อิสลามเริ่มเข้ามาที่สุมาตรา
เมื่อหลวงจีนอี้จิงมาถึงอาณาจักรศรีวิชัยในปี ค.ศ.๖๗๑ ศาสนาอิสลามกำลังเกิดขึ้นได้ไม่นานในดินแดนอาหรับ นับตามฮิจเราะฮ์ศักราชเป็นที่ที่ ๔๙ เข้าสู่ยุคของกาหริฟ ราชวงศ์อูมัยยัด ที่ดามัสกัสในซีเรียได้ ๑๐ ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาหรับและอิสลามกำลังแผ่ขยายอย่างรวดเร็วยิ่ง
อีกเพียงประมาณ ๓๐ ปีหลังจากนั้น ทัพมุสลิมอาหรับ ก็บุกเข้าลุ่มแม่น้ำสินธุ รบชนะและเข้าครองดินแดนเข้ามาเรื่อยๆ
ทัพมุสลิมอาหรับ เข้าตีดินแดนที่ปัจจุบันเป็นแคว้นสินธ์ หรือสิทธุ โดยยกมาทางเรือแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงโจมตีทางบก และเข้าครอบครองดินแดนในปี ค.ศ. ๗๑๒ แล้วต่อมาในปี ค.ศ.๗๗๕ (พ.ศ.๑๓๑๘) ก็ยกทัพมาทางเรือเข้าตีเมือง วลภี ได้ทำลายทั้งเมืองวลภีซึ่งเป็นนครหลวงและมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาที่ชื่อมหาวิทยาลัยวลภี พระเจ้าศีลาทิตย์ที่ ๖ ได้ถูกสังหารจึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ไมตรกะ
จากแคว้นสินธ์นั้น ทัพมุสลิมอาหรับ พยายามเคลื่อนทัพตรงเข้าสู่ปัญจาบและกัศมีระ (แคชเมียร์) แต่ในดินแดนแถบนี้ ชาวแว่นแคว้นยังมีความเข้มแข็งมากสามารถสะกัดกั้นทัพมุสลิมอาหรับไว้ได้ ดินแดนของมุสลิมอาหรับในอินเดียจึงถูกจำกัดอยู่แค่นั้น ขยายออกไปไม่ได้อีกเลย จนสิ้นยุคของมุสลิมอาหรับ
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า การที่ทัพมุสลิมอาหรับพิชิตแคว้นสินธ์ได้ในปี ค.ศ.๗๑๑ (พ.ศ.๑๒๕๕) นี้ เป็นนิมิตหมายแห่งการที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่อินเดียและพร้อมกันนั้น แคว้นสินธุที่พิชิตได้คราวนี้ ก็เป็นจุดกำหนดสุดเขตแดนด้านตะวันออกที่มุสลิมอาหรับแผ่อำนาจไปถึงด้วย
การแผ่ไปของอิสลามและขยายแดนอำนาจของมุสลิม ในเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มขึ้นใหม่ และดำเนินไปอย่างกว้างขวางยิ่งใหญ่แท้จริง หลังจากนี้ประมาณ ๓๐๐ ปี ในยุคของทัพมุสลิมเตอร์ก
ทัพมุสลิมเตอร์ก รุกรบเข้ามายังชมพูทวีปจนสามารถตั้งรัฐสุลต่านแห่งเดลี (Delhi Sultanate)ขึ้น เมื่อปี ค.ศ.๑๒๐๖ (พ.ศ.๑๗๔๙) การเข้ามาของมุสลิมเตอร์ก เริ่มด้วยการทำสงครามครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.๑๐๐๑ (พ.ศ.๑๕๔๔) เป็นสงครามระหว่างสุลต่านมะหะหมุด กับราชาไชยบาล แต่สงครามครั้งต่อมาเป็นการรบกับราชาอานันทบาลในปี ค.ศ.๑๐๐๘ เป็นสงครามที่สยดสยองมาก สงครามครั้งนั้นทัพเตอร์กมุสลิมสามารถยึดครองแคว้นปัญจาบได้ และตั้งรัฐสุลต่านแห่งเดลีขึ้นจากนั้นก็ขยายออกไปเรื่อยๆ ได้เข้าครองแคว้นคูชราต ซึ่งอยู่ถัดจากแคว้นสินธ์มาทางตะวันออกในปี ค.ศ.๑๒๙๗ (พ.ศ.๑๘๔๐)
จากนั้นเพียงถึงปี ค.ศ. ๑๓๔๐ สุลต่านแห่งเดลีก็เข้ายึดครองเมืองมทุรา ที่อยู่เกือบสุดปลายภาคใต้ของอินเดียไว้ได้
จาก คูชราต ซึ่งเป็นรัฐบนฝั่งทะเลตะวันตกของอินเดียอันมีชื่อเสียงมาแต่พุทธกาล ใกล้อ่าวแคมเบย์และจากอินเดียภาคใต้นั้น ศาสนาอิสลามก็มากับพ่อค้าชาวอินเดียมาสู่อินโดนีเซียตั้งแต่ ค.ศ.ที่ ๑๓ คือ ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา
การมาของศาสนาอิสลามสู่ดินแดนอันเป็นเกาะและชายทะเลแถบนี้ มีลักษณะอันเป็นที่สังเกตว่า เป็นการเดินทางมากับพ่อค้าวาณิช ไม่ได้มากับกองทัพเหมือนอย่างการแผ่ขยายบนผืนแผ่นดิน ในชมพูทวีป
ความจริง พ่อค้าชาวอาหรับ ตลอดจนชาวเปอร์เซีย (ชาวเปอร์เซียไม่ใช่ชาวอาหรับ แต่เป็นคนอารยัน)จากตะวันออกกลางได้เดินทางค้าขายทางทะเลมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว แต่ส่วนมากมาถึงแค่อินเดีย มีส่วนน้อยที่เลยไปถึงแถบสุมาตราและชวาตลอดไปจนถึงจีน
ที่สำคัญคือ ในยุคก่อนศาสนาอิสลามเกิดขึ้น แดนอาหรับเต็มไปด้วยสงครามระหว่างเผ่า ครั้นเมื่อศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในปี ค.ศ.๖๒๒ พระศาสดานบีมูฮัมมัดต้องใช้เวลาไม่น้อยในการสู้รบรวมชนชาวอาหรับให้เป็นอันเดียวกัน
แม้ในยุคกาหลิฟที่สืบต่อมา ตลอดจนในยุคของสุลต่านทั้งหลาย การแผ่ศาสนาอิสลามและการขยายดินแดนมุสลิม ที่เป็นงานอันมุ่งออกไปบนผืนแผ่นดิน ก็เป็นภาระใหญ่ที่ดำเนินมาอีกหลายศตวรรษ
ดังนั้นการแผ่มาของอิสลามทางแถบนี้ ที่เป็นเรื่องก่อน คริสตศตวรรษที่ ๑๓ (ราว พ.ศ.๑๘๐๐)ที่สุมาตรา แม้จะมีร่องรอยอยู่บ้าง ก็จึงสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องรายย่อย เป็นการส่วนบุคคล ยังไม่เป็นการเป็นงาน
ตามที่มีหลักฐาน ศาสนาอิสลามเริ่มต้นในอินโดนีเซียเมื่อสุดคริสตศตวรรษที่ ๑๓ ที่สุมาตราทางภาคเหนือ โดยมีรัฐพาณิชย์มุสลิมกลุ่มเล็กๆ ของชนชาวอาเจะห์ ๒ แห่ง ชื่อสมุทรปาไซ (Samudra-Pasai) แห่งปาไซ ซึ่งต่อจากนี้ไปอีก ๒๐๐ ปีเศษจึงได้เกิดรัฐสุลต่านแห่งอาเจะห์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในสุมาตราภาคเหนือนี้
อีกเพียงประมาณ ๓๐ ปีหลังจากนั้น ทัพมุสลิมอาหรับ ก็บุกเข้าลุ่มแม่น้ำสินธุ รบชนะและเข้าครองดินแดนเข้ามาเรื่อยๆ
ทัพมุสลิมอาหรับ เข้าตีดินแดนที่ปัจจุบันเป็นแคว้นสินธ์ หรือสิทธุ โดยยกมาทางเรือแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงโจมตีทางบก และเข้าครอบครองดินแดนในปี ค.ศ. ๗๑๒ แล้วต่อมาในปี ค.ศ.๗๗๕ (พ.ศ.๑๓๑๘) ก็ยกทัพมาทางเรือเข้าตีเมือง วลภี ได้ทำลายทั้งเมืองวลภีซึ่งเป็นนครหลวงและมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาที่ชื่อมหาวิทยาลัยวลภี พระเจ้าศีลาทิตย์ที่ ๖ ได้ถูกสังหารจึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ไมตรกะ
จากแคว้นสินธ์นั้น ทัพมุสลิมอาหรับ พยายามเคลื่อนทัพตรงเข้าสู่ปัญจาบและกัศมีระ (แคชเมียร์) แต่ในดินแดนแถบนี้ ชาวแว่นแคว้นยังมีความเข้มแข็งมากสามารถสะกัดกั้นทัพมุสลิมอาหรับไว้ได้ ดินแดนของมุสลิมอาหรับในอินเดียจึงถูกจำกัดอยู่แค่นั้น ขยายออกไปไม่ได้อีกเลย จนสิ้นยุคของมุสลิมอาหรับ
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า การที่ทัพมุสลิมอาหรับพิชิตแคว้นสินธ์ได้ในปี ค.ศ.๗๑๑ (พ.ศ.๑๒๕๕) นี้ เป็นนิมิตหมายแห่งการที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่อินเดียและพร้อมกันนั้น แคว้นสินธุที่พิชิตได้คราวนี้ ก็เป็นจุดกำหนดสุดเขตแดนด้านตะวันออกที่มุสลิมอาหรับแผ่อำนาจไปถึงด้วย
การแผ่ไปของอิสลามและขยายแดนอำนาจของมุสลิม ในเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มขึ้นใหม่ และดำเนินไปอย่างกว้างขวางยิ่งใหญ่แท้จริง หลังจากนี้ประมาณ ๓๐๐ ปี ในยุคของทัพมุสลิมเตอร์ก
ทัพมุสลิมเตอร์ก รุกรบเข้ามายังชมพูทวีปจนสามารถตั้งรัฐสุลต่านแห่งเดลี (Delhi Sultanate)ขึ้น เมื่อปี ค.ศ.๑๒๐๖ (พ.ศ.๑๗๔๙) การเข้ามาของมุสลิมเตอร์ก เริ่มด้วยการทำสงครามครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.๑๐๐๑ (พ.ศ.๑๕๔๔) เป็นสงครามระหว่างสุลต่านมะหะหมุด กับราชาไชยบาล แต่สงครามครั้งต่อมาเป็นการรบกับราชาอานันทบาลในปี ค.ศ.๑๐๐๘ เป็นสงครามที่สยดสยองมาก สงครามครั้งนั้นทัพเตอร์กมุสลิมสามารถยึดครองแคว้นปัญจาบได้ และตั้งรัฐสุลต่านแห่งเดลีขึ้นจากนั้นก็ขยายออกไปเรื่อยๆ ได้เข้าครองแคว้นคูชราต ซึ่งอยู่ถัดจากแคว้นสินธ์มาทางตะวันออกในปี ค.ศ.๑๒๙๗ (พ.ศ.๑๘๔๐)
จากนั้นเพียงถึงปี ค.ศ. ๑๓๔๐ สุลต่านแห่งเดลีก็เข้ายึดครองเมืองมทุรา ที่อยู่เกือบสุดปลายภาคใต้ของอินเดียไว้ได้
จาก คูชราต ซึ่งเป็นรัฐบนฝั่งทะเลตะวันตกของอินเดียอันมีชื่อเสียงมาแต่พุทธกาล ใกล้อ่าวแคมเบย์และจากอินเดียภาคใต้นั้น ศาสนาอิสลามก็มากับพ่อค้าชาวอินเดียมาสู่อินโดนีเซียตั้งแต่ ค.ศ.ที่ ๑๓ คือ ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา
การมาของศาสนาอิสลามสู่ดินแดนอันเป็นเกาะและชายทะเลแถบนี้ มีลักษณะอันเป็นที่สังเกตว่า เป็นการเดินทางมากับพ่อค้าวาณิช ไม่ได้มากับกองทัพเหมือนอย่างการแผ่ขยายบนผืนแผ่นดิน ในชมพูทวีป
ความจริง พ่อค้าชาวอาหรับ ตลอดจนชาวเปอร์เซีย (ชาวเปอร์เซียไม่ใช่ชาวอาหรับ แต่เป็นคนอารยัน)จากตะวันออกกลางได้เดินทางค้าขายทางทะเลมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว แต่ส่วนมากมาถึงแค่อินเดีย มีส่วนน้อยที่เลยไปถึงแถบสุมาตราและชวาตลอดไปจนถึงจีน
ที่สำคัญคือ ในยุคก่อนศาสนาอิสลามเกิดขึ้น แดนอาหรับเต็มไปด้วยสงครามระหว่างเผ่า ครั้นเมื่อศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในปี ค.ศ.๖๒๒ พระศาสดานบีมูฮัมมัดต้องใช้เวลาไม่น้อยในการสู้รบรวมชนชาวอาหรับให้เป็นอันเดียวกัน
แม้ในยุคกาหลิฟที่สืบต่อมา ตลอดจนในยุคของสุลต่านทั้งหลาย การแผ่ศาสนาอิสลามและการขยายดินแดนมุสลิม ที่เป็นงานอันมุ่งออกไปบนผืนแผ่นดิน ก็เป็นภาระใหญ่ที่ดำเนินมาอีกหลายศตวรรษ
ดังนั้นการแผ่มาของอิสลามทางแถบนี้ ที่เป็นเรื่องก่อน คริสตศตวรรษที่ ๑๓ (ราว พ.ศ.๑๘๐๐)ที่สุมาตรา แม้จะมีร่องรอยอยู่บ้าง ก็จึงสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องรายย่อย เป็นการส่วนบุคคล ยังไม่เป็นการเป็นงาน
ตามที่มีหลักฐาน ศาสนาอิสลามเริ่มต้นในอินโดนีเซียเมื่อสุดคริสตศตวรรษที่ ๑๓ ที่สุมาตราทางภาคเหนือ โดยมีรัฐพาณิชย์มุสลิมกลุ่มเล็กๆ ของชนชาวอาเจะห์ ๒ แห่ง ชื่อสมุทรปาไซ (Samudra-Pasai) แห่งปาไซ ซึ่งต่อจากนี้ไปอีก ๒๐๐ ปีเศษจึงได้เกิดรัฐสุลต่านแห่งอาเจะห์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในสุมาตราภาคเหนือนี้
No comments:
Post a Comment