ความแก่งแย่งชิงดีขององค์กร
ในปี ๒๕๑๐ ความแก่งแย่งชิงดีของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสงครามในลาวและเวียดนามได้ปรากฏชัดขึ้น ดังที่เซ็กคอร์ดได้ประสบความขัดแย้งนี้มาด้วยตนเองจากความพยายามขอความช่วยเหลือจากกองบินที่ ๗ ให้มาสนับสนุนในปฏิบัติการต่างๆ
ในที่สุดเซ็กคอร์ดก็ตระหนักว่าปัญหาของเขาไม่ได้อยู่ที่ทั้งคนและหน่วยงาน ต้นเหตุของปัญหามันลึกซึ้งไปกว่านั้น หน่วยงานต่างๆไม่ว่ากระทรวงต่างประเทศ กองทัพอากาศ หรือซีไอเอ ต่างไม่อยากให้สงครามดำเนินไปในแบบที่อีกหน่วยงานหนึ่งต้องการ แต่ละหน่วยงานมีสายการบังคับบัญชาที่มีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นในตัวของมันเอง
การขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละหน่วยงาน ทำให้เซ็กคอร์ดคิดไปถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ที่เวสต์พอท์น เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเอกภาพของการบังคับบัญชาที่ว่าประสิทธิภาพในการรบจะไม่เกิดขึ้น หากผู้บังคับบัญชาแต่ละคนไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือไม่ได้รับคำสั่งลงมาจากที่เดียวกัน คุณไม่สามารถใช้เครื่องจักรสงคราม ที่แต่ละชิ้นส่วนคอยแต่จะคัดง้างกันเอง เปรียบได้กับพวกขุนนางที่ชอบตั้งตนเป็นใหญ่ และแย่งยิงอำนาจกันเองตามระบบศักดินาในสมัยกลาง
เมื่อเซ็กคอร์ดย้อนมองสภาพสงครามที่เกิดขึ้นในลาว มันเป็นเหมือนกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาทุกอย่าง
-เอกอัครราชทูตผู้ยืนกรานให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ซับซ้อนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา โดยสักแต่จะนำมากล่าวอ้าง บนพื้นฐานของข้อตกลงสันติภาพที่ล้าสมัย ที่ตัวเขาเองมีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
-กองทัพอากาศอเมริกัน ที่ไม่ได้เชื่อถือในตัวเอกอัครราชทูตเท่าใดนัก
-กองทัพบกอเมริกาที่ได้รับอนุมัติให้จัดส่งหน่วยรบพิเศษไปปฏิบัติการในพื้นที่ ที่ถูกเลือกขึ้นมาอย่างปราศจากหลักเกณฑ์ใดๆ บริเวณโฮจิมินห์ เทรล แต่กลับถูกห้ามไม่ให้เข้าปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนอื่นๆ หากไม่ได้รับการอนุมัติจากเอกอัครราชทูตเสียก่อน โดยทั่วไปแล้ว คำร้องขอที่เสนอไปมักถูกปฏิเสธ
-พวกซีไอเอในพื้นที่ต่างไม่เชื่อน้ำยาทั้งกองทัพอากาศและกองทัพบก
-ลักษณะไม่ประสานลงรอยมีอยู่เช่นเดียวกัน ในหมู่ผู้นำลาวลุ่มทั้งรัฐบาลนิยมกษัตริย์ที่อ่อนแอภายใต้เจ้าสุวรรณภูมา และเหล่าแม่ทัพภาคที่ทรงอิทธิพลซึ่งต่างไม่ไว้ใจกัน ส่วนวังเปาก็ไม่ไว้ใจหรือยอมเชื่อฟังผู้บัญชาการกองทัพภาคอื่นๆ ซึ่งในทางกลับกัน คนพวกนี้ก็คิดเช่นเดียวกันนี้กับวังเปา
ไม่ว่าจะมองไปทางใด ก็มองเห็นแต่ปัญหาความไม่ลงรอยและชิงดีแช่งเด่นกัน มันไม่มีศูนย์กลางบังคับบัญชาของสงครามในอินโดจีน ไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งเป็นที่นับถือของทุกฝ่าย ที่จะเข้ามาจัดการสะสางปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ มันอาจจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเท่าใดนักยากที่สงครามยังมีขนาดเล็ก แลร์และวังเปานั่งรอบกองไฟวางหมากสงครามกันสองคน แต่เมื่อมีการใช้กำลังทางอากาศและสงครามได้ขยายออกไปกว่าเดิมมาก หากอเมริกาต้องการได้ชัยชนะแล้วล่ะก็ สงครามในลาวต้องการระบบการบังคับบัญชาที่ต่างไปจากนี้ .
ในปี ๒๕๑๐ ความแก่งแย่งชิงดีของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสงครามในลาวและเวียดนามได้ปรากฏชัดขึ้น ดังที่เซ็กคอร์ดได้ประสบความขัดแย้งนี้มาด้วยตนเองจากความพยายามขอความช่วยเหลือจากกองบินที่ ๗ ให้มาสนับสนุนในปฏิบัติการต่างๆ
ในที่สุดเซ็กคอร์ดก็ตระหนักว่าปัญหาของเขาไม่ได้อยู่ที่ทั้งคนและหน่วยงาน ต้นเหตุของปัญหามันลึกซึ้งไปกว่านั้น หน่วยงานต่างๆไม่ว่ากระทรวงต่างประเทศ กองทัพอากาศ หรือซีไอเอ ต่างไม่อยากให้สงครามดำเนินไปในแบบที่อีกหน่วยงานหนึ่งต้องการ แต่ละหน่วยงานมีสายการบังคับบัญชาที่มีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นในตัวของมันเอง
การขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละหน่วยงาน ทำให้เซ็กคอร์ดคิดไปถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ที่เวสต์พอท์น เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเอกภาพของการบังคับบัญชาที่ว่าประสิทธิภาพในการรบจะไม่เกิดขึ้น หากผู้บังคับบัญชาแต่ละคนไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือไม่ได้รับคำสั่งลงมาจากที่เดียวกัน คุณไม่สามารถใช้เครื่องจักรสงคราม ที่แต่ละชิ้นส่วนคอยแต่จะคัดง้างกันเอง เปรียบได้กับพวกขุนนางที่ชอบตั้งตนเป็นใหญ่ และแย่งยิงอำนาจกันเองตามระบบศักดินาในสมัยกลาง
เมื่อเซ็กคอร์ดย้อนมองสภาพสงครามที่เกิดขึ้นในลาว มันเป็นเหมือนกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาทุกอย่าง
-เอกอัครราชทูตผู้ยืนกรานให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ซับซ้อนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา โดยสักแต่จะนำมากล่าวอ้าง บนพื้นฐานของข้อตกลงสันติภาพที่ล้าสมัย ที่ตัวเขาเองมีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
-กองทัพอากาศอเมริกัน ที่ไม่ได้เชื่อถือในตัวเอกอัครราชทูตเท่าใดนัก
-กองทัพบกอเมริกาที่ได้รับอนุมัติให้จัดส่งหน่วยรบพิเศษไปปฏิบัติการในพื้นที่ ที่ถูกเลือกขึ้นมาอย่างปราศจากหลักเกณฑ์ใดๆ บริเวณโฮจิมินห์ เทรล แต่กลับถูกห้ามไม่ให้เข้าปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนอื่นๆ หากไม่ได้รับการอนุมัติจากเอกอัครราชทูตเสียก่อน โดยทั่วไปแล้ว คำร้องขอที่เสนอไปมักถูกปฏิเสธ
-พวกซีไอเอในพื้นที่ต่างไม่เชื่อน้ำยาทั้งกองทัพอากาศและกองทัพบก
-ลักษณะไม่ประสานลงรอยมีอยู่เช่นเดียวกัน ในหมู่ผู้นำลาวลุ่มทั้งรัฐบาลนิยมกษัตริย์ที่อ่อนแอภายใต้เจ้าสุวรรณภูมา และเหล่าแม่ทัพภาคที่ทรงอิทธิพลซึ่งต่างไม่ไว้ใจกัน ส่วนวังเปาก็ไม่ไว้ใจหรือยอมเชื่อฟังผู้บัญชาการกองทัพภาคอื่นๆ ซึ่งในทางกลับกัน คนพวกนี้ก็คิดเช่นเดียวกันนี้กับวังเปา
ไม่ว่าจะมองไปทางใด ก็มองเห็นแต่ปัญหาความไม่ลงรอยและชิงดีแช่งเด่นกัน มันไม่มีศูนย์กลางบังคับบัญชาของสงครามในอินโดจีน ไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งเป็นที่นับถือของทุกฝ่าย ที่จะเข้ามาจัดการสะสางปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ มันอาจจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเท่าใดนักยากที่สงครามยังมีขนาดเล็ก แลร์และวังเปานั่งรอบกองไฟวางหมากสงครามกันสองคน แต่เมื่อมีการใช้กำลังทางอากาศและสงครามได้ขยายออกไปกว่าเดิมมาก หากอเมริกาต้องการได้ชัยชนะแล้วล่ะก็ สงครามในลาวต้องการระบบการบังคับบัญชาที่ต่างไปจากนี้ .
No comments:
Post a Comment