โดยมีกำลังความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อชนชั้นปกครองเป็นส่วนประกอบ
ส่วนพวกกฎุมพีหรือประชาธิปไตยนายทุน ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีการทหารโค่นล้มระบบศักดินาในเบื้องแรกแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ยึดเอากำลังทางทหารเป็นเสาหลักในการพิทักษ์ระบอบนั้น หากแต่ถือเอากำลังทางการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากเศรษฐกิจเป็นหลักนำ
ทั้งนี้ เนื่องจากระบอบนี้สนับสนุนเสรีภาพของบุคคล ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ประชาชนภายใต้ระบอบใหม่นี้จึงมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคการเมือง และใช้กำลังทางการเมืองเช่นนี้เป็นฐานอำนาจขึ้นไปเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ ตามวิธีการของระบอบประชาธิปไตย และโดยที่อำนาจปกครองขึ้นมาจากกำลังหรือพลังทางการเมืองของประชาชนเช่นนี้ ในคำประกาศอิสระภาพของอเมริกา จึงได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในอันที่จะถอดถอนรัฐบาลที่ทรยศต่อประชาชน สาระของคำประกาศนั้นว่าดังนี้
“ประชาชนมีสิทธิอันแน่นอนที่ผู้ใดจะแย่งชิงมิได้ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้น ได้แก่สิทธิในการมีชีวิต สิทธิในการมีอิสรภาพ และสิทธิในการแสวงหาความสุข เพื่อที่จะทำให้สิทธิเหล่านั้นมั่นคง รัฐบาลย่อมตั้งขึ้นโดยประชาชน ได้อำนาจอันชอบธรรมมาจากความยินยอมของผู้อยู่ใต้ปกครอง เมื่อใดรัฐบาลได้กลายเป็นผู้ทำลายสิทธิเหล่านั้น ย่อมเป็นสิทธิของประชาชน ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรัฐบาลนั้นเสีย และตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่”
โดยนัยแห่งคำประกาศอิสระภาพดังกล่าวนี้ ประธานาธิบดีลินคอล์น จึงให้คำนิยามความหมายของประชาธิปไตยว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังกล่าวแล้วข้างต้น
แต่โดยที่ระบอบประชาธิปไตยกฎุมพี ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ดังนั้นภายใต้ระบอบนี้ จึงได้มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจกันอย่างเสรี ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าไปอย่างมากมาย ทั้งในด้านเครื่องมือการผลิตและพลังการผลิต ทั้งในด้านวิธีการผลิตและปริมาณการผลิต
ดังนั้น ในทางการเมือง จังเรียกประชาธิปไตยแบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยเสรีหรือเสรีประชาธิปไตย และในทางเศรษฐกิจเรียกระบบการผลิตชนิดนี้ว่า ทุนนิยมเสรี
แต่โดยกลไกของระบบทุนนิยมเสรีเอง ที่ทำให้การแข่งขันโดยเสรีในเบื้องต้นนำไปสู่การผูกขาดในที่สุด เมื่อพวกทุนขนาดย่อยๆ ถูกทุนใหญ่กว่าตีจนล้มหายตายจากไป หรือไม่ก็เพื่อความอยู่รอดของทุนขนาดย่อยเอง ก็ต้องเข้าร่วมกลุ่มกับทุนขนาดใหญ่ และได้กลายเป็นทุนผูกขาดไป
ดังนั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดเช่นนี้ ในทางการเมือง ถึงแม้ว่าจะยังคงเรียกตัวเองว่า เสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยเสรี แต่ในทางเศรษฐกิจเรียกว่า ทุนนิยมผูกขาด ตามปรากฏการณ์ที่เป็นจริง
ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงของระบบทุนนิยมผูกขาดที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ คือ
๑.การรวมตัวของทุน และผูกขาดการผลิตภายในประเทศ
๒.ทุนอุตสาหกรรมกับทุนธนาคารหรือทุนการเงิน รวมทั้งทุนพาณิชยกรรม ได้รวมตัวขึ้นเป็นคณาธิปไตย
๓.การส่งทุนออกนอกประเทศ (ที่เรียกว่าทุนข้ามชาติในปัจจุบัน)
๔. การผูกขาดระหว่างประเทศ
๕.การแบ่งโลก (คือแบ่งตลาดระหว่างจักรวรรดินิยมด้วยกัน ดังเช่นที่สหรัฐอเมริกา,ตลาดร่วมยุโรปและญี่ปุ่นกำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ (พ.ศ.๒๕๒๖)
จากระบบทุนนิยมผูกขาดเช่นนี้ จึงทำให้ชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งภายในประเทศแห่งระบบทุนนิยมผูกขาดนั้น กวาดเอาทรัพยากรของชาติ ที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้แก่มนุษยชาติ และกวาดเอาความอุดมสมบูรณ์ ที่เพื่อนมนุษย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยหยาดเหงื่อแรงกายไปเป็นสมบัติส่วนตัวของพวกเขาอย่างเหลือล้น เสมือนกับคนบ้า จึงทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศอัตคัดขาดแคลน
และดังที่กล่าวมาแล้วว่า เศรษฐกิจเป็นโครงสร้างเบื้องล่างของสังคม ฝ่ายใดกุมเศรษฐกิจฝ่ายนั้นจะได้กุมอำนาจทางการเมืองด้วย และใช้อำนาจทางการเมืองทำให้การกดขี่ขูดรีดทางเศรษฐกิจของพวกเขาเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
และดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีหรือเสรีประชาธิปไตยในเบื้องแรกที่ย่างก้าวออกมาจากระบบศักดินา แต่บัดนี้ประชาธิปไตยเสรี ได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยของนายทุนอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับประชาธิปไตยนายทาสของกรีกในสมัยที่เอเธนส์รุ่งโรจน์
และการใช้วิธีการประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยมผูกขาด ล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ต่อนายทุนชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และก็เท่ากับเป็นการทำให้การกดขี่ขูดรีดเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และเป็นที่ยอมรับของสังคม
และเมื่อมาถึงยุคสมัยเช่นนี้ ถุงเงินย่อมมีอำนาจเหนือปืนอย่างเด็ดขาด ดังปรากฏการณ์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีอำนาจเหนือสังคมของมวลชน ผู้ยากไร้ เช่นเดียวกับนายทาสที่มีอำนาจเหนือทาสฉันใดก็ฉันนั้น
นายทาสและเจ้าศักดินา ขึ้นมามีอำนาจสถาปนาสังคมทาสและสังคมศักดินา และควบคุมสังคมนั้น ในเบื้องแรกก็โดยอาศัยกำลังทางการทหารเป็นเสาหลักในการรักษาระบอบนั้น โดยมีกำลังความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อชนชั้นปกครองเป็นส่วนประกอบ
ส่วนพวกกฎุมพีหรือประชาธิปไตยนายทุน ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีการทหารโค่นล้มระบบศักดินาในเบื้องแรกแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ยึดเอากำลังทางทหารเป็นเสาหลักในการพิทักษ์ระบอบนั้น หากแต่ถือเอากำลังทางการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากเศรษฐกิจเป็นหลักนำ
ทั้งนี้ เนื่องจากระบอบนี้สนับสนุนเสรีภาพของบุคคล ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ประชาชนภายใต้ระบอบใหม่นี้จึงมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคการเมือง และใช้กำลังทางการเมืองเช่นนี้เป็นฐานอำนาจขึ้นไปเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ ตามวิธีการของระบอบประชาธิปไตย และโดยที่อำนาจปกครองขึ้นมาจากกำลังหรือพลังทางการเมืองของประชาชนเช่นนี้ ในคำประกาศอิสระภาพของอเมริกา จึงได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในอันที่จะถอดถอนรัฐบาลที่ทรยศต่อประชาชน สาระของคำประกาศนั้นว่าดังนี้
“ประชาชนมีสิทธิอันแน่นอนที่ผู้ใดจะแย่งชิงมิได้ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้น ได้แก่สิทธิในการมีชีวิต สิทธิในการมีอิสรภาพ และสิทธิในการแสวงหาความสุข เพื่อที่จะทำให้สิทธิเหล่านั้นมั่นคง รัฐบาลย่อมตั้งขึ้นโดยประชาชน ได้อำนาจอันชอบธรรมมาจากความยินยอมของผู้อยู่ใต้ปกครอง เมื่อใดรัฐบาลได้กลายเป็นผู้ทำลายสิทธิเหล่านั้น ย่อมเป็นสิทธิของประชาชน ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรัฐบาลนั้นเสีย และตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่”
โดยนัยแห่งคำประกาศอิสระภาพดังกล่าวนี้ ประธานาธิบดีลินคอล์น จึงให้คำนิยามความหมายของประชาธิปไตยว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังกล่าวแล้วข้างต้น
แต่โดยที่ระบอบประชาธิปไตยกฎุมพี ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ดังนั้นภายใต้ระบอบนี้ จึงได้มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจกันอย่างเสรี ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าไปอย่างมากมาย ทั้งในด้านเครื่องมือการผลิตและพลังการผลิต ทั้งในด้านวิธีการผลิตและปริมาณการผลิต
ดังนั้น ในทางการเมือง จังเรียกประชาธิปไตยแบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยเสรีหรือเสรีประชาธิปไตย และในทางเศรษฐกิจเรียกระบบการผลิตชนิดนี้ว่า ทุนนิยมเสรี
แต่โดยกลไกของระบบทุนนิยมเสรีเอง ที่ทำให้การแข่งขันโดยเสรีในเบื้องต้นนำไปสู่การผูกขาดในที่สุด เมื่อพวกทุนขนาดย่อยๆ ถูกทุนใหญ่กว่าตีจนล้มหายตายจากไป หรือไม่ก็เพื่อความอยู่รอดของทุนขนาดย่อยเอง ก็ต้องเข้าร่วมกลุ่มกับทุนขนาดใหญ่ และได้กลายเป็นทุนผูกขาดไป
ดังนั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดเช่นนี้ ในทางการเมือง ถึงแม้ว่าจะยังคงเรียกตัวเองว่า เสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยเสรี แต่ในทางเศรษฐกิจเรียกว่า ทุนนิยมผูกขาด ตามปรากฏการณ์ที่เป็นจริง
ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงของระบบทุนนิยมผูกขาดที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ คือ
๑.การรวมตัวของทุน และผูกขาดการผลิตภายในประเทศ
๒.ทุนอุตสาหกรรมกับทุนธนาคารหรือทุนการเงิน รวมทั้งทุนพาณิชยกรรม ได้รวมตัวขึ้นเป็นคณาธิปไตย
๓.การส่งทุนออกนอกประเทศ (ที่เรียกว่าทุนข้ามชาติในปัจจุบัน)
๔. การผูกขาดระหว่างประเทศ
๕.การแบ่งโลก (คือแบ่งตลาดระหว่างจักรวรรดินิยมด้วยกัน ดังเช่นที่สหรัฐอเมริกา,ตลาดร่วมยุโรปและญี่ปุ่นกำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ (พ.ศ.๒๕๒๖)
จากระบบทุนนิยมผูกขาดเช่นนี้ จึงทำให้ชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งภายในประเทศแห่งระบบทุนนิยมผูกขาดนั้น กวาดเอาทรัพยากรของชาติ ที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้แก่มนุษยชาติ และกวาดเอาความอุดมสมบูรณ์ ที่เพื่อนมนุษย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยหยาดเหงื่อแรงกายไปเป็นสมบัติส่วนตัวของพวกเขาอย่างเหลือล้น เสมือนกับคนบ้า จึงทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศอัตคัดขาดแคลน
และดังที่กล่าวมาแล้วว่า เศรษฐกิจเป็นโครงสร้างเบื้องล่างของสังคม ฝ่ายใดกุมเศรษฐกิจฝ่ายนั้นจะได้กุมอำนาจทางการเมืองด้วย และใช้อำนาจทางการเมืองทำให้การกดขี่ขูดรีดทางเศรษฐกิจของพวกเขาเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
และดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีหรือเสรีประชาธิปไตยในเบื้องแรกที่ย่างก้าวออกมาจากระบบศักดินา แต่บัดนี้ประชาธิปไตยเสรี ได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยของนายทุนอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับประชาธิปไตยนายทาสของกรีกในสมัยที่เอเธนส์รุ่งโรจน์
และการใช้วิธีการประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยมผูกขาด ล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ต่อนายทุนชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และก็เท่ากับเป็นการทำให้การกดขี่ขูดรีดเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และเป็นที่ยอมรับของสังคม
และเมื่อมาถึงยุคสมัยเช่นนี้ ถุงเงินย่อมมีอำนาจเหนือปืนอย่างเด็ดขาด ดังปรากฏการณ์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีอำนาจเหนือสังคมของมวลชน ผู้ยากไร้ เช่นเดียวกับนายทาสที่มีอำนาจเหนือทาสฉันใดก็ฉันนั้น
No comments:
Post a Comment