คุยกันเรื่องท่านปรีดีฯ
เป็นบทสัมภาษณ์ ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร ผู้ที่ได้ใกล้ชิดรับรู้เรื่องราวของท่านปรีดีในช่วงเวลาที่ท่านปรีดีฯพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศส,โดยคณะผู้จัดทำหนังสือ “วันปรีดี พนมยงค์”
ถาม และได้ไปศึกษาอะไร ตอนไหนที่เกี่ยวกับท่านมากขึ้นอีกหรือครับ ?
ตอบ ครับ ผมได้ไปศึกษาเกี่ยวกับท่านอีกมาก เพราะตอนที่ผมไปหาท่าน บางทีตอนเช้าๆ ท่านจะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศส ฟังวิทยุภาษาฝรั่งเศส และผมก็ต้องฟังวิทยุ BBC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษและอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ และเมื่อทานอาหารเสร็จก็ต้องไปถกกับท่าน จริงๆ แล้วไม่ใช่ถกหรอกครับ คือ ท่านพยายามสอนผมน่ะครับ ท่านก็สอนในแง่ที่ว่า ฝรั่งเศสเขามองอย่างไร วิทยุเขาว่าอย่างไร หนังสือพิมพ์เขาว่าอย่างไร ในเรื่องซึ่งเป็นเรื่องทีน่าสนใจสำหรับวันนั้นๆ และท่านก็ให้ผมบอกว่าอังกฤษเขามองอย่างไร และท่านก็จะบอกว่า ตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี่ ถ้าเรื่องเป็นอย่างนี้ ท่านจะคิดจะทำอย่างไร ท่านก็สอนผมในแง่นี้น่ะครับ ผมก็ได้ไปบ้าง ว่าอะไรคือข่าวสาร อะไรคือความจริง และความจริงก็มีวิธีมองที่แตกต่างกันไป นี่คือวิธีสอนของท่าน ต่อมาผมก็สนใจมากเกี่ยวกับชีวิตและงานของท่าน
ในที่สุดผมก็ตัดสินใจเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผมเรื่อง “Thai Foreign Policy ๑๙๓๒-๑๙๔๖” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของไทยในช่วงที่ท่านเปลี่ยนแปลงการปกครองจนไปถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีหลายๆ เรื่องซึ่งผมได้รับความกรุณาจากท่าน ทั้งในแง่เอกสาร บางทีผมไปอ่านเอกสารแล้วเรื่องมันต่อไม่ติด ผมก็ต้องไปกราบเรียนท่านจดไปเป็นข้อๆ แล้วไปถามท่าน ท่านก็กรุณาเล่าให้ฟัง ผมก็เอาบางส่วนมาปะติดปะต่อกัน จนสามารถเขียนวิทยานิพนธ์จบไปได้ ผมเป็นหนี้บุญคุณท่านมาก
ถาม ขอถามเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของท่านปรีดีฯ ได้ไหมครับ ว่าวันๆหนึ่งตอนที่ท่านไปหา ท่านปรีดีฯ ทำอะไรบ้างครับ ?
ตอบ ความจริงเรื่องนี้ควรจะไปเรียนถามท่านผู้หญิงหรือลูกหลานท่านน่ะครับ แต่ผมขอเล่าสั้นๆ ว่า ตอนที่ไปเจอท่าน ท่านมักจะตื่นแต่เช้า ฟังวิทยุและอ่านหนังสือพิมพ์ ท่านก็จะรับประทานอาหารเช้า สักพักหนึ่งผมก็เข้าไปคุยด้วยเรื่องข่าวอย่างที่ได้เล่าให้ฟังเมื่อสักครู่น่ะครับ วิเคราะห์ข่าวเสร็จแล้ว ท่านก็จะเริ่มทำงานประจำวันของท่าน งานนี้ก็เป็นงานจริงๆ นะครับ เป็นงานขีดเขียน ค้นคว้าส่วนใหญ๋ก็มีสมาคมหรือใครต่อใครมาขอคำขวัญ ท่านก็จะเขียนเป็นเรื่องเป็นราว อย่างเช่น เรื่องความเป็นชาติ ชาตินิยมคืออะไร หรือว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์มีปัญหาอย่างไร ท่านมีความสนใจมากในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศชาติ ท่านก็จะพูดเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องอะไรต่อมิอะไรของท่าน ท่านก็จะเขียนและให้เลขาฯ ซึ่งเป็นหลานสาวท่านพิมพ์ครั้งละ ๔-๕ ชุดด้วยกัน เพราะสมัยก่อนยังไม่มีคอมพิวเตอร์ จนชุดล่างๆ แทบจะขาวจางไม่เห็นหมึก แล้วท่านก็จะเอาชุดหนึ่งมาตัดต่อ มาปรับปรุงโดยเก็บต้นฉบับไว้ เพราะฉะนั้นคำขวัญชิ้นหนึ่งท่านจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์ คือ ให้เลขาฯ พิมพ์แล้วเอากลับมาแก้ มาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม อ้างหลักฐานตามที่ท่านเคยได้เชียนเอาไว้
จนกระทั่งถึงช่วงกลางวัน บางทีท่านก็จะทำงานอีกนิดหนึ่ง แล้วท่านก็จะนอนพักจนประมาณสามสี่โมง ท่านก็จะทานน้ำชา แล้วจะออกไปเดินเล่นหรือไปที่โน้นทีนี่ ผมก็โชคดีคือได้มีโอกาสพาท่านไปเดินพาร์ค ไปที่โน้นที่นี่ ไปหลายๆ ที่ด้วยกัน ไปกันสองคนบ่อยๆ ผมก็ได้ฟังท่านเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ ผ่านบ้านคนเวียดนามท่านก็เล่าประวัติคนนั้น คนนี้ เรื่องไทยกับเวียดนาม อะไรต่ออะไร ซึ่งผมก็ได้ประโยชน์มาก พอกลับมาเย็นๆ ประมาณ ๖ โมง ท่านก็อาบน้ำอาบท่า และก็รับประทานอาหารเย็น คุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ ฟังวิทยุบ้าง ดูทีวีบ้าง เว้นสิ่งหนึ่งที่ท่านจะคอยอยู่เรื่อยๆ ก็คือ ห่อหนังสือพิมพ์ที่ลูกศิษย์ลูกหาท่าน ส่งไปให้จากเมืองไทยเกือบทุกวันน่ะครับ ซึ่งท่านก็ใจจดใจจ่อและรู้สึกว่ามีมิตรแท้ของท่านบางคนได้ส่งมาให้เป็นประจำ เมื่อตอนที่มี Post Strike ท่านบอกว่าเสียหายมาก เพราะไปรษณีย์ไม่มี ท่านจึงไม่ได้รับข่าวสารจากเมืองไทย สมัยก่อนหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ คนที่กรุณาส่งหนังสือพิมพ์ให้ท่านอ่านประจำคือ คุณปราโมทย์ พึ่งสุนทร ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งท่านเรียกเสมอว่าเป็นมิตรผู้ซื่อสัตย์ของท่าน
นอกจากนี้ บางวันท่านก็จะมีแขกไปเยี่ยมเยียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นตอนบ่าย ท่านก็มักจะชวนทานน้ำชาด้วย บางวันเราก็เดินไปตลาดด้วยกัน วัตรปฏิบัติของท่านปรีดีฯ นั้นเรียบง่ายจริงๆ น่าภูมิใจน่ะครับ คนที่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้แต่ใช้ชีวิตอย่างสมถะเหลือเกิน.
ตอบ ครับ ผมได้ไปศึกษาเกี่ยวกับท่านอีกมาก เพราะตอนที่ผมไปหาท่าน บางทีตอนเช้าๆ ท่านจะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศส ฟังวิทยุภาษาฝรั่งเศส และผมก็ต้องฟังวิทยุ BBC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษและอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ และเมื่อทานอาหารเสร็จก็ต้องไปถกกับท่าน จริงๆ แล้วไม่ใช่ถกหรอกครับ คือ ท่านพยายามสอนผมน่ะครับ ท่านก็สอนในแง่ที่ว่า ฝรั่งเศสเขามองอย่างไร วิทยุเขาว่าอย่างไร หนังสือพิมพ์เขาว่าอย่างไร ในเรื่องซึ่งเป็นเรื่องทีน่าสนใจสำหรับวันนั้นๆ และท่านก็ให้ผมบอกว่าอังกฤษเขามองอย่างไร และท่านก็จะบอกว่า ตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี่ ถ้าเรื่องเป็นอย่างนี้ ท่านจะคิดจะทำอย่างไร ท่านก็สอนผมในแง่นี้น่ะครับ ผมก็ได้ไปบ้าง ว่าอะไรคือข่าวสาร อะไรคือความจริง และความจริงก็มีวิธีมองที่แตกต่างกันไป นี่คือวิธีสอนของท่าน ต่อมาผมก็สนใจมากเกี่ยวกับชีวิตและงานของท่าน
ในที่สุดผมก็ตัดสินใจเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผมเรื่อง “Thai Foreign Policy ๑๙๓๒-๑๙๔๖” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของไทยในช่วงที่ท่านเปลี่ยนแปลงการปกครองจนไปถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีหลายๆ เรื่องซึ่งผมได้รับความกรุณาจากท่าน ทั้งในแง่เอกสาร บางทีผมไปอ่านเอกสารแล้วเรื่องมันต่อไม่ติด ผมก็ต้องไปกราบเรียนท่านจดไปเป็นข้อๆ แล้วไปถามท่าน ท่านก็กรุณาเล่าให้ฟัง ผมก็เอาบางส่วนมาปะติดปะต่อกัน จนสามารถเขียนวิทยานิพนธ์จบไปได้ ผมเป็นหนี้บุญคุณท่านมาก
ถาม ขอถามเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของท่านปรีดีฯ ได้ไหมครับ ว่าวันๆหนึ่งตอนที่ท่านไปหา ท่านปรีดีฯ ทำอะไรบ้างครับ ?
ตอบ ความจริงเรื่องนี้ควรจะไปเรียนถามท่านผู้หญิงหรือลูกหลานท่านน่ะครับ แต่ผมขอเล่าสั้นๆ ว่า ตอนที่ไปเจอท่าน ท่านมักจะตื่นแต่เช้า ฟังวิทยุและอ่านหนังสือพิมพ์ ท่านก็จะรับประทานอาหารเช้า สักพักหนึ่งผมก็เข้าไปคุยด้วยเรื่องข่าวอย่างที่ได้เล่าให้ฟังเมื่อสักครู่น่ะครับ วิเคราะห์ข่าวเสร็จแล้ว ท่านก็จะเริ่มทำงานประจำวันของท่าน งานนี้ก็เป็นงานจริงๆ นะครับ เป็นงานขีดเขียน ค้นคว้าส่วนใหญ๋ก็มีสมาคมหรือใครต่อใครมาขอคำขวัญ ท่านก็จะเขียนเป็นเรื่องเป็นราว อย่างเช่น เรื่องความเป็นชาติ ชาตินิยมคืออะไร หรือว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์มีปัญหาอย่างไร ท่านมีความสนใจมากในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศชาติ ท่านก็จะพูดเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องอะไรต่อมิอะไรของท่าน ท่านก็จะเขียนและให้เลขาฯ ซึ่งเป็นหลานสาวท่านพิมพ์ครั้งละ ๔-๕ ชุดด้วยกัน เพราะสมัยก่อนยังไม่มีคอมพิวเตอร์ จนชุดล่างๆ แทบจะขาวจางไม่เห็นหมึก แล้วท่านก็จะเอาชุดหนึ่งมาตัดต่อ มาปรับปรุงโดยเก็บต้นฉบับไว้ เพราะฉะนั้นคำขวัญชิ้นหนึ่งท่านจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์ คือ ให้เลขาฯ พิมพ์แล้วเอากลับมาแก้ มาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม อ้างหลักฐานตามที่ท่านเคยได้เชียนเอาไว้
จนกระทั่งถึงช่วงกลางวัน บางทีท่านก็จะทำงานอีกนิดหนึ่ง แล้วท่านก็จะนอนพักจนประมาณสามสี่โมง ท่านก็จะทานน้ำชา แล้วจะออกไปเดินเล่นหรือไปที่โน้นทีนี่ ผมก็โชคดีคือได้มีโอกาสพาท่านไปเดินพาร์ค ไปที่โน้นที่นี่ ไปหลายๆ ที่ด้วยกัน ไปกันสองคนบ่อยๆ ผมก็ได้ฟังท่านเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ ผ่านบ้านคนเวียดนามท่านก็เล่าประวัติคนนั้น คนนี้ เรื่องไทยกับเวียดนาม อะไรต่ออะไร ซึ่งผมก็ได้ประโยชน์มาก พอกลับมาเย็นๆ ประมาณ ๖ โมง ท่านก็อาบน้ำอาบท่า และก็รับประทานอาหารเย็น คุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ ฟังวิทยุบ้าง ดูทีวีบ้าง เว้นสิ่งหนึ่งที่ท่านจะคอยอยู่เรื่อยๆ ก็คือ ห่อหนังสือพิมพ์ที่ลูกศิษย์ลูกหาท่าน ส่งไปให้จากเมืองไทยเกือบทุกวันน่ะครับ ซึ่งท่านก็ใจจดใจจ่อและรู้สึกว่ามีมิตรแท้ของท่านบางคนได้ส่งมาให้เป็นประจำ เมื่อตอนที่มี Post Strike ท่านบอกว่าเสียหายมาก เพราะไปรษณีย์ไม่มี ท่านจึงไม่ได้รับข่าวสารจากเมืองไทย สมัยก่อนหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ คนที่กรุณาส่งหนังสือพิมพ์ให้ท่านอ่านประจำคือ คุณปราโมทย์ พึ่งสุนทร ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งท่านเรียกเสมอว่าเป็นมิตรผู้ซื่อสัตย์ของท่าน
นอกจากนี้ บางวันท่านก็จะมีแขกไปเยี่ยมเยียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นตอนบ่าย ท่านก็มักจะชวนทานน้ำชาด้วย บางวันเราก็เดินไปตลาดด้วยกัน วัตรปฏิบัติของท่านปรีดีฯ นั้นเรียบง่ายจริงๆ น่าภูมิใจน่ะครับ คนที่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้แต่ใช้ชีวิตอย่างสมถะเหลือเกิน.
No comments:
Post a Comment