ท่านปรีดีปาฐกถาที่ลอนดอนปี ๒๕๑๓
ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านปรีดี พนมยงค์และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ตามคำเชิญของ ลอร์ดหลุย์ เมานท์แบตเตน ท่านได้โทรศัพท์ติดต่อกับคุณสงัด ศรีวณิก ที่เป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์และเป็นลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งในขณะนั้นคุณสงัดรับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาการวัฒนธรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
หลังจากได้พบปะ ไต่ถามสารสุขที่ไม่ได้พบกันนานถึง ๒๒ ปี คุณสงัดได้แจ้งเรื่องที่ท่านปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เดินทางมายังอังกฤษให้แก่กลุ่ม “นักศึกษาภาวะประเทศไทย” ซึ่งเป็นกลุ่มของนักเรียนและคนไทยในอังกฤษที่ทำกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับสามัคคีสมาคม กลุ่มนี้ได้จัดชุมนุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความเป็นไปของเมืองไทยในด้านต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้คนไทยในอังกฤษได้รับรู้อยู่เสมอ
จากนั้นคุณสงัดได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตในขณะนั้นคือ คุณกนต์ธีร์ ศุภมงคล ได้ทราบ ต่อมาทางกลุ่มฯได้กำหนดวันที่ท่านปรีดีว่างและสามารถมาปาฐกถาได้ คือในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๓ ณ สำนักงานดูแลนักเรียนเลขที่ ๒๘ ปรินเซสเกต ในวันนั้นมีผู้เดินทางมาฟังการปาฐกถาอย่างคับคั่ง
หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาภาวะประเทศไทยได้กล่าวอารัมภบทแนะนำให้ผู้ที่มาร่วมฟังทราบประวัติการศึกษา การรับราชการ ตลอดจนการเป็นหัวหน้าเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว ได้เชิญท่านปรีดีฯ ขึ้นพูด
ท่านได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่ได้เดินทางมายังอังกฤษว่า มีเจตนาที่จะมาเยี่ยมและนมัสการวัดพุทธประทีป เพราะท่านกำลังดำเนินการสร้างสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในฝรั่งเศส ในการเดินทางมาครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวอังกฤษที่เคยนับถือและชอบพอกัน อำนวยความสะดวกให้ เช่นการขอวีซ่าจากสถานทูตอังกฤษในฝรั่งเศส
ท่านมีความยินดีที่กลุ่มนักศึกษาภาวะประเทศไทยเชิญท่านมาพบปะกับคนไทยในประเทศอังกฤษ ในการมาพบปะครั้งนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายจะมาโฆษณาชวนเชื่อหรือล้างสมองคนไทยในอังกฤษ และที่มาครั้งนี้ก็ไม่มีหัวข้อที่จะพูด หากแต่ว่าใครประสงค์จะถามปัญหาอะไร ก็ยินดีตอบให้ทราบ
มีผู้ถามคำถามท่านต่างๆ สรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
ชีวิตในระหว่างที่อยู่ในประเทศจีน
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ เล่าให้ฟังว่า ได้ไปอยู่ประเทศจีนตั้งแต่ครั้งรัฐบาลก๊กมินตั่งยังมีอำนาจอยู่ ไม่ใช่สมัยที่เหมาเจ๋อตงมีอำนาจแล้ว ในการไปครั้งนั้นมีผู้ที่คุ้นเคยนับถือให้ความสะดวกในเรื่องที่อยู่อาศัย ครั้งแรกได้ไปอยู่ในกรุงปักกิ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่ในเมืองกวางตง เพราะทนอากาศหนาวไม่ไหว การอยู่ในประเทศจีน อยู่อย่างคนไทยซึ่งเป็นคนต่างด้าวของประเทศจีน ต้องทำบัตรต่างด้าวมิได้มีเอกสิทธิ์แต่อย่างใด ชีวิตประจำวันก็ได้แก่การฟังวิทยุจากสถานีของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย, อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่นและของจีนเอง กับอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือและตำราต่างๆ ไม่เคยเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ สมาชิกก็ไม่ได้เป็น การประชุมก็ไม่เคยไปร่วม เคยพบกับเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลในงานฉลองวันชาติจีน แต่ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองเลย นอกจากทั้งสองคนแสดงความเห็นใจที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนเท่านั้น
เมื่อจะเดินทางออกจากประเทศจีนมายังประเทศฝรั่งเศส ตนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวจีน จัดเอกสารการเดินทางชั่วคราวให้ เพราหนังสือเดินทางที่มีอยู่ขาดอายุและต่อไม่ได้ เพราะไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศจีน
ในที่สุดก็ได้เดินทางออกมาพำนักในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนพฤษภาคมศกนี้ อยากจะเดินทางมาประเทศอังกฤษตามความตั้งใจดังกล่าวแล้วตั้งแต่มาถึงฝรั่งเศส แต่มาไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือเดินทางได้ขอหนังสือเดินทางจากสถานทูตไทยในปารีส แต่สถานทูตไม่ยอมออกให้ จึงต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลไทย
(การขอหนังสือเดินทางและหนังสือยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเงินบำนาญ ท่านปรีดีฯต้องประสบกับอุปสรรคจากสถานทูตไทยในฝรั่งเศสและจากรัฐบาลไทยในขณะนั้น แต่ท่านก็ได้รับการอำนวยความสะดวกจนสามารถได้หนังสือสำคัญตามที่ร้องขอจากคุณ มนู อมาตยกุล -โปรดอ่านรายละเอียดได้จาก http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_22.html
-แด่บรรพชนฯ) ในที่สุดศาลได้ไกล่เกลี่ย และรัฐบาลไทยได้สั่งให้สถาทูตไทยในปารีสออกหนังสือเดินทางให้
บทบาทของคนไทยในประเทศจีน
มีผู้ถามถึงเรื่องกระบวนการของคนไทยที่เรียกว่า “แนวร่วมรักชาติ” และวิทยุไทยในปักกิ่งซึ่งแสดงท่าทีคุกคามประเทศไทย
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าว่า กระบวนการดังกล่าวนั้น มีคนไทยก่อตั้งขึ้นในกรุงปักกิ่ง เขาดำเนินการโดยเปิดเผย คือ พ.ท.โพยม จุฬานนท์ รวมทั้งคนไทยอื่นๆ ซึ่งเขาเป็นผู้รับผิดชอบในกระบวนนั้น ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และว่าในประเทศจีนมีคนไทย ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่เกิดในเมืองไทยอยู่มากมาย ตนเองโดยปกติไม่มีโอกาสพบปะกับคนไทยนัก นอกจากบางครั้งมีคนไทยผ่านไปทางเมืองกวางตง ก็ได้พบปะกันบางโอกาสเท่านั้น
สำหรับวิทยุไทยในปักกิ่งนั้น ก็เป็นเรื่องของทางการประเทศจีนตนไม่มีส่วนรู้เห็นและทราบเรื่อง ทั้งไม่เคยส่งข้อความไปร่วมกระจายเสียงด้วยเลย
ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านปรีดี พนมยงค์และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ตามคำเชิญของ ลอร์ดหลุย์ เมานท์แบตเตน ท่านได้โทรศัพท์ติดต่อกับคุณสงัด ศรีวณิก ที่เป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์และเป็นลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งในขณะนั้นคุณสงัดรับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาการวัฒนธรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
หลังจากได้พบปะ ไต่ถามสารสุขที่ไม่ได้พบกันนานถึง ๒๒ ปี คุณสงัดได้แจ้งเรื่องที่ท่านปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เดินทางมายังอังกฤษให้แก่กลุ่ม “นักศึกษาภาวะประเทศไทย” ซึ่งเป็นกลุ่มของนักเรียนและคนไทยในอังกฤษที่ทำกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับสามัคคีสมาคม กลุ่มนี้ได้จัดชุมนุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความเป็นไปของเมืองไทยในด้านต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้คนไทยในอังกฤษได้รับรู้อยู่เสมอ
จากนั้นคุณสงัดได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตในขณะนั้นคือ คุณกนต์ธีร์ ศุภมงคล ได้ทราบ ต่อมาทางกลุ่มฯได้กำหนดวันที่ท่านปรีดีว่างและสามารถมาปาฐกถาได้ คือในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๓ ณ สำนักงานดูแลนักเรียนเลขที่ ๒๘ ปรินเซสเกต ในวันนั้นมีผู้เดินทางมาฟังการปาฐกถาอย่างคับคั่ง
หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาภาวะประเทศไทยได้กล่าวอารัมภบทแนะนำให้ผู้ที่มาร่วมฟังทราบประวัติการศึกษา การรับราชการ ตลอดจนการเป็นหัวหน้าเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว ได้เชิญท่านปรีดีฯ ขึ้นพูด
ท่านได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่ได้เดินทางมายังอังกฤษว่า มีเจตนาที่จะมาเยี่ยมและนมัสการวัดพุทธประทีป เพราะท่านกำลังดำเนินการสร้างสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในฝรั่งเศส ในการเดินทางมาครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวอังกฤษที่เคยนับถือและชอบพอกัน อำนวยความสะดวกให้ เช่นการขอวีซ่าจากสถานทูตอังกฤษในฝรั่งเศส
ท่านมีความยินดีที่กลุ่มนักศึกษาภาวะประเทศไทยเชิญท่านมาพบปะกับคนไทยในประเทศอังกฤษ ในการมาพบปะครั้งนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายจะมาโฆษณาชวนเชื่อหรือล้างสมองคนไทยในอังกฤษ และที่มาครั้งนี้ก็ไม่มีหัวข้อที่จะพูด หากแต่ว่าใครประสงค์จะถามปัญหาอะไร ก็ยินดีตอบให้ทราบ
มีผู้ถามคำถามท่านต่างๆ สรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
ชีวิตในระหว่างที่อยู่ในประเทศจีน
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ เล่าให้ฟังว่า ได้ไปอยู่ประเทศจีนตั้งแต่ครั้งรัฐบาลก๊กมินตั่งยังมีอำนาจอยู่ ไม่ใช่สมัยที่เหมาเจ๋อตงมีอำนาจแล้ว ในการไปครั้งนั้นมีผู้ที่คุ้นเคยนับถือให้ความสะดวกในเรื่องที่อยู่อาศัย ครั้งแรกได้ไปอยู่ในกรุงปักกิ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่ในเมืองกวางตง เพราะทนอากาศหนาวไม่ไหว การอยู่ในประเทศจีน อยู่อย่างคนไทยซึ่งเป็นคนต่างด้าวของประเทศจีน ต้องทำบัตรต่างด้าวมิได้มีเอกสิทธิ์แต่อย่างใด ชีวิตประจำวันก็ได้แก่การฟังวิทยุจากสถานีของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย, อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่นและของจีนเอง กับอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือและตำราต่างๆ ไม่เคยเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ สมาชิกก็ไม่ได้เป็น การประชุมก็ไม่เคยไปร่วม เคยพบกับเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลในงานฉลองวันชาติจีน แต่ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองเลย นอกจากทั้งสองคนแสดงความเห็นใจที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนเท่านั้น
เมื่อจะเดินทางออกจากประเทศจีนมายังประเทศฝรั่งเศส ตนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวจีน จัดเอกสารการเดินทางชั่วคราวให้ เพราหนังสือเดินทางที่มีอยู่ขาดอายุและต่อไม่ได้ เพราะไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศจีน
ในที่สุดก็ได้เดินทางออกมาพำนักในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนพฤษภาคมศกนี้ อยากจะเดินทางมาประเทศอังกฤษตามความตั้งใจดังกล่าวแล้วตั้งแต่มาถึงฝรั่งเศส แต่มาไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือเดินทางได้ขอหนังสือเดินทางจากสถานทูตไทยในปารีส แต่สถานทูตไม่ยอมออกให้ จึงต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลไทย
(การขอหนังสือเดินทางและหนังสือยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเงินบำนาญ ท่านปรีดีฯต้องประสบกับอุปสรรคจากสถานทูตไทยในฝรั่งเศสและจากรัฐบาลไทยในขณะนั้น แต่ท่านก็ได้รับการอำนวยความสะดวกจนสามารถได้หนังสือสำคัญตามที่ร้องขอจากคุณ มนู อมาตยกุล -โปรดอ่านรายละเอียดได้จาก http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_22.html
-แด่บรรพชนฯ) ในที่สุดศาลได้ไกล่เกลี่ย และรัฐบาลไทยได้สั่งให้สถาทูตไทยในปารีสออกหนังสือเดินทางให้
บทบาทของคนไทยในประเทศจีน
มีผู้ถามถึงเรื่องกระบวนการของคนไทยที่เรียกว่า “แนวร่วมรักชาติ” และวิทยุไทยในปักกิ่งซึ่งแสดงท่าทีคุกคามประเทศไทย
ท่านอาจารย์ปรีดีฯ กล่าว่า กระบวนการดังกล่าวนั้น มีคนไทยก่อตั้งขึ้นในกรุงปักกิ่ง เขาดำเนินการโดยเปิดเผย คือ พ.ท.โพยม จุฬานนท์ รวมทั้งคนไทยอื่นๆ ซึ่งเขาเป็นผู้รับผิดชอบในกระบวนนั้น ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และว่าในประเทศจีนมีคนไทย ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่เกิดในเมืองไทยอยู่มากมาย ตนเองโดยปกติไม่มีโอกาสพบปะกับคนไทยนัก นอกจากบางครั้งมีคนไทยผ่านไปทางเมืองกวางตง ก็ได้พบปะกันบางโอกาสเท่านั้น
สำหรับวิทยุไทยในปักกิ่งนั้น ก็เป็นเรื่องของทางการประเทศจีนตนไม่มีส่วนรู้เห็นและทราบเรื่อง ทั้งไม่เคยส่งข้อความไปร่วมกระจายเสียงด้วยเลย
No comments:
Post a Comment