องค์การต่อต้านญี่ปุ่น
ปรีดี พนมยงค์ ได้เล่าความรู้สึกของคนไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ เมื่อทราบข่าวการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น ผ่านข้อเขียน "การก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นและเสรีไทย" ว่า
"ความรู้สึกของราษฎรส่วนมาก ที่ได้ประสบและเห็นภาพที่กองทัพญี่ปุ่นที่เป็นทหารต่างด้าว เข้ามารุกรานประเทศไทย และการที่ราษฎรหลั่งน้ำตานั้นมิใช่ด้วยความขลาดหรือกลัวตาย หากหลั่งเพราะ 'เจ็บใจ' และ 'แค้นใจ' ที่ว่า 'เจ็บใจ' นั้นเพราะถูกต่างชาติรุกราน ที่ว่า 'แค้นใจ' นั้นเพราะรัฐบาลไม่ทำตามที่ได้โฆษณา เรียกร้องทั้งทางหนังสือพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ให้ราษฎรเสียสละและต่อสู้ผู้รุกราน ถ้าสู้ด้วยอาวุธไม่ได้ ก็ให้เผาอาคารบ้านเรือน ยุ้งฉาง ก่อนที่ศัตรูจะเข้ามารุก ให้เหลือแผ่นดินเท่านั้นที่ศัตรูจะยึดเอาไปได้ ดังที่รัฐบาลได้ตั้งคำขวัญว่า 'ให้ศัตรูยึดได้แต่ปฐพี' อีกทั้งโฆษกของรัฐบาลได้โฆษณาให้ใช้อาวุธทุกชนิดที่พลเมืองมีอยู่ เช่น ปืน, ดาบ, หอก, หลาว รวมทั้งสัตว์และพืชที่มีพิษ เช่น งู, ตะขาบ, แมลงป่อง, หมามุ่ย
แต่เมื่อคราวญี่ปุ่นรุกรานเข้ามาจริง ๆ ทหาร ตำรวจ และราษฎรที่ชายแดน ก็ได้พร้อมกันเสียสละชีวิตกันต่อสู้ แต่รัฐบาลก็ทำตามรัฐบาลญี่ปุ่น โดยไม่ทำตามที่ตนชักชวนเรียกร้องให้ราษฎรต่อสู้"
ในฐานะผู้ที่ยืนยันความเห็นในการรักษาความเป็นกลางของประเทศไว้ให้ได้มากที่สุด และเป็นผู้ที่พอจะมีบารมีทางการเมืองทัดเทียมกับจอมพล ป. ปรีดี พนมยงค์ จึงเป็นเป้าหมายที่ผู้มีความต้องการก่อตั้งขบวนต่อต้านญี่ปุ่นยึดถือเป็นที่พึ่ง
"เมื่อข้าพเจ้ากลับถึงบ้านพัก (ถนนสีลม ตอนค่ำ) แล้วพบเพื่อนหลายคนที่มาคอยอยู่ อาทิ หลวงบรรณกรโกวิท (เปา จักกะพาก) หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (ม.ล. กรี เดชาติวงศ์) นายสงวน ตุลารักษ์ นายวิจิตร ลุลิตานนท์ ... เพื่อนที่มาพบก็ได้ชี้แจงถึงความรู้สึกของตนเอง และความรู้สึกของราษฎร
เพื่อนที่ร่วมปรึกษาหารือในขณะนั้น เห็นว่าราษฎรไทยไม่อาจหวังพึ่งรัฐบาล ว่าจะรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไทยให้สมบูรณ์อยู่ได้ คือต้องยอมทำตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งนำประเทศชาติเข้าไปผูกพันกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว
เมื่อได้ปรึกษาหารือพอสมควรแล้ว ผู้ที่มาประชุมวันนั้นได้ตกลงพลีชีพเพื่อชาติ เพื่อกอบกู้เอกราชสมบูรณ์ของชาติ เพื่อการนั้นจึงตกลงจัดตั้ง 'องค์การต่อต้านญี่ปุ่น' ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าและกำหนดแผนปฏิบัติการต่อไป"
ดังนั้นขบวนการเสรีไทยที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน ก็ริเริ่มขึ้นในวันเดียวกันนั้นเอง ในนาม "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือ
๑. ต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน โดยพลังของคนไทยผู้รักชาติและร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
๒. ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย มิได้เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร
ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาแล้วได้เพิ่มภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การปฏิบัติการให้สัมพันธมิตรรับรองว่า ประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น
"ความรู้สึกของราษฎรส่วนมาก ที่ได้ประสบและเห็นภาพที่กองทัพญี่ปุ่นที่เป็นทหารต่างด้าว เข้ามารุกรานประเทศไทย และการที่ราษฎรหลั่งน้ำตานั้นมิใช่ด้วยความขลาดหรือกลัวตาย หากหลั่งเพราะ 'เจ็บใจ' และ 'แค้นใจ' ที่ว่า 'เจ็บใจ' นั้นเพราะถูกต่างชาติรุกราน ที่ว่า 'แค้นใจ' นั้นเพราะรัฐบาลไม่ทำตามที่ได้โฆษณา เรียกร้องทั้งทางหนังสือพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ให้ราษฎรเสียสละและต่อสู้ผู้รุกราน ถ้าสู้ด้วยอาวุธไม่ได้ ก็ให้เผาอาคารบ้านเรือน ยุ้งฉาง ก่อนที่ศัตรูจะเข้ามารุก ให้เหลือแผ่นดินเท่านั้นที่ศัตรูจะยึดเอาไปได้ ดังที่รัฐบาลได้ตั้งคำขวัญว่า 'ให้ศัตรูยึดได้แต่ปฐพี' อีกทั้งโฆษกของรัฐบาลได้โฆษณาให้ใช้อาวุธทุกชนิดที่พลเมืองมีอยู่ เช่น ปืน, ดาบ, หอก, หลาว รวมทั้งสัตว์และพืชที่มีพิษ เช่น งู, ตะขาบ, แมลงป่อง, หมามุ่ย
แต่เมื่อคราวญี่ปุ่นรุกรานเข้ามาจริง ๆ ทหาร ตำรวจ และราษฎรที่ชายแดน ก็ได้พร้อมกันเสียสละชีวิตกันต่อสู้ แต่รัฐบาลก็ทำตามรัฐบาลญี่ปุ่น โดยไม่ทำตามที่ตนชักชวนเรียกร้องให้ราษฎรต่อสู้"
ในฐานะผู้ที่ยืนยันความเห็นในการรักษาความเป็นกลางของประเทศไว้ให้ได้มากที่สุด และเป็นผู้ที่พอจะมีบารมีทางการเมืองทัดเทียมกับจอมพล ป. ปรีดี พนมยงค์ จึงเป็นเป้าหมายที่ผู้มีความต้องการก่อตั้งขบวนต่อต้านญี่ปุ่นยึดถือเป็นที่พึ่ง
"เมื่อข้าพเจ้ากลับถึงบ้านพัก (ถนนสีลม ตอนค่ำ) แล้วพบเพื่อนหลายคนที่มาคอยอยู่ อาทิ หลวงบรรณกรโกวิท (เปา จักกะพาก) หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (ม.ล. กรี เดชาติวงศ์) นายสงวน ตุลารักษ์ นายวิจิตร ลุลิตานนท์ ... เพื่อนที่มาพบก็ได้ชี้แจงถึงความรู้สึกของตนเอง และความรู้สึกของราษฎร
เพื่อนที่ร่วมปรึกษาหารือในขณะนั้น เห็นว่าราษฎรไทยไม่อาจหวังพึ่งรัฐบาล ว่าจะรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไทยให้สมบูรณ์อยู่ได้ คือต้องยอมทำตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งนำประเทศชาติเข้าไปผูกพันกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว
เมื่อได้ปรึกษาหารือพอสมควรแล้ว ผู้ที่มาประชุมวันนั้นได้ตกลงพลีชีพเพื่อชาติ เพื่อกอบกู้เอกราชสมบูรณ์ของชาติ เพื่อการนั้นจึงตกลงจัดตั้ง 'องค์การต่อต้านญี่ปุ่น' ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าและกำหนดแผนปฏิบัติการต่อไป"
ดังนั้นขบวนการเสรีไทยที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน ก็ริเริ่มขึ้นในวันเดียวกันนั้นเอง ในนาม "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือ
๑. ต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน โดยพลังของคนไทยผู้รักชาติและร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
๒. ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย มิได้เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร
ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาแล้วได้เพิ่มภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การปฏิบัติการให้สัมพันธมิตรรับรองว่า ประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น
No comments:
Post a Comment