ความประสงค์สุดท้าย
ทายาทท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยารัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ ๘ มีอาการทางโรคหัวใจ จึงได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ต่อมาในค่ำวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันปรีดี พนมยงค์ อาการของท่านผู้หญิงได้ทรุดหนักลงโดยลำดับ กระทั่งได้ถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา ๐๒.๐๐ น. ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุ ๙๕ ปี ๔ เดือน ๙ วัน
ทั้งนี้ทายาทของท่านผู้หญิง ขอขอบคุณคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้พยายามดูแลรักษาจนสุดความสามารถอย่างดียิ่งทุกประการ
ในการจัดพิธีศพท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ทายาทจะปฏิบัติตาม “คำสั่งถึงลูก” ที่ท่านผู้หญิงได้เขียนไว้ด้วยลายมือ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ความว่า
คำสั่งถึงลูก ๆ ทุกคนเมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
ต่อมาในค่ำวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันปรีดี พนมยงค์ อาการของท่านผู้หญิงได้ทรุดหนักลงโดยลำดับ กระทั่งได้ถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา ๐๒.๐๐ น. ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุ ๙๕ ปี ๔ เดือน ๙ วัน
ทั้งนี้ทายาทของท่านผู้หญิง ขอขอบคุณคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้พยายามดูแลรักษาจนสุดความสามารถอย่างดียิ่งทุกประการ
ในการจัดพิธีศพท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ทายาทจะปฏิบัติตาม “คำสั่งถึงลูก” ที่ท่านผู้หญิงได้เขียนไว้ด้วยลายมือ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ความว่า
คำสั่งถึงลูก ๆ ทุกคนเมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑) นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแน่แล้ว
๒) ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น
๓) ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
๔) ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
๕) มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
๖) ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือเงินช่วยทำบุญ
๗) เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
๘) ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่ที่แม่เกิด
๙) หากมีเงินบ้าง ก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำสาธารณกุศล
๑๐) ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่จงมีความสุขความเจริญพูนศุข พนมยงค์
ในชีวิตของลูกผู้หญิงคนหนึ่ง ผ่านทั้งความสุข ความทุกข์ยาก การถูกใส่ร้ายป้ายสีต่าง ๆ นานา และมรสุมชีวิตที่โถมกระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ยังยืนหยัดต่อสู้กับสิ่งร้ายรอบตัวได้อย่างเด็ดเดี่ยว มีสติมั่นคง และรักษาตัวเองให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีได้ตลอดชีวิต หญิงผู้นั้นนาม พูนศุข พนมยงค์
พูนศุข พนมยงค์ เป็นลูกพระยา เกิดในตระกูลชนชั้นสูงในสังคม แต่งงานกับนายปรีดี พนมยงค์ ลูกชาวนา ดอกเตอร์หนุ่มจากฝรั่งเศสซึ่งภายหลังกลายมาเป็นผู้ก่อการอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ เป็นภรรยารัฐมนตรี ภรรยาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ภรรยานายกรัฐมนตรี เป็นท่านผู้หญิงอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง ๒๘ ปี สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ต่อสู้ลับ ๆ กับกองทัพญี่ปุ่น ช่วยให้ประเทศไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจ แต่ภายหลังสามีถูกใส่ร้ายว่ามีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ ถูกทหารยิงปืนกลกราดเข้ามาในบ้านเมื่อเกิดรัฐประหาร ๒๔๙๐ ต่อมาถูกจองจำในข้อหากบฏ ลูกชายถูกจับติดคุก จนกระทั่งต้องหนีตามสามีลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนด้วยความขมขื่นใจ สุดท้ายกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายในเมืองไทยด้วยความสงบ ให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ดำรงตนเป็นแบบอย่างให้แก่ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้ด้วยความสนิทใจ แม้กระทั่งคำสั่งเสียในวาระสุดท้ายของชีวิต
“ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น”
ในชีวิตของลูกผู้หญิงคนหนึ่ง ผ่านทั้งความสุข ความทุกข์ยาก การถูกใส่ร้ายป้ายสีต่าง ๆ นานา และมรสุมชีวิตที่โถมกระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ยังยืนหยัดต่อสู้กับสิ่งร้ายรอบตัวได้อย่างเด็ดเดี่ยว มีสติมั่นคง และรักษาตัวเองให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีได้ตลอดชีวิต หญิงผู้นั้นนาม พูนศุข พนมยงค์
พูนศุข พนมยงค์ เป็นลูกพระยา เกิดในตระกูลชนชั้นสูงในสังคม แต่งงานกับนายปรีดี พนมยงค์ ลูกชาวนา ดอกเตอร์หนุ่มจากฝรั่งเศสซึ่งภายหลังกลายมาเป็นผู้ก่อการอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ เป็นภรรยารัฐมนตรี ภรรยาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ภรรยานายกรัฐมนตรี เป็นท่านผู้หญิงอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง ๒๘ ปี สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ต่อสู้ลับ ๆ กับกองทัพญี่ปุ่น ช่วยให้ประเทศไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจ แต่ภายหลังสามีถูกใส่ร้ายว่ามีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ ถูกทหารยิงปืนกลกราดเข้ามาในบ้านเมื่อเกิดรัฐประหาร ๒๔๙๐ ต่อมาถูกจองจำในข้อหากบฏ ลูกชายถูกจับติดคุก จนกระทั่งต้องหนีตามสามีลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนด้วยความขมขื่นใจ สุดท้ายกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายในเมืองไทยด้วยความสงบ ให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ดำรงตนเป็นแบบอย่างให้แก่ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้ด้วยความสนิทใจ แม้กระทั่งคำสั่งเสียในวาระสุดท้ายของชีวิต
“ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น”
บทความจาก วารสารสารคดี ฉบับที่ ๒๖๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=758
บรรณานุกรม :
๑๐๑ ปีปรีดี - ๙๐ ปีพูนศุข. กรุงเทพฯ : ลลิตา สุดา ศุขปรีดา ดุษฎี วาณี, ๒๕๔๕.
๗ รอบ พูนศุข พนมยงค์. กรุงเทพฯ : ลลิตา สุดา ศุขปรีดา ดุษฎี วาณี, ๒๕๓๙.
นรุตม์. หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๗.
ขอขอบคุณ :
ครอบครัวปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ปรีชา สุวรรณทัต ดร. จริย์วัฒน์ สันตะบุตร
บรรณานุกรม :
๑๐๑ ปีปรีดี - ๙๐ ปีพูนศุข. กรุงเทพฯ : ลลิตา สุดา ศุขปรีดา ดุษฎี วาณี, ๒๕๔๕.
๗ รอบ พูนศุข พนมยงค์. กรุงเทพฯ : ลลิตา สุดา ศุขปรีดา ดุษฎี วาณี, ๒๕๓๙.
นรุตม์. หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๗.
ขอขอบคุณ :
ครอบครัวปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ปรีชา สุวรรณทัต ดร. จริย์วัฒน์ สันตะบุตร
No comments:
Post a Comment