สงครามลับของ CIA ในลาว
บทที่ ๔ เขตปลดปล่อยซำเหนือและพงสาลี
ขอย้อนกลับไปกล่าวถึงช่วงเวลา ๒๔๘๙ ที่คณะรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศไทยกำลังลำบากในการหาเงินมาดำเนินการเคลื่อนไหวและยังไม่ต้องการจะกลับไปต่อสู้ในประเทศลาว เจ้าสุภานุวงศ์จึงลอบออกเดินทางกลับไปยังลาว ไปพบปะกับพี่น้องร่วมแผ่นดินกับท่าน เพื่อรวบรวมกองกำลังที่จะกลับมาต่อสู้กับฝรั่งเศสที่ยึดครองประเทศลาวไว้.
ในช่วงกลางปี ๒๔๙๑ มีการประชุมประชาชนนักต่อสู้ที่ตำบลลาวรุ่งทางภาคเหนือโดยมีไกสร พรหมวิหารเป็นประธาน ได้ตกลงจัดตั้งกองทหารลาวอิสระขึ้นทางภาคเหนือของลาว เรียกว่า กองราชวงศ์ กองนี้ได้คัดเลือกคนหนุ่มที่มีพื้นฐานจิตใจแน่วแน่ที่จะรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชนและมีความเสียสละสูง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน กองราชวงศ์ได้ร่วมกันศึกษาการเมือง การทหาร หลักสูตรเร่งรีบ ๓ เดือน แล้วก็แยกย้ายกันออกไปปฏิบัติงานปลุกระดมมวลชน ก่อสร้างพื้นฐานและเขตที่มั่นแห่งใหม่ขึ้น
วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๒ มติของกองประชุมใหญ่ที่เผ่าต่างๆมาประชุมกัน ประกอบด้วยพนักงานพื้นฐาน ทหาร และคณะผู้แทน ๑๗ บ้านจากเขตที่มั่น ได้ประชุมกันที่เมืองเชียงค้อ ท่านไกรสอน พรหมวิหาร ได้แถลงจัดตั้งกองทัพลาวอิสระขึ้นเป็นทางการนับแต่นั้นมา วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๒ จึงเป็นวันประวัติศาสตร์แห่งการจัดตั้งกองทัพประชาชนลาว ภายใต้การนำของพรรคมาร์กซ์-เลนิน โดยกองราชวงศ์เป็นกองแรกเริ่มประกาศจัดตั้งกองทัพลาวอิสระ และกลายมาเป็นกองทัพประชาชนในปัจจุบัน
รัฐบาลลาวต่อต้านและแนวลาวอิสระ ภายใต้คันธงเจ้าสุภานุวงศ์และภายใต้การช่วยเหลือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเวียดนาม ได้ขยายเขตปลดปล่อยหรือสงครามกู้เอกราชออกไปทั่วประเทศ จนนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสต้องถอนกำลังทหารจากสนามรบเวียดนามเข้ามาเสริมในสมรภูมิลาวจึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เวียดมินห์ประสบชัยชนะในสนามรบนั้น แต่ในขณะเดียวกับกองทหารที่มาเสริมในสมรภูมิลาวก็ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับสมรภูมิเวียดนาม จนกระทั่งฝรั่งเศสต้องส่งนายพลนาวารร์ เสนาธิการใหญ่ผู้โด่งดังมาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในอินโดจีนแทนนายพลชาลัง ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๖
๓ ปีที่กองทัพลาวอิสระต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศส(๒๔๙๒-๒๔๙๕)ก็ยังไม่มีเขตปลดปล่อย(ฐานที่มั่น)จนกระทั่งปี ๒๔๙๖ รัฐบาลลาวอิสระจึงได้มีเขตปกครองอยู่ใน ๒ แขวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือแขวงหัวพัน(ซำเหนือ)และแขวงพงสาลี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับเมืองแถงอันที่เป็นที่ตั้งของเดียนเบียนฟูของเวียดนาม
ในการปลดปล่อยแขวงหัวพันกับพงสาลีนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๖ ทหารลาวอิสระภายใต้การนำของท่านสิงกะโป ร่วมด้วยทหารอาสาสมัครเวียดนามได้เข้าโจมตีเป็น ๓ แนว แนวที่ ๑ เริ่มตั้งแต่เส้นชายแดนลาว-เวียดนามไปตามเส้นทางหมายเลข ๖ ตีขึ้นมาทางซำเหนือ แนวที่ ๒ ตีขึ้นมาแต่เส้นชายแดนลาว-เวียดนาม ไปตามเส้นทางหมายเลข ๗ ตีขึ้นมาทางเชียงขวางเพื่อสะกัดเส้นทางหลบหนีของศัตรูจากซำเหนือลงมา แนวที่๓ จากเดียนเบียนฟูตีลงมาถึงเขตแม่น้ำอูมาทางหลวงพระบาง ประชาชนลาวตามเขตที่มั่นในเส้นทางที่ทหารลาวและทหารอาสาสมัครเวียดนามเดินทัพผ่านได้เข้าช่วยเหลือในการลำเลียงขนส่งยุทธสัมภาระ
นายพลสิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี เล่าถึงการปลดปล่อยซำเหนือและพงสาลีไว้ว่า การปลดปล่อยแขวงทั้งสองนั้นนอกจากจะทำให้รัฐบาลลาวอิสระมีเขตปกครองแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนแผนการโจมตีเดียนเบียนฟูของกองทหารเวียดมินห์ด้วย เพราะแขวงซำเหนือเป็นจุดยุทธศาสตร์ติดกับเดียนเบียนฟู และมีกำลังทหารฝรั่งเศสตั้งอยู่มากกว่า ๑๐ กองพัน
ขอย้อนกลับไปกล่าวถึงช่วงเวลา ๒๔๘๙ ที่คณะรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศไทยกำลังลำบากในการหาเงินมาดำเนินการเคลื่อนไหวและยังไม่ต้องการจะกลับไปต่อสู้ในประเทศลาว เจ้าสุภานุวงศ์จึงลอบออกเดินทางกลับไปยังลาว ไปพบปะกับพี่น้องร่วมแผ่นดินกับท่าน เพื่อรวบรวมกองกำลังที่จะกลับมาต่อสู้กับฝรั่งเศสที่ยึดครองประเทศลาวไว้.
ในช่วงกลางปี ๒๔๙๑ มีการประชุมประชาชนนักต่อสู้ที่ตำบลลาวรุ่งทางภาคเหนือโดยมีไกสร พรหมวิหารเป็นประธาน ได้ตกลงจัดตั้งกองทหารลาวอิสระขึ้นทางภาคเหนือของลาว เรียกว่า กองราชวงศ์ กองนี้ได้คัดเลือกคนหนุ่มที่มีพื้นฐานจิตใจแน่วแน่ที่จะรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชนและมีความเสียสละสูง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน กองราชวงศ์ได้ร่วมกันศึกษาการเมือง การทหาร หลักสูตรเร่งรีบ ๓ เดือน แล้วก็แยกย้ายกันออกไปปฏิบัติงานปลุกระดมมวลชน ก่อสร้างพื้นฐานและเขตที่มั่นแห่งใหม่ขึ้น
วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๒ มติของกองประชุมใหญ่ที่เผ่าต่างๆมาประชุมกัน ประกอบด้วยพนักงานพื้นฐาน ทหาร และคณะผู้แทน ๑๗ บ้านจากเขตที่มั่น ได้ประชุมกันที่เมืองเชียงค้อ ท่านไกรสอน พรหมวิหาร ได้แถลงจัดตั้งกองทัพลาวอิสระขึ้นเป็นทางการนับแต่นั้นมา วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๒ จึงเป็นวันประวัติศาสตร์แห่งการจัดตั้งกองทัพประชาชนลาว ภายใต้การนำของพรรคมาร์กซ์-เลนิน โดยกองราชวงศ์เป็นกองแรกเริ่มประกาศจัดตั้งกองทัพลาวอิสระ และกลายมาเป็นกองทัพประชาชนในปัจจุบัน
รัฐบาลลาวต่อต้านและแนวลาวอิสระ ภายใต้คันธงเจ้าสุภานุวงศ์และภายใต้การช่วยเหลือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเวียดนาม ได้ขยายเขตปลดปล่อยหรือสงครามกู้เอกราชออกไปทั่วประเทศ จนนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสต้องถอนกำลังทหารจากสนามรบเวียดนามเข้ามาเสริมในสมรภูมิลาวจึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เวียดมินห์ประสบชัยชนะในสนามรบนั้น แต่ในขณะเดียวกับกองทหารที่มาเสริมในสมรภูมิลาวก็ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับสมรภูมิเวียดนาม จนกระทั่งฝรั่งเศสต้องส่งนายพลนาวารร์ เสนาธิการใหญ่ผู้โด่งดังมาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในอินโดจีนแทนนายพลชาลัง ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๖
๓ ปีที่กองทัพลาวอิสระต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศส(๒๔๙๒-๒๔๙๕)ก็ยังไม่มีเขตปลดปล่อย(ฐานที่มั่น)จนกระทั่งปี ๒๔๙๖ รัฐบาลลาวอิสระจึงได้มีเขตปกครองอยู่ใน ๒ แขวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือแขวงหัวพัน(ซำเหนือ)และแขวงพงสาลี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับเมืองแถงอันที่เป็นที่ตั้งของเดียนเบียนฟูของเวียดนาม
ในการปลดปล่อยแขวงหัวพันกับพงสาลีนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๖ ทหารลาวอิสระภายใต้การนำของท่านสิงกะโป ร่วมด้วยทหารอาสาสมัครเวียดนามได้เข้าโจมตีเป็น ๓ แนว แนวที่ ๑ เริ่มตั้งแต่เส้นชายแดนลาว-เวียดนามไปตามเส้นทางหมายเลข ๖ ตีขึ้นมาทางซำเหนือ แนวที่ ๒ ตีขึ้นมาแต่เส้นชายแดนลาว-เวียดนาม ไปตามเส้นทางหมายเลข ๗ ตีขึ้นมาทางเชียงขวางเพื่อสะกัดเส้นทางหลบหนีของศัตรูจากซำเหนือลงมา แนวที่๓ จากเดียนเบียนฟูตีลงมาถึงเขตแม่น้ำอูมาทางหลวงพระบาง ประชาชนลาวตามเขตที่มั่นในเส้นทางที่ทหารลาวและทหารอาสาสมัครเวียดนามเดินทัพผ่านได้เข้าช่วยเหลือในการลำเลียงขนส่งยุทธสัมภาระ
นายพลสิงกะโป สีโคตจุนนะมาลี เล่าถึงการปลดปล่อยซำเหนือและพงสาลีไว้ว่า การปลดปล่อยแขวงทั้งสองนั้นนอกจากจะทำให้รัฐบาลลาวอิสระมีเขตปกครองแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนแผนการโจมตีเดียนเบียนฟูของกองทหารเวียดมินห์ด้วย เพราะแขวงซำเหนือเป็นจุดยุทธศาสตร์ติดกับเดียนเบียนฟู และมีกำลังทหารฝรั่งเศสตั้งอยู่มากกว่า ๑๐ กองพัน
No comments:
Post a Comment