อย่างไรก็ตาม ในประเทศสยามมีกลุ่มคนประเภทเดียวกันที่เคยมีในฝรั่งเศสในช่วงระหว่างการอภิวัฒน์ พ.ศ.๒๓๓๒ และสาธารณรัฐที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ เราเรียกคนเหล่านี้ว่า “ผู้เกินกว่าราชา” (Ultra Royaliste) คือ หมายถึงพวกที่ชอบทำตนนิยมราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีเอง ในกลุ่ม “ผู้เกินกว่าราชา” แห่งสยามนี้มีบางคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลยกับพระบรมวงศานุวงศ์และมีคนทั้งคนที่เรียกตัวเองว่า “ปัญญาชน” บางคนรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย เนื่องจากมีเชื้อสายต่างด้าว จึงอยากจะแสดงตนว่าเป็นชาวสยามเสียยิ่งกว่าประชาชนชาวสยามหรือพระมหากษัตริย์สยามเอง และเสแสร้งตนเป็นผู้รักษาราชบัลลังก์
(โปรดอ่านที่ http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/06/blog-post_8038.html - แด่บรรพชนฯ)
โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายนานาชนิด เพื่อทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านข้าพเจ้า โดยการกล่าวหาข้าพเจ้าหลายครั้งหลายคราว่า เป็นผู้มีส่วนร่วมในกรณีสวรรคตที่ลึกลับซับซ้อน และเมื่อเพื่อนคนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งที่อยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่ได้เข้าใจและแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อข้าพเจ้ามากขึ้น นับแต่ข้าพเจ้าเดินทางมาพักที่กรุงปารีส กลุ่ม “ผู้เกินกว่าราชา” ในเมืองไทยบางคนก็เริ่มใช้เล่ห์เพทุบายที่ชั่วร้ายใหม่ โดยกล่าวร้ายข้าพเจ้าในหนังสือพิมพ์ของพวกเขา (ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เป็นเชื้อพระวงศ์) ว่าข้าพเจ้าหนีออกจากประเทศสยาม เพราะต้องหาคดีอาญา เป็นผู้มีส่วนร่วมในการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการให้ทนายดำคดียื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งที่กรุงเทพฯ โดยฟ้องร้องเจ้าของบรรณาธิการและนักหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับ ฐานหมิ่นประมาท สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงและใส่ความข้าพเจ้า ในที่สุดผู้รับผิดชอบของหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับยอมรับผิด และยินยอมพิมพ์ข้อความรับผิด และยินยอมพิมพ์ข้อความรับผิดลงประกาศในหนังสือพิมพ์ของตนเป็นเวลาสามวัน โดยไม่เพียงแต่ลงประกาศขอขมาต่อข้าพเจ้าฐานใส่ความให้ร้ายข้าพเจ้าเท่านั้น แต่ยังลงข้อความอันแสดงความบริสุทธิ์ของข้าพเจ้าในกรณีสวรรคตฯ ตลอดจนข้อความที่ชี้แจงว่า การหลบหนีออกจากประเทศสยามของข้าพเจ้านั้น เป็นเพราะการลี้ภัยรัฐประหารปี พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และรัฐบาลอันชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
-๖-
(โปรดอ่านที่ http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/06/blog-post_8038.html - แด่บรรพชนฯ)
โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายนานาชนิด เพื่อทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านข้าพเจ้า โดยการกล่าวหาข้าพเจ้าหลายครั้งหลายคราว่า เป็นผู้มีส่วนร่วมในกรณีสวรรคตที่ลึกลับซับซ้อน และเมื่อเพื่อนคนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งที่อยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่ได้เข้าใจและแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อข้าพเจ้ามากขึ้น นับแต่ข้าพเจ้าเดินทางมาพักที่กรุงปารีส กลุ่ม “ผู้เกินกว่าราชา” ในเมืองไทยบางคนก็เริ่มใช้เล่ห์เพทุบายที่ชั่วร้ายใหม่ โดยกล่าวร้ายข้าพเจ้าในหนังสือพิมพ์ของพวกเขา (ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เป็นเชื้อพระวงศ์) ว่าข้าพเจ้าหนีออกจากประเทศสยาม เพราะต้องหาคดีอาญา เป็นผู้มีส่วนร่วมในการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการให้ทนายดำคดียื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งที่กรุงเทพฯ โดยฟ้องร้องเจ้าของบรรณาธิการและนักหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับ ฐานหมิ่นประมาท สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงและใส่ความข้าพเจ้า ในที่สุดผู้รับผิดชอบของหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับยอมรับผิด และยินยอมพิมพ์ข้อความรับผิด และยินยอมพิมพ์ข้อความรับผิดลงประกาศในหนังสือพิมพ์ของตนเป็นเวลาสามวัน โดยไม่เพียงแต่ลงประกาศขอขมาต่อข้าพเจ้าฐานใส่ความให้ร้ายข้าพเจ้าเท่านั้น แต่ยังลงข้อความอันแสดงความบริสุทธิ์ของข้าพเจ้าในกรณีสวรรคตฯ ตลอดจนข้อความที่ชี้แจงว่า การหลบหนีออกจากประเทศสยามของข้าพเจ้านั้น เป็นเพราะการลี้ภัยรัฐประหารปี พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และรัฐบาลอันชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
-๖-
ข้าพเจ้ามิเคยปิดบังผู้ใด รวมทั้งคณะบุคคลในรัฐบาลไทยปัจจุบันบางท่านที่ได้เคยมาเยี่ยมข้าพเจ้า นับแต่ข้าพเจ้ามาอยู่ที่ชานกรุงปารีสว่า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สนับสนุนนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างชาติต่างๆ ที่มีระบอบการปกครองการเมืองและสังคมที่แตกต่างกัน ข้าพเจ้าจึงคงรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐราษฎรจีน และสำนักผู้แทนทางการทูตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม เช่นเดียวกับองค์การรักชาติแห่งลาวและเขมร ข้าพเจ้าได้ต้อนรับการมาเยี่ยมเยียนเพื่อนคนไทย และกลุ่มก้าวหน้าจากทวีปต่างๆ รวมทั้งจากอเมริกา ซึ่งต่างพยายามหาทางที่จะบรรลุถึงซึ่งสันติภาพ
บางครั้งข้าพเจ้าได้ยกพุทธภาษิต ที่ข้าพเจ้าได้เคยบันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้แต่ง ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ดังนี้ “นตฺถิ สนฺติ ปรมฺ สุขํ” อันหมายถึง “สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี”
บางครั้งข้าพเจ้าได้ยกพุทธภาษิต ที่ข้าพเจ้าได้เคยบันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้แต่ง ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ดังนี้ “นตฺถิ สนฺติ ปรมฺ สุขํ” อันหมายถึง “สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี”
No comments:
Post a Comment