เสรีไทยสายอเมริกา
"ประเทศไทยและคนไทยทุกคนเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและจะขอความร่วมมือจากอเมริกาต่อต้านการบีบบังคับรุกรานจากญี่ปุ่น"
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้เข้าพบนายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ในฐานะประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่น
ภายหลังจากทราบข่าวการยินยอมให้ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ในประเทศไทยมีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ต่อต้านญี่ปุ่น การยินยอมต่อญี่ปุ่นนั้น เป็นเพียงการตัดสินใจของรัฐบาลเท่านั้น
ต่อมา ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้แถลงต่อหนังสือพิมพ์และส่งโทรเลขมายังรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ว่า สถานทูตที่วอชิงตันจะทำตามคำสั่งของรัฐบาลเฉพาะที่เห็นว่าไม่ใช่เป็นคำสั่งที่ญี่ปุ่นสั่งให้ทำเท่านั้น
สถานการณ์ยิ่งแล้วร้ายลงเรื่อย ๆ เมื่อรัฐบาลประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๘๕ แต่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช แจ้งให้สื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกาได้ทราบว่า ได้เก็บคำประกาศสงครามไว้ในกระเป๋าเสื้อ ขณะเข้าพบกับนายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อว่าการประกาศสงครามของรัฐบาล มิได้เป็นไปตามเจตนาของประชาชนไทย
แม้ว่าในความจริงรัฐบาลไทยจะแจ้งการประกาศสงครามให้แก่กงสุลสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงเทพฯ ได้รับทราบ ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์ของอังกฤษและอเมริกา ซึ่งในทางการทูตถือว่าการประกาศสงครามสมบูรณ์แล้ว แต่รัฐบาลอเมริกาไม่รับรู้การประกาศสงครามของประเทศไทย เนื่องจากถือว่าประเทศไทยเป็นดินแดนที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง
รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ข้าราชการและนักเรียนไทยในสหรัฐฯ เดินทางกลับระหว่างแลกเปลี่ยนเชลยกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ปรากฏว่ามีคนไทยเดินทางกลับเพียง ๑๘ คน ยังเหลือข้าราชการสถานทูตและนักเรียนไทยอยู่ในสหรัฐฯ และแคนาดาจำนวน ๘๒ คน
๔ มีนาคม ๒๔๘๕ สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกาได้ออกหนังสือเวียนเรื่องการแบ่งงานของ "คณะไทยอิสระ"
"แผนกที่หนึ่ง หน้าที่ของข้าราชการสถานทูต ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูต มีหน้าที่เจรจากับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านการเมือง ม.ล. ขาบ กุญชร มีหน้าที่เจรจากับเจ้าหน้าที่ด้านการทหาร หลวงดิษฐการภักดี มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน นายมณี สาณะเสน ร่างตรวจแก้เอกสารที่จะออกจากสถานทูต นายอนันต์ จินตกานนท์ พิมพ์และจเรทั่วไป
แผนกที่สอง ดำเนินงานด้านการเมือง เน้นหนักในเรื่องสถานทูต จะต้องคอยติดต่อรักษาความเห็นอกเห็นใจจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
แผนกที่สาม งานสร้างชาติใหม่ เพื่อกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติ
แผนกที่สี่ งานช่วยเหลือคนไทย จัดทำบัญชีการได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยเพื่อตอบแทนความดี ความรักชาติ"
"ประเทศไทยและคนไทยทุกคนเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและจะขอความร่วมมือจากอเมริกาต่อต้านการบีบบังคับรุกรานจากญี่ปุ่น"
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้เข้าพบนายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ในฐานะประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่น
ภายหลังจากทราบข่าวการยินยอมให้ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ในประเทศไทยมีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ต่อต้านญี่ปุ่น การยินยอมต่อญี่ปุ่นนั้น เป็นเพียงการตัดสินใจของรัฐบาลเท่านั้น
ต่อมา ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้แถลงต่อหนังสือพิมพ์และส่งโทรเลขมายังรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ว่า สถานทูตที่วอชิงตันจะทำตามคำสั่งของรัฐบาลเฉพาะที่เห็นว่าไม่ใช่เป็นคำสั่งที่ญี่ปุ่นสั่งให้ทำเท่านั้น
สถานการณ์ยิ่งแล้วร้ายลงเรื่อย ๆ เมื่อรัฐบาลประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๘๕ แต่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช แจ้งให้สื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกาได้ทราบว่า ได้เก็บคำประกาศสงครามไว้ในกระเป๋าเสื้อ ขณะเข้าพบกับนายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อว่าการประกาศสงครามของรัฐบาล มิได้เป็นไปตามเจตนาของประชาชนไทย
แม้ว่าในความจริงรัฐบาลไทยจะแจ้งการประกาศสงครามให้แก่กงสุลสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงเทพฯ ได้รับทราบ ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์ของอังกฤษและอเมริกา ซึ่งในทางการทูตถือว่าการประกาศสงครามสมบูรณ์แล้ว แต่รัฐบาลอเมริกาไม่รับรู้การประกาศสงครามของประเทศไทย เนื่องจากถือว่าประเทศไทยเป็นดินแดนที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง
รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ข้าราชการและนักเรียนไทยในสหรัฐฯ เดินทางกลับระหว่างแลกเปลี่ยนเชลยกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ปรากฏว่ามีคนไทยเดินทางกลับเพียง ๑๘ คน ยังเหลือข้าราชการสถานทูตและนักเรียนไทยอยู่ในสหรัฐฯ และแคนาดาจำนวน ๘๒ คน
๔ มีนาคม ๒๔๘๕ สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกาได้ออกหนังสือเวียนเรื่องการแบ่งงานของ "คณะไทยอิสระ"
"แผนกที่หนึ่ง หน้าที่ของข้าราชการสถานทูต ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูต มีหน้าที่เจรจากับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านการเมือง ม.ล. ขาบ กุญชร มีหน้าที่เจรจากับเจ้าหน้าที่ด้านการทหาร หลวงดิษฐการภักดี มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน นายมณี สาณะเสน ร่างตรวจแก้เอกสารที่จะออกจากสถานทูต นายอนันต์ จินตกานนท์ พิมพ์และจเรทั่วไป
แผนกที่สอง ดำเนินงานด้านการเมือง เน้นหนักในเรื่องสถานทูต จะต้องคอยติดต่อรักษาความเห็นอกเห็นใจจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
แผนกที่สาม งานสร้างชาติใหม่ เพื่อกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติ
แผนกที่สี่ งานช่วยเหลือคนไทย จัดทำบัญชีการได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยเพื่อตอบแทนความดี ความรักชาติ"
No comments:
Post a Comment