ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
-๓-
ขบวนการของเราได้กำหนดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ ๒ ด้านประกอบกันคือ ด้านหนึ่งต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน และอีกด้านหนึ่ง เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อให้สัมพันธมิตรเห็นว่า การประกาศสงครามของจอมพลป.พิบูลสงคราม ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองขบวนการของเรา และรัฐบาลพลัดถิ่นที่เราคิดจะจัดตั้งขึ้น ตลอดจนยอมรับว่าเป็นพันธมิตรด้วย ดังเช่นที่พวกเราได้รับรอง COMITE FRANCAIS DE LIBERATION NATIONALE นำโดยนายพลเดอโกลล์
ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ส่งทูตพิเศษเพื่อไปเจรจาเรื่องนี้อย่างลับๆ เราได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูตสยามที่ประจำอยู่ที่กรุงสต็อคโฮล์ม ซึ่งได้ร่วมขบวนการด้วย เป็นผู้ติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตโซเวียตท่ประจำกรุงสต๊อคโฮล์มเช่นกัน
การเจรจาครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวัง ความรอบคอบ และเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง เพราะประเทศอังกฤษถือว่าการประกาศสงครามของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น มีผลสมบูรณ์ในขณะที่ประเทศสัมพันธมิตรอื่น (สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต รัฐบาลพลัดถิ่นของฝรั่งเศส) ต่างก็มีท่าทีเฉพาะของตน
แต่ในแง่ของการทหารนั้น บทความหลายชิ้นและหนังสือหลายเล่มที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความช่วยเหลือ และความร่วมมือของเรานานัปการ อันเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ข้าพเจ้าขอนำคำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเตนที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทมส์ ฉบับวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ มากล่าวอ้างไว้ดังนี้
หนังสือพิมพ์ ไทมส์ ๑๘/๑๒/๑๙๔๖
“อาคันตุกะผู้หนึ่งจากสยาม
การรณรงค์ของหลวงประดิษฐ์ฯ
คำเปิดเผยของลอร์ด เมานท์แบตเตน”
“ลอร์ด เมานท์แบตเทน แห่งพม่า ผู้ซึ่งไม่นานมานี้ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ ได้รับการต้อนรับเลี้ยงอาหารกลางวันโดยซิตี้ ลิเวอรี่ คลับ ณ ไซออน คอลเลจ เมื่อวานนี้ได้บรรยายไว้ในสุนทรพจน์ของท่านถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลวงประดิษฐ์ฯ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม ได้สาธยายเกี่ยวกับรายละเอียดซึ่งหนังสือพิมพ์ไทมส์ได้เคยลงพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ ๒๒ ธันวาคม คือประมาณหนึ่งปีมาแล้ว และได้ประกาศแถลงว่า หลวงประดิษฐ์ฯ บุคคลผู้มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์นั้น กำหนดจะมาถึงประเทศอังกฤษโดยเรือเดินสมุทร ควีน เอลิซาเบท พรุ่งนี้เช้า
ลอร์ด เมานท์แบตเตน กล่าวว่า ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในนาม “หลวงประดิษฐ์ฯ” และพวกเราหลายคนแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ รู้จักเขาตามชื่อรหัสว่า “รู้ธ” เขามาเยี่ยมประเทศนี้ (อังกฤษ) ด้วยสันถวไมตรีในระยะสั้นๆ ในฐานะแขกของรัฐบาล (อังกฤษ)และข้าพเจ้าหวังว่า เราจะใช้โอกาสนี้ให้การรับรองเขาอย่างอบอุ่น เพราะเหตุที่หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นบุรุษผู้มีบทบาทอันน่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์ เป็นที่ทราบกันว่า ในระหว่างสงครามนั้น ไม่มีการกล่าวถึงชื่อของเขาอย่างเปิดเผย และเรื่องราวทั้งปวงเขาก็ถูกถือว่าเป็น “ความลับสุดยอด” แม้กระทั่งทุกวันนี้ คนอังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยทราบกันเท่าไรนักถึงพฤติกรรมอันอาจหาญที่เขาได้เคยกระทำสำเร็จมาแล้ว
ขณะที่ญี่ปุ่นรุกรานสยาม หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาล แต่เขาได้ปฏิเสธที่จะลงนามในการประกาศสงครามต่อเรา หลวงพิบูลฯ (ควิสลิง-QUISLING นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายนาซี-หมายเหตุผู้เรียบเรียง) รู้ว่าเขา(หลวงประดิษฐ์ฯ)เป็นคนหนึ่งที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศ และก็หวังที่จะทำให้เขาเป็นหุ่นเชิดโดยให้เขาขึ้นไปเป็นคนหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯยอมรับตำแหน่งนี้ หลวงพิบูลฯหรือญี่ปุ่นมิได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่า ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯ ยอมรับตำแหน่งหน้าที่นั้น เขาก็ได้เริ่มต้นดำเนินการจัดตั้งและอำนวยการขบวนการต่อต้านของชาวสยามขึ้น”
“คณะผู้แทนสาปสูญไป”
“เราได้รับรู้จากแหล่งต่างๆว่า หลวงพิบูลฯ มิได้ประสบผลทุกๆอย่างตามวิถีทางของเขาในประเทศสยาม แต่การจะติดต่อ (กับขบวนการต่อต้านภายในสยาม)นั้นก็ลำบากมาก และทั้งนี้ ก็เป็นการยากที่จะล่วงรู้ได้ด้วยว่า อะไรเกิดขึ้นกันแน่
คณะผู้แทนของหลวงประดิษฐ์ฯ ๒ คณะได้หายสาปสูญไประหว่างการเดินทางไปยังประเทศจีน ซึ่งเต็มไปด้วยภยันตรายแต่ในที่สุด ก็ได้มีการพบปะกันระหว่างสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เราก็ได้ติดต่อกันเป็นประจำ การติดต่อทั้งนี้นับได้ว่า เป็นความสัมพันธ์พิเศษยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนแผนการทหารที่สำคัญๆ กับประมุขแห่งรัฐ ซึ่งโดยทางเทคนิคแล้วถือว่า อยู่ในสถานะสงครามกับเรา
เราจะเห็นได้ว่า หลวงประดิษฐ์ฯประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเขากล้าหาญที่สามารถจัดการให้มีการล้มรัฐบาลของหลวงพิบูลฯ ได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๘๗ โดยจัดให้มีรัฐบาลใหม่ขึ้น ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เขาแต่งตั้งเอง และทำให้เขาสามารถดำเนินแผนการต่อต้านญี่ปุ่นได้ดีขึ้น
กองกำลังเสรีไทยที่ได้รับการฝึกฝนในประเทศเรา และได้ปฏิบัติการร่วมกันกับกองกำลังบริติชที่ ๕ และกองกำลังที่ ๑๓๖ รวมทั้งกองกำลังอเมริกัน O.S.S นั้น บางส่วนได้กระโดดร่มเข้าไปร่วมงานของหลวงประดิษฐ์ฯ บางคนถูกจับกุมคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลของหลวงพิบูลฯ แต่ก็ถูกคุมขังพอเป็นพิธีเท่านั้น เพราะพวกเขาก็พบปะกับหลวงประดิษฐ์ฯ ได้อย่างลับๆ และได้ตั้งสถานีวิทยุติดต่อกับกองบัญชาการของข้าพเจ้า
ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ หลวงประดิษฐ์ฯ ได้ส่งบุคคลชั้นหัวหน้าสำคัญๆ แห่งขบวนการต่อต้าน นำโดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีต่างประเทศสยามมาปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าที่เมืองแคนดี เราได้ให้คณะดังกล่าวออกมาและส่งกลับโดยเครื่องบินทะเล หรือโดยเรือบิน(ชนิดที่ต่อเป็นลำเรือไม่ใช่ทุ่น)ในระหว่างการสนทนา เราก็ได้วางแผนการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิบัติการภายหน้า เพื่อให้ประสานกับพลังหลักสำคัญแห่งยุทธภูมิของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเองได้มีการตระเตรียมพร้อมเสมอเมื่อถึงควาจำเป็นที่จะให้หลวงประดิษฐ์ฯ บินออกมาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ตราบจนถึงตอนปลายสงคราม เขาได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อวินาศกรรมและจัดตั้งกำลังพลพรรคประมาณ ๖ หมื่นคน กับทั้งการสนับสนุนอีกมากมายที่เตรียมพร้อมอย่างเงียบๆ เพื่อที่จะร่วมปฏิบัติการ ซึ่งล้วนแต่อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ในสงคราม”
“หลวงประดิษฐ์ฯ (เขา) ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง”
“ข้าพเจ้าเข้าใจดีทีเดียวถึงความยากลำบากที่เขาต้องควบคุมพลังนี้ แต่ข้าพเจ้าเองก็ต้องระลึกอยู่เสมอเช่นเดียวกันถึงภยันตรายอันใหญ่หลวงแห่งการเคลื่อนไหว โดยที่ยังไม่ถึงเวลา ซึ่งจะเป็นผลให้ญีปุ่นทำการตอบโต้ทำลาย และจะทำให้แผนยุทธศาสตร์แห่งยุทธภูมิทั้งปวงของข้าพเจ้าเกิดผลกระทบปั่นป่วนวุ่นวาย ความเครียดที่บังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯ ต้องแบกรับไว้ และภยันตรายที่เขาต้องเผชิญตลอดเวลา ๓ ปี นับว่าเป็นสิ่งที่น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง แต่ก็อาศัยความที่มีวินัยของเขาเองประกอบกับที่เขาได้ชักจูงให้บรรดาผู้เชื่อถือเลื่อมใสในตัวเขาปฏิบัติตามนั่นเอง ที่ทำให้เขาประสบชัยชนะในที่สุด เขาไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลย
ข้าพเจ้ารู้ว่า มีบุคคลมากหลายที่เคยตกเป็นเชลยศึกในสยาม ได้มีความสำนึกอันถูกต้องในแง่ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อความปรารถนาดีของหลวงประดิษฐ์ฯ ซึ่งมีต่อเรา
ดังนั้น ข้าพเจ้าทราบด้วยว่า เขาเป็นบุคคลที่ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับสยามอย่างแข็งขัน การต่อต้านการกดขี่ของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ดำเนินไปอย่างเกือบไม่ขาดสาย ทั้งนี้ก็เพราะหลวงประดิษฐ์ฯ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนี้ (เสียงปรบมือแสดงความชื่นชมยินดีก้องขึ้นเป็นเวลายาวนาน)”
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เดินทางมาถึงกรุงปารีสในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นั้นประธานกรรมการ “สโมสรกองกำลังพิเศษ” ของสหราชอาณาจักร ได้ส่งจดหมายลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ เชิญข้าพเจ้าเข้าเป็นสมาชิกสโมสรฯ มีความดังต่อไปนี้
ฯพณฯ
คณะกรรมการได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ข้าพเจ้ามีหนังสือขอร้องให้ท่านรับคำเชิญของเราที่ขอให้ท่านเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรนี้
ดังที่ ฯพณฯ คงจะทราบแล้ว สโมสรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดยและเพื่อบุคคลซึ่งได้ปฏิบัติการอยู่ในกองกำลังพิเศษ และบุคคลซึ่งได้ทำงานอยู่ในขบวนการต่อต้านและขบวนการใต้ดินในระหว่างสงคราม พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘
เราและสมาชิกทั้งหลายของสโมสรนี้ จะมีความชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่งหาก ฯพณฯ จะยอมรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสร ข้าพเจ้าทราบดีว่า สมาชิกเหล่านี้ ทั้งที่เป็นคนไทยและคนอังกฤษ ซึ่งเคยทำงานอยู่ในแผนกประเทศสยามของกองกำลังที่๑๓๕ (The Siam Country Section of Force 135) ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับท่านและได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน และได้รับการส่งเสริมกำลังใจจากท่านตลอดเวลาในระหว่างหลายปีของการทำสงครามนั้น ก็คงจะมีความชื่นชมยินดีเช่นกัน
จดหมายฉบับนี้ ย่อมแสดงถึงความยอมรับนับถือและการยกย่องอย่างสูงของเรา ต่อบทบาทอันเด่นชัดของ ฯพณฯ ในการสนับสนุนและค้ำจุนขบวนการต่อต้าน ซึ่งได้รับใช้ประเทศของเราทั้งหลายในยามที่ตกอยู่ในภยันตราย
ด้วยความจริงใจของข้าพเจ้า
เจฟฟรีย์ เอ็ช วอลฟอร์ด
ประธานกรรมการ
ขบวนการของเราได้กำหนดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ ๒ ด้านประกอบกันคือ ด้านหนึ่งต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน และอีกด้านหนึ่ง เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อให้สัมพันธมิตรเห็นว่า การประกาศสงครามของจอมพลป.พิบูลสงคราม ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองขบวนการของเรา และรัฐบาลพลัดถิ่นที่เราคิดจะจัดตั้งขึ้น ตลอดจนยอมรับว่าเป็นพันธมิตรด้วย ดังเช่นที่พวกเราได้รับรอง COMITE FRANCAIS DE LIBERATION NATIONALE นำโดยนายพลเดอโกลล์
ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ส่งทูตพิเศษเพื่อไปเจรจาเรื่องนี้อย่างลับๆ เราได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูตสยามที่ประจำอยู่ที่กรุงสต็อคโฮล์ม ซึ่งได้ร่วมขบวนการด้วย เป็นผู้ติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตโซเวียตท่ประจำกรุงสต๊อคโฮล์มเช่นกัน
การเจรจาครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวัง ความรอบคอบ และเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง เพราะประเทศอังกฤษถือว่าการประกาศสงครามของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น มีผลสมบูรณ์ในขณะที่ประเทศสัมพันธมิตรอื่น (สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต รัฐบาลพลัดถิ่นของฝรั่งเศส) ต่างก็มีท่าทีเฉพาะของตน
แต่ในแง่ของการทหารนั้น บทความหลายชิ้นและหนังสือหลายเล่มที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความช่วยเหลือ และความร่วมมือของเรานานัปการ อันเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ข้าพเจ้าขอนำคำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเตนที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทมส์ ฉบับวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ มากล่าวอ้างไว้ดังนี้
หนังสือพิมพ์ ไทมส์ ๑๘/๑๒/๑๙๔๖
“อาคันตุกะผู้หนึ่งจากสยาม
การรณรงค์ของหลวงประดิษฐ์ฯ
คำเปิดเผยของลอร์ด เมานท์แบตเตน”
“ลอร์ด เมานท์แบตเทน แห่งพม่า ผู้ซึ่งไม่นานมานี้ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ ได้รับการต้อนรับเลี้ยงอาหารกลางวันโดยซิตี้ ลิเวอรี่ คลับ ณ ไซออน คอลเลจ เมื่อวานนี้ได้บรรยายไว้ในสุนทรพจน์ของท่านถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลวงประดิษฐ์ฯ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม ได้สาธยายเกี่ยวกับรายละเอียดซึ่งหนังสือพิมพ์ไทมส์ได้เคยลงพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ ๒๒ ธันวาคม คือประมาณหนึ่งปีมาแล้ว และได้ประกาศแถลงว่า หลวงประดิษฐ์ฯ บุคคลผู้มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์นั้น กำหนดจะมาถึงประเทศอังกฤษโดยเรือเดินสมุทร ควีน เอลิซาเบท พรุ่งนี้เช้า
ลอร์ด เมานท์แบตเตน กล่าวว่า ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในนาม “หลวงประดิษฐ์ฯ” และพวกเราหลายคนแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ รู้จักเขาตามชื่อรหัสว่า “รู้ธ” เขามาเยี่ยมประเทศนี้ (อังกฤษ) ด้วยสันถวไมตรีในระยะสั้นๆ ในฐานะแขกของรัฐบาล (อังกฤษ)และข้าพเจ้าหวังว่า เราจะใช้โอกาสนี้ให้การรับรองเขาอย่างอบอุ่น เพราะเหตุที่หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นบุรุษผู้มีบทบาทอันน่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์ เป็นที่ทราบกันว่า ในระหว่างสงครามนั้น ไม่มีการกล่าวถึงชื่อของเขาอย่างเปิดเผย และเรื่องราวทั้งปวงเขาก็ถูกถือว่าเป็น “ความลับสุดยอด” แม้กระทั่งทุกวันนี้ คนอังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยทราบกันเท่าไรนักถึงพฤติกรรมอันอาจหาญที่เขาได้เคยกระทำสำเร็จมาแล้ว
ขณะที่ญี่ปุ่นรุกรานสยาม หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาล แต่เขาได้ปฏิเสธที่จะลงนามในการประกาศสงครามต่อเรา หลวงพิบูลฯ (ควิสลิง-QUISLING นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายนาซี-หมายเหตุผู้เรียบเรียง) รู้ว่าเขา(หลวงประดิษฐ์ฯ)เป็นคนหนึ่งที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศ และก็หวังที่จะทำให้เขาเป็นหุ่นเชิดโดยให้เขาขึ้นไปเป็นคนหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯยอมรับตำแหน่งนี้ หลวงพิบูลฯหรือญี่ปุ่นมิได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่า ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯ ยอมรับตำแหน่งหน้าที่นั้น เขาก็ได้เริ่มต้นดำเนินการจัดตั้งและอำนวยการขบวนการต่อต้านของชาวสยามขึ้น”
“คณะผู้แทนสาปสูญไป”
“เราได้รับรู้จากแหล่งต่างๆว่า หลวงพิบูลฯ มิได้ประสบผลทุกๆอย่างตามวิถีทางของเขาในประเทศสยาม แต่การจะติดต่อ (กับขบวนการต่อต้านภายในสยาม)นั้นก็ลำบากมาก และทั้งนี้ ก็เป็นการยากที่จะล่วงรู้ได้ด้วยว่า อะไรเกิดขึ้นกันแน่
คณะผู้แทนของหลวงประดิษฐ์ฯ ๒ คณะได้หายสาปสูญไประหว่างการเดินทางไปยังประเทศจีน ซึ่งเต็มไปด้วยภยันตรายแต่ในที่สุด ก็ได้มีการพบปะกันระหว่างสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เราก็ได้ติดต่อกันเป็นประจำ การติดต่อทั้งนี้นับได้ว่า เป็นความสัมพันธ์พิเศษยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนแผนการทหารที่สำคัญๆ กับประมุขแห่งรัฐ ซึ่งโดยทางเทคนิคแล้วถือว่า อยู่ในสถานะสงครามกับเรา
เราจะเห็นได้ว่า หลวงประดิษฐ์ฯประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเขากล้าหาญที่สามารถจัดการให้มีการล้มรัฐบาลของหลวงพิบูลฯ ได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๘๗ โดยจัดให้มีรัฐบาลใหม่ขึ้น ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เขาแต่งตั้งเอง และทำให้เขาสามารถดำเนินแผนการต่อต้านญี่ปุ่นได้ดีขึ้น
กองกำลังเสรีไทยที่ได้รับการฝึกฝนในประเทศเรา และได้ปฏิบัติการร่วมกันกับกองกำลังบริติชที่ ๕ และกองกำลังที่ ๑๓๖ รวมทั้งกองกำลังอเมริกัน O.S.S นั้น บางส่วนได้กระโดดร่มเข้าไปร่วมงานของหลวงประดิษฐ์ฯ บางคนถูกจับกุมคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลของหลวงพิบูลฯ แต่ก็ถูกคุมขังพอเป็นพิธีเท่านั้น เพราะพวกเขาก็พบปะกับหลวงประดิษฐ์ฯ ได้อย่างลับๆ และได้ตั้งสถานีวิทยุติดต่อกับกองบัญชาการของข้าพเจ้า
ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ หลวงประดิษฐ์ฯ ได้ส่งบุคคลชั้นหัวหน้าสำคัญๆ แห่งขบวนการต่อต้าน นำโดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีต่างประเทศสยามมาปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าที่เมืองแคนดี เราได้ให้คณะดังกล่าวออกมาและส่งกลับโดยเครื่องบินทะเล หรือโดยเรือบิน(ชนิดที่ต่อเป็นลำเรือไม่ใช่ทุ่น)ในระหว่างการสนทนา เราก็ได้วางแผนการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิบัติการภายหน้า เพื่อให้ประสานกับพลังหลักสำคัญแห่งยุทธภูมิของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเองได้มีการตระเตรียมพร้อมเสมอเมื่อถึงควาจำเป็นที่จะให้หลวงประดิษฐ์ฯ บินออกมาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ตราบจนถึงตอนปลายสงคราม เขาได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อวินาศกรรมและจัดตั้งกำลังพลพรรคประมาณ ๖ หมื่นคน กับทั้งการสนับสนุนอีกมากมายที่เตรียมพร้อมอย่างเงียบๆ เพื่อที่จะร่วมปฏิบัติการ ซึ่งล้วนแต่อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ในสงคราม”
“หลวงประดิษฐ์ฯ (เขา) ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง”
“ข้าพเจ้าเข้าใจดีทีเดียวถึงความยากลำบากที่เขาต้องควบคุมพลังนี้ แต่ข้าพเจ้าเองก็ต้องระลึกอยู่เสมอเช่นเดียวกันถึงภยันตรายอันใหญ่หลวงแห่งการเคลื่อนไหว โดยที่ยังไม่ถึงเวลา ซึ่งจะเป็นผลให้ญีปุ่นทำการตอบโต้ทำลาย และจะทำให้แผนยุทธศาสตร์แห่งยุทธภูมิทั้งปวงของข้าพเจ้าเกิดผลกระทบปั่นป่วนวุ่นวาย ความเครียดที่บังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯ ต้องแบกรับไว้ และภยันตรายที่เขาต้องเผชิญตลอดเวลา ๓ ปี นับว่าเป็นสิ่งที่น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง แต่ก็อาศัยความที่มีวินัยของเขาเองประกอบกับที่เขาได้ชักจูงให้บรรดาผู้เชื่อถือเลื่อมใสในตัวเขาปฏิบัติตามนั่นเอง ที่ทำให้เขาประสบชัยชนะในที่สุด เขาไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลย
ข้าพเจ้ารู้ว่า มีบุคคลมากหลายที่เคยตกเป็นเชลยศึกในสยาม ได้มีความสำนึกอันถูกต้องในแง่ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อความปรารถนาดีของหลวงประดิษฐ์ฯ ซึ่งมีต่อเรา
ดังนั้น ข้าพเจ้าทราบด้วยว่า เขาเป็นบุคคลที่ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับสยามอย่างแข็งขัน การต่อต้านการกดขี่ของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ดำเนินไปอย่างเกือบไม่ขาดสาย ทั้งนี้ก็เพราะหลวงประดิษฐ์ฯ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนี้ (เสียงปรบมือแสดงความชื่นชมยินดีก้องขึ้นเป็นเวลายาวนาน)”
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เดินทางมาถึงกรุงปารีสในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นั้นประธานกรรมการ “สโมสรกองกำลังพิเศษ” ของสหราชอาณาจักร ได้ส่งจดหมายลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ เชิญข้าพเจ้าเข้าเป็นสมาชิกสโมสรฯ มีความดังต่อไปนี้
ฯพณฯ
คณะกรรมการได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ข้าพเจ้ามีหนังสือขอร้องให้ท่านรับคำเชิญของเราที่ขอให้ท่านเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรนี้
ดังที่ ฯพณฯ คงจะทราบแล้ว สโมสรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดยและเพื่อบุคคลซึ่งได้ปฏิบัติการอยู่ในกองกำลังพิเศษ และบุคคลซึ่งได้ทำงานอยู่ในขบวนการต่อต้านและขบวนการใต้ดินในระหว่างสงคราม พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘
เราและสมาชิกทั้งหลายของสโมสรนี้ จะมีความชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่งหาก ฯพณฯ จะยอมรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสร ข้าพเจ้าทราบดีว่า สมาชิกเหล่านี้ ทั้งที่เป็นคนไทยและคนอังกฤษ ซึ่งเคยทำงานอยู่ในแผนกประเทศสยามของกองกำลังที่๑๓๕ (The Siam Country Section of Force 135) ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับท่านและได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน และได้รับการส่งเสริมกำลังใจจากท่านตลอดเวลาในระหว่างหลายปีของการทำสงครามนั้น ก็คงจะมีความชื่นชมยินดีเช่นกัน
จดหมายฉบับนี้ ย่อมแสดงถึงความยอมรับนับถือและการยกย่องอย่างสูงของเรา ต่อบทบาทอันเด่นชัดของ ฯพณฯ ในการสนับสนุนและค้ำจุนขบวนการต่อต้าน ซึ่งได้รับใช้ประเทศของเราทั้งหลายในยามที่ตกอยู่ในภยันตราย
ด้วยความจริงใจของข้าพเจ้า
เจฟฟรีย์ เอ็ช วอลฟอร์ด
ประธานกรรมการ
No comments:
Post a Comment