บทที่ ๗ ล่อเป้า
การบรรยายสรุปยังคงดำเนินต่อไป มีคำถามมากมายเกิดขึ้น จึงมีผู้ถามถึงความคิดเห็นของบิล แลร์ในเรื่องนี้ แลร์เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีไอเอที่ร่วมในการประชุม ตัวแทนจากกองทัพอากาศบางคนเคยรู้กิตติศัพท์ของเขามาก่อนว่าเขาเป็นมือเก่าที่รู้เรื่องต่างๆในลาวเป็นอย่างดี ดังนั้นพวกเขาจึงตั้งใจรอฟังความคิดเห็นของแลร์
แลร์กล่าวอย่างเนิบนาบตามแบบฉบับของเขา ใช่แล้ว,กองทัพอากาศอาจนำอุปกรณ์นี้ไปติดตั้งบนยอดเขาลูกนั้น และมันก็จะอยู่ไปได้สักระยะหนึ่ง ก่อนจะตกเป็นเป้าการโจมตีของฝ่ายข้าศึก พวกเขาต้องไม่ลืมว่า ภูผาทีตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนเวียดนามเหนือ และการนำอุปกรณ์นี้ไปติดตั้งไว้ที่นั่น ก็เท่ากับเป็นการยั่วยุทางฮานอยให้คิดว่ามันเป็นภัยคุกคามของพวกเขา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าไม่นานฮานอยจะสืบรู้เรื่องนี้ และจะวางแผนเข้าโจมตีในที่สุด
แลร์กล่าวต่อไปว่า สัญญาณเตือนภัยอย่างแรกจากฮานอย คือการสร้างถนนเข้าใกล้บริเวณภูเขา ซึ่งเป็นขั้นตอนปฏิบัติตามปรกติของพวกข้าศึก และเมื่อเข้ามาใกล้พอ พวกเขาก็จะพากันยกโขยงมาเป็นกองกำลังขนาดใหญ่ ผลสุดท้ายทางกองทัพอากาศก็จะต้องรีบอพยพเจ้าหน้าที่ของตนออกมาจากภูเขาอย่างแน่นอน
คนจากกองทัพอากาศถามขึ้นว่าเป็นไปได้หรือไม่ หากจะนำทหารชาวเขามาทำหน้าที่คุ้มกันที่มั่นบนภูผาที
ถึงตอนนี้ทุกคนรอคำตอบจากแลร์
ในที่สุดแลร์กล่าวขึ้นว่า พื้นที่ทุรกันดารของเขตภูเขาเป็นภูมิประเทศที่สร้างความได้เปรียบแกฝ่ายตั้งรับ แต่ปัญหาก็คือ การตั้งรับอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งไม่ใช่วิธีที่พวกม้งถนัด ในลาวยังไม่มีกองทหารราบที่มีมาตรฐานเหมือนกับกองทัพแอร์บอร์นที่ ๘๒ ของอเมริกา เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกม้งจะต้องเผ่นหนีทันทีหากถูกโจมตีโดยกองทหารเวียดนามเหนือ พวกเขาทำเช่นนั้นเพื่อความอยู่รอด และสาเหตุที่พวกเขาอยู่รอดในดินแดนแห่งนี้มาได้ ก็เพราะการหนีเอาตัวรอดเช่นนี้นั่นเอง
การประชุมยุติลง โดยทางกองทัพอากาศยังคงกระตือรือร้นเดินหน้าเรื่องอุปกรณ์คอมมานโดคลับต่อไป ส่วนแลร์และเซ็กคอร์ดไม่ค่อยแน่ใจว่ามันเป็นความคิดที่ดีนัก ทั้งสองไม่สบายใจกันนัก เนื่องจากขณะนั้นที่ซำเหนือเองก็เริ่มมีความระส่ำระสายเกิดขึ้นให้เห็น และพวกเขารู้ดีว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์แก่กองทัพอากาศในการทิ้งระเบิดฮานอย โดยวังเปาจะเป็นฝ่ายผู้ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ
เรื่องนี้ทำให้พวกเขาวุ่นวายใจอย่างหนัก แต่การตัดสินใจเรื่องนี้เป็นของแช็คลี่ผู้อำนวยการซีไอเอในลาวและซุลลิแวนเอกอัครราชทูตประจำลาว
การบรรยายสรุปยังคงดำเนินต่อไป มีคำถามมากมายเกิดขึ้น จึงมีผู้ถามถึงความคิดเห็นของบิล แลร์ในเรื่องนี้ แลร์เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีไอเอที่ร่วมในการประชุม ตัวแทนจากกองทัพอากาศบางคนเคยรู้กิตติศัพท์ของเขามาก่อนว่าเขาเป็นมือเก่าที่รู้เรื่องต่างๆในลาวเป็นอย่างดี ดังนั้นพวกเขาจึงตั้งใจรอฟังความคิดเห็นของแลร์
แลร์กล่าวอย่างเนิบนาบตามแบบฉบับของเขา ใช่แล้ว,กองทัพอากาศอาจนำอุปกรณ์นี้ไปติดตั้งบนยอดเขาลูกนั้น และมันก็จะอยู่ไปได้สักระยะหนึ่ง ก่อนจะตกเป็นเป้าการโจมตีของฝ่ายข้าศึก พวกเขาต้องไม่ลืมว่า ภูผาทีตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนเวียดนามเหนือ และการนำอุปกรณ์นี้ไปติดตั้งไว้ที่นั่น ก็เท่ากับเป็นการยั่วยุทางฮานอยให้คิดว่ามันเป็นภัยคุกคามของพวกเขา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าไม่นานฮานอยจะสืบรู้เรื่องนี้ และจะวางแผนเข้าโจมตีในที่สุด
แลร์กล่าวต่อไปว่า สัญญาณเตือนภัยอย่างแรกจากฮานอย คือการสร้างถนนเข้าใกล้บริเวณภูเขา ซึ่งเป็นขั้นตอนปฏิบัติตามปรกติของพวกข้าศึก และเมื่อเข้ามาใกล้พอ พวกเขาก็จะพากันยกโขยงมาเป็นกองกำลังขนาดใหญ่ ผลสุดท้ายทางกองทัพอากาศก็จะต้องรีบอพยพเจ้าหน้าที่ของตนออกมาจากภูเขาอย่างแน่นอน
คนจากกองทัพอากาศถามขึ้นว่าเป็นไปได้หรือไม่ หากจะนำทหารชาวเขามาทำหน้าที่คุ้มกันที่มั่นบนภูผาที
ถึงตอนนี้ทุกคนรอคำตอบจากแลร์
ในที่สุดแลร์กล่าวขึ้นว่า พื้นที่ทุรกันดารของเขตภูเขาเป็นภูมิประเทศที่สร้างความได้เปรียบแกฝ่ายตั้งรับ แต่ปัญหาก็คือ การตั้งรับอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งไม่ใช่วิธีที่พวกม้งถนัด ในลาวยังไม่มีกองทหารราบที่มีมาตรฐานเหมือนกับกองทัพแอร์บอร์นที่ ๘๒ ของอเมริกา เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกม้งจะต้องเผ่นหนีทันทีหากถูกโจมตีโดยกองทหารเวียดนามเหนือ พวกเขาทำเช่นนั้นเพื่อความอยู่รอด และสาเหตุที่พวกเขาอยู่รอดในดินแดนแห่งนี้มาได้ ก็เพราะการหนีเอาตัวรอดเช่นนี้นั่นเอง
การประชุมยุติลง โดยทางกองทัพอากาศยังคงกระตือรือร้นเดินหน้าเรื่องอุปกรณ์คอมมานโดคลับต่อไป ส่วนแลร์และเซ็กคอร์ดไม่ค่อยแน่ใจว่ามันเป็นความคิดที่ดีนัก ทั้งสองไม่สบายใจกันนัก เนื่องจากขณะนั้นที่ซำเหนือเองก็เริ่มมีความระส่ำระสายเกิดขึ้นให้เห็น และพวกเขารู้ดีว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์แก่กองทัพอากาศในการทิ้งระเบิดฮานอย โดยวังเปาจะเป็นฝ่ายผู้ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ
เรื่องนี้ทำให้พวกเขาวุ่นวายใจอย่างหนัก แต่การตัดสินใจเรื่องนี้เป็นของแช็คลี่ผู้อำนวยการซีไอเอในลาวและซุลลิแวนเอกอัครราชทูตประจำลาว
No comments:
Post a Comment