เตรียมพร้อมปฏิบัติการวัน D-DAY
ผลจากการทำงานอย่างต่อเนื่องตามตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละฝ่าย "ขบวนการเสรีไทย" ที่เรารับรู้กันในปัจจุบันก็รวมตัวกันเป็นขบวนการได้ตั้งแต่ปลายปี ๒๔๘๗ ถึงต้นปี ๒๔๘๘ พร้อม ๆ กับที่ฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้ในยุโรปไล่ไปตั้งแต่การที่เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อสหภาพโซเวียต ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๗ ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยกพลขึ้นบก ที่บริเวณชายฝั่งนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสจากการยึดครองของเยอรมนีได้ ในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๗ เยอรมนีเริ่มประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิสำคัญหลายจุด ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถเข้ามาหนุนช่วยในภาคพื้นเอเชียได้เต็มที่
แต่กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นที่ยึดครองภาคพื้นเอเชียบูรพา ก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่จะยอมแพ้แต่อย่างใด ดังนั้นปฏิบัติการปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ในเดือนมีนาคม ๒๔๘๘ จึงเกิดขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นสืบทราบว่าทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ได้ทำงานช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร
นั่นก็เหมือนเป็นสัญญาณเตือนขบวนการเสรีไทยว่า การที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้มิได้ง่ายดาย เหมือนอย่างที่ใครบางคนคิด เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการเสรีไทยขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๔๘๘ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
ผลจากการทำงานอย่างต่อเนื่องตามตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละฝ่าย "ขบวนการเสรีไทย" ที่เรารับรู้กันในปัจจุบันก็รวมตัวกันเป็นขบวนการได้ตั้งแต่ปลายปี ๒๔๘๗ ถึงต้นปี ๒๔๘๘ พร้อม ๆ กับที่ฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้ในยุโรปไล่ไปตั้งแต่การที่เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อสหภาพโซเวียต ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๗ ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยกพลขึ้นบก ที่บริเวณชายฝั่งนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสจากการยึดครองของเยอรมนีได้ ในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๗ เยอรมนีเริ่มประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิสำคัญหลายจุด ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถเข้ามาหนุนช่วยในภาคพื้นเอเชียได้เต็มที่
แต่กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นที่ยึดครองภาคพื้นเอเชียบูรพา ก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่จะยอมแพ้แต่อย่างใด ดังนั้นปฏิบัติการปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ในเดือนมีนาคม ๒๔๘๘ จึงเกิดขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นสืบทราบว่าทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ได้ทำงานช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร
นั่นก็เหมือนเป็นสัญญาณเตือนขบวนการเสรีไทยว่า การที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้มิได้ง่ายดาย เหมือนอย่างที่ใครบางคนคิด เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการเสรีไทยขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๔๘๘ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
- นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้า
- พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รองหัวหน้าและหัวหน้าฝ่ายตำรวจ
- หลวงสินาด โยธารักษ์ หัวหน้าฝ่ายทหาร
- หลวงสังวรณ์ยุทธกิจ หัวหน้าฝ่ายทหารเรือ และให้ความคุ้มครอง
- นายดิเรก ชัยนาม หัวหน้ากองกลาง
- นายทวี บุณยเกตุ หัวหน้าพลพรรคและผู้ติดต่อกับรัฐบาล
- นายวิจิตร ลุลิตานนท์ หัวหน้ากองกลาง หัวหน้าการเงิน และพลาธิการ
- นายชาญ บุนนาค หัวหน้าสืบราชการลับ วิทยุสื่อสาร การรับส่งคนและจ่ายอาวุธ
- นายทวี ตะเวทิกุล หัวหน้าเศรษฐกิจและการคลัง
- หลวงบรรณกรโกวิท หัวหน้ารับส่งทางเรือ
- นายสะพรั่ง เทพหัสดิน หัวหน้ารับส่งทางบก
- หลวงศุภชลาศัย หัวหน้าอาสาพลเรือน
ต่อมาได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กับพลจัตวา วิคเตอร์ จ๊าค ผู้แทนฝ่ายอังกฤษ และร้อยเอก โฮเวิต ปาลเมอร์ และได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
พื้นที่ทำงานร่วมกับอังกฤษ ได้แก่ อ่างทอง อยุธยา อุทัยธานี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย ชัยภูมิ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชุมพร แพร่ เชียงราย
พื้นที่ทำงานร่วมกันอเมริกา ได้แก่ ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม หนองคาย นครพนม สกลนคร เลย อุบลราชธานี ตาก ลำปาง
หลังจากนั้นก็ได้มีการเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่าวัน D-Day ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะโจมตีญี่ปุ่นพร้อมกันทุกจุด และให้ขบวนการเสรีไทยในประเทศ ออกมาปฏิบัติการพร้อมกัน โดยมีการดำเนินการ คือ
การรับอาวุธจากฝ่ายสัมพันธมิตร
การที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นได้นั้นจำเป็นต้องมีอาวุธที่ทันสมัยพอ ซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรโดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ขบวนการเสรีไทยจะไม่ลุกขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๔๘๘ อาวุธจากฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น
เริ่มต้นจากการขนส่งทางเรือมาทางทะเลบริเวณอ่าวไทย มีเรือของกรมศุลกากร ในความดูแลของหลวงบรรณกรโกวิท รองอธิบดีกรมศุลกากร ออกไปรับแล้วลำเลียงมาไว้ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสรีไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายต่อไป
ต่อมามีการจัดส่งทางอากาศโดยการทิ้งร่มตามเขตรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย มีการนัดหมายกันล่วงหน้าเพื่อรับอาวุธ ท้าวอุ่น ชนะนิกร ผู้ลี้ภัยชาวลาวหลบหนีการปกครองของฝรั่งเศสและเข้าร่วมเป็นเสรีไทยในภาคอีสานร่วมกับ เตียง ศิริขันธ์ ได้บันทึกเรื่องการรับส่งอาวุธไว้ว่า
"การรับและเก็บอาวุธยุทธภัณฑ์เขามาทั้งนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อเขาทิ้งลงนั้น ร่มจะพาอาวุธยุทธภัณฑ์ ไปลงที่ไหนก็ได้ตามแต่กระแสลมจะพัดพาไป บางร่มก็ค้างอยู่บนต้นไม้ ซึ่งพวกเราจำเป็นต้องรวบรวมเอามันมาให้หมด แล้วขนเก็บซ่อนไว้ในถ้ำก่อนจะสว่าง ความยุ่งยากอีกประการหนึ่งคือการทำลายร่มชูชีพ เนื่องจากร่มชูชีพไม่ไหม้ไฟ พวกเราต้องขุดหลุมฝังกันให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำอาวุธไปเก็บ ...อีกอย่างหนึ่งขณะที่พวกเราทำงานอย่างเร่งรีบนั้น จิตใจของพวกเราก็กลัวว่าญี่ปุ่นจะเข้ามาพบเราเข้าอีก"
อาวุธที่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่งให้ขบวนการเสรีไทยนั้น ประกอบด้วย ปืนสั้น (พิสตอล) ปืนยาวใหญ่ (ไรเฟิล) ปืนยาวเล็ก (คาไบน์) ลูกระเบิดมือ (แฮนด์ครีเมต) ปืนครกเบา (แอล มอตาร์) ปืนครกหนัก (ดับลิว มอตาร์) ทุ่นระเบิด ฯลฯ
นอกจากการส่งอาวุธแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรยังทำสงครามจิตวิทยากับญี่ปุ่นโดยการส่งฝูงบิน B-24 จำนวน ๑๘ เครื่อง นำร่มเวชภัณฑ์มาทิ้งบริเวณท้องสนามหลวง โดยที่ พล.ท. นากามูระ ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์โดยไม่สามารถทำอะไรได้
การทิ้งร่มลดน้อยลงในเดือนกรกฎาคม ๒๔๘๘ เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางเครื่องบิน สู่สนามบินลับที่ขบวนการเสรีไทยลักลอบสร้างขึ้น
การฝึกพลพรรคเสรีไทย
"ปฏิบัติการของเราในขณะนั้นเป็นหน่วยกำลังที่ต้องดำเนินการไปตามแผน เราคงเป็นเบี้ยหรือเม็ดที่ต้องถูกเดินให้เขากิน เพื่อหวังผลได้เปรียบหรือประโยชน์ส่วนรวมในด้านอื่น ถึงแม้จะทราบอยู่แก่ใจพวกเราก็เต็มใจ"
พล.อ.ต. กำธน สินธวานนท์
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการขับไล่ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีกองกำลังเป็นของตนเอง ดังนั้นจึงมีการฝึกพลพรรคเสรีไทยซึ่งมีอยู่สองขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดเตรียมบุคคล เพื่อที่จะเป็นหัวหน้าทำการฝึกอาวุธ และสอนยุทธวิธีการสู้รบให้แก่พลพรรคเสรีไทย ที่มีการจัดตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะจัดส่งตำรวจ ทหาร พลเรือน ในค่ายของสัมพันธมิตรในอินเดียและเกาะลังกาแล้ว ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรขึ้นอีกด้วย
พล.ร.ต.สังวร สุวรรณชีพ เจ้ากรมทหารสารวัตร ได้รับมอบหมายจาก ปรีดี พนมยงค์ ให้จัดหาผู้ที่จะเข้ามาฝึกภายใต้เงื่อนไขที่ห้ามใช้กองกำลังทหารไทยของฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะเดียวกันก็จะต้องปฏิบัติการเพื่อพรางไม่ญี่ปุ่นได้ทราบว่ามีการฝึกกองกำลังเสรีไทยภายใต้จมูกญี่ปุ่น ดังนั้นทางออกของ พล.ร.ต. สังวร ก็คือ การใช้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการฝึก (ซึ่งขณะนั้นมหาวิทยาลัยปิดทำการสอนเพราะอยู่ระหว่างสงคราม) ขณะเดียวกันก็ต้องบอกกับญี่ปุ่นว่า การจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรรุ่นพิเศษขึ้นมา ก็เพื่อจัดการรักษาความสงบภายในประเทศ ม.ร.ว. ยงสุข กมลาสน์ ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ในวันนั้นได้เล่าว่า
"ท่านพูดกับเราอย่างชายชาติทหาร ขอให้พวกเราไปช่วยงานของชาติ ท่านพูดกับเราน้อยมาก แต่ได้ความชัดเจนดี ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีคำพูดหว่านล้อมเอาสิ่งใดเป็นเครื่องล่อใจ พูดอย่างลูกผู้ชายกับลูกผู้ชาย พูดอย่างทหารกับทหาร"
จากนิสิตจุฬาที่เข้าประชุมประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน ได้มีการคัดเลือกให้เหลือ ๒๙๘ คน หลังจากนั้นก็มีการฝึกที่โรงเรียนนายทหารสารวัตร พล.ร.ต.สังวร เล่าถึงกองกำลังส่วนนี้ว่า
"เปิดโรงเรียน สห. ซึ่งมีกำลัง ๓ กองร้อย ทหารราบ ๑ หมวด หมวดฝึกกลหนักได้รับอุปการะจากครูทหารบก เรือ เรือตำรวจ ซึ่งทางการจัดมาอบรมสั่งสอน เพื่อก้าวไปตามหลักสูตร ๑ ปี การเปิดโรงเรียนทำต่อหน้า พล.ร.ต. หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีกลาโหม นายพลโทนากามูระและพันเอกทูโคตะ ...ซึ่งเราต้องแสดงกลบเกลื่อนว่าตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น ก็เพื่อให้ได้จำนวนนายทหารที่ต้องจัดกองทหารสารวัตรใหม่"
หลังจากนั้นได้มีการเคลื่อนย้ายไปยังค่าย "สวนลดาพันธ์" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยพรางญี่ปุ่นว่าไปทำการฝึกภาคสนามเพื่อหาความชำนาญพิเศษ แต่ความจริงที่นั่นได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว โดยมีอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารอเมริกันที่ทิ้งร่ม ไว้ ณ อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ลำเลียงมาไว้เป็นระยะ ๆ และมีทหารอเมริกันได้กระโดดร่มมาประจำการอยู่แล้ว
ขั้นตอนต่อมา คือการจัดฝึกพลพรรคใต้ดินโดยแบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบของผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด ประสานกับนายทหารเสรีไทยทั้งอังกฤษและอเมริกาที่แบ่งพื้นที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
ม.จ. การวิก จักรพันธุ์ เสรีไทยสายอังกฤษที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดตั้งค่ายพลพรรคใต้ดินที่จังหวัดตาก เล่าถึงการทำงานว่า...
"ผมสอนวิชาพื้นฐานทางทหารป่า หัดแถวสำหรับระเบียบวินัย พละ ยิงปืน ขว้างลูกระเบิด อ่านแผนที่ สอดแนม วิธีรบแบบเงียบ ๆ โดยไม่ใช้เสียง และที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่สู้ตาย ต้องกลับมารายงานผล ต้องอยู่เพื่อรบคราวต่อไป
ค่ายที่ห้วยเหลืองมีกำลังไม่เกิน ๕๐๐ คน ระเบียบวินัยดีและคล่องตัวมาก พร้อมรบตั้งแต่เดือนมิถุนายน เราก็รอว่าเมื่อไหร่คำสั่งโจมตีจะมา "
แปลง คำเมือง ผู้ที่ได้เดินทางไปฝึกร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ค่ายทหารเกาะลังกา และกลับมาปฏิบัติงานที่ค่ายพลพรรคที่จังหวัดแพร่ เล่าถึงบรรยากาศที่นั่นว่า
"จำนวนพลพรรคที่รอการฝึกนี้มีประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ คน ส่วนพลพรรคที่ต้องฝึกจริง ๆ มีประมาณ ๒,๐๐๐ คน เขาทยอยมารับการฝึก ไม่ใช่ฝึกพร้อมกันหมด ได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่จะหามาได้ คุณทอง กันทาธรรม (ผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าเสรีไทยในจังหวัดด้วย) มีหน้าที่หาพลทหารมารับการฝึก ผมมีหน้าที่ช่วยฝึกและรับ-ส่งวิทยุ"
จากการรวบรวมของนายฉันทนา (มาลัย ชูพินิจ) ใน XO GROUP เรื่องภายในขบวนการเสรีไทย แสดงจำนวนพลพรรคที่ผ่านการฝึกแล้วดังนี้
- พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รองหัวหน้าและหัวหน้าฝ่ายตำรวจ
- หลวงสินาด โยธารักษ์ หัวหน้าฝ่ายทหาร
- หลวงสังวรณ์ยุทธกิจ หัวหน้าฝ่ายทหารเรือ และให้ความคุ้มครอง
- นายดิเรก ชัยนาม หัวหน้ากองกลาง
- นายทวี บุณยเกตุ หัวหน้าพลพรรคและผู้ติดต่อกับรัฐบาล
- นายวิจิตร ลุลิตานนท์ หัวหน้ากองกลาง หัวหน้าการเงิน และพลาธิการ
- นายชาญ บุนนาค หัวหน้าสืบราชการลับ วิทยุสื่อสาร การรับส่งคนและจ่ายอาวุธ
- นายทวี ตะเวทิกุล หัวหน้าเศรษฐกิจและการคลัง
- หลวงบรรณกรโกวิท หัวหน้ารับส่งทางเรือ
- นายสะพรั่ง เทพหัสดิน หัวหน้ารับส่งทางบก
- หลวงศุภชลาศัย หัวหน้าอาสาพลเรือน
ต่อมาได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กับพลจัตวา วิคเตอร์ จ๊าค ผู้แทนฝ่ายอังกฤษ และร้อยเอก โฮเวิต ปาลเมอร์ และได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
พื้นที่ทำงานร่วมกับอังกฤษ ได้แก่ อ่างทอง อยุธยา อุทัยธานี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย ชัยภูมิ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชุมพร แพร่ เชียงราย
พื้นที่ทำงานร่วมกันอเมริกา ได้แก่ ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม หนองคาย นครพนม สกลนคร เลย อุบลราชธานี ตาก ลำปาง
หลังจากนั้นก็ได้มีการเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่าวัน D-Day ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะโจมตีญี่ปุ่นพร้อมกันทุกจุด และให้ขบวนการเสรีไทยในประเทศ ออกมาปฏิบัติการพร้อมกัน โดยมีการดำเนินการ คือ
การรับอาวุธจากฝ่ายสัมพันธมิตร
การที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นได้นั้นจำเป็นต้องมีอาวุธที่ทันสมัยพอ ซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรโดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ขบวนการเสรีไทยจะไม่ลุกขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๔๘๘ อาวุธจากฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น
เริ่มต้นจากการขนส่งทางเรือมาทางทะเลบริเวณอ่าวไทย มีเรือของกรมศุลกากร ในความดูแลของหลวงบรรณกรโกวิท รองอธิบดีกรมศุลกากร ออกไปรับแล้วลำเลียงมาไว้ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสรีไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายต่อไป
ต่อมามีการจัดส่งทางอากาศโดยการทิ้งร่มตามเขตรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย มีการนัดหมายกันล่วงหน้าเพื่อรับอาวุธ ท้าวอุ่น ชนะนิกร ผู้ลี้ภัยชาวลาวหลบหนีการปกครองของฝรั่งเศสและเข้าร่วมเป็นเสรีไทยในภาคอีสานร่วมกับ เตียง ศิริขันธ์ ได้บันทึกเรื่องการรับส่งอาวุธไว้ว่า
"การรับและเก็บอาวุธยุทธภัณฑ์เขามาทั้งนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อเขาทิ้งลงนั้น ร่มจะพาอาวุธยุทธภัณฑ์ ไปลงที่ไหนก็ได้ตามแต่กระแสลมจะพัดพาไป บางร่มก็ค้างอยู่บนต้นไม้ ซึ่งพวกเราจำเป็นต้องรวบรวมเอามันมาให้หมด แล้วขนเก็บซ่อนไว้ในถ้ำก่อนจะสว่าง ความยุ่งยากอีกประการหนึ่งคือการทำลายร่มชูชีพ เนื่องจากร่มชูชีพไม่ไหม้ไฟ พวกเราต้องขุดหลุมฝังกันให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำอาวุธไปเก็บ ...อีกอย่างหนึ่งขณะที่พวกเราทำงานอย่างเร่งรีบนั้น จิตใจของพวกเราก็กลัวว่าญี่ปุ่นจะเข้ามาพบเราเข้าอีก"
อาวุธที่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่งให้ขบวนการเสรีไทยนั้น ประกอบด้วย ปืนสั้น (พิสตอล) ปืนยาวใหญ่ (ไรเฟิล) ปืนยาวเล็ก (คาไบน์) ลูกระเบิดมือ (แฮนด์ครีเมต) ปืนครกเบา (แอล มอตาร์) ปืนครกหนัก (ดับลิว มอตาร์) ทุ่นระเบิด ฯลฯ
นอกจากการส่งอาวุธแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรยังทำสงครามจิตวิทยากับญี่ปุ่นโดยการส่งฝูงบิน B-24 จำนวน ๑๘ เครื่อง นำร่มเวชภัณฑ์มาทิ้งบริเวณท้องสนามหลวง โดยที่ พล.ท. นากามูระ ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์โดยไม่สามารถทำอะไรได้
การทิ้งร่มลดน้อยลงในเดือนกรกฎาคม ๒๔๘๘ เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางเครื่องบิน สู่สนามบินลับที่ขบวนการเสรีไทยลักลอบสร้างขึ้น
การฝึกพลพรรคเสรีไทย
"ปฏิบัติการของเราในขณะนั้นเป็นหน่วยกำลังที่ต้องดำเนินการไปตามแผน เราคงเป็นเบี้ยหรือเม็ดที่ต้องถูกเดินให้เขากิน เพื่อหวังผลได้เปรียบหรือประโยชน์ส่วนรวมในด้านอื่น ถึงแม้จะทราบอยู่แก่ใจพวกเราก็เต็มใจ"
พล.อ.ต. กำธน สินธวานนท์
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการขับไล่ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีกองกำลังเป็นของตนเอง ดังนั้นจึงมีการฝึกพลพรรคเสรีไทยซึ่งมีอยู่สองขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดเตรียมบุคคล เพื่อที่จะเป็นหัวหน้าทำการฝึกอาวุธ และสอนยุทธวิธีการสู้รบให้แก่พลพรรคเสรีไทย ที่มีการจัดตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะจัดส่งตำรวจ ทหาร พลเรือน ในค่ายของสัมพันธมิตรในอินเดียและเกาะลังกาแล้ว ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรขึ้นอีกด้วย
พล.ร.ต.สังวร สุวรรณชีพ เจ้ากรมทหารสารวัตร ได้รับมอบหมายจาก ปรีดี พนมยงค์ ให้จัดหาผู้ที่จะเข้ามาฝึกภายใต้เงื่อนไขที่ห้ามใช้กองกำลังทหารไทยของฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะเดียวกันก็จะต้องปฏิบัติการเพื่อพรางไม่ญี่ปุ่นได้ทราบว่ามีการฝึกกองกำลังเสรีไทยภายใต้จมูกญี่ปุ่น ดังนั้นทางออกของ พล.ร.ต. สังวร ก็คือ การใช้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการฝึก (ซึ่งขณะนั้นมหาวิทยาลัยปิดทำการสอนเพราะอยู่ระหว่างสงคราม) ขณะเดียวกันก็ต้องบอกกับญี่ปุ่นว่า การจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรรุ่นพิเศษขึ้นมา ก็เพื่อจัดการรักษาความสงบภายในประเทศ ม.ร.ว. ยงสุข กมลาสน์ ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ในวันนั้นได้เล่าว่า
"ท่านพูดกับเราอย่างชายชาติทหาร ขอให้พวกเราไปช่วยงานของชาติ ท่านพูดกับเราน้อยมาก แต่ได้ความชัดเจนดี ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีคำพูดหว่านล้อมเอาสิ่งใดเป็นเครื่องล่อใจ พูดอย่างลูกผู้ชายกับลูกผู้ชาย พูดอย่างทหารกับทหาร"
จากนิสิตจุฬาที่เข้าประชุมประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน ได้มีการคัดเลือกให้เหลือ ๒๙๘ คน หลังจากนั้นก็มีการฝึกที่โรงเรียนนายทหารสารวัตร พล.ร.ต.สังวร เล่าถึงกองกำลังส่วนนี้ว่า
"เปิดโรงเรียน สห. ซึ่งมีกำลัง ๓ กองร้อย ทหารราบ ๑ หมวด หมวดฝึกกลหนักได้รับอุปการะจากครูทหารบก เรือ เรือตำรวจ ซึ่งทางการจัดมาอบรมสั่งสอน เพื่อก้าวไปตามหลักสูตร ๑ ปี การเปิดโรงเรียนทำต่อหน้า พล.ร.ต. หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีกลาโหม นายพลโทนากามูระและพันเอกทูโคตะ ...ซึ่งเราต้องแสดงกลบเกลื่อนว่าตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น ก็เพื่อให้ได้จำนวนนายทหารที่ต้องจัดกองทหารสารวัตรใหม่"
หลังจากนั้นได้มีการเคลื่อนย้ายไปยังค่าย "สวนลดาพันธ์" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยพรางญี่ปุ่นว่าไปทำการฝึกภาคสนามเพื่อหาความชำนาญพิเศษ แต่ความจริงที่นั่นได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว โดยมีอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารอเมริกันที่ทิ้งร่ม ไว้ ณ อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ลำเลียงมาไว้เป็นระยะ ๆ และมีทหารอเมริกันได้กระโดดร่มมาประจำการอยู่แล้ว
ขั้นตอนต่อมา คือการจัดฝึกพลพรรคใต้ดินโดยแบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบของผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด ประสานกับนายทหารเสรีไทยทั้งอังกฤษและอเมริกาที่แบ่งพื้นที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
ม.จ. การวิก จักรพันธุ์ เสรีไทยสายอังกฤษที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดตั้งค่ายพลพรรคใต้ดินที่จังหวัดตาก เล่าถึงการทำงานว่า...
"ผมสอนวิชาพื้นฐานทางทหารป่า หัดแถวสำหรับระเบียบวินัย พละ ยิงปืน ขว้างลูกระเบิด อ่านแผนที่ สอดแนม วิธีรบแบบเงียบ ๆ โดยไม่ใช้เสียง และที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่สู้ตาย ต้องกลับมารายงานผล ต้องอยู่เพื่อรบคราวต่อไป
ค่ายที่ห้วยเหลืองมีกำลังไม่เกิน ๕๐๐ คน ระเบียบวินัยดีและคล่องตัวมาก พร้อมรบตั้งแต่เดือนมิถุนายน เราก็รอว่าเมื่อไหร่คำสั่งโจมตีจะมา "
แปลง คำเมือง ผู้ที่ได้เดินทางไปฝึกร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ค่ายทหารเกาะลังกา และกลับมาปฏิบัติงานที่ค่ายพลพรรคที่จังหวัดแพร่ เล่าถึงบรรยากาศที่นั่นว่า
"จำนวนพลพรรคที่รอการฝึกนี้มีประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ คน ส่วนพลพรรคที่ต้องฝึกจริง ๆ มีประมาณ ๒,๐๐๐ คน เขาทยอยมารับการฝึก ไม่ใช่ฝึกพร้อมกันหมด ได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่จะหามาได้ คุณทอง กันทาธรรม (ผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าเสรีไทยในจังหวัดด้วย) มีหน้าที่หาพลทหารมารับการฝึก ผมมีหน้าที่ช่วยฝึกและรับ-ส่งวิทยุ"
จากการรวบรวมของนายฉันทนา (มาลัย ชูพินิจ) ใน XO GROUP เรื่องภายในขบวนการเสรีไทย แสดงจำนวนพลพรรคที่ผ่านการฝึกแล้วดังนี้
๑. เพชรบุรี พลพรรคที่ผ่านการฝึกแล้ว ๑,๐๐๐ คน ทหารในบังคับบัญชาของ พ.ท. หวังชัย นามสนธิ อีก ๓,๓๐๐ คน
๒. หัวหิน พลพรรคที่ได้รับการฝึกอย่างดี มีอาวุธสำหรับจ่ายได้ครบตัว ๑,๐๐๐ คน
๓. สกลนคร มีกำลัง ๓,๕๐๐ คน
๔. นครพนม มีกำลัง ๘๐๐ คน
๕. อุดรธานี มีกำลัง ๑,๒๐๐ คน
๖. หนองคาย มีกำลัง ๒๐๐ คน
๗. มหาสารคาม มีกำลัง ๔,๐๐๐ คน
๘. ฉะเชิงเทรา มีกำลัง ๑๓๒ คน
๙. ชลบุรี มีกำลัง ๒,๐๐๐ คน
๑๐. อุบลราชธานี มีกำลัง ๓,๐๐๐ คน
ทั้งนี้ ยังไม่นับกำลังทหารและตำรวจสนามในภาคพายัพ ภาคใต้ และภาคอื่น ๆ ตลอดจนพลพรรคอีกหลายหน่วยในหลายจังหวัด หลายตำบล ซึ่งนายทหารเสรีไทยจากต่างประเทศช่วยกันฝึกหัดอบรมอยู่อย่างเร่งรัด
การสร้างสนามบินลับ
การรับส่งอาวุธโดยการทิ้งร่มชูชีพมีข้อจำกัดว่าทำได้เฉพาะคืนเดือนหงาย คือประมาณระหว่างขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงแรม ๔ - ๕ ค่ำ และอาวุธที่จะส่งมาให้นั้นมีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงมีการจัดสร้างสนามบินลับขึ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบหมายให้ขบวนการเสรีไทยจัดสร้างขึ้นในภาคอีสาน เพื่อรับเครื่องบินดาโกต้า (C-47) มี เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนจังหวัดสกลนคร เป็นผู้ควบคุมดูแล โดยจัดสร้างขึ้นที่บริเวณอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอโนนหัน จังหวัดเลย ต่อมาได้มีการขยายเพิ่มอีก รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๔ แห่ง
แต่ก็ใช่ว่าการสร้างสนามบินลับจะราบรื่น เมื่อญี่ปุ่นค้นพบสนามบินลับที่พลพรรคเสรีไทยได้สร้างขึ้นในภาคอีสาน เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๘ และบอกให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปรีดี พนมยงค์ ชี้แจงกับฝ่ายญี่ปุ่นไปว่า สนามบินลับที่ญี่ปุ่นค้นพบนั้นเป็นสนามบินที่ไทยสร้างขึ้น เพื่อฟื้นฟูการบินพาณิชย์ในเขตที่การคมนาคมยังไม่สะดวก แต่ไทยไม่เคยใช้สนามบินนั้นมาก่อน
ทว่าญี่ปุ่นก็ไม่ไว้ใจ เมื่อสืบทราบว่ามีสนามบินลับที่บ้านตาดภูวง ในจังหวัดสกลนคร จึงมีกำหนดการที่จะบินไปสำรวจ พลพรรคเสรีไทยที่นั่นเมื่อทราบเรื่องก็แก้ปัญหาโดยการพรางสนามบิน วิสุทธิ์ บุษยกุล ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์คืนนั้นด้วยเล่าให้ฟังว่า
"เสรีไทยประมาณ ๕๐๐ คน ต่างไปที่สนามบินพร้อมกับกล้าข้าวที่ระดมหามาให้มากเท่าที่จะมากได้ ถึงดินจะแข็งแต่เราใช้ไม้ตอกลงเป็นหลุมเพื่อให้กล้าอยู่ได้ และจะต้องทำในตอนดึก เพราะรู้ว่ากล้าอยู่ได้ไม่นานก็จะเหี่ยวเนื่องจากไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง คนตอกหลุมก็ตอกไป คนปักก็ปักไป จนเสร็จก่อนย่ำรุ่งพอดี โชคดีญี่ปุ่นมาตรวจตอนเช้า ทำให้ต้นกล้ายังไม่เหี่ยวตาย และเครื่องบินก็บินผ่านไปโดยไม่รู้ว่านาข้าวที่เห็นนั้น เป็นสนามบินลับที่เราเนรมิตให้เป็นนาข้าวภายในคืนเดียว"
ผลจากการสร้างสนามบินลับสำเร็จ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์เข้ามาในประเทศทำได้สะดวกและ การรับส่งคนทางเครื่องบินในการติดต่อกับฝ่ายพันธมิตรได้ง่ายขึ้นด้วย
๒. หัวหิน พลพรรคที่ได้รับการฝึกอย่างดี มีอาวุธสำหรับจ่ายได้ครบตัว ๑,๐๐๐ คน
๓. สกลนคร มีกำลัง ๓,๕๐๐ คน
๔. นครพนม มีกำลัง ๘๐๐ คน
๕. อุดรธานี มีกำลัง ๑,๒๐๐ คน
๖. หนองคาย มีกำลัง ๒๐๐ คน
๗. มหาสารคาม มีกำลัง ๔,๐๐๐ คน
๘. ฉะเชิงเทรา มีกำลัง ๑๓๒ คน
๙. ชลบุรี มีกำลัง ๒,๐๐๐ คน
๑๐. อุบลราชธานี มีกำลัง ๓,๐๐๐ คน
ทั้งนี้ ยังไม่นับกำลังทหารและตำรวจสนามในภาคพายัพ ภาคใต้ และภาคอื่น ๆ ตลอดจนพลพรรคอีกหลายหน่วยในหลายจังหวัด หลายตำบล ซึ่งนายทหารเสรีไทยจากต่างประเทศช่วยกันฝึกหัดอบรมอยู่อย่างเร่งรัด
การสร้างสนามบินลับ
การรับส่งอาวุธโดยการทิ้งร่มชูชีพมีข้อจำกัดว่าทำได้เฉพาะคืนเดือนหงาย คือประมาณระหว่างขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงแรม ๔ - ๕ ค่ำ และอาวุธที่จะส่งมาให้นั้นมีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงมีการจัดสร้างสนามบินลับขึ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบหมายให้ขบวนการเสรีไทยจัดสร้างขึ้นในภาคอีสาน เพื่อรับเครื่องบินดาโกต้า (C-47) มี เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนจังหวัดสกลนคร เป็นผู้ควบคุมดูแล โดยจัดสร้างขึ้นที่บริเวณอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอโนนหัน จังหวัดเลย ต่อมาได้มีการขยายเพิ่มอีก รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๔ แห่ง
แต่ก็ใช่ว่าการสร้างสนามบินลับจะราบรื่น เมื่อญี่ปุ่นค้นพบสนามบินลับที่พลพรรคเสรีไทยได้สร้างขึ้นในภาคอีสาน เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๘ และบอกให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปรีดี พนมยงค์ ชี้แจงกับฝ่ายญี่ปุ่นไปว่า สนามบินลับที่ญี่ปุ่นค้นพบนั้นเป็นสนามบินที่ไทยสร้างขึ้น เพื่อฟื้นฟูการบินพาณิชย์ในเขตที่การคมนาคมยังไม่สะดวก แต่ไทยไม่เคยใช้สนามบินนั้นมาก่อน
ทว่าญี่ปุ่นก็ไม่ไว้ใจ เมื่อสืบทราบว่ามีสนามบินลับที่บ้านตาดภูวง ในจังหวัดสกลนคร จึงมีกำหนดการที่จะบินไปสำรวจ พลพรรคเสรีไทยที่นั่นเมื่อทราบเรื่องก็แก้ปัญหาโดยการพรางสนามบิน วิสุทธิ์ บุษยกุล ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์คืนนั้นด้วยเล่าให้ฟังว่า
"เสรีไทยประมาณ ๕๐๐ คน ต่างไปที่สนามบินพร้อมกับกล้าข้าวที่ระดมหามาให้มากเท่าที่จะมากได้ ถึงดินจะแข็งแต่เราใช้ไม้ตอกลงเป็นหลุมเพื่อให้กล้าอยู่ได้ และจะต้องทำในตอนดึก เพราะรู้ว่ากล้าอยู่ได้ไม่นานก็จะเหี่ยวเนื่องจากไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง คนตอกหลุมก็ตอกไป คนปักก็ปักไป จนเสร็จก่อนย่ำรุ่งพอดี โชคดีญี่ปุ่นมาตรวจตอนเช้า ทำให้ต้นกล้ายังไม่เหี่ยวตาย และเครื่องบินก็บินผ่านไปโดยไม่รู้ว่านาข้าวที่เห็นนั้น เป็นสนามบินลับที่เราเนรมิตให้เป็นนาข้าวภายในคืนเดียว"
ผลจากการสร้างสนามบินลับสำเร็จ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์เข้ามาในประเทศทำได้สะดวกและ การรับส่งคนทางเครื่องบินในการติดต่อกับฝ่ายพันธมิตรได้ง่ายขึ้นด้วย
No comments:
Post a Comment