แผนการเศรษฐกิจ
มีผู้ถามถึงแผนการเศรษฐกิจที่นายปรีดีฯ เคยจัดทำไว้ว่ามีเบื้องหลังและเจตนาอย่างไร
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าวว่า แผนเศรษฐกิจที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี ๒๔๗๕ นั้น จัดทำขึ้นก็เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศได้เป็นไปโดยเหมาะสมแก่สภาพของประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพราะตนเองเป็นคนเกิดในชนบท ได้พบเห็นภาวะและความเป็นอยู่ของชาวนา ซึ่งได้รับความบีบคั้นและเดือดร้อนเป็นอันมาก แต่บังเอิญการจัดทำและเสนอแผนเศรษฐกิจในขณะนั้น กระทำเร่งร้อนไปหน่อย ยังไม่ทันได้มีโอกาสชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจโดยแจ่มแจ้งจึงไปไม่รอด
ข้อสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การดำเนินการใดๆ ถ้าไม่มีแผนการ ก็ย่อมจะดำเนินไปด้วยดีไม่ได้ ความประสงค์ที่วางแผนการขึ้นก็เพื่อให้เป็นแนวทางดำเนินการตามความเหมาะสมแก่ภาพของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดการเบียดเบียนระหว่างประชาชน เพราะตราบใดที่ยังมีการเบียดเบียนระหว่างประชาชน สังคมนั้นก็ย่อมไม่มีความยุติธรรมและสังคมที่ไม่มีความยุติธรรมย่อมจะหาความสงบเรียบร้อยไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกนาที ฉะนั้นการวางแผนใดๆ ก็จะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย กล่าวง่ายๆ แผนการนั้นเกิดขึ้นเมื่อเกือบ ๔๐ ปีมาแล้ว เมื่อถึงบัดนี้ภาวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป รายละเอียดต่างๆ ที่วางไว้ตามแผนนั้น ก็นับว่าล้าสมัยไปแล้ว
การกลับประเทศไทยและการช่วยเหลือประเทศชาติ
มีผู้ถามว่ามีเจตนาจะกลับประเทศไทยหรือไม่ และถ้ามีโอกาสได้รับใช้บ้านเมืองจะดำเนินการเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยควรทำตัวอย่างไร
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าวว่า การกลับประเทศไทยเป็นเจตนาอันใหญ่ยิ่งเพราะเป็นคนไทยก็ต้องรักบ้านเมืองไทย แม้คดีที่ถูกกล่าวหาจะหมดอายุความแล้ว ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังขัดขวางต่อการกลับอยู่ เนื่องจากมีการกล่าวขวัญกันในวงการคนชั้นปกครองอยู่เสมอว่า ถ้ากลับเข้าไปก็จะต้องทำการจับกุม จึงต้องรอดูสภาพการณ์ไปก่อน ถ้าหากกลับประเทศไทยและมีโอกาสรับใช้บ้านเมืองก็ยินดี และจะรับใช้โดยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประชาชนคนไทย
สำหรับในทางเศรษฐกิจนั้น มีความเห็นว่าจะต้องปรับปรุงโดยยึดหลักความยุติธรรมของสังคม ตัดรอนการเบียดเบียนกัน เฉพาะอย่างยิ่งการคอรัปชั่น ซึ่งเป็นการเบียดเบียนที่ร้ายแรงที่สุด ในการดำเนินการก็จะต้องพิจารณาทั้งด้านสัปเย็กตีฟและอ๊อปเย็กตีฟ จะเอาด้านใดด้านเดียวไม่ได้ เพราะได้กล่าวแล้วว่าสังคมย่อมมีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นอนิจจัง การดำเนินการใดๆ ก็จะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นประมาณ
สำหรับท่าทีของประเทศไทยนั้นย่อมทราบอยู่แล้วว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ข้อสำคัญอยู่ที่ความเป็นเอกราชของชาติไทย ฉะนั้น นโยบายอันใหญ่ยิ่งของเราก็คือ จะต้องรักษาเอกราชที่เป็นประชาธิปไตย และวางตัวเป็นกลาง จึงเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าวว่า แผนเศรษฐกิจที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี ๒๔๗๕ นั้น จัดทำขึ้นก็เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศได้เป็นไปโดยเหมาะสมแก่สภาพของประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพราะตนเองเป็นคนเกิดในชนบท ได้พบเห็นภาวะและความเป็นอยู่ของชาวนา ซึ่งได้รับความบีบคั้นและเดือดร้อนเป็นอันมาก แต่บังเอิญการจัดทำและเสนอแผนเศรษฐกิจในขณะนั้น กระทำเร่งร้อนไปหน่อย ยังไม่ทันได้มีโอกาสชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจโดยแจ่มแจ้งจึงไปไม่รอด
ข้อสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การดำเนินการใดๆ ถ้าไม่มีแผนการ ก็ย่อมจะดำเนินไปด้วยดีไม่ได้ ความประสงค์ที่วางแผนการขึ้นก็เพื่อให้เป็นแนวทางดำเนินการตามความเหมาะสมแก่ภาพของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดการเบียดเบียนระหว่างประชาชน เพราะตราบใดที่ยังมีการเบียดเบียนระหว่างประชาชน สังคมนั้นก็ย่อมไม่มีความยุติธรรมและสังคมที่ไม่มีความยุติธรรมย่อมจะหาความสงบเรียบร้อยไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกนาที ฉะนั้นการวางแผนใดๆ ก็จะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย กล่าวง่ายๆ แผนการนั้นเกิดขึ้นเมื่อเกือบ ๔๐ ปีมาแล้ว เมื่อถึงบัดนี้ภาวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป รายละเอียดต่างๆ ที่วางไว้ตามแผนนั้น ก็นับว่าล้าสมัยไปแล้ว
การกลับประเทศไทยและการช่วยเหลือประเทศชาติ
มีผู้ถามว่ามีเจตนาจะกลับประเทศไทยหรือไม่ และถ้ามีโอกาสได้รับใช้บ้านเมืองจะดำเนินการเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยควรทำตัวอย่างไร
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าวว่า การกลับประเทศไทยเป็นเจตนาอันใหญ่ยิ่งเพราะเป็นคนไทยก็ต้องรักบ้านเมืองไทย แม้คดีที่ถูกกล่าวหาจะหมดอายุความแล้ว ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังขัดขวางต่อการกลับอยู่ เนื่องจากมีการกล่าวขวัญกันในวงการคนชั้นปกครองอยู่เสมอว่า ถ้ากลับเข้าไปก็จะต้องทำการจับกุม จึงต้องรอดูสภาพการณ์ไปก่อน ถ้าหากกลับประเทศไทยและมีโอกาสรับใช้บ้านเมืองก็ยินดี และจะรับใช้โดยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประชาชนคนไทย
สำหรับในทางเศรษฐกิจนั้น มีความเห็นว่าจะต้องปรับปรุงโดยยึดหลักความยุติธรรมของสังคม ตัดรอนการเบียดเบียนกัน เฉพาะอย่างยิ่งการคอรัปชั่น ซึ่งเป็นการเบียดเบียนที่ร้ายแรงที่สุด ในการดำเนินการก็จะต้องพิจารณาทั้งด้านสัปเย็กตีฟและอ๊อปเย็กตีฟ จะเอาด้านใดด้านเดียวไม่ได้ เพราะได้กล่าวแล้วว่าสังคมย่อมมีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นอนิจจัง การดำเนินการใดๆ ก็จะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นประมาณ
สำหรับท่าทีของประเทศไทยนั้นย่อมทราบอยู่แล้วว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ข้อสำคัญอยู่ที่ความเป็นเอกราชของชาติไทย ฉะนั้น นโยบายอันใหญ่ยิ่งของเราก็คือ จะต้องรักษาเอกราชที่เป็นประชาธิปไตย และวางตัวเป็นกลาง จึงเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด
จาก บันทึกความทรงจำ เรื่อง "ปรีดี พนมยงค์ และ โดมรำลึก" ของ สงัด ศรีวณิก ธ.บ.
No comments:
Post a Comment