อินโดนีเซีย สุมาตราย้อนไปถึงศรีวิชัย
เกาะแถบนี้ ที่เป็นดินแดนสำคัญในประวัติศาสตร์ ได้แก่ สุมาตราและชวา แต่ความเป็นไปในยุคแรกของดินแดนเหล่านี้ไม่มีบันทึกเรื่องมาถึงคนรุ่นหลัง จนกระทั่งหลวงจีนที่จาริกไปศึกษาสืบพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ได้เดินทางผ่านมาแวะระหว่างทาง และบันทึกเรื่องไว้
หลวงจีนที่คนรุ่นหลังรู้จักชื่อเสียงในบันทึกประวัติศาสตร์ของท่านได้แก่ คือ หลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือยวนฉางหรือถังซำจั๋ง (Hsuan-tsang) และหลวงจีนอี้จิง (I-ching)
ท่านแรกคือหลวงจีนฟาเหียน ท่านจาริกออกจากจีนในปี ค.ศ.๓๙๙ อยู่ในอินเดียเป็นเวลา ๖ ปี (ค.ศ.๔๐๕-๔๑๑) ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (หรือในชื่อพระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งราชวงศ์คุปตะ) ในการเดินทางไปอินเดีย ท่านหลวงจีนฟาเหียนจาริกไปทางบก ส่วนในการเดินทางกลับท่านเดินทางกลับโดยทางเรือ ท่านแวะศึกษาหาความรู้และคัมภีร์ที่เกาะลังกาเป็นเวลา ๒ ปี แล้วออกเดินทางกลับสู่แผ่นดินจีน แต่ระหว่างทางเรือโดยสารถูกพายุพัดพาจนไปถึงชายฝั่งของเกาะแห่งหนึ่ง สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นเกาะชวา จากนั้นท่านได้เดินทางต่อจนไปถึงมาตุภูมิ รวมเวลาที่อยู่ในทะเลกว่า ๒๐๐ วัน
จากบันทึกของท่านหลวงจีนฟาเหียน ช่วยให้ทราบว่า เวลานั้น ได้มีการเดินทางค้าขายกันแล้ว ระหว่างดินแดนแถบนี้กับเมืองจีน แต่บันทึกของท่านไม่ได้บอกถึงเรื่องราวที่ให้เห็นถึงความสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม
กระนั้นก็ตาม มั่นใจกันว่าพระพุทธศาสนาได้มาถึงถิ่นดินดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ ค.ศ.ต้นๆ เนื่องจากได้มีพระภิกษุหลายรูปจาริกมาเผยแพร่ โดยเฉพาะเรื่องของพระคุณวรมันผู้ออกบวชจากราชตระกูล ซึ่งบ่งชี้ว่า พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นในชวามานานก่อนคริสตศตวรรษที่ ๕ คือก่อนที่หลวงจีนฟาเหียนจะมาถึงดินแดนแถบนี้
ท่านที่สองคือท่านพระถังซำจั๋งหรือหลวงจีนเหี้ยนจัง ท่านออกจากเสฉวนในปี ค.ศ.๖๒๙ มาถึงชมพูทวีปในปี ค.ศ.๖๓๓ และกลับสู่แผ่นดินจีนที่เมืองเชียงอาน (หรือฉางอัน)ในปี ค.ศ.๖๔๕ การเดินทางของท่านมีแต่ทางบกทั้งตอนไปและตอนกลับ จึงไม่มีบันทึกถึงดินแดนแถบนี้
ท่านทีสามคือ หลวงจีนอี้จิง ลงเรือออกจากกวางตุ้งในปี ค.ศ.๖๗๑ ใช้เวลาไม่ถึง ๒๐ วันก็มาถึงเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยที่ปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา แล้วพำนักอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนเดินทางต่อสู่ชมพูทวีป เพื่อไปยังศูนย์การศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัย นาลันทา !
หลวงจีนอี้จิงแวะพักที่ ศรีวิชัย ครั้งหลัง นานถึง ๖ ปี คือระหว่างปี ค.ศ.๖๘๙-๖๙๕ ตามบันทึกของท่านแสดงว่า เวลานั้นพระพุทธศาสนาเจริญมากในศรีวิชัย จนอาณาจักรนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านได้เขียนชื่นชมไว้ว่า ผู้จะเล่าเรียนพระพุทธศาสนาให้ได้ผลดี ควรมาเริ่มศึกษาที่นั่น และมหาราชาแห่งศรีวิชัยก็อุปถัมภ์บำรุงตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ท่านเป็นอย่างดี
จากบันทึกของหลวงจีนอี้จิง อาณาจักรศรีวิชัยจึงได้ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่กำลังรุ่งเรืองมาก มีอำนาจควบคุมช่องแคบมะละกา คือช่องทะเลระหว่างแผ่นดินแหลมมลายูกับสุมาตรา ตลอดจนช่องแคบซุนดาคือระหว่างสุมาตรากับแหลมมลายู ทั้งหมด
โดยนัยนี้ ศรีวิชัย นอกจากเป็นศูนย์กลางใหญ่ของการค้าขายกับจีนและอินเดียแล้ว ก็ควบคุมเส้นทางพาณิชย์ระหว่างจีน (เวลานั้นอยู่ในยุคราชวงศ์ถัง)กับนานาชาติที่อยู่ต่ออกไปทางตะวันตกทั้งหมด
ในช่วงเวลาใกล้กับที่หลวงจีนอี้จิงจาริกมานั้น อาณาจักรลังกาสุกะ ตลอดจนรัฐทั้งหลายบนแผ่นดินแหลมมลายูแทบทั้งหมด ได้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย
สิงคโปร์ก็เป็นเมืองหน้าด่านแห่งหนึ่งที่ศรีวิชัยตั้งขึ้นไว้ ดังที่ได้เป็นจุดหนึ่งที่พระเจ้าราเชนทร์แห่งโจละโจมตี เมื่อยกมาทำสงครามกับศรีวิชัยในปี ค.ศ.๑๐๒๕ มีผู้สันนิษฐานด้วยว่าชื่อเมืองว่า “สิงหปุระ” ที่เพี้ยนมาเป็นสิงคโปร์ ก็เป็นนามที่พระเจ้าราเชนทร์ทรงตั้งขึ้น
ศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในสุมาตราภาคใต้ รุ่งเรืองยิ่งใหญ่อยู่ราว ๕ ศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อพ่ายแพ้แก่พระเจ้าราเชนทร์แห่งโจละ ที่ยกมาตีในปี ค.ศ.๑๐๒๕ แล้ว ก็อ่อนแอและเสื่อมลงเรื่อยมา จนถูกอาณาจักรมัชปาหิตที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวา แซงขึ้นมาเป็นใหญ่แทนที่ในคริสตศตวรรษที่ ๑๓ รวมมีอายุนับแต่ คริสตศตวรรษที่ ๗ อยู่ได้ ๗ ศตวรรษ.
เกาะแถบนี้ ที่เป็นดินแดนสำคัญในประวัติศาสตร์ ได้แก่ สุมาตราและชวา แต่ความเป็นไปในยุคแรกของดินแดนเหล่านี้ไม่มีบันทึกเรื่องมาถึงคนรุ่นหลัง จนกระทั่งหลวงจีนที่จาริกไปศึกษาสืบพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ได้เดินทางผ่านมาแวะระหว่างทาง และบันทึกเรื่องไว้
หลวงจีนที่คนรุ่นหลังรู้จักชื่อเสียงในบันทึกประวัติศาสตร์ของท่านได้แก่ คือ หลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือยวนฉางหรือถังซำจั๋ง (Hsuan-tsang) และหลวงจีนอี้จิง (I-ching)
ท่านแรกคือหลวงจีนฟาเหียน ท่านจาริกออกจากจีนในปี ค.ศ.๓๙๙ อยู่ในอินเดียเป็นเวลา ๖ ปี (ค.ศ.๔๐๕-๔๑๑) ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (หรือในชื่อพระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งราชวงศ์คุปตะ) ในการเดินทางไปอินเดีย ท่านหลวงจีนฟาเหียนจาริกไปทางบก ส่วนในการเดินทางกลับท่านเดินทางกลับโดยทางเรือ ท่านแวะศึกษาหาความรู้และคัมภีร์ที่เกาะลังกาเป็นเวลา ๒ ปี แล้วออกเดินทางกลับสู่แผ่นดินจีน แต่ระหว่างทางเรือโดยสารถูกพายุพัดพาจนไปถึงชายฝั่งของเกาะแห่งหนึ่ง สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นเกาะชวา จากนั้นท่านได้เดินทางต่อจนไปถึงมาตุภูมิ รวมเวลาที่อยู่ในทะเลกว่า ๒๐๐ วัน
จากบันทึกของท่านหลวงจีนฟาเหียน ช่วยให้ทราบว่า เวลานั้น ได้มีการเดินทางค้าขายกันแล้ว ระหว่างดินแดนแถบนี้กับเมืองจีน แต่บันทึกของท่านไม่ได้บอกถึงเรื่องราวที่ให้เห็นถึงความสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม
กระนั้นก็ตาม มั่นใจกันว่าพระพุทธศาสนาได้มาถึงถิ่นดินดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ ค.ศ.ต้นๆ เนื่องจากได้มีพระภิกษุหลายรูปจาริกมาเผยแพร่ โดยเฉพาะเรื่องของพระคุณวรมันผู้ออกบวชจากราชตระกูล ซึ่งบ่งชี้ว่า พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นในชวามานานก่อนคริสตศตวรรษที่ ๕ คือก่อนที่หลวงจีนฟาเหียนจะมาถึงดินแดนแถบนี้
ท่านที่สองคือท่านพระถังซำจั๋งหรือหลวงจีนเหี้ยนจัง ท่านออกจากเสฉวนในปี ค.ศ.๖๒๙ มาถึงชมพูทวีปในปี ค.ศ.๖๓๓ และกลับสู่แผ่นดินจีนที่เมืองเชียงอาน (หรือฉางอัน)ในปี ค.ศ.๖๔๕ การเดินทางของท่านมีแต่ทางบกทั้งตอนไปและตอนกลับ จึงไม่มีบันทึกถึงดินแดนแถบนี้
ท่านทีสามคือ หลวงจีนอี้จิง ลงเรือออกจากกวางตุ้งในปี ค.ศ.๖๗๑ ใช้เวลาไม่ถึง ๒๐ วันก็มาถึงเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยที่ปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา แล้วพำนักอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนเดินทางต่อสู่ชมพูทวีป เพื่อไปยังศูนย์การศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัย นาลันทา !
หลวงจีนอี้จิงแวะพักที่ ศรีวิชัย ครั้งหลัง นานถึง ๖ ปี คือระหว่างปี ค.ศ.๖๘๙-๖๙๕ ตามบันทึกของท่านแสดงว่า เวลานั้นพระพุทธศาสนาเจริญมากในศรีวิชัย จนอาณาจักรนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านได้เขียนชื่นชมไว้ว่า ผู้จะเล่าเรียนพระพุทธศาสนาให้ได้ผลดี ควรมาเริ่มศึกษาที่นั่น และมหาราชาแห่งศรีวิชัยก็อุปถัมภ์บำรุงตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ท่านเป็นอย่างดี
จากบันทึกของหลวงจีนอี้จิง อาณาจักรศรีวิชัยจึงได้ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่กำลังรุ่งเรืองมาก มีอำนาจควบคุมช่องแคบมะละกา คือช่องทะเลระหว่างแผ่นดินแหลมมลายูกับสุมาตรา ตลอดจนช่องแคบซุนดาคือระหว่างสุมาตรากับแหลมมลายู ทั้งหมด
โดยนัยนี้ ศรีวิชัย นอกจากเป็นศูนย์กลางใหญ่ของการค้าขายกับจีนและอินเดียแล้ว ก็ควบคุมเส้นทางพาณิชย์ระหว่างจีน (เวลานั้นอยู่ในยุคราชวงศ์ถัง)กับนานาชาติที่อยู่ต่ออกไปทางตะวันตกทั้งหมด
ในช่วงเวลาใกล้กับที่หลวงจีนอี้จิงจาริกมานั้น อาณาจักรลังกาสุกะ ตลอดจนรัฐทั้งหลายบนแผ่นดินแหลมมลายูแทบทั้งหมด ได้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย
สิงคโปร์ก็เป็นเมืองหน้าด่านแห่งหนึ่งที่ศรีวิชัยตั้งขึ้นไว้ ดังที่ได้เป็นจุดหนึ่งที่พระเจ้าราเชนทร์แห่งโจละโจมตี เมื่อยกมาทำสงครามกับศรีวิชัยในปี ค.ศ.๑๐๒๕ มีผู้สันนิษฐานด้วยว่าชื่อเมืองว่า “สิงหปุระ” ที่เพี้ยนมาเป็นสิงคโปร์ ก็เป็นนามที่พระเจ้าราเชนทร์ทรงตั้งขึ้น
ศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในสุมาตราภาคใต้ รุ่งเรืองยิ่งใหญ่อยู่ราว ๕ ศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อพ่ายแพ้แก่พระเจ้าราเชนทร์แห่งโจละ ที่ยกมาตีในปี ค.ศ.๑๐๒๕ แล้ว ก็อ่อนแอและเสื่อมลงเรื่อยมา จนถูกอาณาจักรมัชปาหิตที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวา แซงขึ้นมาเป็นใหญ่แทนที่ในคริสตศตวรรษที่ ๑๓ รวมมีอายุนับแต่ คริสตศตวรรษที่ ๗ อยู่ได้ ๗ ศตวรรษ.
No comments:
Post a Comment