จุงกิง นครแห่งความหวัง ?
การออกเดินทางไปจุงกิงของ จำกัด พลางกูร พร้อมกับ ไพศาล ตระกูลลี้ ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ แม้ว่าจะไปถึงจุงกิงเมื่อเดือนเมษายน แต่จากการที่ไม่เคยมีการติดต่อกัน ระหว่างขบวนการเสรีไทยในประเทศกับฝ่ายสัมพันธมิตร หรือแม้แต่ขบวนการเสรีไทยนอกประเทศ ทำให้จำกัดต้องถูกทางการจีนควบคุมตัวไว้ และเมื่อทางการจีนสอบถามไปยัง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ก็ไม่ได้รับคำยืนยันสถานภาพของจำกัด ทำให้การเดินทางไปถึงจุงกิงของจำกัดยังไม่ประสบผลในเบื้องต้น และไม่สามารถติดต่อกลับเมืองไทยได้อีกด้วย
ขณะที่เสรีไทยสายอังกฤษ คือ ม.จ. ศุภสวัสดิ์ฯ กับเสรีไทยสายอเมริกา ม.ล. ขาบ กุญชร แม้ว่าจะอยู่ที่จุงกิงแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้พบกับนายจำกัด ทั้งนี้เนื่องมาจากการเมืองภายในของประเทศไทยเอง ทำให้การประสานงานของเสรีไทยสายต่าง ๆ ต้องล่าช้าออกไป
กรกฎาคม ๒๔๘๖ ปรีดี พนมยงค์ ได้ส่ง สงวน ตุลารักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนายการโรงงานยาสูบ พร้อมครอบครัว และ แดง คุณะดิลก เจ้าหน้าที่สถานทูต เดินทางไปจุงกิง โดยอ้างว่าจะเดินทางไปซื้อเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น คณะของสงวนแก้ปัญหาการที่ไม่มีผู้รับรองสถานภาพของตน ด้วยการติดต่อไปยังหมอล้วน ว่องวานิช เจ้าของห้างขายยาอังกฤษตรางู ซึ่งขณะนั้นได้มาจัดตั้งหน่วยพยาบาล ของชาวจีนโพ้นทะเลของประเทศสยาม ช่วยเหลือทหารจีนในการรบกับญี่ปุ่น ในที่สุดคณะของนายสงวน ก็เดินทางไปถึงจุงกิงเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๖ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลเจียงไคเช็ค พร้อมกับที่ ม.ล. ขาบ กุญชร เข้าหารือกับนาวาเอก มิลตัน ไมล์ แห่ง O.S.S. คณะของนายสงวนได้พบกับ จำกัด พลางกูร แต่หลังจากนั้นไม่นานจำกัด ก็ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้และเสียชีวิตในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๘๖
หลังจากนั้นนายสงวนและนายแดงได้เดินทางต่อไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่อนำข้อเสนอทั้ง ๔ ข้อที่จำกัดได้รับมอบหมายจากเมืองไทย โดยที่ครอบครัวของนายสงวน คือ นางบุญมา ภริยาและบุตรทั้งสองจะต้องอยู่ที่จุงกิงต่อ ขณะที่ กระจ่าง ตุลารักษ์ ต้องเดินทางกลับมาเตรียมปฏิบัติการในประเทศไทย
ถ้านับว่าความพยายามที่จะติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรในต่างประเทศเป็นความยากลำบากแล้ว ความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า มีขบวนเสรีไทยเกิดขึ้นจริงในประเทศ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากยิ่งกว่า เพราะในสถานการณ์สงครามนั้นไม่มีใครสามารถไว้ใจใครได้ แม้แต่คนไทยด้วยกันเองก็ยังมีความระแวงกันเป็นอย่างมาก
ทว่าภารกิจที่คณะผู้แทนจากในประเทศได้รับมา ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตร ยอมรับการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นโดยทันที แต่ก็เปิดช่องให้เจรจากันมากขึ้น และเป็นครั้งแรกที่เสรีไทยในสหรัฐฯ และอังกฤษได้รับทราบว่าเมืองไทยมีขบวนการเสรีไทยขึ้น
การออกเดินทางไปจุงกิงของ จำกัด พลางกูร พร้อมกับ ไพศาล ตระกูลลี้ ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ แม้ว่าจะไปถึงจุงกิงเมื่อเดือนเมษายน แต่จากการที่ไม่เคยมีการติดต่อกัน ระหว่างขบวนการเสรีไทยในประเทศกับฝ่ายสัมพันธมิตร หรือแม้แต่ขบวนการเสรีไทยนอกประเทศ ทำให้จำกัดต้องถูกทางการจีนควบคุมตัวไว้ และเมื่อทางการจีนสอบถามไปยัง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ก็ไม่ได้รับคำยืนยันสถานภาพของจำกัด ทำให้การเดินทางไปถึงจุงกิงของจำกัดยังไม่ประสบผลในเบื้องต้น และไม่สามารถติดต่อกลับเมืองไทยได้อีกด้วย
ขณะที่เสรีไทยสายอังกฤษ คือ ม.จ. ศุภสวัสดิ์ฯ กับเสรีไทยสายอเมริกา ม.ล. ขาบ กุญชร แม้ว่าจะอยู่ที่จุงกิงแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้พบกับนายจำกัด ทั้งนี้เนื่องมาจากการเมืองภายในของประเทศไทยเอง ทำให้การประสานงานของเสรีไทยสายต่าง ๆ ต้องล่าช้าออกไป
กรกฎาคม ๒๔๘๖ ปรีดี พนมยงค์ ได้ส่ง สงวน ตุลารักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนายการโรงงานยาสูบ พร้อมครอบครัว และ แดง คุณะดิลก เจ้าหน้าที่สถานทูต เดินทางไปจุงกิง โดยอ้างว่าจะเดินทางไปซื้อเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น คณะของสงวนแก้ปัญหาการที่ไม่มีผู้รับรองสถานภาพของตน ด้วยการติดต่อไปยังหมอล้วน ว่องวานิช เจ้าของห้างขายยาอังกฤษตรางู ซึ่งขณะนั้นได้มาจัดตั้งหน่วยพยาบาล ของชาวจีนโพ้นทะเลของประเทศสยาม ช่วยเหลือทหารจีนในการรบกับญี่ปุ่น ในที่สุดคณะของนายสงวน ก็เดินทางไปถึงจุงกิงเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๖ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลเจียงไคเช็ค พร้อมกับที่ ม.ล. ขาบ กุญชร เข้าหารือกับนาวาเอก มิลตัน ไมล์ แห่ง O.S.S. คณะของนายสงวนได้พบกับ จำกัด พลางกูร แต่หลังจากนั้นไม่นานจำกัด ก็ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้และเสียชีวิตในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๘๖
หลังจากนั้นนายสงวนและนายแดงได้เดินทางต่อไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่อนำข้อเสนอทั้ง ๔ ข้อที่จำกัดได้รับมอบหมายจากเมืองไทย โดยที่ครอบครัวของนายสงวน คือ นางบุญมา ภริยาและบุตรทั้งสองจะต้องอยู่ที่จุงกิงต่อ ขณะที่ กระจ่าง ตุลารักษ์ ต้องเดินทางกลับมาเตรียมปฏิบัติการในประเทศไทย
ถ้านับว่าความพยายามที่จะติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรในต่างประเทศเป็นความยากลำบากแล้ว ความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า มีขบวนเสรีไทยเกิดขึ้นจริงในประเทศ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากยิ่งกว่า เพราะในสถานการณ์สงครามนั้นไม่มีใครสามารถไว้ใจใครได้ แม้แต่คนไทยด้วยกันเองก็ยังมีความระแวงกันเป็นอย่างมาก
ทว่าภารกิจที่คณะผู้แทนจากในประเทศได้รับมา ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตร ยอมรับการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นโดยทันที แต่ก็เปิดช่องให้เจรจากันมากขึ้น และเป็นครั้งแรกที่เสรีไทยในสหรัฐฯ และอังกฤษได้รับทราบว่าเมืองไทยมีขบวนการเสรีไทยขึ้น
No comments:
Post a Comment