บทที่ ๒ การสอบสวนของอัยการ
วันต่อมาผุย ชนะนิกรได้สั่งให้พวกอัยการ ศาล เข้ามาในคุกโพนเค็ง เพื่อทำการสอบสวนสหายสุภานุวงศ์และสหายอื่นๆ ผุยคิดว่าการทำเช่นนี้ในด้านหนึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมือง พร้อมกันนั้นก็เพื่อข่มขู่สหายสุภานุวงศ์และสหายอื่นๆ เขาไม่นึกว่าการสอบสวนนั้นจะกลายเป็นการกล่าวโทษเขาเอง
บรรดาคำถามที่พวกอัยการได้ถามสหายสุภานุวงศ์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามที่ผูกมัดให้สหายสุภานุวงศ์รับว่าตนได้ก่อการกบฏต่อประเทศชาติ เช่นได้ถามว่าเสด็จได้ยุแหย่ให้กองทหารฝ่ายปเทดลาวแข็งข้อต่อรัฐบาลราชอาณาจักร ใช่ไหม? เสด็จได้ร่วมมือกับต่างประเทศก่อความไม่สงบภายในประเทศใช่ไหม? เสด็จได้ทรยศต่อประเทศชาติใช่ไหม? และอื่นๆ คำตอบที่พวกอัยการ ศาลได้รับ ก็คือ “ไม่”
แล้วเจ้าสุภานุวงศ์ได้ชี้แจงถึงความรักชาติที่ท่านได้กระทำมาและกล่าวประนามการกระทำที่ขายชาติของผุย ชนะนิกร สหายได้ชี้แจงอย่างจะแจ้งว่าสหายไม่เคยได้มีการกระทำที่เป็นการทรยศต่อประเทศชาติ ภายหลังที่ประชาชนลาวได้ยึดอำนาจการปกครองจากพวกฟาสซิสต์ญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ สหายได้กลับคืนประเทศและได้เข้าร่วมในรัฐบาลลาวอิสระ เมื่อฝรั่งเศสได้กลับเข้ามายึดลาวอีกในภายหลัง สหายก็ได้ต่อสู้กับฝรั่งเศสผู้รุกราน การกระทำที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศชาตินั้น จะถือเป็นการทรยศต่อชาติไม่ได้อย่างเด็ดขาด
สหายสุภานุวงศ์ได้ชี้แจงว่า การต่อสู้เพื่อเอกราชของสหายนั้น ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำมาซึ่งสันติภาพในอินโดจีนในปี ๒๔๙๗ สัญญาเจนีวา ๒๔๙๗ ได้ยอมรับเอกราชและอธิปไตยของลาวเช่นเดียวกับบรรดาประเทศในแหลมอินโดจีน และโดยปฏิบัติตามสัญญานั้นและสัญญาเวียงจันทน์ สหายได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีการรวมลาว มีความถูกต้องปรองดองชาติ แต่ตรงกันข้าม รัฐบาลฝ่ายราชอาณาจักรได้ทรยศต่อสัญญาที่ได้ลงนามกัน พวกเขาได้ส่งกองทหารไปปิดล้อมกองทหารฝ่ายปเทดลาว ทำให้กองทหารฝ่ายปเทดลาวต้องแหกค่ายหลบหนี แล้วจะมากล่าวโทษผู้อื่น จนถึงขั้นมาจับพวกสหายเข้าที่กักขัง ฉะนั้นจึงเห็นว่าการกักขังสหายจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สหายจึงเรียกร้องให้รัฐบาลราชอาณาจักรปลดปล่อยสหายและสหายอื่นๆ…
ภายหลังการสอบสวนของพวกอัยการ ศาล ผุยและพรรคพวกได้พูดอย่างเคียดแค้นว่า “พวกคอมมิวนิสต์นี้หัวแข็งจริงๆ”
วันต่อมาผุย ชนะนิกรได้สั่งให้พวกอัยการ ศาล เข้ามาในคุกโพนเค็ง เพื่อทำการสอบสวนสหายสุภานุวงศ์และสหายอื่นๆ ผุยคิดว่าการทำเช่นนี้ในด้านหนึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมือง พร้อมกันนั้นก็เพื่อข่มขู่สหายสุภานุวงศ์และสหายอื่นๆ เขาไม่นึกว่าการสอบสวนนั้นจะกลายเป็นการกล่าวโทษเขาเอง
บรรดาคำถามที่พวกอัยการได้ถามสหายสุภานุวงศ์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามที่ผูกมัดให้สหายสุภานุวงศ์รับว่าตนได้ก่อการกบฏต่อประเทศชาติ เช่นได้ถามว่าเสด็จได้ยุแหย่ให้กองทหารฝ่ายปเทดลาวแข็งข้อต่อรัฐบาลราชอาณาจักร ใช่ไหม? เสด็จได้ร่วมมือกับต่างประเทศก่อความไม่สงบภายในประเทศใช่ไหม? เสด็จได้ทรยศต่อประเทศชาติใช่ไหม? และอื่นๆ คำตอบที่พวกอัยการ ศาลได้รับ ก็คือ “ไม่”
แล้วเจ้าสุภานุวงศ์ได้ชี้แจงถึงความรักชาติที่ท่านได้กระทำมาและกล่าวประนามการกระทำที่ขายชาติของผุย ชนะนิกร สหายได้ชี้แจงอย่างจะแจ้งว่าสหายไม่เคยได้มีการกระทำที่เป็นการทรยศต่อประเทศชาติ ภายหลังที่ประชาชนลาวได้ยึดอำนาจการปกครองจากพวกฟาสซิสต์ญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ สหายได้กลับคืนประเทศและได้เข้าร่วมในรัฐบาลลาวอิสระ เมื่อฝรั่งเศสได้กลับเข้ามายึดลาวอีกในภายหลัง สหายก็ได้ต่อสู้กับฝรั่งเศสผู้รุกราน การกระทำที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศชาตินั้น จะถือเป็นการทรยศต่อชาติไม่ได้อย่างเด็ดขาด
สหายสุภานุวงศ์ได้ชี้แจงว่า การต่อสู้เพื่อเอกราชของสหายนั้น ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำมาซึ่งสันติภาพในอินโดจีนในปี ๒๔๙๗ สัญญาเจนีวา ๒๔๙๗ ได้ยอมรับเอกราชและอธิปไตยของลาวเช่นเดียวกับบรรดาประเทศในแหลมอินโดจีน และโดยปฏิบัติตามสัญญานั้นและสัญญาเวียงจันทน์ สหายได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีการรวมลาว มีความถูกต้องปรองดองชาติ แต่ตรงกันข้าม รัฐบาลฝ่ายราชอาณาจักรได้ทรยศต่อสัญญาที่ได้ลงนามกัน พวกเขาได้ส่งกองทหารไปปิดล้อมกองทหารฝ่ายปเทดลาว ทำให้กองทหารฝ่ายปเทดลาวต้องแหกค่ายหลบหนี แล้วจะมากล่าวโทษผู้อื่น จนถึงขั้นมาจับพวกสหายเข้าที่กักขัง ฉะนั้นจึงเห็นว่าการกักขังสหายจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สหายจึงเรียกร้องให้รัฐบาลราชอาณาจักรปลดปล่อยสหายและสหายอื่นๆ…
ภายหลังการสอบสวนของพวกอัยการ ศาล ผุยและพรรคพวกได้พูดอย่างเคียดแค้นว่า “พวกคอมมิวนิสต์นี้หัวแข็งจริงๆ”
No comments:
Post a Comment