การอภิวัฒน์ของประชาชนลาว-สงคราม ๓๐ ปีหลังประกาศเอกราช
บทที่๑๐ เจ้าเพ็ดชะลาดคืนถิ่นและการเริ่มต้นแห่งการต่อต้านอย่างแท้จริง
ก่อนเดินทางกลับคืนประเทศ เจ้าเพ็ดชะลาดได้แจ้งให้บรรดาเจ้าหนี้ทุกคนที่กู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในการกู้ชาติทราบว่า ผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนรัฐสภารับปากว่าจะชดใช้หนี้สินดังกล่าวให้ ทั้งในส่วนของกองทหารลาวอิสระตามแนวชายแดน การเลี้ยงดูชาวลาวอพยพ และครอบครัวสมาชิกของคณะรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่น
จากนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดได้ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยชั้นทวีติยาภรณ์ พร้อมสายสะพาย แล้วไปอำลาจอมพล ป.พิบูลสงคราม รวมทั้งผู้สนิทชิดชอบในช่วง ๑๐ ปีที่ลี้ภัยอยู่ในเมืองไทย
เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดหนองคาย ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๐ โดยรถไฟขบวนพิเศษที่รัฐบาลไทยจัดให้ พร้อมด้วยวิรัตน์ บุพพะสิริ และคณะผู้ลี้ภัยอีกจำนวนหนึ่ง หลังข้ามแม่น้ำโขงไปยังท่าเดื่อรัฐบาลลาว ในช่วงนั้นมีเจ้าสุวันนะพูมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่เวียงจันทน์
เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง เข้ากราบบังคมทูลเจ้ามหาชีวิตสว่างวงในวันสงกรานต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้ามหาอุปราชคืนดังเดิม ตามที่ฝ่ายฝรั่งเศสและรัฐบาลได้ประกาศไว้ จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมเยียนเจ้าแขวง เจ้าเมือง ตาแสง นายบ้าน และราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ที่สำคัญคือ ได้ไปเยี่ยมเจ้าสุพานุวงยังฐานที่มั่นสำคัญของ “ขบวนการประเทดลาว” ที่ซำเหนือในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๐ และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากทหารและประชาชน
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลและหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองในลาว พยายามจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายขวาขึ้นในประเทศ โดยสนับสนุนให้นักการเมืองฝ่ายขวา คือ ผุย ชะนะนิกอน ผู้เป็นญาติกับอุ่น ชะนะนิกอน ให้โค่นล้มรัฐบาลผสมของเจ้าสุวันนะพูมา แล้วขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน
รัฐบาลฝ่ายขวาภายใต้การนำของ ผุย ชะนะนิกอน ชุดนี้มีอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นบางคนเข้าร่วม เช่น คำม้าว วิไล กระต่าย โตนสะโสลิด ต่อมาได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายขวายึดบ้านของเจ้าเพ็ดชะลาดในเวียงจันทน์แล้วใช้เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี และมีคำสั่งให้จับเจ้าสุพานุวง สิงกะโปฯ สมาชิกขบวนการประเทศลาวในรัฐสภาไปคุมขัง รวมทั้งสมาชิก “ขบวนการประเทดลาว” ในรัฐสภาอีกหลายคน หลังจากนั้นในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๒ เจ้าเพ็ดชะลาดได้ถึงแก่มรณกรรมที่วังเชียงแก้วด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก ขณะอายุได้ ๗๐ ปี
จากนั้นเจ้าเพ็ดชะลาดได้ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยชั้นทวีติยาภรณ์ พร้อมสายสะพาย แล้วไปอำลาจอมพล ป.พิบูลสงคราม รวมทั้งผู้สนิทชิดชอบในช่วง ๑๐ ปีที่ลี้ภัยอยู่ในเมืองไทย
เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดหนองคาย ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๐ โดยรถไฟขบวนพิเศษที่รัฐบาลไทยจัดให้ พร้อมด้วยวิรัตน์ บุพพะสิริ และคณะผู้ลี้ภัยอีกจำนวนหนึ่ง หลังข้ามแม่น้ำโขงไปยังท่าเดื่อรัฐบาลลาว ในช่วงนั้นมีเจ้าสุวันนะพูมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่เวียงจันทน์
เจ้าเพ็ดชะลาดเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง เข้ากราบบังคมทูลเจ้ามหาชีวิตสว่างวงในวันสงกรานต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้ามหาอุปราชคืนดังเดิม ตามที่ฝ่ายฝรั่งเศสและรัฐบาลได้ประกาศไว้ จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมเยียนเจ้าแขวง เจ้าเมือง ตาแสง นายบ้าน และราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ที่สำคัญคือ ได้ไปเยี่ยมเจ้าสุพานุวงยังฐานที่มั่นสำคัญของ “ขบวนการประเทดลาว” ที่ซำเหนือในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๐ และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากทหารและประชาชน
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลและหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองในลาว พยายามจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายขวาขึ้นในประเทศ โดยสนับสนุนให้นักการเมืองฝ่ายขวา คือ ผุย ชะนะนิกอน ผู้เป็นญาติกับอุ่น ชะนะนิกอน ให้โค่นล้มรัฐบาลผสมของเจ้าสุวันนะพูมา แล้วขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน
รัฐบาลฝ่ายขวาภายใต้การนำของ ผุย ชะนะนิกอน ชุดนี้มีอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลลาวอิสระพลัดถิ่นบางคนเข้าร่วม เช่น คำม้าว วิไล กระต่าย โตนสะโสลิด ต่อมาได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายขวายึดบ้านของเจ้าเพ็ดชะลาดในเวียงจันทน์แล้วใช้เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี และมีคำสั่งให้จับเจ้าสุพานุวง สิงกะโปฯ สมาชิกขบวนการประเทศลาวในรัฐสภาไปคุมขัง รวมทั้งสมาชิก “ขบวนการประเทดลาว” ในรัฐสภาอีกหลายคน หลังจากนั้นในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๒ เจ้าเพ็ดชะลาดได้ถึงแก่มรณกรรมที่วังเชียงแก้วด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก ขณะอายุได้ ๗๐ ปี
No comments:
Post a Comment