สงครามลับของ CIA ในลาว
บทที่ ๑๓ กวาดล้างกองทหารปเทดลาว
กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ การเจรจาที่กรุงเจนีวาจบไปหลายเดือนแล้ว จอห์นฟอสเตอร์ ดัลเลส เดินทางตรงมาที่เวียงจันทน์เพื่อพบกับท้าวกระต่ายนายกรัฐมนตรีคณะรัฐบาลชั่วคราว ก่อนหน้านี้ได้มีการเจรจาระหว่างเจ้าพี่-เจ้าน้องที่มีท้าวกุ วรวงศ์ได้เป็นคนกลางจัดให้มีการเจรจากัน(ก่อนจะถูกลอบสังหารเพราะเรื่องนี้ในเวลาต่อมา) แต่เมื่อเจ้าพี่สุวรรณภูมาต้องบีบให้ต้องลาออกและได้ท้าวกระต่ายมาเป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดของสหรัฐฯ การเจรจาก็ถูกเตะถ่วงจากท้าวกระต่ายในเรื่อง “ระเบียบวาระการประชุม”
ระหว่างที่การเจรจาของสองฝ่ายไม่คืบหน้าไปไหนโดยความตั้งใจเตะถ่วง เครื่องบินขนส่งอเมริกันก็นำหน่วยคอมมาโดไปหย่อนลงในซำเหนือและพงสาลีเพื่อจะเข้ากวาดล้างฐานทัพและกองบัญชาการของขบวนการปเทดลาวที่นั่น
เมื่อการเจรจากลับมาเริ่มต้นใหม่ ท้าวกระต่ายก็เสนอให้จัดตั้ง “คณะกรรมการยอมแพ้” เพื่อดำเนินการในเรื่องการยอมแพ้และปลดอาวุธขบวนการปเทดลาว ไม่มีปัญหาที่ผู้แทนฝ่ายปเทดลาวจะปฏิเสธและตั้งข้อเสนอใหม่ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเมืองเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาสงบศึก ให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศเพื่อรวมลาวเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯลฯ ตลอดจนข้ออื่นๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาสงบศึก
เมื่อเป็นเช่นนี้การเจรจาก็ต้องสดุดหยุดลงตามที่ท้าวกระต่ายต้องการ ซึ่งก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าท้าวกระต่ายพยายามถ่วงเวลาเพื่อรอฟังคำสั่งจากดัลเลสโดยตรงเท่านั้น และ ๒ อาทิตย์หลังดัลเลสกลับไปแล้ว กองทหารของท้าวกระต่ายก็เข้าโจมตีซำเหนือครั้งใหญ่ ความมุ่งมั่นก็เพื่อจะเข้ายึดซำเหนือและพงสาลี กวาดล้างขบวนการปเทดลาวออกไปเพื่อให้ “ความฝัน” ของสหรัฐอเมริกาได้เป็นความจริงขึ้นมา กล่าวคือ ทั้งที่ราบสูงและที่ราบลุ่มจะต้องอยู่ภายใต้รัศมีปฏิบัติการทางอากาศของอเมริกันโดยสิ้นเชิง
ช์เลสซิงเจอร์ กล่าวไว้ใน A Thounsand Days ว่า “ถ้าลาวไม่ใช่กฤชที่จ่อหัวใจของมลรัฐแคนซัสก็จะต้องเป็นทางเข้าประตูไปสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้” จากนั้นสหรัฐอเมริกาก็หลั่งไหลเข้ามาในลาว เริ่มต้นจากดอลล่าร์, เครื่องบินขนส่งแล้วก็ “ผู้ฝึกสอน” ทางทหารไปจนถึง “ที่ปรึกษา” ซึ่งกลายมาเป็นผู้บัญชาการทางยุทธวิธีของแผนยุทธการทางทหาร
ช์เลสซิงเจอร์ลงความเห็นไว้ในเรื่องแผนของดัลเลสว่า พยายามจะเปลี่ยนลาวให้เป็น “ปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” และ “ป้อมที่มั่นแห่งเสรีภาพ” นโยบายนี้ ดีนรัสค์และนิกสันได้สืบต่อกันเรื่อยมา
เพื่อที่จะให้ “ความฝัน” ได้เป็นจริง ช์เลสซิงเจอร์เล่าวว่า ในตอนสิ้นปี ๒๕๐๓ สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเงินร่วม ๓๐๐ ล้านดอลล่าร์ ลงไปในดินแดนอันมีแต่ป่าดงพงไพรดังเช่นบรรพกาล เงินจำนวนนี้ ๘๕ เปอร์เซ็นต์กลายเป็นค่าใช้จ่ายกองทัพบกของรัฐบาลกษัตริย์ลาวซึ่งในปี ๒๕๐๒ ก็สะพรั่งไปด้วยรถจี๊ป รถบรรทุก และเหล่าทหารขนส่งทั้งๆที่ลาวไม่มีถนนที่จะใช้ได้ในทุกฤดูกาลเลยแม้แต่สายเดียว นอกจากนี้ยังมีฝ่ายสรรพาวุธ, พลาธิการ และสารวัตรทหาร การฝึกที่จะได้ผลอย่างจริงจังนั้นเพิ่งจะเริ่มขึ้นในปี ๒๕๐๒ สงครามที่กองทหารลาวเรียนรู้ก็เป็นสงครามแบบฉบับไม่ใช่สงครามต่อต้านกองโจร สำหรับเงิน ๓๐๐ ล้านดอลล่าร์นั้น ที่ใช้ไปในการร่วมมือทางเทคนิคและพัฒนาทางเศรษฐกิจก็มีเพียงเจ็ดล้านดอลล่าร์เท่านั้น.
กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ การเจรจาที่กรุงเจนีวาจบไปหลายเดือนแล้ว จอห์นฟอสเตอร์ ดัลเลส เดินทางตรงมาที่เวียงจันทน์เพื่อพบกับท้าวกระต่ายนายกรัฐมนตรีคณะรัฐบาลชั่วคราว ก่อนหน้านี้ได้มีการเจรจาระหว่างเจ้าพี่-เจ้าน้องที่มีท้าวกุ วรวงศ์ได้เป็นคนกลางจัดให้มีการเจรจากัน(ก่อนจะถูกลอบสังหารเพราะเรื่องนี้ในเวลาต่อมา) แต่เมื่อเจ้าพี่สุวรรณภูมาต้องบีบให้ต้องลาออกและได้ท้าวกระต่ายมาเป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดของสหรัฐฯ การเจรจาก็ถูกเตะถ่วงจากท้าวกระต่ายในเรื่อง “ระเบียบวาระการประชุม”
ระหว่างที่การเจรจาของสองฝ่ายไม่คืบหน้าไปไหนโดยความตั้งใจเตะถ่วง เครื่องบินขนส่งอเมริกันก็นำหน่วยคอมมาโดไปหย่อนลงในซำเหนือและพงสาลีเพื่อจะเข้ากวาดล้างฐานทัพและกองบัญชาการของขบวนการปเทดลาวที่นั่น
เมื่อการเจรจากลับมาเริ่มต้นใหม่ ท้าวกระต่ายก็เสนอให้จัดตั้ง “คณะกรรมการยอมแพ้” เพื่อดำเนินการในเรื่องการยอมแพ้และปลดอาวุธขบวนการปเทดลาว ไม่มีปัญหาที่ผู้แทนฝ่ายปเทดลาวจะปฏิเสธและตั้งข้อเสนอใหม่ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเมืองเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาสงบศึก ให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศเพื่อรวมลาวเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯลฯ ตลอดจนข้ออื่นๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาสงบศึก
เมื่อเป็นเช่นนี้การเจรจาก็ต้องสดุดหยุดลงตามที่ท้าวกระต่ายต้องการ ซึ่งก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าท้าวกระต่ายพยายามถ่วงเวลาเพื่อรอฟังคำสั่งจากดัลเลสโดยตรงเท่านั้น และ ๒ อาทิตย์หลังดัลเลสกลับไปแล้ว กองทหารของท้าวกระต่ายก็เข้าโจมตีซำเหนือครั้งใหญ่ ความมุ่งมั่นก็เพื่อจะเข้ายึดซำเหนือและพงสาลี กวาดล้างขบวนการปเทดลาวออกไปเพื่อให้ “ความฝัน” ของสหรัฐอเมริกาได้เป็นความจริงขึ้นมา กล่าวคือ ทั้งที่ราบสูงและที่ราบลุ่มจะต้องอยู่ภายใต้รัศมีปฏิบัติการทางอากาศของอเมริกันโดยสิ้นเชิง
ช์เลสซิงเจอร์ กล่าวไว้ใน A Thounsand Days ว่า “ถ้าลาวไม่ใช่กฤชที่จ่อหัวใจของมลรัฐแคนซัสก็จะต้องเป็นทางเข้าประตูไปสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้” จากนั้นสหรัฐอเมริกาก็หลั่งไหลเข้ามาในลาว เริ่มต้นจากดอลล่าร์, เครื่องบินขนส่งแล้วก็ “ผู้ฝึกสอน” ทางทหารไปจนถึง “ที่ปรึกษา” ซึ่งกลายมาเป็นผู้บัญชาการทางยุทธวิธีของแผนยุทธการทางทหาร
ช์เลสซิงเจอร์ลงความเห็นไว้ในเรื่องแผนของดัลเลสว่า พยายามจะเปลี่ยนลาวให้เป็น “ปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” และ “ป้อมที่มั่นแห่งเสรีภาพ” นโยบายนี้ ดีนรัสค์และนิกสันได้สืบต่อกันเรื่อยมา
เพื่อที่จะให้ “ความฝัน” ได้เป็นจริง ช์เลสซิงเจอร์เล่าวว่า ในตอนสิ้นปี ๒๕๐๓ สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเงินร่วม ๓๐๐ ล้านดอลล่าร์ ลงไปในดินแดนอันมีแต่ป่าดงพงไพรดังเช่นบรรพกาล เงินจำนวนนี้ ๘๕ เปอร์เซ็นต์กลายเป็นค่าใช้จ่ายกองทัพบกของรัฐบาลกษัตริย์ลาวซึ่งในปี ๒๕๐๒ ก็สะพรั่งไปด้วยรถจี๊ป รถบรรทุก และเหล่าทหารขนส่งทั้งๆที่ลาวไม่มีถนนที่จะใช้ได้ในทุกฤดูกาลเลยแม้แต่สายเดียว นอกจากนี้ยังมีฝ่ายสรรพาวุธ, พลาธิการ และสารวัตรทหาร การฝึกที่จะได้ผลอย่างจริงจังนั้นเพิ่งจะเริ่มขึ้นในปี ๒๕๐๒ สงครามที่กองทหารลาวเรียนรู้ก็เป็นสงครามแบบฉบับไม่ใช่สงครามต่อต้านกองโจร สำหรับเงิน ๓๐๐ ล้านดอลล่าร์นั้น ที่ใช้ไปในการร่วมมือทางเทคนิคและพัฒนาทางเศรษฐกิจก็มีเพียงเจ็ดล้านดอลล่าร์เท่านั้น.
No comments:
Post a Comment