บทที่๑๗ แผนการตั้งรับการโจมตี
รายงานการศึกษาลับของกองทัพอากาศกล่าวว่า “ในแผนการตั้งรับบทบาทสำคัญจะตกอยู่กับผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันในพื้นที่ ซึ่งเป็นชาวม้ง” ถ้อยแถลงของกองทัพอากาศถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากเพราะปรกติแล้วพวกเขาจะไม่ไว้ใจให้ชาวต่างชาติมาควบคุมระบบนำร่องการโจมตีทิ้งระเบิดแบบใหม่ล่าสุดของเขา
แต่ในความจริงแล้ว “กองบัญชาการกองกำลังป้องกันในพื้นที่” นั้นก็คือคำที่กองทัพอากาศตั้งขึ้นมาเพื่อเรียก ซีไอเอที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในอาคารหลังคาสังกะสีใกล้กับลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนภูผาทีนั่นเอง เอกสารรายงานกองทัพอากาศสหรัฐฯมีต่อไปอีกว่า
“แนวคิดมีว่า หากข้าศึกเข้าโจมตีภูผาที กองกำลังป้องกันในพื้นที่จะประสานกับสถานทูตอเมริกันในเวียงจันทน์ ขอสิทธิ์ในการขอการสนับสนุนทางอากาศ ทางสถานทูตจะแจ้งทางกองบินที่ ๗ ว่าได้มอบอำนาจการขอกำลังสนับสนุนทางอากาศให้กับกำลังป้องกันในพื้นที่เป็นกรณีพิเศษ และเมื่อข้าศึกมีทีท่าว่าจะเข้าโจมตี กองกำลังป้องกันพื้นที่จะติดต่อสถานทูตเพื่อขออนุมัติการใช้กำลังทางอากาศอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นกองกำลังป้องก้นในพื้นที่สามารถแจ้งผู้บัญชาการของทีเอสคิว-81 ให้ช่วยสนับสนุนชี้พิกัดเป้าหมายแก่เครื่องบินรบเข้าโจมตี (โดยหวังว่าจะมีการป้อนข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียเวลาอย่างน้อย ๑๐ นาทีในการป้อนข้อมูลเป้าหมายลงไป)
เมื่อเวลานั้นมาถึงผู้บัญชาการของทีเอสคิวจะต้องติดต่อไปยังกองบินที่ ๗ เพื่อร้องขอการโจมตีทางอากาศ และเมื่อได้รับการร้องขอ กองบินที่๗ จะให้การสนับสนุนทางอากาศ ตามที่เวลาและสถานการณ์จะอำนวย”
แผนการตั้งรับของกองอากาศดังที่รายงานมานั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ หากภูผาทีตกอยู่ภายใต้การโจมตีจะต้องมีการติดต่อผ่านทางวิทยุอย่างน้อยๆ ๕-๖ ครั้งเพื่อรับการอนุมัติขอเครื่องบินสนับสนุนจากกองบินที่ ๗ ในไซ่ง่อน ซึ่งอาจจะส่งเครื่องบินมา ”ตามแต่เวลาและสถานการณ์จะอำนวย”
ในศูนย์บัญชาการ ๔๘๐๒ อุดรฯ ไม่มีใครจะยอมงอมือเท้าฝากความหวังไว้กับแผนตั้งรับที่แสนจะซับซ้อนเช่นนั้น พวกเขาไม่สามารถหวังพึ่งกองกำลังชาวเขาหรือกองทัพอากาศในการป้องกันที่มั่นจากข้าศึกได้เช่นเดียวกัน เซ็กคอร์ดและคนอื่นๆต่างคิดว่าหากจะป้องกันที่มั่นบนภูผาทีอย่างได้ผลแล้วล่ะก็จะต้องส่งกองทหารราบอเมริกันเข้าไปในพื้นที่ อาจจะเป็นกองกำลังจากหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกซึ่งไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมากนักแต่ต้องมีประสบการณ์สูงเคยผ่านการรบในเวียดนามมา โดยมีจ่าหรือนายทหารสักสองสามคนคอยบัญชาการ
รายงานการศึกษาลับของกองทัพอากาศกล่าวว่า “ในแผนการตั้งรับบทบาทสำคัญจะตกอยู่กับผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันในพื้นที่ ซึ่งเป็นชาวม้ง” ถ้อยแถลงของกองทัพอากาศถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากเพราะปรกติแล้วพวกเขาจะไม่ไว้ใจให้ชาวต่างชาติมาควบคุมระบบนำร่องการโจมตีทิ้งระเบิดแบบใหม่ล่าสุดของเขา
แต่ในความจริงแล้ว “กองบัญชาการกองกำลังป้องกันในพื้นที่” นั้นก็คือคำที่กองทัพอากาศตั้งขึ้นมาเพื่อเรียก ซีไอเอที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในอาคารหลังคาสังกะสีใกล้กับลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนภูผาทีนั่นเอง เอกสารรายงานกองทัพอากาศสหรัฐฯมีต่อไปอีกว่า
“แนวคิดมีว่า หากข้าศึกเข้าโจมตีภูผาที กองกำลังป้องกันในพื้นที่จะประสานกับสถานทูตอเมริกันในเวียงจันทน์ ขอสิทธิ์ในการขอการสนับสนุนทางอากาศ ทางสถานทูตจะแจ้งทางกองบินที่ ๗ ว่าได้มอบอำนาจการขอกำลังสนับสนุนทางอากาศให้กับกำลังป้องกันในพื้นที่เป็นกรณีพิเศษ และเมื่อข้าศึกมีทีท่าว่าจะเข้าโจมตี กองกำลังป้องกันพื้นที่จะติดต่อสถานทูตเพื่อขออนุมัติการใช้กำลังทางอากาศอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นกองกำลังป้องก้นในพื้นที่สามารถแจ้งผู้บัญชาการของทีเอสคิว-81 ให้ช่วยสนับสนุนชี้พิกัดเป้าหมายแก่เครื่องบินรบเข้าโจมตี (โดยหวังว่าจะมีการป้อนข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียเวลาอย่างน้อย ๑๐ นาทีในการป้อนข้อมูลเป้าหมายลงไป)
เมื่อเวลานั้นมาถึงผู้บัญชาการของทีเอสคิวจะต้องติดต่อไปยังกองบินที่ ๗ เพื่อร้องขอการโจมตีทางอากาศ และเมื่อได้รับการร้องขอ กองบินที่๗ จะให้การสนับสนุนทางอากาศ ตามที่เวลาและสถานการณ์จะอำนวย”
แผนการตั้งรับของกองอากาศดังที่รายงานมานั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ หากภูผาทีตกอยู่ภายใต้การโจมตีจะต้องมีการติดต่อผ่านทางวิทยุอย่างน้อยๆ ๕-๖ ครั้งเพื่อรับการอนุมัติขอเครื่องบินสนับสนุนจากกองบินที่ ๗ ในไซ่ง่อน ซึ่งอาจจะส่งเครื่องบินมา ”ตามแต่เวลาและสถานการณ์จะอำนวย”
ในศูนย์บัญชาการ ๔๘๐๒ อุดรฯ ไม่มีใครจะยอมงอมือเท้าฝากความหวังไว้กับแผนตั้งรับที่แสนจะซับซ้อนเช่นนั้น พวกเขาไม่สามารถหวังพึ่งกองกำลังชาวเขาหรือกองทัพอากาศในการป้องกันที่มั่นจากข้าศึกได้เช่นเดียวกัน เซ็กคอร์ดและคนอื่นๆต่างคิดว่าหากจะป้องกันที่มั่นบนภูผาทีอย่างได้ผลแล้วล่ะก็จะต้องส่งกองทหารราบอเมริกันเข้าไปในพื้นที่ อาจจะเป็นกองกำลังจากหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกซึ่งไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมากนักแต่ต้องมีประสบการณ์สูงเคยผ่านการรบในเวียดนามมา โดยมีจ่าหรือนายทหารสักสองสามคนคอยบัญชาการ
No comments:
Post a Comment