จากการรวมตัวของทุนและการรวมศูนย์ทางการผลิต ได้ทำให้พลังในการผลิตและผลิตภาพ รวมทั้งผลิตผลสูงขึ้นอย่างสุดโต่งและก้าวต่อไป ก็คือนอกจากส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศเหล่านั้นด้วย คือส่งทุนออกไปจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ธนาคาร การประกอบธรุกิจขนาดใหญ่ๆ ซึ่งรวมความแล้วก็คือการขยายปริมณฑลแห่งการกดขี่ขูดรีด ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กว้างขวางออกไปอีก ดังตัวอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในเมืองไทย เช่น ทุนของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า อิสเอเชียติค ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นทุนจากต่างประเทศทั้งนั้น
พฤติกรรมของการส่งสินค้าและทุนไปต่างประเทศภายหลังอุตสาหกรรมปฏิวัติ ได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของลัทธิอาณานิคมเป็นจักรวรรดินิยม แต่อย่างไรก็ดีถึงหากว่านามของลัทธิทั้งสองจะแตกต่างก็ตาม แต่เป้าหมายสุดท้ายของลัทธิทั้งสอง คือลัทธิอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยมนั้นเป็นเป้าหมายอันเดียวกัน คือการเอาประเทศล้าหลังหรือประเทศเมืองพึ่งเป็นเมืองขึ้น หรือกดประชาชนในประเทศล้าหลังลงเป็นทาส เพื่อกอบโกยเอาผลประโยชน์ เอาความมั่งคั่งสมบูรณ์กลับไปสู่เมืองของตัวนั้นเอง แต่ทว่ามรรควิธีแห่งการดำเนินการไปสู่เป้าหมายเท่านั้นที่แตกต่างกับบ้างเล็กน้อย คือลัทธิอาณานิคม มาในรูปแบบหน้าเสือใจเสือ ส่วนลัทธิจักรวรรดินิยมมาในรูปแบบหน้าเนื้อใจเสือหรือแบบนักบุญที่มือถือสากปากถือศีล
ที่ว่ามรรควิธีของลัทธิจักรวรรดินิยมกับลัทธิอาณานิคมแตกต่างกันนั้น ก็คือ ลัทธิจักรวรรดินิยมแผ่อิทธิพลอย่างชนิดที่เรียกว่าแทรกซึม หรือค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใจเร็วด่วนได้อย่างเช่นลัทธิอาณานิคม แต่ในเบื้องแรกของการแผ่อิทธิพลไม่ว่าจะเป็นลัทธิอาณานิคมหรือลัทธิจักรวรรดินิยมก็ตาม ล้วนแต่เป็นไปโดยการนำของเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน
ในขณะที่ลัทธิอาณานิคมใช้อำนาจเด็ดขาดแบบจอมโจรอำมหิต ในการยึดเอาการเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่อ่อนแอไว้ในกำมือโดยสิ้นเชิงเด็ดขาดนั้น ลัทธิจักรวรรดินิยมกลับใช้กลอุบายอย่างละมุนละม่อมแบบโจรผู้ดีในการรวบอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแอไว้ในกำมือทีละเล็กละน้อยจนสิ้นเชิง ส่วนในทางการเมือง ลัทธิจักรวรรดินิยมก็จะเข้าแทรกแซงโดยทำการสนับสนุนรัฐบาลที่ไม่ขัดต่ออำนาจและผลประโยชน์ของจักรวรรดินิยม และในทางวัฒนธรรมนั้นก็เช่นเดียวกับลัทธิอาณานิคม คือพยายามทำลายวัฒนธรรมพื้นเมืองและนำวัฒนธรรมชองตัวเข้ามาแทนที่ และในที่สุด เมื่อการเศรษฐกิจก็ถูกผูกขาด การเมืองก็ถูกเข้าแทรกแซง และวัฒนธรรมก็ถูกทำลาย จึงเกิดการขัดแย้งทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเป็นเสียงกันขึ้นระหว่างจักรวรรดินิยมผู้รุกรานกับประเทศล้าหลังผู้ถูกรุกราน และจากการทะเลาะในผลประโยชน์ แต่ในขั้นสุดท้าย ประเทศล้าหลังเหล่านั้น ก็ต้องจำยอมให้จักรวรรดินิยมเป็นเจ้าเข้าครองโดยสิ้นเชิงและเด็ดขาด ดังที่หน้าประวัติศาสตร์โลกได้จารึกเอาไว้แล้ว
พฤติกรรมของการส่งสินค้าและทุนไปต่างประเทศภายหลังอุตสาหกรรมปฏิวัติ ได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของลัทธิอาณานิคมเป็นจักรวรรดินิยม แต่อย่างไรก็ดีถึงหากว่านามของลัทธิทั้งสองจะแตกต่างก็ตาม แต่เป้าหมายสุดท้ายของลัทธิทั้งสอง คือลัทธิอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยมนั้นเป็นเป้าหมายอันเดียวกัน คือการเอาประเทศล้าหลังหรือประเทศเมืองพึ่งเป็นเมืองขึ้น หรือกดประชาชนในประเทศล้าหลังลงเป็นทาส เพื่อกอบโกยเอาผลประโยชน์ เอาความมั่งคั่งสมบูรณ์กลับไปสู่เมืองของตัวนั้นเอง แต่ทว่ามรรควิธีแห่งการดำเนินการไปสู่เป้าหมายเท่านั้นที่แตกต่างกับบ้างเล็กน้อย คือลัทธิอาณานิคม มาในรูปแบบหน้าเสือใจเสือ ส่วนลัทธิจักรวรรดินิยมมาในรูปแบบหน้าเนื้อใจเสือหรือแบบนักบุญที่มือถือสากปากถือศีล
ที่ว่ามรรควิธีของลัทธิจักรวรรดินิยมกับลัทธิอาณานิคมแตกต่างกันนั้น ก็คือ ลัทธิจักรวรรดินิยมแผ่อิทธิพลอย่างชนิดที่เรียกว่าแทรกซึม หรือค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใจเร็วด่วนได้อย่างเช่นลัทธิอาณานิคม แต่ในเบื้องแรกของการแผ่อิทธิพลไม่ว่าจะเป็นลัทธิอาณานิคมหรือลัทธิจักรวรรดินิยมก็ตาม ล้วนแต่เป็นไปโดยการนำของเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน
ในขณะที่ลัทธิอาณานิคมใช้อำนาจเด็ดขาดแบบจอมโจรอำมหิต ในการยึดเอาการเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่อ่อนแอไว้ในกำมือโดยสิ้นเชิงเด็ดขาดนั้น ลัทธิจักรวรรดินิยมกลับใช้กลอุบายอย่างละมุนละม่อมแบบโจรผู้ดีในการรวบอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแอไว้ในกำมือทีละเล็กละน้อยจนสิ้นเชิง ส่วนในทางการเมือง ลัทธิจักรวรรดินิยมก็จะเข้าแทรกแซงโดยทำการสนับสนุนรัฐบาลที่ไม่ขัดต่ออำนาจและผลประโยชน์ของจักรวรรดินิยม และในทางวัฒนธรรมนั้นก็เช่นเดียวกับลัทธิอาณานิคม คือพยายามทำลายวัฒนธรรมพื้นเมืองและนำวัฒนธรรมชองตัวเข้ามาแทนที่ และในที่สุด เมื่อการเศรษฐกิจก็ถูกผูกขาด การเมืองก็ถูกเข้าแทรกแซง และวัฒนธรรมก็ถูกทำลาย จึงเกิดการขัดแย้งทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเป็นเสียงกันขึ้นระหว่างจักรวรรดินิยมผู้รุกรานกับประเทศล้าหลังผู้ถูกรุกราน และจากการทะเลาะในผลประโยชน์ แต่ในขั้นสุดท้าย ประเทศล้าหลังเหล่านั้น ก็ต้องจำยอมให้จักรวรรดินิยมเป็นเจ้าเข้าครองโดยสิ้นเชิงและเด็ดขาด ดังที่หน้าประวัติศาสตร์โลกได้จารึกเอาไว้แล้ว
แต่วิธีการเช่นนี้เป็นการล้าสมัยเสียแล้วสำหรับปัจจุบัน ดังนั้นแทนที่ประเทศจักรวรรดินิยมจะใช้กำลังอาวุธเข้ายึดครองเอาอย่างสมัยก่อน ประเทศจักรวรรดินิยมจะเพียงแต่ยึดอำนาจทางเศรษฐกิจ และในทางการเมืองก็พอ เพียงแต่สนับสนุนรัฐบาลที่อำนวยประโยชน์ให้ตน และเท่านี้ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องส่งคนเข้ามายึดครองให้เป็นที่บาดใจบาดตาเจ้าของประเทศอย่างสมัยก่อน และการยึดครองแผนใหม่ซึ่งมาในรูปบังเงาเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเจ้าของประเทศซึ่งยังด้อยในการศึกษามองไม่ค่อยเห็น แต่อย่างไรก็ดี เมื่อประชาชนส่วนต่างๆ ของโลกที่ถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม ได้มีการศึกษาดีขึ้น ได้มีการตื่นตัวในทางการเมืองมากขึ้น เมื่อนั้น ลัทธิจักรวรรดินิยมก็จะถูกต่อต้านและพ่ายแพ้ในที่สุด.
No comments:
Post a Comment