สงครามลับของ CIA ในลาว
บทที่ ๑. เริ่มแทรกเข้ามาวุ่นวายในอินโดจีน
ในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาจ่ายเงินให้ฝรั่งเศสเป็นค่าใช้จ่ายในการทำ “สงครามสกปรก” ถึงร้อยละ ๘๐ ของทั้งหมดและก็กำลังวางแผนที่จะเข้าแทรกแซงโดยตรงโดยใช้กองทหารของตนเอง ทั้งนี้ ยังไม่กล่าวถึงกำลังทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่มีบทบาทอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าดอลล่าร์หรือรถถัง เครื่องบินหรือปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่ซากสลักหักพังเกลื่อนกลาดอยู่ในหุบเดียนเบียนฟูก็ไม่อาจช่วยให้ฝรั่งเศสรอดพ้นจากการพ่ายแพ้อย่างหมดรูปได้ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงเสนอให้ใช้กำลังเข้าแทรกแซงโดยตรง
โรเจอร์ ฮิลสแมน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศด้านตะวันออกไกลอเมริกัน ได้กล่าวถึงแผนการแทรกแซงนี้ในหนังสือ To Move a Nation ว่า
“เมื่อถึงกลางเดือนมีนาคม (๒๔๙๗)ฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ป้องกันเดียนเบียนฟูกำลังอยู่ในฐานะลำบากมาก ทางวอชิงตันก็มีความห่วงใยอยู่มากเช่นกัน พลเรือเอกแรดฟอร์ดประธานเสนาธิการผสมอเมริกันได้เสนอต่อกองบัญชาการฝรั่งเศสว่า จะใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันหกสิบลำจากคล๊าร์กฟิลด์ในฟิลิปปินส์ โดยมีเครื่องบินประจัญบานจากกองทัพเรือที่เจ็ดคุ้มกันเข้าโจมตีกำลังรบที่รายรอบเดียนเบียนฟูเพื่อ “กวาดล้างปืนใหญ่ของเวียดมินห์ที่ตั้งล้อมอยู่ตลอดจนการติดต่อสื่อสารต่างๆ..” แผนนี้มีชื่อว่า “ยุทธการอีแร้ง”
ในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาจ่ายเงินให้ฝรั่งเศสเป็นค่าใช้จ่ายในการทำ “สงครามสกปรก” ถึงร้อยละ ๘๐ ของทั้งหมดและก็กำลังวางแผนที่จะเข้าแทรกแซงโดยตรงโดยใช้กองทหารของตนเอง ทั้งนี้ ยังไม่กล่าวถึงกำลังทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่มีบทบาทอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าดอลล่าร์หรือรถถัง เครื่องบินหรือปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่ซากสลักหักพังเกลื่อนกลาดอยู่ในหุบเดียนเบียนฟูก็ไม่อาจช่วยให้ฝรั่งเศสรอดพ้นจากการพ่ายแพ้อย่างหมดรูปได้ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงเสนอให้ใช้กำลังเข้าแทรกแซงโดยตรง
โรเจอร์ ฮิลสแมน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศด้านตะวันออกไกลอเมริกัน ได้กล่าวถึงแผนการแทรกแซงนี้ในหนังสือ To Move a Nation ว่า
“เมื่อถึงกลางเดือนมีนาคม (๒๔๙๗)ฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ป้องกันเดียนเบียนฟูกำลังอยู่ในฐานะลำบากมาก ทางวอชิงตันก็มีความห่วงใยอยู่มากเช่นกัน พลเรือเอกแรดฟอร์ดประธานเสนาธิการผสมอเมริกันได้เสนอต่อกองบัญชาการฝรั่งเศสว่า จะใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันหกสิบลำจากคล๊าร์กฟิลด์ในฟิลิปปินส์ โดยมีเครื่องบินประจัญบานจากกองทัพเรือที่เจ็ดคุ้มกันเข้าโจมตีกำลังรบที่รายรอบเดียนเบียนฟูเพื่อ “กวาดล้างปืนใหญ่ของเวียดมินห์ที่ตั้งล้อมอยู่ตลอดจนการติดต่อสื่อสารต่างๆ..” แผนนี้มีชื่อว่า “ยุทธการอีแร้ง”
เมื่อผู้นำของรัฐสภาอเมริกันทราบถึงข้อเสนอนี้ก็มีความพิศวงไปตามๆกัน ในเมื่ออเมริกันเคยมีประสบการณ์จากสงครามเกาหลีมาแล้ว โดยแผน “ยุทธการรัดคอหอย” เคยประสบความล้มเหลวมาแล้วในสงครามเกาหลี ไม่สามารถทำลายระบบขนส่งของเกาหลี-จีนลงได้ ยิ่งพลเรือเอกแรดฟอร์ดให้คำมั่นว่า “ถล่มระเบิดลงไปครั้งเดียวก็จะได้ผล—ถ้าไม่ได้ผล ครั้งที่สองก็ต้องได้ผลแน่ๆ” ก็ยิ่งน่าสงสัยยิ่งขึ้น พวกผู้นำรัฐสภาจึงได้วางเงื่อนไขไว้สามข้อ ก่อนที่ทางทหารจะปฏิบัติตามแผน เงื่อนไขที่ทางรัฐสภาอ้างนี้ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า รัฐสภาอเมริกันที่อ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตยนั้น มีความคิดในเรื่องเอกราชและสิทธิในการกำหนดตนเองของชาติอื่นไว้อย่างไร เงื่อนไข ๓ ข้อมีว่า
๑.การให้ความสนับสนุนฝรั่งเศสจะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายประเทศ
๑.การให้ความสนับสนุนฝรั่งเศสจะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายประเทศ
๒.ฝรั่งเศสจะต้องรีบให้เอกราชแก่ชาติในอินโดจีน และ
๓. ฝรั่งเศสจะต้องไม่ถอนกองกำลังรบออกมาจากอินโดจีน
ก็ไม่ทราบว่าเอกราชของชาติตามที่รัฐสภาอเมริกันเสนอมานี้จะมีความหมายเช่นไรในเมื่อฝรั่งเศสจะต้องยังคงกองทัพไว้ในดินแดนเมืองขึ้น ขณะเดียวกันเมืองขึ้นนั้นก็จะต้องมีเอกราชด้วย?
นายฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอเมริกัน ได้ติดต่อนายแอนโธนี อีเดน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษทันที เพื่อจะขอการสนับสนุนแผนทิ้งระเบิดในอินโดจีน นายอีเดนบันทึกไว้ในหนังสือ Full Circle ในปี ๑๙๖๐ ถึงความเดือดดาลทั้งของเขาและของ เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี ในเมื่อพวกเขามองเห็นทะลุปรุโปร่งถึงความคิดของดัสเลสที่พยายามผลักดันให้ทั้งสองตกอยู่ในฐานะไม่เพียงแต่เข้าพัวพันในสงครามอินโดจีนเท่านั้น หากยังเป็นผู้ “ปลุกปั่น” ให้มีการ “สนับสนุนจากหลายประเทศ” ดังเช่นกรณีเข้าแทรกแซงระหว่างประเทศตามแบบที่เคยเกิดขึ้นในสงครามเกาหลี
นายฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอเมริกัน ได้ติดต่อนายแอนโธนี อีเดน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษทันที เพื่อจะขอการสนับสนุนแผนทิ้งระเบิดในอินโดจีน นายอีเดนบันทึกไว้ในหนังสือ Full Circle ในปี ๑๙๖๐ ถึงความเดือดดาลทั้งของเขาและของ เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี ในเมื่อพวกเขามองเห็นทะลุปรุโปร่งถึงความคิดของดัสเลสที่พยายามผลักดันให้ทั้งสองตกอยู่ในฐานะไม่เพียงแต่เข้าพัวพันในสงครามอินโดจีนเท่านั้น หากยังเป็นผู้ “ปลุกปั่น” ให้มีการ “สนับสนุนจากหลายประเทศ” ดังเช่นกรณีเข้าแทรกแซงระหว่างประเทศตามแบบที่เคยเกิดขึ้นในสงครามเกาหลี
No comments:
Post a Comment