ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีนปรีดี พนมยงค์
บทที่ ๒ การเริ่มมีจิตสำนึกอภิวัฒน์ของข้าพเจ้า
บทที่ ๒ การเริ่มมีจิตสำนึกอภิวัฒน์ของข้าพเจ้า
-๓-
ในปี พ.ศ.๒๔๖๒ ข้าพเจ้าสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม แต่เนื่องจากข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๑๙ ปี ซึ่งถือว่าอายุน้อยเกินไป จึงไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาและยังไม่สามารถเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภา (กำหนดอายุขั้นต่ำ ๒๐ ปี) ข้าพเจ้าต้องรออยู่ ๒-๓ เดือนจึงได้เป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมพอใจในผลสอบของข้าพเจ้า จึงให้ทุนข้าพเจ้าไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจะได้กลับมาช่วยงานกระทรวงในด้านการร่างประมวลกฎหมายตามแบบฉบับของประเทศฝรั่งเศส
ข้าพเจ้าเดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๓
ข้าพเจ้าได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนมัธยมในเมืองก็อง (Caen) เป็นเวลา ๑ ปี จึงได้เข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของเมืองนี้ และได้รับประกาศนียบัตร BACHELIER EN DROIT กับ LIENCE EN DROIT
ต่อมาข้าพเจ้าได้ย้ายไปศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส และในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ข้าพเจ้าก็จบการศึกษาระดับปริญญาเอก(สาขานิติศาสตร์) นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาขั้นสูงสาขาเศรษฐศาสตร์ด้วย
-๔-
นับตั้งแต่การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ปารีสกลายเป็นต้นกำเนิดแห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศในยุโรปและเอเชีย การอภิวัฒน์ทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติยังคงเหลือสืบทอดอยู่ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาอยู่ที่นั่น มาร์กซ์, เองเกลส์และเลนิน นักอภิวัฒน์ผู้ยิ่งใหญ่เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ที่นั่น ชาวเอเชียหลายคนที่ปรารถนาเอกราชที่สมบูรณ์ของชาติ และต้องการนำชาติตนให้พ้นจากการปกครองแบบอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม ต่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะเหงียน-ไอ ก็อค (โฮจิมินห์),โจวเอินไหล, เฉินยี่และนักอภิวัฒน์ชาติอื่นๆ
สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น นอกจากข้าพเจ้าจะรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกันและกับเพื่อนๆชาวฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รู้จักนักอภิวัฒน์เอเชียกลุ่มหนึ่ง และต่อมาพวกเราได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความสมานฉันท์และพันธมิตรแห่งเอเชีย
ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้เพื่อนร่วมชาติ ด้วยความปรารถนาที่จะได้บูรณภาพในดินแดนและเอกราชอันสมูบรณ์ของชาติ ที่จะทำให้ประเทศชาติได้ประสบผลสำเร็จในการบำรุงเศรษฐกิจให้รุ่งเรือง ตลอดจนการนำชาติให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าจึงได้ก่อตั้งแกนกลางอย่างลับๆ ขึ้นเป็น “คณะราษฎร” ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาไทยบางคน เราได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในประเทศของเรา ซึ่งต่อมาเราก็ได้เสริมด้วยความรู้ทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอภิวัฒน์ ซึ่งเราได้เรียนรู้จากฝรั่งเศส
เมื่อได้ตระเตรียมการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา ๕ ปี หลังจากที่ข้าพเจ้าเดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศส ในที่สุดคณะราษฎรก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่อย่างใด คณะราษฎรได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเห็นชอบตามคำร้องขอของคณะราษฎร
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามและพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งรัฐบาลผสม ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎรกับคณะบุคคลในระบอบการปกครองแบบเก่า
ในปี พ.ศ.๒๔๖๒ ข้าพเจ้าสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม แต่เนื่องจากข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๑๙ ปี ซึ่งถือว่าอายุน้อยเกินไป จึงไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาและยังไม่สามารถเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภา (กำหนดอายุขั้นต่ำ ๒๐ ปี) ข้าพเจ้าต้องรออยู่ ๒-๓ เดือนจึงได้เป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมพอใจในผลสอบของข้าพเจ้า จึงให้ทุนข้าพเจ้าไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจะได้กลับมาช่วยงานกระทรวงในด้านการร่างประมวลกฎหมายตามแบบฉบับของประเทศฝรั่งเศส
ข้าพเจ้าเดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๓
ข้าพเจ้าได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนมัธยมในเมืองก็อง (Caen) เป็นเวลา ๑ ปี จึงได้เข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของเมืองนี้ และได้รับประกาศนียบัตร BACHELIER EN DROIT กับ LIENCE EN DROIT
ต่อมาข้าพเจ้าได้ย้ายไปศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส และในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ข้าพเจ้าก็จบการศึกษาระดับปริญญาเอก(สาขานิติศาสตร์) นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาขั้นสูงสาขาเศรษฐศาสตร์ด้วย
-๔-
นับตั้งแต่การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ปารีสกลายเป็นต้นกำเนิดแห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศในยุโรปและเอเชีย การอภิวัฒน์ทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติยังคงเหลือสืบทอดอยู่ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาอยู่ที่นั่น มาร์กซ์, เองเกลส์และเลนิน นักอภิวัฒน์ผู้ยิ่งใหญ่เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ที่นั่น ชาวเอเชียหลายคนที่ปรารถนาเอกราชที่สมบูรณ์ของชาติ และต้องการนำชาติตนให้พ้นจากการปกครองแบบอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม ต่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะเหงียน-ไอ ก็อค (โฮจิมินห์),โจวเอินไหล, เฉินยี่และนักอภิวัฒน์ชาติอื่นๆ
สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น นอกจากข้าพเจ้าจะรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกันและกับเพื่อนๆชาวฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รู้จักนักอภิวัฒน์เอเชียกลุ่มหนึ่ง และต่อมาพวกเราได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความสมานฉันท์และพันธมิตรแห่งเอเชีย
ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้เพื่อนร่วมชาติ ด้วยความปรารถนาที่จะได้บูรณภาพในดินแดนและเอกราชอันสมูบรณ์ของชาติ ที่จะทำให้ประเทศชาติได้ประสบผลสำเร็จในการบำรุงเศรษฐกิจให้รุ่งเรือง ตลอดจนการนำชาติให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าจึงได้ก่อตั้งแกนกลางอย่างลับๆ ขึ้นเป็น “คณะราษฎร” ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาไทยบางคน เราได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในประเทศของเรา ซึ่งต่อมาเราก็ได้เสริมด้วยความรู้ทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอภิวัฒน์ ซึ่งเราได้เรียนรู้จากฝรั่งเศส
เมื่อได้ตระเตรียมการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา ๕ ปี หลังจากที่ข้าพเจ้าเดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศส ในที่สุดคณะราษฎรก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่อย่างใด คณะราษฎรได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเห็นชอบตามคำร้องขอของคณะราษฎร
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามและพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งรัฐบาลผสม ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎรกับคณะบุคคลในระบอบการปกครองแบบเก่า
No comments:
Post a Comment