อธิปไตยพระราชทาน
จากหนังสือ “สุพจน์ ด่านตระกูล โต้ ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ”
ในหนังสือ “พระราชอำนาจ” ของประมวล หน้า ๔๐-๔๑ ประมวลฯ ได้ยกขึ้นมาอ้างว่าเป็นพระราชดำริของพระปกเกล้าฯ แต่ความจริงคือ ข้อเรียกร้องของพระองค์ต่อรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งในเวลานั้นพระองค์ประทับอยู่ในอังกฤษ พระองค์อ้างว่าเสด็จไปรักษาพระเนตร การเสด็จออกนอกประเทศของพระองค์ในครั้งนั้น ในทางเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปก็คือ เสด็จไปรักษาพระเนตรซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริง แต่เป็นข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลักก็คือทรงออกไปตั้งป้อมต่อสู้ทางการเมืองกับรัฐบาลพระยาพหลฯ การตั้งป้อมนอกประเทศต่อสู้กับรัฐบาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีทางเลือกอยู่ ๒ ทาง ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดขึ้นมาด้วยขัตติยะมานะของพระองค์เอง
ทางหนึ่งคือถ้ารัฐบาลยอมคล้อยตามความประสงค์ของพระองค์ในทางการเมือง ในทุกกรณีที่พระองค์ทรงตั้งเงื่อนไข พระองค์ก็จะเสด็จกลับประเทศและทรงเป็นพระประมุขต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลไม่ยอมตามพระประสงค์ของพระองค์ พระองค์จะทรงสละราชสมบัติ และพระองค์ก็ได้ทรงใช้กลยุทธสละราชสมบัติเป็นเครื่องมือต่อสู้กับรัฐบาลตั้งแต่วาระแรกจนถึงวาระสุดท้าย ดังพระราชโทรเลขของพระองค์ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์(กรมพระนริศฯ) เพื่อแจ้งให้รัฐบาลทราบ (หนังสือ ที่ ๖/๕๘ กรมเลขานุการในพระองค์ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๗) มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ฉันได้รับพระราชโทรเลขทรงปรารภถึงการงานอันได้ทรงปฏิบัติติดต่อกับรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรตามเวลาที่ล่วงมาแล้ว สังเกตเห็นปรากฏแนในพระราชหฤทัยว่า รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยมากรู้สึกแน่ใจว่า ไม่จำเป็นจะต้องประนีประนอมต่อพระองค์ไม่ว่าในเรื่องใดๆ ดูที่จะขัดพระราชดำริเสียทุกอย่าง...”
“ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระองค์ไม่ควรจะดำรงราชสมบัติอยู่สืบไป เพราะไม่เป็นประโยชน์ที่จะปกปักรักษาผู้หนึ่งผู้ใดได้เลยแล้ว จึงสมัครพระราชหฤทัย จะทรงสละราชสมบัติ..”
หลังจากที่รัฐบาลได้รับแจ้งพระราชดำริเช่นนั้นแล้ว จึงได้มีหนังสือ สำนักนายกรัฐมนตรี วังปารุสวัน ที่ ก.๗๐๑๗/๒๔๗๗ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ กราบบังคมทูลมีความตอนหนึ่งดังนี้
“...โดยที่ยังไม่ทราบเกล้าฯ ในพระราชประสงค์เป็นข้อๆ ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง ถ้าหากจะมีโทรเลขหรือหนังสือไปมาเพื่อทำการชี้แจงและตกลงในข้อราชการที่กล่าวนั้น ก็เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะกราบบังคมทูลชี้แจงข้อเท็จจริง และความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยละเอียดละออ ให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยไม่ได้ดีกว่ากับที่จะได้กราบบังคมทูลพระกรุณาด้วยวาจา จึงตกลงเชิญเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และให้นายนาวาตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรี ไปเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูล ชี้แจงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในข้อราชการต่างๆ”
พระราชดำริประการต่อมา ประมวล รุจนเสรี ได้เขียนไว้ดังนี้
“ประการที่สอง ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ยังมิได้เป็นผู้แทนของราษฎรอย่างแท้จริง กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชน ควรจะได้สอบถามประชาชนหรือต้องใช้เสียงข้างมากถึง ๒ ใน ๓ หรือ ๓ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด หรือต้องยุบสภา”
ในประเด็นนี้ ตามคำขอครั้งหลังสุดระบุว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงทักท้วงพระราชบัญญัติฉบับใดลงมา (มาตรา ๓๙) ให้สภาผู้แทนราษฎรต้องยุบไปเองโดย อัตโนมัติ หมายถึงยุบตัวเองโดยไม่ต้องมีพระบรมราชโองการและผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันประชุมที่อ้างถึงข้างต้นว่า “การที่จะให้สภาผู้แทนราษฎรต้องยุบไปเองโดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ทรงทักท้วงพระราชบัญญัติฉบับใดลงมานั้น เห็นว่าตามระบอบรัฐธรรมนูญทำเช่นนั้นไม่ได้” (เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร)
ในหนังสือ “พระราชอำนาจ” ของประมวล หน้า ๔๐-๔๑ ประมวลฯ ได้ยกขึ้นมาอ้างว่าเป็นพระราชดำริของพระปกเกล้าฯ แต่ความจริงคือ ข้อเรียกร้องของพระองค์ต่อรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งในเวลานั้นพระองค์ประทับอยู่ในอังกฤษ พระองค์อ้างว่าเสด็จไปรักษาพระเนตร การเสด็จออกนอกประเทศของพระองค์ในครั้งนั้น ในทางเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปก็คือ เสด็จไปรักษาพระเนตรซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริง แต่เป็นข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลักก็คือทรงออกไปตั้งป้อมต่อสู้ทางการเมืองกับรัฐบาลพระยาพหลฯ การตั้งป้อมนอกประเทศต่อสู้กับรัฐบาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีทางเลือกอยู่ ๒ ทาง ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดขึ้นมาด้วยขัตติยะมานะของพระองค์เอง
ทางหนึ่งคือถ้ารัฐบาลยอมคล้อยตามความประสงค์ของพระองค์ในทางการเมือง ในทุกกรณีที่พระองค์ทรงตั้งเงื่อนไข พระองค์ก็จะเสด็จกลับประเทศและทรงเป็นพระประมุขต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลไม่ยอมตามพระประสงค์ของพระองค์ พระองค์จะทรงสละราชสมบัติ และพระองค์ก็ได้ทรงใช้กลยุทธสละราชสมบัติเป็นเครื่องมือต่อสู้กับรัฐบาลตั้งแต่วาระแรกจนถึงวาระสุดท้าย ดังพระราชโทรเลขของพระองค์ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์(กรมพระนริศฯ) เพื่อแจ้งให้รัฐบาลทราบ (หนังสือ ที่ ๖/๕๘ กรมเลขานุการในพระองค์ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๗) มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ฉันได้รับพระราชโทรเลขทรงปรารภถึงการงานอันได้ทรงปฏิบัติติดต่อกับรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรตามเวลาที่ล่วงมาแล้ว สังเกตเห็นปรากฏแนในพระราชหฤทัยว่า รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยมากรู้สึกแน่ใจว่า ไม่จำเป็นจะต้องประนีประนอมต่อพระองค์ไม่ว่าในเรื่องใดๆ ดูที่จะขัดพระราชดำริเสียทุกอย่าง...”
“ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระองค์ไม่ควรจะดำรงราชสมบัติอยู่สืบไป เพราะไม่เป็นประโยชน์ที่จะปกปักรักษาผู้หนึ่งผู้ใดได้เลยแล้ว จึงสมัครพระราชหฤทัย จะทรงสละราชสมบัติ..”
หลังจากที่รัฐบาลได้รับแจ้งพระราชดำริเช่นนั้นแล้ว จึงได้มีหนังสือ สำนักนายกรัฐมนตรี วังปารุสวัน ที่ ก.๗๐๑๗/๒๔๗๗ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ กราบบังคมทูลมีความตอนหนึ่งดังนี้
“...โดยที่ยังไม่ทราบเกล้าฯ ในพระราชประสงค์เป็นข้อๆ ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง ถ้าหากจะมีโทรเลขหรือหนังสือไปมาเพื่อทำการชี้แจงและตกลงในข้อราชการที่กล่าวนั้น ก็เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะกราบบังคมทูลชี้แจงข้อเท็จจริง และความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยละเอียดละออ ให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยไม่ได้ดีกว่ากับที่จะได้กราบบังคมทูลพระกรุณาด้วยวาจา จึงตกลงเชิญเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และให้นายนาวาตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรี ไปเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูล ชี้แจงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในข้อราชการต่างๆ”
พระราชดำริประการต่อมา ประมวล รุจนเสรี ได้เขียนไว้ดังนี้
“ประการที่สอง ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ยังมิได้เป็นผู้แทนของราษฎรอย่างแท้จริง กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชน ควรจะได้สอบถามประชาชนหรือต้องใช้เสียงข้างมากถึง ๒ ใน ๓ หรือ ๓ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด หรือต้องยุบสภา”
ในประเด็นนี้ ตามคำขอครั้งหลังสุดระบุว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงทักท้วงพระราชบัญญัติฉบับใดลงมา (มาตรา ๓๙) ให้สภาผู้แทนราษฎรต้องยุบไปเองโดย อัตโนมัติ หมายถึงยุบตัวเองโดยไม่ต้องมีพระบรมราชโองการและผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันประชุมที่อ้างถึงข้างต้นว่า “การที่จะให้สภาผู้แทนราษฎรต้องยุบไปเองโดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ทรงทักท้วงพระราชบัญญัติฉบับใดลงมานั้น เห็นว่าตามระบอบรัฐธรรมนูญทำเช่นนั้นไม่ได้” (เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร)
No comments:
Post a Comment