อินโดจีนตอนล่างและ ลังกาสุกะ
ต่อจากนั้น ใต้ลงไป ก็ถึงแผ่นดินที่เรียกว่า แหลมมลายู ซึ่งมีหลักฐานว่าได้เกิดอาณาจักรที่นับถือพระพุทธศาสนาขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๖๕๐ เรียกกันมาว่าอาณาจักรลังกาสุกะ
เป็นธรรมดาว่า “อาณาจักรเยี่ยงอย่างอินเดีย” หรือ Indianized kingdom เหล่านี้จะตั้งชื่อเป็นภาษาจำพวกสันสกฤต ตามอย่างชื่อรัฐหรือเมืองในชมพูทวีปเป็นที่ถิ่นเดิมของตน หรือที่ตนชื่นชอบ แต่เนื่องจากผ่านกาลเวลามานานมาก คำเรียกนั้น ก็กร่อนเหรือเพี้ยนไป จนส่วนมากยากที่จะระบุชื่อเดิมที่แท้จริงได้
ตัวอย่างในเรื่องการกร่อนของคำทำให้สืบสาวชื่อดั้งเดิมได้ยาก คือ เมืองในดินแดนแถบนี้ ที่ชื่อเดิมมีคำว่า “สิงห” หลายเมือง กว่าจะถึงปัจจุบันได้กลายเป็น “สิงค” ไปเป็นส่วนมาก เช่นอาณาจักรสิงหสารี(ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเรียก สิงหัดส่าหรี)ในชวาตะวันออกที่เป็นต้นดังเดิมของอาณาจักรมัชปาหิต ปรากฏในตำราปัจจุบันเป็น Singhasari บ้าง เป็น Singasari บ้าง Singosari บ้าง ส่วนเมืองสิงหปุระกลายมาเป็นสิงคโปร์ Singapore
ลังกาสุกะนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าชื่อเดิมแท้คืออะไร รูปคำที่เขียนก็มีแผกกันหลายอย่าง บางท่านว่า ลังกาสุกะอาจจะเป็น อาณาจักร อิลังกาโสกะ (Ilangasoka) ที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า ในยุคต่อมา(อีกนานหลายศตวรรษ)พระเจ้าราเชนทร์ แห่งอาณาจักรโจละ ในอินเดียใต้ได้ปราบอิลังกาโสกะลงในคราวยกทัพมาทำสงครามกับอาณาจักรศรีวิชัย เพื่อชำระเส้นทางพาฌิชย์ ให้ทางฝ่ายอินเดียค้าขายกับเมืองจีนได้สะดวกโดยไม่ถูกแทรกแซง แต่ต่อมาโจละก็ชนะศรีวิชัยใน พ.ศ.๑๕๖๘
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะนี้ ยังพูดได้เพียงกว้างๆ ว่าอยู่ในส่วนเหนือของแหลมมลายู แต่ไม่ลงตัวว่าเป็นจุดใดแน่
นิทานปรัมปราสืบมาในมาเลเซียเล่าว่า ราชาผู้สร้างอาณาจักร ลังกาสุกะ มาจากชมพูทวีปเมื่อ ค.ศ.๑๐๐ เศษ ใกล้เคียงกับ พ.ศ.๗๐๐ มีพระนามที่เรียกสั้นๆว่า พระเจ้ามหาวังสะ
ลังกาสุกะนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ๑๑๐๐-๑๓๐๐ ปี จึงถึงยุคของศาสนาอิสลาม ราชาองค์แรกที่เปลี่ยนไปนับถืออิสลาม ตามตำนานที่พบใช้พระนามว่า “สุลต่าน อิสมาอิล ชาห์”
อนึ่งตามตำนานฝ่ายมาเลเซีย อาณาจักรลังกาสุกะนั้น อยู่ทางฝั่งตะวันตก ลึกเข้าไปในป่าเขาของรัฐเคดาห์ (Kedah) ที่เรียกตามภาษาสันสกฤต แล้วได้ขยายมาทางตะวันออกจนออกทะเลที่ ปัตตานี
แต่ตามบันทึกของฝ่ายจีนว่า ลังกาสุกะ ตั้งอยู่ที่ฝั่งทะเลด้านตะวันออก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจีนมาพบโดยการติดต่อค้าขาย เมื่อลังกาสุกะขยายมาถึงฝั่งทะเลตะวันออกนั้นแล้ว
บางตำราบอกสั้นๆ ว่า ลังกาสุกะตั้งอยู่ใกล้ปัตตานี บางท่านอ้างว่าอยู่ที่ปัตตานีเลยทีเดียว !
คำว่าปัตตานีเองก็น่าที่จะศึกษา นักประวัติศาสตร์เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษใช้ว่า Pattani บ้าง Patani บ้าง และมีการสันนิษฐานกันมาต่างๆ ว่าจะเพื้ยนมาจากคำโน้นคำนี้ ซึ่งก็ไม่ยุติ คงจะได้รับฟังกันต่อไป นอกจากนั้น มีข้อน่ารู้ว่า ถิ่นฐานแห่งหนึ่งในมาลุกุ หรือหมู่เกาะโมลุกกะของอินโดนีเซียก็มีชื่อว่า Patani ด้วย
หนังสือ The Hutchinson Dictionary of World History (๑๙๙๙) บอกหนักแน่นว่า ในช่วงสมัยหนึ่ง เคดาห์ (Kedah ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งในมาเลเซีย) สิงโครา (Singgora คือ สงขลา) และ ลิคอร์ (Ligor คือ นครศรีธรรมราช) เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรพุทธศาสนายุคโบราณชื่อ ลังกาสุกะ
ย้อนกับไปสู่ยุคต้นๆ อีกว่า หลังจากตั้งขึ้นและเจริญมาเพียงศตวรรษเศษ ลังกาสุกะ ซึ่งมีคนเชื้อสายมอญ-เขมรเป็นพื้น ได้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนัน(ในแดนเขมร) ซึ่งก็นับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
หลังจากถูกฟูนันปกครองราว ๓๐๐ ปี เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มลงในคริสตวรรษที่ ๖ ลังกาสุกะเป็นอิสระขึ้นมาได้ แต่ไม่นานนัก ซึ่งไม่สามารถระบุเวลาได้ชัดเจนแต่อยู่ช่วงประมาณก่อน ค.ศ.๘๐๐ หรือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔๗ ลังกาสุกะ ก็เช่นเดียวกับดินแดนอื่นส่วนมากบนแหลมมลายู ต้องขึ้นต่ออาณาจักรศรีวิชัยอันยิ่งใหญ่ ที่แผ่อำนาจมาจากสุมาตรา (ปัจจุบันอยู่ในอินโดนีเซีย)
ดินแดนบนแหลมมลายูเหล่านี้ รวมทั้งลังกาสุกะ อยู่ใต้อำนาจของศรีวิชัยมาหลายศตวรรษ จนกระทั่งศรีวิชัยเลื่อมลง จึงพากันเป็นอิสระได้แต่แล้วก็เข้าสู่ยุคที่ มัชปาหิต ขึ้นมาเป็นใหญ่อีก
นักประวัติศาสตร์ยังมีมติไม่ลงกันเด็ดขาดว่า มัชปาหิตได้คุมอำนาจในดินแดนแถบนี้แค่ใด บางมติถึงกับบอกว่า แผ่นดินแหลมมลายูทั้งหมดถูกมัชปาหิตทำลาย แต่ไม่ได้เข้าครอบครอง อาจเป็นได้ว่ามัชปาหิตไม่ได้เข้าครองเอง แต่เอาเป็นเมืองขึ้น หลักฐานที่มักอ้างกันก็คือพงศาวดารของชวาชื่อ “นครกฤตาคม” ที่แต่งในปี ค.ศ.๑๓๖๕
ลังกาสุกะปรากฏชื่อครั้งสุดท้าย ในพงศาวดารนครกฤตาคม (Nagarakartagama) อันว่าด้วยสงครามระหว่าง ศรีวิชัย กับ มัชปาหิต แล้วก็หายไปจากประวัติศาสตร์
นครกฤตาคมนั้น กล่าวถึงลังกาสุกะในฐานะเป็นรัฐหนึ่งบนฝั่งทะเลด้านตะวันตก ซึ่งขึ้นต่ออำนาจของมัชปาหิต (อาจเป็นได้ว่าเวลานั้นอยู่ในระยะช่วงชิงอำนาจกัน จึงต่างอ้างความเป็นใหญ่)
ต่อจากมัชปาหิต ก็ถึงยุคของรัฐสุลต่านแห่งมะละกา ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในครึ่งหลังของ คริสตศตวรรษที่ ๑๕ โดยได้คุมดินแดนแหลมมลายูทั้งหมด ตลอดไปจนถึงสุมาตราตะวันออกส่วนใหญ่
ถึงตอนนี้ ไม่ว่าลังกาสุกะจะยังอยู่หรือไม่ หรือจะได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรแล้วก็ตาม ถิ่นแดนนั้นก็คงเป็นอันได้อยู่ใต้กำกับของมะละกานี้
เป็นธรรมดาว่า “อาณาจักรเยี่ยงอย่างอินเดีย” หรือ Indianized kingdom เหล่านี้จะตั้งชื่อเป็นภาษาจำพวกสันสกฤต ตามอย่างชื่อรัฐหรือเมืองในชมพูทวีปเป็นที่ถิ่นเดิมของตน หรือที่ตนชื่นชอบ แต่เนื่องจากผ่านกาลเวลามานานมาก คำเรียกนั้น ก็กร่อนเหรือเพี้ยนไป จนส่วนมากยากที่จะระบุชื่อเดิมที่แท้จริงได้
ตัวอย่างในเรื่องการกร่อนของคำทำให้สืบสาวชื่อดั้งเดิมได้ยาก คือ เมืองในดินแดนแถบนี้ ที่ชื่อเดิมมีคำว่า “สิงห” หลายเมือง กว่าจะถึงปัจจุบันได้กลายเป็น “สิงค” ไปเป็นส่วนมาก เช่นอาณาจักรสิงหสารี(ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเรียก สิงหัดส่าหรี)ในชวาตะวันออกที่เป็นต้นดังเดิมของอาณาจักรมัชปาหิต ปรากฏในตำราปัจจุบันเป็น Singhasari บ้าง เป็น Singasari บ้าง Singosari บ้าง ส่วนเมืองสิงหปุระกลายมาเป็นสิงคโปร์ Singapore
ลังกาสุกะนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าชื่อเดิมแท้คืออะไร รูปคำที่เขียนก็มีแผกกันหลายอย่าง บางท่านว่า ลังกาสุกะอาจจะเป็น อาณาจักร อิลังกาโสกะ (Ilangasoka) ที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า ในยุคต่อมา(อีกนานหลายศตวรรษ)พระเจ้าราเชนทร์ แห่งอาณาจักรโจละ ในอินเดียใต้ได้ปราบอิลังกาโสกะลงในคราวยกทัพมาทำสงครามกับอาณาจักรศรีวิชัย เพื่อชำระเส้นทางพาฌิชย์ ให้ทางฝ่ายอินเดียค้าขายกับเมืองจีนได้สะดวกโดยไม่ถูกแทรกแซง แต่ต่อมาโจละก็ชนะศรีวิชัยใน พ.ศ.๑๕๖๘
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะนี้ ยังพูดได้เพียงกว้างๆ ว่าอยู่ในส่วนเหนือของแหลมมลายู แต่ไม่ลงตัวว่าเป็นจุดใดแน่
นิทานปรัมปราสืบมาในมาเลเซียเล่าว่า ราชาผู้สร้างอาณาจักร ลังกาสุกะ มาจากชมพูทวีปเมื่อ ค.ศ.๑๐๐ เศษ ใกล้เคียงกับ พ.ศ.๗๐๐ มีพระนามที่เรียกสั้นๆว่า พระเจ้ามหาวังสะ
ลังกาสุกะนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ๑๑๐๐-๑๓๐๐ ปี จึงถึงยุคของศาสนาอิสลาม ราชาองค์แรกที่เปลี่ยนไปนับถืออิสลาม ตามตำนานที่พบใช้พระนามว่า “สุลต่าน อิสมาอิล ชาห์”
อนึ่งตามตำนานฝ่ายมาเลเซีย อาณาจักรลังกาสุกะนั้น อยู่ทางฝั่งตะวันตก ลึกเข้าไปในป่าเขาของรัฐเคดาห์ (Kedah) ที่เรียกตามภาษาสันสกฤต แล้วได้ขยายมาทางตะวันออกจนออกทะเลที่ ปัตตานี
แต่ตามบันทึกของฝ่ายจีนว่า ลังกาสุกะ ตั้งอยู่ที่ฝั่งทะเลด้านตะวันออก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจีนมาพบโดยการติดต่อค้าขาย เมื่อลังกาสุกะขยายมาถึงฝั่งทะเลตะวันออกนั้นแล้ว
บางตำราบอกสั้นๆ ว่า ลังกาสุกะตั้งอยู่ใกล้ปัตตานี บางท่านอ้างว่าอยู่ที่ปัตตานีเลยทีเดียว !
คำว่าปัตตานีเองก็น่าที่จะศึกษา นักประวัติศาสตร์เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษใช้ว่า Pattani บ้าง Patani บ้าง และมีการสันนิษฐานกันมาต่างๆ ว่าจะเพื้ยนมาจากคำโน้นคำนี้ ซึ่งก็ไม่ยุติ คงจะได้รับฟังกันต่อไป นอกจากนั้น มีข้อน่ารู้ว่า ถิ่นฐานแห่งหนึ่งในมาลุกุ หรือหมู่เกาะโมลุกกะของอินโดนีเซียก็มีชื่อว่า Patani ด้วย
หนังสือ The Hutchinson Dictionary of World History (๑๙๙๙) บอกหนักแน่นว่า ในช่วงสมัยหนึ่ง เคดาห์ (Kedah ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งในมาเลเซีย) สิงโครา (Singgora คือ สงขลา) และ ลิคอร์ (Ligor คือ นครศรีธรรมราช) เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรพุทธศาสนายุคโบราณชื่อ ลังกาสุกะ
ย้อนกับไปสู่ยุคต้นๆ อีกว่า หลังจากตั้งขึ้นและเจริญมาเพียงศตวรรษเศษ ลังกาสุกะ ซึ่งมีคนเชื้อสายมอญ-เขมรเป็นพื้น ได้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนัน(ในแดนเขมร) ซึ่งก็นับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
หลังจากถูกฟูนันปกครองราว ๓๐๐ ปี เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มลงในคริสตวรรษที่ ๖ ลังกาสุกะเป็นอิสระขึ้นมาได้ แต่ไม่นานนัก ซึ่งไม่สามารถระบุเวลาได้ชัดเจนแต่อยู่ช่วงประมาณก่อน ค.ศ.๘๐๐ หรือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔๗ ลังกาสุกะ ก็เช่นเดียวกับดินแดนอื่นส่วนมากบนแหลมมลายู ต้องขึ้นต่ออาณาจักรศรีวิชัยอันยิ่งใหญ่ ที่แผ่อำนาจมาจากสุมาตรา (ปัจจุบันอยู่ในอินโดนีเซีย)
ดินแดนบนแหลมมลายูเหล่านี้ รวมทั้งลังกาสุกะ อยู่ใต้อำนาจของศรีวิชัยมาหลายศตวรรษ จนกระทั่งศรีวิชัยเลื่อมลง จึงพากันเป็นอิสระได้แต่แล้วก็เข้าสู่ยุคที่ มัชปาหิต ขึ้นมาเป็นใหญ่อีก
นักประวัติศาสตร์ยังมีมติไม่ลงกันเด็ดขาดว่า มัชปาหิตได้คุมอำนาจในดินแดนแถบนี้แค่ใด บางมติถึงกับบอกว่า แผ่นดินแหลมมลายูทั้งหมดถูกมัชปาหิตทำลาย แต่ไม่ได้เข้าครอบครอง อาจเป็นได้ว่ามัชปาหิตไม่ได้เข้าครองเอง แต่เอาเป็นเมืองขึ้น หลักฐานที่มักอ้างกันก็คือพงศาวดารของชวาชื่อ “นครกฤตาคม” ที่แต่งในปี ค.ศ.๑๓๖๕
ลังกาสุกะปรากฏชื่อครั้งสุดท้าย ในพงศาวดารนครกฤตาคม (Nagarakartagama) อันว่าด้วยสงครามระหว่าง ศรีวิชัย กับ มัชปาหิต แล้วก็หายไปจากประวัติศาสตร์
นครกฤตาคมนั้น กล่าวถึงลังกาสุกะในฐานะเป็นรัฐหนึ่งบนฝั่งทะเลด้านตะวันตก ซึ่งขึ้นต่ออำนาจของมัชปาหิต (อาจเป็นได้ว่าเวลานั้นอยู่ในระยะช่วงชิงอำนาจกัน จึงต่างอ้างความเป็นใหญ่)
ต่อจากมัชปาหิต ก็ถึงยุคของรัฐสุลต่านแห่งมะละกา ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในครึ่งหลังของ คริสตศตวรรษที่ ๑๕ โดยได้คุมดินแดนแหลมมลายูทั้งหมด ตลอดไปจนถึงสุมาตราตะวันออกส่วนใหญ่
ถึงตอนนี้ ไม่ว่าลังกาสุกะจะยังอยู่หรือไม่ หรือจะได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรแล้วก็ตาม ถิ่นแดนนั้นก็คงเป็นอันได้อยู่ใต้กำกับของมะละกานี้
No comments:
Post a Comment