การอภิวัฒน์ของประชาชนลาว-สงคราม ๓๐ ปีหลังการประกาศเอกราช
บทที่ ๘ สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซง
นอกเหนือจากการดำเนินความพยายามดังกล่าวแล้ว ฝรั่งเศสยังได้ยกเอกราชมาเป็นกลลวง ด้วยการผ่อนผันให้ลาวเป็นเอกราช แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส โดยเจ้าชีวิตสว่างวงได้ลงพระมรมาภิไธยในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-ลาว ร่วมกับนายวังชอง โอริโอน(M.Vincent Auriol)ประธานนาธิบดีฝรั่งเศสในวันที่๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๒ มีข้อความสำคัญว่า “ประเทศลาวเป็นประเทศเอกราชพอใจร่มอยู่ในสหพันธ์ฝรั่งเศส (Union Francaise) โดยสมัครใจ”
ต่อมาในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พงศ.๒๔๙๓ นายอลัชชิน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แจ้งต่อประธานาธิบดี เฮนรี เอช.ทรูแมน ว่ารัฐสภาของฝรั่งเศสมีมติให้สัตยาบันในอนุสัญญาให้สถาปนาเวียดนาม ลาว และกัมพูชาเป็น “รัฐอิสระ (Autonomous State)ภายใต้การกำกับดูแลของฝรั่งเศส พร้อมทั้งแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริการับรองรัฐบาลหุ่นที่จัดตั้งขึ้นในเวียงจันทน์ พนมเปญและไซ่ง่อน ด้วยเหตุผล ๔ ประการ ดังนี้คือ
๑.สนับสนุนส่งเสริม “ความเป็นชาติ” ตามที่ประชาชนในดินแดนอาณานิคมอินโดจีนเรียกร้อง ทั้งนี้อยู่ภายใต้ผู้นำที่มิใช่คอมมิวนิสต์
๒.ก่อตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและไม่เป็นคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในพื้นที่ติดต่อกับจีน
๓.ให้การสนับสนุนฝรั่งเศสในฐานะเป็นชาติพันธมิตรนาโต้ และ
๔.เพื่อแสดงความไม่พอใจฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ใช้ยุทธวิธีโน้นน้าวชาติในเอเซียไปเป็นพวก โดยใช้ลัทธิชาตินิยมในหมู่ชนชาติส่วนน้อยเป็นเครื่องบังหน้า
ประธานาธิบดีทรูแมนได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๓ และได้ประกาศรับรองรัฐบาลหุ่นที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ทั้งที่เวียงจันทน์ พนมเปญ และไซ่ง่อนอย่างเป็นทางการ
ในช่วงเวลานั้นความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจต่อขบวนการชาตินิยมในอินโดจีนมีขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงในจีน กองทัพก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้แก่กองทัพแดงภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง โจวเอินไหล และนายพล จูเต๋อ จนต้องถอนตัวถอยร่นออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ลงมายังพม่า ลาวและไทย
ประธานาธิบดีเฮนรี เอช.ทูรแมน และคณะที่ปรึกษาได้พิจารณาว่า การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ลงมายังดินแดนอินโดจีนนั้นเปรียบเสมือน “การแพร่ตัวของเชื้อโรคร้าย” ต้องหาทางยับยั้งการแพร่ระบาดเสียแต่แรก เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ร้ายแรงเกินกว่าจะควบคุมได้
หลังจากมีการเผยแพร่สมมติฐานแห่งตรรกะของทฤษฎีโดมิโน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศเสียใหม่ ขณะเดียวกันเพนตากอนหรือกระทรวงกลาโหมก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้เช่นกัน ดังระบุไว้ในรายงานของเพนตากอน เสนอให้ช่วยเหลือรัฐบาลหุ่นเชิดทั้งในเวียดนามใต้ เวียงจันทน์ และพนมเปญ ที่ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนในการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายขบวนการชาตินิยมในอินโดจีน และมุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งมีเสถียรภาพของรัฐบาลที่สหรัฐฯ เข้าไปให้การสนับสนุนโดยถือว่าเป็น “การทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์”
ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปผลักดันสนับสนุนฝ่ายทหารในกองทัพบกของไทย ให้กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นผู้นำ และมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีคลัง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย และเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญของการเมืองในลาว รวมทั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ทางด้านฝรั่งเศสได้แต่งตั้งเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ที่เคยช่วยกองทหารฝรั่งเศสหลบหนีการปราบปรามของกองทหารญี่ปุ่น ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรอง การให้การรับรองดังกล่าวมีผลให้รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมายไปทันที
รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในประเทศไทย ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ ต้องยุติบทบาทและปิดฉากลงโดยสิ้นเชิง เมื่อฝ่ายกองทัพไทยยึดอำนาจการปกครองประเทศไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ การก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองของฝ่ายทหารได้พลิกโฉมการเมืองไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่เรียกว่า “ยุคทมิฬ”
หลังจากมีการเผยแพร่สมมติฐานแห่งตรรกะของทฤษฎีโดมิโน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศเสียใหม่ ขณะเดียวกันเพนตากอนหรือกระทรวงกลาโหมก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้เช่นกัน ดังระบุไว้ในรายงานของเพนตากอน เสนอให้ช่วยเหลือรัฐบาลหุ่นเชิดทั้งในเวียดนามใต้ เวียงจันทน์ และพนมเปญ ที่ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนในการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายขบวนการชาตินิยมในอินโดจีน และมุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งมีเสถียรภาพของรัฐบาลที่สหรัฐฯ เข้าไปให้การสนับสนุนโดยถือว่าเป็น “การทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์”
ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปผลักดันสนับสนุนฝ่ายทหารในกองทัพบกของไทย ให้กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นผู้นำ และมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีคลัง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย และเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญของการเมืองในลาว รวมทั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ทางด้านฝรั่งเศสได้แต่งตั้งเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ที่เคยช่วยกองทหารฝรั่งเศสหลบหนีการปราบปรามของกองทหารญี่ปุ่น ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรอง การให้การรับรองดังกล่าวมีผลให้รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเจ้าเพ็ดชะลาดเป็นนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมายไปทันที
รัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นในประเทศไทย ภายใต้การนำของเจ้าเพ็ดชะลาดเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ ต้องยุติบทบาทและปิดฉากลงโดยสิ้นเชิง เมื่อฝ่ายกองทัพไทยยึดอำนาจการปกครองประเทศไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ การก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองของฝ่ายทหารได้พลิกโฉมการเมืองไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่เรียกว่า “ยุคทมิฬ”
No comments:
Post a Comment