บทที่ ๔
เจ้าสุวรรณภูมาปฏิเสธที่จะย้ายรัฐบาลไปตั้งที่หลวงพระบาง แต่ยอมรับที่จะร่วมมือกับฝ่ายนายพลภูมี หน่อสวัน ดังนั้นในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๐๓ เจ้าสุวรรณภูมาพร้อมด้วยพลจัตวาอ้วน ราทิกุลได้เดินทางไปเจรจากับนายพลภูมี ผลการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ภูมีไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลอ้างว่ารัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาเป็นรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ภูมีได้ตั้งเงื่อนไขให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ที่หลวงพระบาง เพื่อให้มีการซาวเสียงจัดตั้งรัฐบาลใหม่และให้ส่งกองแลกลับเข้ากรมกอง
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เกิดขึ้นที่หลวงพระบางตามเงื่อนไขของภูมี ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม และในที่สุดรัฐบาลชุดใหม่ก็ถูกตั้งขึ้น โดยเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกฯ ภูมี เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีมหาดไทย
การกลับมาร่วมมือกับภูมี หน่อสวันนี้นับเป็นลางแพ้อันดับแรกของรัฐบาลชุดนี้ ถ้าเจ้าสุวรรณภูมาจะแสดงบทบาทของนักการเมืองที่เฉียบขาด สนับสนุนกองแลอย่างเต็มที่ด้วยการจับภูมี หน่อสวันเสียก่อนแล้วรวมกำลังของกองแลกับของฝ่ายลาวต่อต้าน(ปเทดลาว)เข้าด้วยกัน ประชาชนลาวทั่วประเทศก็จะให้ความสนับสนุนรัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพมั่นคง
ฮิลแมนได้กล่าวถึงการลงมือต่อต้านการรัฐประหารไว้ว่า
“ภูมี หน่อสวัน ไม่มีเจตนาที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาสงบศึกเลย เห็นได้ชัดว่าทำไปก็เพื่อถ่วงเวลาเท่านั้น เขาเดินทางไปบ้านเก่าของเขาที่สวันเขตแทบจะในทันทีเขาก็ขอการสนับสนุนจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ญาติผู้ใหญ่ของเขาและก็จากพวกอเมริกันตัวแทนสำนักต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีความเห็นอกเห็นใจ…” จากนั้นอาวุธอเมริกันก็หลั่งไหลโดยทางเครื่องบินจากไทยมายังสวันเขต ขณะเดียวกันทหารไทยก็มาชุมนุมกันอยู่ตามฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามเวียงจันทน์ และรัฐบาลไทยก็ดำเนินการปิดล้อมไม่ให้อาวุธยุทโธปกรณ์ใดๆเข้าไปเวียงจันทน์ได้”
รัฐประหารของกองแลได้สร้างความเจ็บแค้นอย่างที่สุดให้แก่สถานทูตอเมริกัน เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ล่วงหน้า เท่ากับตบหน้าผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายโดยตรง มิหนำซ้ำมันเกิดขึ้นเมื่อ วินทร็อปบราวน์ ทูตคนใหม่เดินทางมารับตำแหน่งได้เพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ต่างก็วุ่นวายกันอยู่ว่าจะสนับสนุนใครดี อย่างไรก็ดี แม้ว่ารัฐบาลใหม่ของเจ้าสุวรรณภูมาจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่วงการภายในก็เป็นที่ทราบทั่วกันว่า การรับรองนั้นก็เพื่อที่จะได้มีเวลาหายใจสำหรับวางแผนที่จะโค่นล้มเท่านั้นเอง.
เจ้าสุวรรณภูมาปฏิเสธที่จะย้ายรัฐบาลไปตั้งที่หลวงพระบาง แต่ยอมรับที่จะร่วมมือกับฝ่ายนายพลภูมี หน่อสวัน ดังนั้นในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๐๓ เจ้าสุวรรณภูมาพร้อมด้วยพลจัตวาอ้วน ราทิกุลได้เดินทางไปเจรจากับนายพลภูมี ผลการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ภูมีไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลอ้างว่ารัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาเป็นรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ภูมีได้ตั้งเงื่อนไขให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ที่หลวงพระบาง เพื่อให้มีการซาวเสียงจัดตั้งรัฐบาลใหม่และให้ส่งกองแลกลับเข้ากรมกอง
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เกิดขึ้นที่หลวงพระบางตามเงื่อนไขของภูมี ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม และในที่สุดรัฐบาลชุดใหม่ก็ถูกตั้งขึ้น โดยเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกฯ ภูมี เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีมหาดไทย
การกลับมาร่วมมือกับภูมี หน่อสวันนี้นับเป็นลางแพ้อันดับแรกของรัฐบาลชุดนี้ ถ้าเจ้าสุวรรณภูมาจะแสดงบทบาทของนักการเมืองที่เฉียบขาด สนับสนุนกองแลอย่างเต็มที่ด้วยการจับภูมี หน่อสวันเสียก่อนแล้วรวมกำลังของกองแลกับของฝ่ายลาวต่อต้าน(ปเทดลาว)เข้าด้วยกัน ประชาชนลาวทั่วประเทศก็จะให้ความสนับสนุนรัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพมั่นคง
ฮิลแมนได้กล่าวถึงการลงมือต่อต้านการรัฐประหารไว้ว่า
“ภูมี หน่อสวัน ไม่มีเจตนาที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาสงบศึกเลย เห็นได้ชัดว่าทำไปก็เพื่อถ่วงเวลาเท่านั้น เขาเดินทางไปบ้านเก่าของเขาที่สวันเขตแทบจะในทันทีเขาก็ขอการสนับสนุนจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ญาติผู้ใหญ่ของเขาและก็จากพวกอเมริกันตัวแทนสำนักต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีความเห็นอกเห็นใจ…” จากนั้นอาวุธอเมริกันก็หลั่งไหลโดยทางเครื่องบินจากไทยมายังสวันเขต ขณะเดียวกันทหารไทยก็มาชุมนุมกันอยู่ตามฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามเวียงจันทน์ และรัฐบาลไทยก็ดำเนินการปิดล้อมไม่ให้อาวุธยุทโธปกรณ์ใดๆเข้าไปเวียงจันทน์ได้”
รัฐประหารของกองแลได้สร้างความเจ็บแค้นอย่างที่สุดให้แก่สถานทูตอเมริกัน เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ล่วงหน้า เท่ากับตบหน้าผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายโดยตรง มิหนำซ้ำมันเกิดขึ้นเมื่อ วินทร็อปบราวน์ ทูตคนใหม่เดินทางมารับตำแหน่งได้เพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ต่างก็วุ่นวายกันอยู่ว่าจะสนับสนุนใครดี อย่างไรก็ดี แม้ว่ารัฐบาลใหม่ของเจ้าสุวรรณภูมาจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่วงการภายในก็เป็นที่ทราบทั่วกันว่า การรับรองนั้นก็เพื่อที่จะได้มีเวลาหายใจสำหรับวางแผนที่จะโค่นล้มเท่านั้นเอง.
No comments:
Post a Comment