บทที่ ๓
วังเปากลับมาถึงล่องแจ้งในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๘ เขาเรียกลอว์เรนซ์และผู้ช่วยระดับหัวหน้าสองคน มาที่ห้องทำงาน เขาเริ่มการสนทนา โดยกล่าวชื่นชมทุกอย่างที่พวกอเมริกันได้ทำให้แก่เขา และการที่เครื่องบินรบไม่มาตามที่ร้องขอการสนับสนุนไปนั้น มิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกส่วนตัวของเขาที่มีต่ออเมริกาโดยรวม สิ่งที่เขาต้องการรู้ ก็คือเรื่องราวทุกอย่างจะลงเอยในรูปใดเท่านั้นเอง
วินท์ ลอว์เรนซ์ นิ่งฟัง ไม่พูดอะไรออกมาสักคำ เขาไม่คิดว่าจะมีคำตอบสำหรับคำถามที่ว่านี้ วังเปาพูดต่อไป เขาไล่เรียงรายชื่อผู้นำเผ่าที่ได้เข้าร่วมกับเขาและต้องเสียชีวิตไปในการสู้รบตลอดช่วงเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เหลือคนเก่งๆเพียงไม่กี่คนที่จะมาทดแทนคนพวกนี้ หากต้องทนดูคนของเขาต่อสู้อย่างไร้ทิศทางหรือขาดแคลนหัวหน้าที่มีความสามารถ การถอนตัวจากไปหรือไม่ก็ตายเสียในสนามรบดังดีกว่า บางทีเขาคิดว่าเขาจะลาออกจากกองทัพ เขาได้รับใช้ประเทศชาตินี้มาเป็นอย่างดี และบางทีเขาควรจากไปขณะที่สถานการณ์ยังไม่เลวร้ายเกินไปนัก
วังเปากล่าวต่อไปว่า เขาไม่สบายใจที่เห็นชาวเขาต้องล้มตายไปทีละคนสองคน เขารู้สึกถึงสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ในฐานะที่นำคนเหล่านั้นเข้าสู่รบ และในเมื่อเขาไม่สามารถหาสิ่งที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนคนของเขาให้ทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว วังเปาสงสัยว่าตนเองคงสิ้นประโยชน์ต่อพวกพ้องแล้ว บางทีอาจถึงเวลาข้ามโขงไปยังไชยบุรีแล้วกระมัง บางทีอาจถึงเวลาของเขาที่จะจากลาวไป
ลอว์เรนซ์ได้แต่บอกให้วังเปารอ ๒-๓ วันก่อนจะตัดสินใจอย่างใดลงไป วังเปาสัญญาจะทำตามที่ลอว์เรนซ์ขอ
วันต่อมารัฐบาลสหรัฐฯส่งผู้แทนประจำประเทศลาวคนใหม่มา เขาคือ วิลเลียม เอช ซุลลิแวน เขาได้เข้าควบคุมจัดการทุกสิ่งให้อยู่ภายใต้อำนาจของเขาอย่างรวดเร็ว ซุลลิแวนบริหารงานแบบถึงลูกถึงคนเขาได้ควบคุมปฏิบัติการทุกอย่างในลาวอย่างใกล้ชิด เรียกได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในลาวอยู่ในการควบคุมของซุลลิแวน
ไม่กี่วันต่อมาก็เกิดรัฐประหารโดยนายพลกุประสิทธิ อภัยและส่งผลให้นายพลภูมี หน่อสวันต้องลี้ภัยมาเมืองไทยและไม่ได้กลับไปเหยียบแผ่นดินลาวอีกเลย(โปรดอ่านในบทความที่ ๕๗๑ ถึง ๕๗๓ “อวสานบทบาทของภูมี หน่อสวัน”)
เมื่อการรัฐประหารสิ้นสุดลงกองทัพบกและตำรวจก็เป็นปรปักษ์กัน ฝ่ายนิยมกษัตริย์แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่อสู้กันเอง ทหารกลุ่มที่มีความสามารถที่สุดของลาวลุ่มถูกจับกุมในเวลาต่อมา พวกเหล่านี้ถูกคุมขังหรือไม่ก็ฆ่าทิ้ง
นายพลคำกอง บุตรวงศ์เป็นเหยื่อรายหนึ่งจากการรัฐประหารครั้งนี้ เขาถูกทหารฝ่ายรัฐประหารจะเข้าควบคุมตัว แต่ไม่มีทหารคนใกล้กล้าเข้าไปจับกุม ผู้แทนจากกองทัพอเมริกันคนหนึ่ง เดินทางเข้าพบนายพลคำกอง โดยเสนอตัวร่วมเดินทางพาท่านนายพลออกนอกประเทศไปสักระยะหนึ่งจนกว่าเหตุการณ์จะสงบลง นายพลคำกองเห็นชอบด้วย ขึ้นเครื่องบินที่อเมริกันจัดเตรียมไว้ แต่แทนที่เครื่องบินจะบินออกนอกประเทศตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ นักบินกลับนำเครื่องมุ่งยังเวียงจันทน์ ส่งตัวคำกองให้กับศัตรูของเขา.
มีการหักหลังแบบนี้เกิดขึ้นที่อื่นอีก และก็เป็นการยากที่จะเชื่อว่าซุลลิแวนไม่รู้เรื่องเหล่านี้ ตาสีฟ้าคู่นั้นของเขาส่งประกายความจริงใจ แม้ขณะกำลังกล่าวโกหกอยู่ ซุลลิแวนมีเพื่อนพ้องผู้มีอิทธิพลทั้งในวอชิงตันและไซ่ง่อน จะไม่มีการเปิดโปงเรื่องราวลับหลังของเขาอย่างแน่นอน
วังเปากลับมาถึงล่องแจ้งในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๘ เขาเรียกลอว์เรนซ์และผู้ช่วยระดับหัวหน้าสองคน มาที่ห้องทำงาน เขาเริ่มการสนทนา โดยกล่าวชื่นชมทุกอย่างที่พวกอเมริกันได้ทำให้แก่เขา และการที่เครื่องบินรบไม่มาตามที่ร้องขอการสนับสนุนไปนั้น มิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกส่วนตัวของเขาที่มีต่ออเมริกาโดยรวม สิ่งที่เขาต้องการรู้ ก็คือเรื่องราวทุกอย่างจะลงเอยในรูปใดเท่านั้นเอง
วินท์ ลอว์เรนซ์ นิ่งฟัง ไม่พูดอะไรออกมาสักคำ เขาไม่คิดว่าจะมีคำตอบสำหรับคำถามที่ว่านี้ วังเปาพูดต่อไป เขาไล่เรียงรายชื่อผู้นำเผ่าที่ได้เข้าร่วมกับเขาและต้องเสียชีวิตไปในการสู้รบตลอดช่วงเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เหลือคนเก่งๆเพียงไม่กี่คนที่จะมาทดแทนคนพวกนี้ หากต้องทนดูคนของเขาต่อสู้อย่างไร้ทิศทางหรือขาดแคลนหัวหน้าที่มีความสามารถ การถอนตัวจากไปหรือไม่ก็ตายเสียในสนามรบดังดีกว่า บางทีเขาคิดว่าเขาจะลาออกจากกองทัพ เขาได้รับใช้ประเทศชาตินี้มาเป็นอย่างดี และบางทีเขาควรจากไปขณะที่สถานการณ์ยังไม่เลวร้ายเกินไปนัก
วังเปากล่าวต่อไปว่า เขาไม่สบายใจที่เห็นชาวเขาต้องล้มตายไปทีละคนสองคน เขารู้สึกถึงสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ในฐานะที่นำคนเหล่านั้นเข้าสู่รบ และในเมื่อเขาไม่สามารถหาสิ่งที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนคนของเขาให้ทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว วังเปาสงสัยว่าตนเองคงสิ้นประโยชน์ต่อพวกพ้องแล้ว บางทีอาจถึงเวลาข้ามโขงไปยังไชยบุรีแล้วกระมัง บางทีอาจถึงเวลาของเขาที่จะจากลาวไป
ลอว์เรนซ์ได้แต่บอกให้วังเปารอ ๒-๓ วันก่อนจะตัดสินใจอย่างใดลงไป วังเปาสัญญาจะทำตามที่ลอว์เรนซ์ขอ
วันต่อมารัฐบาลสหรัฐฯส่งผู้แทนประจำประเทศลาวคนใหม่มา เขาคือ วิลเลียม เอช ซุลลิแวน เขาได้เข้าควบคุมจัดการทุกสิ่งให้อยู่ภายใต้อำนาจของเขาอย่างรวดเร็ว ซุลลิแวนบริหารงานแบบถึงลูกถึงคนเขาได้ควบคุมปฏิบัติการทุกอย่างในลาวอย่างใกล้ชิด เรียกได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในลาวอยู่ในการควบคุมของซุลลิแวน
ไม่กี่วันต่อมาก็เกิดรัฐประหารโดยนายพลกุประสิทธิ อภัยและส่งผลให้นายพลภูมี หน่อสวันต้องลี้ภัยมาเมืองไทยและไม่ได้กลับไปเหยียบแผ่นดินลาวอีกเลย(โปรดอ่านในบทความที่ ๕๗๑ ถึง ๕๗๓ “อวสานบทบาทของภูมี หน่อสวัน”)
เมื่อการรัฐประหารสิ้นสุดลงกองทัพบกและตำรวจก็เป็นปรปักษ์กัน ฝ่ายนิยมกษัตริย์แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่อสู้กันเอง ทหารกลุ่มที่มีความสามารถที่สุดของลาวลุ่มถูกจับกุมในเวลาต่อมา พวกเหล่านี้ถูกคุมขังหรือไม่ก็ฆ่าทิ้ง
นายพลคำกอง บุตรวงศ์เป็นเหยื่อรายหนึ่งจากการรัฐประหารครั้งนี้ เขาถูกทหารฝ่ายรัฐประหารจะเข้าควบคุมตัว แต่ไม่มีทหารคนใกล้กล้าเข้าไปจับกุม ผู้แทนจากกองทัพอเมริกันคนหนึ่ง เดินทางเข้าพบนายพลคำกอง โดยเสนอตัวร่วมเดินทางพาท่านนายพลออกนอกประเทศไปสักระยะหนึ่งจนกว่าเหตุการณ์จะสงบลง นายพลคำกองเห็นชอบด้วย ขึ้นเครื่องบินที่อเมริกันจัดเตรียมไว้ แต่แทนที่เครื่องบินจะบินออกนอกประเทศตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ นักบินกลับนำเครื่องมุ่งยังเวียงจันทน์ ส่งตัวคำกองให้กับศัตรูของเขา.
มีการหักหลังแบบนี้เกิดขึ้นที่อื่นอีก และก็เป็นการยากที่จะเชื่อว่าซุลลิแวนไม่รู้เรื่องเหล่านี้ ตาสีฟ้าคู่นั้นของเขาส่งประกายความจริงใจ แม้ขณะกำลังกล่าวโกหกอยู่ ซุลลิแวนมีเพื่อนพ้องผู้มีอิทธิพลทั้งในวอชิงตันและไซ่ง่อน จะไม่มีการเปิดโปงเรื่องราวลับหลังของเขาอย่างแน่นอน
No comments:
Post a Comment