บทที่ ๔ ชี้นำผู้คุมให้เข้าใจความจริง
ก่อนหน้าการจับกุมคุมขังเจ้าสุภานุวงศ์และคณะหลายเดือน สหายสิงกะโป สีโคตจุนนะมาลียังพักอยู่ในบ้านพักรับรองที่ทางรัฐบาลเวียงจันทน์จัดให้ คือบ้านพักรับรองข้างค่ายโพนเค็ง ซึ่งสหายได้มีโอกาสรู้จักกับทหารบางคน ซึ่งจะมีผลต่อมาในภายหลัง
สหายสิงกะโปเล่าว่า ในระหว่างที่ท่านอยู่บ้านพักข้างค่ายโพนเค็ง ท่านได้ทำความรู้จักกับทหารที่ค่ายนั้น ชื่อ ท้าวหวา เป็นหัวหน้ารับผิดชอบศูนย์กลางโทรศัพท์ที่ค่ายโพนเค็ง เขาเป็นนักมวยแต่ฝีมือไม่ดี ชกไม่ชนะอย่างดีก็แค่เสมอกับแพ้ สหายสิงกะโปเป็นนักมวยเก่า เห็นหน่วยก้านท้าวหวาก็คิดว่าถ้าได้ครูมวยดีๆเขาอาจจะเป็นนักมวยมีฝีมือได้ จึงได้ตีสนิททำความรู้จักและในที่สุดก็ได้สอนมวยให้จนท้าวหวาเก่งกล้าขึ้นชกที่ไหนชนะที่นั่น สามารถปราบนักมวยประเภทเสือๆ ของเวียงจันทน์ได้ราบคาบ เขาจึงให้ความเคารพนับถือและต่อมาก็เป็นความนับถือเสมือนศิษย์กับอาจารย์
สหายสิงกะโปบอกว่า
“เมื่อเขายอมรับนับถือเราหมดใจเช่นนี้ เราจึงไม่ปล่อยให้โอกาสที่จะชี้นำท้าวหวาให้เข้าใจในปัญหาบ้านเมืองและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และตั้งใจไว้ว่าจะจัดตั้งท้าวหวาอย่างจริงจัง”
ในเวลาต่อมาสหายสิงกะโปได้พบกับนายทหารหนุ่มของฝ่ายราชอาณาจักรอีก ๒ คน คือ ร.อ.กองแล และ ร.ท.เดือน สุนนะลาด สำหรับกองแลนั้นเขาเป็นลูกศิษย์ของภรรยาของท่าน ซึ่งอยู่ที่สวันเขต กองแลจึงนับถือสหายสิงกระโปเป็นอาจารย์
ขณะนั้นกองแลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองพันทหารราบอากาศที่ ๒ ได้ระบายความในใจของเขาที่ไม่พอใจรัฐบาลฝ่ายราชอาณาจักรให้ท่านสิงกะโปฟัง รวมทั้งความเป็นอยู่ของพวกเขาที่ไม่มีอนาคต มีแต่รบกับรบ ไม่รู้ว่าจะตายวันไหน
สหายสิงกะโปจึงได้โอกาสชี้นำอธิบายให้พวกเขาเข้าใจในปัญหาบ้านเมือง ซึ่งได้ยังความพอใจให้พวกเขา และทั้งสองคนก็ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้เขาเข้าใจสภาพการณ์บ้านเมืองดีขึ้น เข้าใจแนวลาวรักชาติ ต่อมากองแลและเดือนได้มีโอกาสพบกับเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ โดยการจัดการของสหายสิงกะโปตามคำขอร้องของกองแล ซึ่งได้ยังความพอใจให้กับเขาเป็นอย่างมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างท่านสิงกะโปกับ ร้อยเอกกองแล นั้น เอกสารบางชิ้นอ้างว่าเป็นความประสงค์ของ ซี.ไอ.เอ. เพราะสหายสิงกะโปเป็นนายทหารของแนวลาวรักชาติที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการรบมากที่สุดคนหนึ่งที่ ซี.ไอ.เอ.รู้จักดี จึงได้ส่งกองแลที่ ซี.ไอ.เอ.รู้ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างกองแลกับครอบครัวของสหายสิงกะโปเป็นอย่างดี ให้เข้ามาติดต่อใกล้ชิดกับท่าน แต่เหตุการณ์ในอนาคตต่อไปจะชี้ให้เห็นว่า สหายสิงกะโปกลับดึงกองแลออกจากกองทัพของราชอาณาจักร
ต่อมาเมื่อสหายสิงกะโปถูกจับกุมเข้าคุกโพงเค็ง กองพันทหารราบที่ ๒ ของกองแลถูกสั่งย้ายออกจากเวียงจันทน์ไปประจำอยู่แขวงสาละวัน ด้วยเหตุผลลึกๆว่าเพราะมีการติดต่อสัมพันธ์กับสหายสิงกะโป ส่วนท้าวหวาซึ่งเป็นทหารอยู่ค่ายโพนเค็งยังสัมพันธ์ปกติกับท่านสิงกะโป และต่อมาท้าวหวาได้เป็นกุญแจสำคัญในการแหกคุกครั้งบันลือโลกที่จะเกิดขึ้น
ก่อนหน้าการจับกุมคุมขังเจ้าสุภานุวงศ์และคณะหลายเดือน สหายสิงกะโป สีโคตจุนนะมาลียังพักอยู่ในบ้านพักรับรองที่ทางรัฐบาลเวียงจันทน์จัดให้ คือบ้านพักรับรองข้างค่ายโพนเค็ง ซึ่งสหายได้มีโอกาสรู้จักกับทหารบางคน ซึ่งจะมีผลต่อมาในภายหลัง
สหายสิงกะโปเล่าว่า ในระหว่างที่ท่านอยู่บ้านพักข้างค่ายโพนเค็ง ท่านได้ทำความรู้จักกับทหารที่ค่ายนั้น ชื่อ ท้าวหวา เป็นหัวหน้ารับผิดชอบศูนย์กลางโทรศัพท์ที่ค่ายโพนเค็ง เขาเป็นนักมวยแต่ฝีมือไม่ดี ชกไม่ชนะอย่างดีก็แค่เสมอกับแพ้ สหายสิงกะโปเป็นนักมวยเก่า เห็นหน่วยก้านท้าวหวาก็คิดว่าถ้าได้ครูมวยดีๆเขาอาจจะเป็นนักมวยมีฝีมือได้ จึงได้ตีสนิททำความรู้จักและในที่สุดก็ได้สอนมวยให้จนท้าวหวาเก่งกล้าขึ้นชกที่ไหนชนะที่นั่น สามารถปราบนักมวยประเภทเสือๆ ของเวียงจันทน์ได้ราบคาบ เขาจึงให้ความเคารพนับถือและต่อมาก็เป็นความนับถือเสมือนศิษย์กับอาจารย์
สหายสิงกะโปบอกว่า
“เมื่อเขายอมรับนับถือเราหมดใจเช่นนี้ เราจึงไม่ปล่อยให้โอกาสที่จะชี้นำท้าวหวาให้เข้าใจในปัญหาบ้านเมืองและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และตั้งใจไว้ว่าจะจัดตั้งท้าวหวาอย่างจริงจัง”
ในเวลาต่อมาสหายสิงกะโปได้พบกับนายทหารหนุ่มของฝ่ายราชอาณาจักรอีก ๒ คน คือ ร.อ.กองแล และ ร.ท.เดือน สุนนะลาด สำหรับกองแลนั้นเขาเป็นลูกศิษย์ของภรรยาของท่าน ซึ่งอยู่ที่สวันเขต กองแลจึงนับถือสหายสิงกระโปเป็นอาจารย์
ขณะนั้นกองแลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองพันทหารราบอากาศที่ ๒ ได้ระบายความในใจของเขาที่ไม่พอใจรัฐบาลฝ่ายราชอาณาจักรให้ท่านสิงกะโปฟัง รวมทั้งความเป็นอยู่ของพวกเขาที่ไม่มีอนาคต มีแต่รบกับรบ ไม่รู้ว่าจะตายวันไหน
สหายสิงกะโปจึงได้โอกาสชี้นำอธิบายให้พวกเขาเข้าใจในปัญหาบ้านเมือง ซึ่งได้ยังความพอใจให้พวกเขา และทั้งสองคนก็ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้เขาเข้าใจสภาพการณ์บ้านเมืองดีขึ้น เข้าใจแนวลาวรักชาติ ต่อมากองแลและเดือนได้มีโอกาสพบกับเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ โดยการจัดการของสหายสิงกะโปตามคำขอร้องของกองแล ซึ่งได้ยังความพอใจให้กับเขาเป็นอย่างมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างท่านสิงกะโปกับ ร้อยเอกกองแล นั้น เอกสารบางชิ้นอ้างว่าเป็นความประสงค์ของ ซี.ไอ.เอ. เพราะสหายสิงกะโปเป็นนายทหารของแนวลาวรักชาติที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการรบมากที่สุดคนหนึ่งที่ ซี.ไอ.เอ.รู้จักดี จึงได้ส่งกองแลที่ ซี.ไอ.เอ.รู้ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างกองแลกับครอบครัวของสหายสิงกะโปเป็นอย่างดี ให้เข้ามาติดต่อใกล้ชิดกับท่าน แต่เหตุการณ์ในอนาคตต่อไปจะชี้ให้เห็นว่า สหายสิงกะโปกลับดึงกองแลออกจากกองทัพของราชอาณาจักร
ต่อมาเมื่อสหายสิงกะโปถูกจับกุมเข้าคุกโพงเค็ง กองพันทหารราบที่ ๒ ของกองแลถูกสั่งย้ายออกจากเวียงจันทน์ไปประจำอยู่แขวงสาละวัน ด้วยเหตุผลลึกๆว่าเพราะมีการติดต่อสัมพันธ์กับสหายสิงกะโป ส่วนท้าวหวาซึ่งเป็นทหารอยู่ค่ายโพนเค็งยังสัมพันธ์ปกติกับท่านสิงกะโป และต่อมาท้าวหวาได้เป็นกุญแจสำคัญในการแหกคุกครั้งบันลือโลกที่จะเกิดขึ้น
No comments:
Post a Comment