บทที่ ๓
อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ โดยเฉพาะนายพล เคอร์ติส ลีเมย์ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอเมริกันยังปักใจเชื่อว่า สมมุติฐานของเกมจำลองสงครามโอเมก้านั้นผิดพลาด ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ๒๕๐๖ ได้มีการทบทวนผลลัพธ์ของโอเมก้าอีกครั้ง ภายในหลุมหลบภัยขนาดใหญ่ ของศูนย์บัญชาการทางทหารแห่งชาติ ดีน รัสค์รัฐมนตรีต่างประเทศ,โรเบิร์ต แมคนามารารัฐมนตรีกลาโหม,ผู้บัญชการทางทหาร และที่ปรึกษาระดับสูงหลายคนของประธานาธิบดี รวมถึงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยอย่างซุลลิแวน ต่างมารวมตัวกันอยู่ที่นั่น นายพลลีเมย์ ประกาศกร้าวว่า แรนด์ คอเปอเรชั่น ได้ประเมินศักยภาพการโจมตีทางอากาศ ขอกองทัพอากาศไว้ต่ำเกินไป โดยเขาบอกว่าศักยภาพที่ว่านี้ จะทำให้พวกเวียดนามเหนือยอมศิโรราบในที่สุด ดังนั้นทางกองทัพอากาศจึงต้องการให้มีการเล่นเกมจำลองสงครามนี้ขึ้นใหม่ โดยให้มีการแก้ไขกติกาบางอย่างเสีย
เมื่อเป็นดังนั้น โอเมก้า ๒ จึงเกิดขึ้น หนนี้มีกองทัพอากาศเข้าร่วมวงด้วย แต่คราวนี้ซุลลิแวนสวมบทบาทตัวแทนของประเทศจีน ผลปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน นั่นคืออเมริกาและพันธมิตรพ่ายแพ้อย่างหมดรูป
ในภายหลังต่อมาอีกหลายปี คนที่รู้เรื่องโอเมก้าต่างพิศวงว่า เหตุใดคนฉลาดอย่างแมคนามารา ดีนรัสค์ เทย์เลอร์ หรือซุลลิแวน จึงเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเกมจำลองสงครามนี้ การหาคำตอบแก่คำถามนี้ อาจจะไม่ง่ายนัก แต่ซุลลิแวนเชื่อว่าข้อคำนึงถึงภาพรวมในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของเกมโอเมก้า
สาเหตุที่เคนเนดี้และดีน รีสค์ ตัดสินใจเข้าไปประกันการอยู่รอดของเวียดนามใต้ มิใช่เพื่อประโยชน์ของเวียดนามใต้เอง ซุลลิแวนเล่าย้อนความหลังไว้ว่า “สำหรับพวกเราแล้ว มันเหมือนมีความพยายามบางอย่างดำเนินไป ความร่วมมือของโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ โดยที่ขณะนั้นจีนกำลังให้ความสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย ส่วนโซเวียตก็กำลังส่งอาวุธให้พวกเวียดนามเหนือ”
ซุลลิแวนกล่าวต่อไปอีกว่า “มันเหมือนปากคีมเหล็ก ที่กำลังบีบรัดเข้ามาหากัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางคมนาคมทางทะเลระหว่างญี่ปุ่น ตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ และหากเป็นดังนั้นแล้ว ญี่ปุ่นอาจโดนบีบให้ต้องเข้าร่วมกับพวกคอมมิวนิสต์ เส้นทางคมนาคมทางทะเลของญี่ปุ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทางยุทธศาสตร์ และความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำอินโดนีเซียของจีน รวมถึงอิทธิพลของโซเวียตในอินโดจีน” เมื่อรวมกันเข้า ทำให้รัสค์และเคนเนดี้ตัดสินใจปักหลักต่อสู้ในเวียดนามใต้
อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ โดยเฉพาะนายพล เคอร์ติส ลีเมย์ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอเมริกันยังปักใจเชื่อว่า สมมุติฐานของเกมจำลองสงครามโอเมก้านั้นผิดพลาด ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ๒๕๐๖ ได้มีการทบทวนผลลัพธ์ของโอเมก้าอีกครั้ง ภายในหลุมหลบภัยขนาดใหญ่ ของศูนย์บัญชาการทางทหารแห่งชาติ ดีน รัสค์รัฐมนตรีต่างประเทศ,โรเบิร์ต แมคนามารารัฐมนตรีกลาโหม,ผู้บัญชการทางทหาร และที่ปรึกษาระดับสูงหลายคนของประธานาธิบดี รวมถึงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยอย่างซุลลิแวน ต่างมารวมตัวกันอยู่ที่นั่น นายพลลีเมย์ ประกาศกร้าวว่า แรนด์ คอเปอเรชั่น ได้ประเมินศักยภาพการโจมตีทางอากาศ ขอกองทัพอากาศไว้ต่ำเกินไป โดยเขาบอกว่าศักยภาพที่ว่านี้ จะทำให้พวกเวียดนามเหนือยอมศิโรราบในที่สุด ดังนั้นทางกองทัพอากาศจึงต้องการให้มีการเล่นเกมจำลองสงครามนี้ขึ้นใหม่ โดยให้มีการแก้ไขกติกาบางอย่างเสีย
เมื่อเป็นดังนั้น โอเมก้า ๒ จึงเกิดขึ้น หนนี้มีกองทัพอากาศเข้าร่วมวงด้วย แต่คราวนี้ซุลลิแวนสวมบทบาทตัวแทนของประเทศจีน ผลปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน นั่นคืออเมริกาและพันธมิตรพ่ายแพ้อย่างหมดรูป
ในภายหลังต่อมาอีกหลายปี คนที่รู้เรื่องโอเมก้าต่างพิศวงว่า เหตุใดคนฉลาดอย่างแมคนามารา ดีนรัสค์ เทย์เลอร์ หรือซุลลิแวน จึงเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเกมจำลองสงครามนี้ การหาคำตอบแก่คำถามนี้ อาจจะไม่ง่ายนัก แต่ซุลลิแวนเชื่อว่าข้อคำนึงถึงภาพรวมในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของเกมโอเมก้า
สาเหตุที่เคนเนดี้และดีน รีสค์ ตัดสินใจเข้าไปประกันการอยู่รอดของเวียดนามใต้ มิใช่เพื่อประโยชน์ของเวียดนามใต้เอง ซุลลิแวนเล่าย้อนความหลังไว้ว่า “สำหรับพวกเราแล้ว มันเหมือนมีความพยายามบางอย่างดำเนินไป ความร่วมมือของโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ โดยที่ขณะนั้นจีนกำลังให้ความสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย ส่วนโซเวียตก็กำลังส่งอาวุธให้พวกเวียดนามเหนือ”
ซุลลิแวนกล่าวต่อไปอีกว่า “มันเหมือนปากคีมเหล็ก ที่กำลังบีบรัดเข้ามาหากัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางคมนาคมทางทะเลระหว่างญี่ปุ่น ตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ และหากเป็นดังนั้นแล้ว ญี่ปุ่นอาจโดนบีบให้ต้องเข้าร่วมกับพวกคอมมิวนิสต์ เส้นทางคมนาคมทางทะเลของญี่ปุ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทางยุทธศาสตร์ และความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำอินโดนีเซียของจีน รวมถึงอิทธิพลของโซเวียตในอินโดจีน” เมื่อรวมกันเข้า ทำให้รัสค์และเคนเนดี้ตัดสินใจปักหลักต่อสู้ในเวียดนามใต้
No comments:
Post a Comment