ในประเทศอินเดียความเคลื่อนไหวของประชาชนพื้นเมืองผู้เป็นทาสของพวกนายทุนอังกฤษซึ่งเรียกตนเองว่า “ชาวอารยะ” ได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่ชาวอังกฤษ “ผู้เป็นนาย”
ปฏิบัติการรุนแรงต่างๆ และการปล้นสะดมยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่รู้สิ้นสุดในนามแห่งระบบปกครองของอังกฤษ ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกที่ความยากจนข้นแค้นและความอดอยากของมวลชนจะเป็นไปเหมือนอย่างในอินเดีย
นายจอห์น มอร์ลีย์ (John Morley) ผู้เป็นหัวหน้าพรรคลิเบอรัลของอังกฤษและเป็นรัฐมนตรีว่าการอินเดียระหว่างปี ๑๙๐๖ – ๑๙๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการอินเดีย ก็กระทำตนเป็นเสมือนหนึ่งจักรพรรดิเจงกิสข่าน (เจงกิสข่าน –จักรพรรดิมองโกเลียในสมัยปี ๑๑๕๕-๑๒๒๗ เป็นผู้พิชิตไซบีเรีย จีนเหนือ เอเชียกลาง เปอร์เซียภาคเหนือ ฯลฯ โดยใช้วิธีฆ่าล้างเชื้อชาติประชาชนพลเมืองในดินแดนที่พิชิตได้)โดยมีอำนาจจะใช้วิธีการใดๆ ก้ได้เพื่อปราบปรามประชาชนผู้แข็งข้อรวมทั้งอำนาจสั่งโบยนักโทษการเมืองด้วย นายมอร์ลีย์ผู้นี้เคยได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนะทางเสรีนิยม (ลิเบอรัล)และทางราดิกัลมากที่สุดของอังกฤษ “เสรี” ในสมัยนั้น กับเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มสมาชิกทั้งที่เป็นชาวรุสเซียและมิใช่ชาวรุสเซียของพรรคคาเด็ตส์ (CADETS-พรรคคาเด็ตส์คือพรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองนิยมราชาธิปไตยระคนเสรีนิยมของชนขั้นเจ้าขุนมูลนายในรุสเซีย)
นายมอร์ลีย์ยังเป็นผู้นำในวงการหนังสือพิมพ์”เสียงก้าวหน้า” แต่ความจริงเขาเป็นสมุนรับใช้ของพวกนายทุน นายมอร์ลีย์เป็นผู้สั่งห้ามมิให้หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ “จัสติส” (Justice) ของพรรคสังคมประชาธิปไตยอังกฤษเข้าไปเผยแพร่ในอินเดีย
และในเมื่อนายแคร์ ฮาร์ดี (Keir Hardy) ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษและเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานอิสระ ไปเยี่ยมอินเดียและปราศรัย สนับสนุนข้อเรียกทางประชาธิปไตยของราษฎรในประเทศนั้น บรรดาหนังสือพิมพ์ปากเสียงของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายในอังกฤษก็พากันโวยวายหาว่านายฮาร์ดีเป็น “กบฏ” และแสดงความชื่นชมที่มีคำวิพากวิจารณ์ของศาลกับวิธีการทางปกครองในแบบเพล็ฟว์ (V.K. PLEHVE – เป็นหัวหน้ากองตำรวจในรุสเซียสมัยซาร์นิโคลัสที่ ๒ เป็นผู้ใช้วิธีการปราบปรามอย่างทารุณต่อชนกรรมาชีพและกสิกรชาวนาผู้ปฏิวัติ)ให้ลงโทษ “นักปลุกระดม” ทางประชาธิปไตยในอินเดีย
ขณะเดียวกันในประเทศอินเดียประชาชนได้เริ่มลุกขึ้นยืนหยัดอยู่เคียงข้างผู้นำทางการเมืองและนักเขียนผู้เป็นปากเสียงของพวกเขา และในเมื่อนาย ติลัค บัลกันคัดการ์ (Tilak Balgangadkhar) นักปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยและเอกราชของอินเดีย ต้องคำพิพากษาของคณะลูกขุนอังกฤษให้เนรเทศ ก็เกิดการเดินขบวนประท้วงและการนัดผละงานในเมืองบอมเบย์ การณ์จึงเป็นว่ามวลชนกรรมาชีพในอินเดียได้ตื่นตัวในการรณรงค์ทางการเมืองแล้วเหมือนกัน อันเป็นนิมิตรว่าระบบปกครองของอังกฤษในอินเดียตามแบบอย่างรุสเซียจะไปไม่รอด
ปฏิบัติการรุนแรงต่างๆ และการปล้นสะดมยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่รู้สิ้นสุดในนามแห่งระบบปกครองของอังกฤษ ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกที่ความยากจนข้นแค้นและความอดอยากของมวลชนจะเป็นไปเหมือนอย่างในอินเดีย
นายจอห์น มอร์ลีย์ (John Morley) ผู้เป็นหัวหน้าพรรคลิเบอรัลของอังกฤษและเป็นรัฐมนตรีว่าการอินเดียระหว่างปี ๑๙๐๖ – ๑๙๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการอินเดีย ก็กระทำตนเป็นเสมือนหนึ่งจักรพรรดิเจงกิสข่าน (เจงกิสข่าน –จักรพรรดิมองโกเลียในสมัยปี ๑๑๕๕-๑๒๒๗ เป็นผู้พิชิตไซบีเรีย จีนเหนือ เอเชียกลาง เปอร์เซียภาคเหนือ ฯลฯ โดยใช้วิธีฆ่าล้างเชื้อชาติประชาชนพลเมืองในดินแดนที่พิชิตได้)โดยมีอำนาจจะใช้วิธีการใดๆ ก้ได้เพื่อปราบปรามประชาชนผู้แข็งข้อรวมทั้งอำนาจสั่งโบยนักโทษการเมืองด้วย นายมอร์ลีย์ผู้นี้เคยได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนะทางเสรีนิยม (ลิเบอรัล)และทางราดิกัลมากที่สุดของอังกฤษ “เสรี” ในสมัยนั้น กับเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มสมาชิกทั้งที่เป็นชาวรุสเซียและมิใช่ชาวรุสเซียของพรรคคาเด็ตส์ (CADETS-พรรคคาเด็ตส์คือพรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองนิยมราชาธิปไตยระคนเสรีนิยมของชนขั้นเจ้าขุนมูลนายในรุสเซีย)
นายมอร์ลีย์ยังเป็นผู้นำในวงการหนังสือพิมพ์”เสียงก้าวหน้า” แต่ความจริงเขาเป็นสมุนรับใช้ของพวกนายทุน นายมอร์ลีย์เป็นผู้สั่งห้ามมิให้หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ “จัสติส” (Justice) ของพรรคสังคมประชาธิปไตยอังกฤษเข้าไปเผยแพร่ในอินเดีย
และในเมื่อนายแคร์ ฮาร์ดี (Keir Hardy) ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษและเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานอิสระ ไปเยี่ยมอินเดียและปราศรัย สนับสนุนข้อเรียกทางประชาธิปไตยของราษฎรในประเทศนั้น บรรดาหนังสือพิมพ์ปากเสียงของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายในอังกฤษก็พากันโวยวายหาว่านายฮาร์ดีเป็น “กบฏ” และแสดงความชื่นชมที่มีคำวิพากวิจารณ์ของศาลกับวิธีการทางปกครองในแบบเพล็ฟว์ (V.K. PLEHVE – เป็นหัวหน้ากองตำรวจในรุสเซียสมัยซาร์นิโคลัสที่ ๒ เป็นผู้ใช้วิธีการปราบปรามอย่างทารุณต่อชนกรรมาชีพและกสิกรชาวนาผู้ปฏิวัติ)ให้ลงโทษ “นักปลุกระดม” ทางประชาธิปไตยในอินเดีย
ขณะเดียวกันในประเทศอินเดียประชาชนได้เริ่มลุกขึ้นยืนหยัดอยู่เคียงข้างผู้นำทางการเมืองและนักเขียนผู้เป็นปากเสียงของพวกเขา และในเมื่อนาย ติลัค บัลกันคัดการ์ (Tilak Balgangadkhar) นักปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยและเอกราชของอินเดีย ต้องคำพิพากษาของคณะลูกขุนอังกฤษให้เนรเทศ ก็เกิดการเดินขบวนประท้วงและการนัดผละงานในเมืองบอมเบย์ การณ์จึงเป็นว่ามวลชนกรรมาชีพในอินเดียได้ตื่นตัวในการรณรงค์ทางการเมืองแล้วเหมือนกัน อันเป็นนิมิตรว่าระบบปกครองของอังกฤษในอินเดียตามแบบอย่างรุสเซียจะไปไม่รอด
No comments:
Post a Comment