ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พนมยงค์
บทที่ ๒ การเริ่มมีจิตสำนึกอภิวัฒน์ของข้าพเจ้า
-๑-
ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๑ ปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและเด่นชัดในเรื่องวัฒนธรรมของชาวจีนและลูกหลานชาวจีนในเมืองไทย ซึ่งเป็นจำนวนประชากรจำนวนร้อยละ ๒๕ ของประชากรทั้งประเทศ สิ่งนั้นคือการที่ชายจีนทุกคนตัดผมเปียทิ้ง ทั้งๆที่ได้ไว้ผมเปียมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ เขาต่างอธิบายถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ต่อประชาชนในประเทศที่เขาทั้งหลายอาศัยอยู่ ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยก่อนซึ่งเป็นผู้กำหนดให้ไว้ผมเปียที่ไม่น่าดูนี้ ได้ถูกล้มล้างไปแล้ว โดยการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐอันมี ดร.ซุนยัดเซนเป็นผู้นำ และเป็นผู้แนะนำให้ชาวจีนทุกคนเปลี่ยนทรงผมใหม่เป็นทรงสั้นตามแบบชาวยุโรป(ในยุคนั้น) ทั้งนี้ชาวจีนจะได้ไม่ถูกชาวต่างชาติล้อเลียนว่า “มีหางที่หัว”
ที่โรงเรียนตัวอย่างในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าพเจ้าได้ศึกษาชั้นมัธยมอยู่นั้น ครูวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ได้อธิบายสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้โดยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ประเทศเอกราชส่วนใหญ่ในโลกมีรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นด้วยความยินยอมของรัฐสภา โดยประชาชนจะเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สำหรับประมุขแห่งรัฐของแต่ละประเทศเอกราชนี้ อาจมีฐานะเป็นกษัตริย์ ซึ่งสืบสันตติวงศ์หรืออาจจะเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ซึ่งก็คือสามัญชนซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระยะเวลาอันมีกำหนดไว้ ครูข้าพเจ้ากล่าวเสริมว่า ในบรรดาประเทศที่มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ล้าหลัง ๓ ประเทศ (ได้แก่ จีน รัสเซียและสยาม)นั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศจีนได้ถูกล้มล้างไปแล้ว ยังคงเหลืออยู่แต่ประเทศรัสเซียและสยาม และยังไม่ทราบว่าประเทศใดใน ๒ ประเทศนี้จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองได้ก่อนกัน
นับแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้เริ่มให้ความสนใจกับการอภิวัฒน์ในประเทศจีน ซึ่งนำโดยซุนยัดเซน โดยเฉพาะในเรื่องสงครามระหว่างกองทัพฝ่ายจักรพรรดิจีนกับกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐ ในสมัยนั้น หนังสือพิมพ์ยังไม่แพร่หลายในสยาม โดยเฉพาะในจังหวัดบ้านเกิดของข้าพเจ้า บิดาข้าพเจ้าเห็นว่ากระหายใคร่รู้ข่าวคราวต่างๆ มากนัก จึงได้นำหนังสือพิมพ์เก่าๆของญาติของข้าพเจ้าคนหนึ่งซึ่งเป็นนายทหารแห่งกองทัพบกมาให้ข้าพเจ้าอ่าน ทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ทีละเล็กละน้อยว่า ระบอบการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีข้อเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไร ชาวจีนจึงได้ต่อต้านการปกครองระบอบนี้ และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ
ประมาณเกือบ ๑ ปีต่อมา คือใน ร.ศ.๑๓๐ มีข่าวใหญ่แพร่ไปทั่วทั้งประเทศ คือ รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจับได้ว่ามีคณะอภิวัฒน์ทำงานใต้ดิน เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากเหตุนี้เองนักอภิวัฒน์มากกว่าร้อยคนถูกจับและถูกศาลพิเศษตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตบ้าง ประหารชีวิตบ้าง แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ลดโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตและลดโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก ๒๐ ปี ส่วนผู้ที่ถูกตัดสินจำคุก ๒๐ ปีให้รอการลงอาญาไว้
เป็นที่แน่นอนว่า รัฐบาลไม่สามารถจับกุมสมาชิกทุกคนของคณะอภิวัฒน์ดังกล่าวได้ (เช่นนายบุญเอก ซึ่งทำงานเป็นลูกจ้างประจำสถานทูตฝรั่งเศส และได้เข้าร่วมคณะอภิวัฒน์โดยมิได้แจ้งให้ท่านทูตทราบ เป็นต้น)
ผู้ก่อการสำคัญในการอภิวัฒน์ครั้งนี้ คือ ร้อยโทเหรียญ ศรีจันทร์อายุ ๑๘ ปี ได้ชักชวนเพื่อนสนิทคือร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ อายุ ๒๔ ปีและร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ อายุ ๑๘ ปี (มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการกลุ่ม) มาเข้าร่วมขบวนการด้วย
นายทหารหนุ่มๆเหล่านี้ ค่อยๆ ชักชวนนายทหารจากหน่วยต่างๆ มาเข้าร่วมขบวนการด้วย โดยเฉพาะนายทหารจากกองพันที่หนึ่งรักษาพระองค์ ต่อมาพวกเข้าได้รู้จักกับนายแพทย์ท่านหนึ่งซึ่งยินดีรับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม ท่านผู้นี้เป็นพี่ชายคนโตของร้อยโทเหรียญ คือ ร้อยเอกนายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ดังนี้ คณะอภิวัฒน์จึงมีส่วนคล้ายกับขบวนการอภิวัฒน์จีน คือ มีนายแพทย์เป็นหัวหน้ากลุ่ม ร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง จบจากโรงเรียนกฎหมายได้เข้าร่วมในขบวนการนี้ด้วย โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการฝ่ายการเมืองของกลุ่ม นักเรียนกฎหมายบางคนได้เข้าร่วมในขบวนการนี้เช่นกัน
ระหว่างที่มีการพิจารณาคดีที่ศาลพิเศษ ผู้พิพากษาท่านหนึ่งกล่าวติเตียนร้อยตรีนายหนึ่งจากกองทหารรักษาพระองค์ว่า ไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ จำเลยได้อธิบายต่อผู้พิพากษาอย่างกล้าหาญว่า เขารักชาติยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ และตัวเขาเองอยู่กองร้อยที่ใกล้ชิดในหลวงที่สุด ย่อมทราบดีว่าบรรดาพลทหารและพลเรือนว่มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในราชสำนัก อันทำให้เขาได้ตระหนักว่า ความสุขสำราญและความหรูหราฟุ่มเฟือยของราชสำนักนั้น นำชาติไปสู่หายนะ ทำให้เขาได้เกิดจิตสำนึกและผลักดันให้เขาเข้าร่วมขบวนการอภิวัฒน์ครั้งนี้
-๑-
ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๑ ปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและเด่นชัดในเรื่องวัฒนธรรมของชาวจีนและลูกหลานชาวจีนในเมืองไทย ซึ่งเป็นจำนวนประชากรจำนวนร้อยละ ๒๕ ของประชากรทั้งประเทศ สิ่งนั้นคือการที่ชายจีนทุกคนตัดผมเปียทิ้ง ทั้งๆที่ได้ไว้ผมเปียมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ เขาต่างอธิบายถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ต่อประชาชนในประเทศที่เขาทั้งหลายอาศัยอยู่ ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยก่อนซึ่งเป็นผู้กำหนดให้ไว้ผมเปียที่ไม่น่าดูนี้ ได้ถูกล้มล้างไปแล้ว โดยการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐอันมี ดร.ซุนยัดเซนเป็นผู้นำ และเป็นผู้แนะนำให้ชาวจีนทุกคนเปลี่ยนทรงผมใหม่เป็นทรงสั้นตามแบบชาวยุโรป(ในยุคนั้น) ทั้งนี้ชาวจีนจะได้ไม่ถูกชาวต่างชาติล้อเลียนว่า “มีหางที่หัว”
ที่โรงเรียนตัวอย่างในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าพเจ้าได้ศึกษาชั้นมัธยมอยู่นั้น ครูวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ได้อธิบายสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้โดยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ประเทศเอกราชส่วนใหญ่ในโลกมีรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นด้วยความยินยอมของรัฐสภา โดยประชาชนจะเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สำหรับประมุขแห่งรัฐของแต่ละประเทศเอกราชนี้ อาจมีฐานะเป็นกษัตริย์ ซึ่งสืบสันตติวงศ์หรืออาจจะเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ซึ่งก็คือสามัญชนซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระยะเวลาอันมีกำหนดไว้ ครูข้าพเจ้ากล่าวเสริมว่า ในบรรดาประเทศที่มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ล้าหลัง ๓ ประเทศ (ได้แก่ จีน รัสเซียและสยาม)นั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศจีนได้ถูกล้มล้างไปแล้ว ยังคงเหลืออยู่แต่ประเทศรัสเซียและสยาม และยังไม่ทราบว่าประเทศใดใน ๒ ประเทศนี้จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองได้ก่อนกัน
นับแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้เริ่มให้ความสนใจกับการอภิวัฒน์ในประเทศจีน ซึ่งนำโดยซุนยัดเซน โดยเฉพาะในเรื่องสงครามระหว่างกองทัพฝ่ายจักรพรรดิจีนกับกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐ ในสมัยนั้น หนังสือพิมพ์ยังไม่แพร่หลายในสยาม โดยเฉพาะในจังหวัดบ้านเกิดของข้าพเจ้า บิดาข้าพเจ้าเห็นว่ากระหายใคร่รู้ข่าวคราวต่างๆ มากนัก จึงได้นำหนังสือพิมพ์เก่าๆของญาติของข้าพเจ้าคนหนึ่งซึ่งเป็นนายทหารแห่งกองทัพบกมาให้ข้าพเจ้าอ่าน ทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ทีละเล็กละน้อยว่า ระบอบการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีข้อเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไร ชาวจีนจึงได้ต่อต้านการปกครองระบอบนี้ และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ
ประมาณเกือบ ๑ ปีต่อมา คือใน ร.ศ.๑๓๐ มีข่าวใหญ่แพร่ไปทั่วทั้งประเทศ คือ รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจับได้ว่ามีคณะอภิวัฒน์ทำงานใต้ดิน เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากเหตุนี้เองนักอภิวัฒน์มากกว่าร้อยคนถูกจับและถูกศาลพิเศษตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตบ้าง ประหารชีวิตบ้าง แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ลดโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตและลดโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก ๒๐ ปี ส่วนผู้ที่ถูกตัดสินจำคุก ๒๐ ปีให้รอการลงอาญาไว้
เป็นที่แน่นอนว่า รัฐบาลไม่สามารถจับกุมสมาชิกทุกคนของคณะอภิวัฒน์ดังกล่าวได้ (เช่นนายบุญเอก ซึ่งทำงานเป็นลูกจ้างประจำสถานทูตฝรั่งเศส และได้เข้าร่วมคณะอภิวัฒน์โดยมิได้แจ้งให้ท่านทูตทราบ เป็นต้น)
ผู้ก่อการสำคัญในการอภิวัฒน์ครั้งนี้ คือ ร้อยโทเหรียญ ศรีจันทร์อายุ ๑๘ ปี ได้ชักชวนเพื่อนสนิทคือร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ อายุ ๒๔ ปีและร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ อายุ ๑๘ ปี (มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการกลุ่ม) มาเข้าร่วมขบวนการด้วย
นายทหารหนุ่มๆเหล่านี้ ค่อยๆ ชักชวนนายทหารจากหน่วยต่างๆ มาเข้าร่วมขบวนการด้วย โดยเฉพาะนายทหารจากกองพันที่หนึ่งรักษาพระองค์ ต่อมาพวกเข้าได้รู้จักกับนายแพทย์ท่านหนึ่งซึ่งยินดีรับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม ท่านผู้นี้เป็นพี่ชายคนโตของร้อยโทเหรียญ คือ ร้อยเอกนายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ดังนี้ คณะอภิวัฒน์จึงมีส่วนคล้ายกับขบวนการอภิวัฒน์จีน คือ มีนายแพทย์เป็นหัวหน้ากลุ่ม ร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง จบจากโรงเรียนกฎหมายได้เข้าร่วมในขบวนการนี้ด้วย โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการฝ่ายการเมืองของกลุ่ม นักเรียนกฎหมายบางคนได้เข้าร่วมในขบวนการนี้เช่นกัน
ระหว่างที่มีการพิจารณาคดีที่ศาลพิเศษ ผู้พิพากษาท่านหนึ่งกล่าวติเตียนร้อยตรีนายหนึ่งจากกองทหารรักษาพระองค์ว่า ไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ จำเลยได้อธิบายต่อผู้พิพากษาอย่างกล้าหาญว่า เขารักชาติยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ และตัวเขาเองอยู่กองร้อยที่ใกล้ชิดในหลวงที่สุด ย่อมทราบดีว่าบรรดาพลทหารและพลเรือนว่มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในราชสำนัก อันทำให้เขาได้ตระหนักว่า ความสุขสำราญและความหรูหราฟุ่มเฟือยของราชสำนักนั้น นำชาติไปสู่หายนะ ทำให้เขาได้เกิดจิตสำนึกและผลักดันให้เขาเข้าร่วมขบวนการอภิวัฒน์ครั้งนี้
No comments:
Post a Comment