ดังกล่าวมาแล้วว่า การแผ่อิทธิพลของประเทศตะวันตกนั้น เนื่องมาจากเศรษฐกิจเป็นมูลเหตุ กล่าวคือเนื่องจากการผลิตผลทางอุตสาหกรรมภายในประเทศเกินความต้องการของประชาชน ดังนั้นผลิตผลส่วนเกินจึงถูกส่งไปขายต่างประเทศ และประเทศเหล่านั้นคือประเทศที่ล้าหลัง คือเอเชียและอาฟริกา และทั้งเอเชียและอาฟริกาต่างก็มีวัตถุดิบที่โรงงานอุตสาหกรรมของตะวันตกต้องการ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จึงดำเนินต่อไปกว้างขวางไม่หยุดยั้ง และในขณะเดียวกัน งานอุตสาหกรรมของประเทศตะวันตกก็แผ่กว้างขวางออกไปอีก เพราะมีวัตถุดิบจากเอเชียและ อาฟริกากลับไปป้อนโรงงานไม่ขาดสาย และผลิตภัณฑ์ที่ออกมาก็ถูกนำส่งกลับไปขายยังประเทศเจ้าของวัตถุดิบเหล่านั้นด้วยราคาแพง
ในวาระเริ่มแรกของการค้าขายติดต่อระหว่างตะวันตกกับตะวันออกนั้น ถึงแม้ว่าพ่อค้าตะวันตกจะทำการกดขี่ขูดรีดกับลูกค้าเอเชียและอาฟริกา โดยขายแพงและซื้อในราคาถูกก็ตาม แต่ทว่ายังเป็นไปในลักษณะการค้าขายธรรมดา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ด้วยความละโมบนั้นเอง กล่าวคือ จากการขูดรีดและจากการซื้ออย่างกดราคา ไม่ได้ทำให้พ่อค้าตะวันตกอิ่มด้วยความโลภ ดังนั้นพ่อค้าตะวันตกจึงใช้กลโกง และบางทีก็โกงกันซึ่งๆหน้า จนเกิดทะเลาะเบาะแว้งกัน แล้วรัฐบาลของพ่อค้าชาวตะวันตกก็จะเข้ามาสอดแทรกใช้อำนาจบาทใหญ่เข้าจัดการเสียเลย นั่นคือ เข้ายึดครองเอาเป็นอาณานิคม และบางทีพ่อค้าชาวตะวันตกก็ใช้อามิสเส้นสังเวยหัวหน้าชาวพื้นเมือง หรือหัวหน้ากลุ่มชนและแล้วก็ทำสัญญาผูกขาดในการซื้อขาย และแน่นอนในสัญญาผูกขาดนั้น ชาวตะวันตกจะไม่ยอมเสียเปรียบเป็นอันขาด แต่พอหัวหน้ากลุ่มชนรู้ทันว่าตัวถูกขูดรีด อิทธิพลของพ่อค้าตะวันตกก็ครอบงำไปทั่วบ้านเมืองนั้นแล้ว หัวหน้ากลุ่มใดที่รู้ว่าตกมาอยู่ในแหดิ้นไม่หลุดก็จะยอมเลยตามเลย รักษาตัวรอดเสวยสุขที่พ่อค้าตะวันแบ่งเศษเสี้ยวให้ โดยยอมเป็นเครื่องมือให้ชาวผิวขาวทำการขูดรีดพี่น้องร่วมชาติของตน และในที่สุดก็ตกเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศตะวันตก ดังนั้นการแผ่อิทธิพลจากการค้าขายเป็นเบื้องแรกที่นำมาซึ่งอาณานิคมในเวลาต่อมา
เมื่อชาติตะวันตกได้ประเทศหนึ่งประเทศใดเป็นอาณานิคมแล้วก็จะเข้ายึดอำนาจในทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ
๑. ในทางเศรษฐกิจ ประเทศผู้เข้าครองจะทำการผูกขาดตลาดและวัตถุดิบไว้อย่างเด็ดขาด โดยบังคับซื้อวัตถุดิบในราคาที่ต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้ จากประเทศอาณานิคม ส่งไปสู่เมืองแม่ แล้วส่งผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเข้ามาขายยังประเทศอาณานิคมด้วยราคาที่แพง
๒.ในทางการเมืองประเทศผู้เข้าครองจะดำเนินการปกครองแบบเมืองขึ้น โดยส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดำเนินการปกครอง การดำเนินการทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก ขึ้นอยู่กับประเทศผู้เข้าครองโดยเด็ดขาด ชาวพื้นเมืองจะไม่มีสิทธิ์ในทางการเมืองแต่อย่างใด ตำแหน่งทางการปกครองที่สำคัญๆ ผู้เข้าครองจะยึดไว้หมด ชาวพื้นเมืองจะมีสิทธิเข้าดำเนินในงานปกครองบ้างก็แต่เพียงตำแหน่งต่ำๆที่ไม่สำคัญเท่านั้น และนักล่าเมืองขึ้นบางประเทศถึงกับตั้งกระทรวงอาณานิคมขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อจัดการกับประเทศอาณานิคมโดยเฉพาะ
๓.ในทางสังคม ประเทศผู้เข้าครองจะปล่อยปละละเลยในสวัสดิภาพของสังคมชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองจะถูกทอดทิ้งเช่นเดียวกับพวกไพร่ในยุคศักดินาและนอกจากนั้นประเทศผู้เข้าครองยังพยายามพยายามทำความสามัคคีของชาวพื้นเมืองไม่ให้รวมกันติดด้วย ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักที่ว่า “ทำให้แตกแยกแล้วเข้าปกครอง” ซึ่งเป็นหลักสำคัญหนึ่งที่ประเทศผู้เข้าครองนำไปใช้กับประเทศอาณานิคมทั่วไป
๔.ในทางวัฒนธรรม ประเทศผู้เข้าครองพยายามนำเอาวัฒนธรรมของตัวไปขับไล่วัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง และบางครั้งก็กีดกันการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมชาวพื้นเมือง
รวมความแล้วประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมก็คือประเทศที่มีฐานะเป็นทาส ไม่มีความเป็นไทแต่ตัวเองแม้แต่นิดเดียว ต้องเป็นทาสในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ประชาชนชาวพื้นเมืองจะถูกจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิ์ในทางการเมือง สิทธิ์ในการรับราชการ สิทธิ์ในการประกอบอาชีพ และแม้สิทธิ์ที่จะอยู่โดยสงบ และพร้อมกับการจำกัดสิทธิ์นั้น ชาวพื้นเมืองจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่ที่จะถูกกวาดต้อนไปรักษาระบอบอาณานิคมในอาณานิคมต่างแดน เช่นแขกโมรอคโคจากอาฟริกาเหนือถูกกวาดต้อนมารักษาระบอบอาณานิคมในอินโดจีนเป็นต้น
ในวาระเริ่มแรกของการค้าขายติดต่อระหว่างตะวันตกกับตะวันออกนั้น ถึงแม้ว่าพ่อค้าตะวันตกจะทำการกดขี่ขูดรีดกับลูกค้าเอเชียและอาฟริกา โดยขายแพงและซื้อในราคาถูกก็ตาม แต่ทว่ายังเป็นไปในลักษณะการค้าขายธรรมดา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ด้วยความละโมบนั้นเอง กล่าวคือ จากการขูดรีดและจากการซื้ออย่างกดราคา ไม่ได้ทำให้พ่อค้าตะวันตกอิ่มด้วยความโลภ ดังนั้นพ่อค้าตะวันตกจึงใช้กลโกง และบางทีก็โกงกันซึ่งๆหน้า จนเกิดทะเลาะเบาะแว้งกัน แล้วรัฐบาลของพ่อค้าชาวตะวันตกก็จะเข้ามาสอดแทรกใช้อำนาจบาทใหญ่เข้าจัดการเสียเลย นั่นคือ เข้ายึดครองเอาเป็นอาณานิคม และบางทีพ่อค้าชาวตะวันตกก็ใช้อามิสเส้นสังเวยหัวหน้าชาวพื้นเมือง หรือหัวหน้ากลุ่มชนและแล้วก็ทำสัญญาผูกขาดในการซื้อขาย และแน่นอนในสัญญาผูกขาดนั้น ชาวตะวันตกจะไม่ยอมเสียเปรียบเป็นอันขาด แต่พอหัวหน้ากลุ่มชนรู้ทันว่าตัวถูกขูดรีด อิทธิพลของพ่อค้าตะวันตกก็ครอบงำไปทั่วบ้านเมืองนั้นแล้ว หัวหน้ากลุ่มใดที่รู้ว่าตกมาอยู่ในแหดิ้นไม่หลุดก็จะยอมเลยตามเลย รักษาตัวรอดเสวยสุขที่พ่อค้าตะวันแบ่งเศษเสี้ยวให้ โดยยอมเป็นเครื่องมือให้ชาวผิวขาวทำการขูดรีดพี่น้องร่วมชาติของตน และในที่สุดก็ตกเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศตะวันตก ดังนั้นการแผ่อิทธิพลจากการค้าขายเป็นเบื้องแรกที่นำมาซึ่งอาณานิคมในเวลาต่อมา
เมื่อชาติตะวันตกได้ประเทศหนึ่งประเทศใดเป็นอาณานิคมแล้วก็จะเข้ายึดอำนาจในทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ
๑. ในทางเศรษฐกิจ ประเทศผู้เข้าครองจะทำการผูกขาดตลาดและวัตถุดิบไว้อย่างเด็ดขาด โดยบังคับซื้อวัตถุดิบในราคาที่ต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้ จากประเทศอาณานิคม ส่งไปสู่เมืองแม่ แล้วส่งผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเข้ามาขายยังประเทศอาณานิคมด้วยราคาที่แพง
๒.ในทางการเมืองประเทศผู้เข้าครองจะดำเนินการปกครองแบบเมืองขึ้น โดยส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดำเนินการปกครอง การดำเนินการทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก ขึ้นอยู่กับประเทศผู้เข้าครองโดยเด็ดขาด ชาวพื้นเมืองจะไม่มีสิทธิ์ในทางการเมืองแต่อย่างใด ตำแหน่งทางการปกครองที่สำคัญๆ ผู้เข้าครองจะยึดไว้หมด ชาวพื้นเมืองจะมีสิทธิเข้าดำเนินในงานปกครองบ้างก็แต่เพียงตำแหน่งต่ำๆที่ไม่สำคัญเท่านั้น และนักล่าเมืองขึ้นบางประเทศถึงกับตั้งกระทรวงอาณานิคมขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อจัดการกับประเทศอาณานิคมโดยเฉพาะ
๓.ในทางสังคม ประเทศผู้เข้าครองจะปล่อยปละละเลยในสวัสดิภาพของสังคมชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองจะถูกทอดทิ้งเช่นเดียวกับพวกไพร่ในยุคศักดินาและนอกจากนั้นประเทศผู้เข้าครองยังพยายามพยายามทำความสามัคคีของชาวพื้นเมืองไม่ให้รวมกันติดด้วย ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักที่ว่า “ทำให้แตกแยกแล้วเข้าปกครอง” ซึ่งเป็นหลักสำคัญหนึ่งที่ประเทศผู้เข้าครองนำไปใช้กับประเทศอาณานิคมทั่วไป
๔.ในทางวัฒนธรรม ประเทศผู้เข้าครองพยายามนำเอาวัฒนธรรมของตัวไปขับไล่วัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง และบางครั้งก็กีดกันการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมชาวพื้นเมือง
รวมความแล้วประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมก็คือประเทศที่มีฐานะเป็นทาส ไม่มีความเป็นไทแต่ตัวเองแม้แต่นิดเดียว ต้องเป็นทาสในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ประชาชนชาวพื้นเมืองจะถูกจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิ์ในทางการเมือง สิทธิ์ในการรับราชการ สิทธิ์ในการประกอบอาชีพ และแม้สิทธิ์ที่จะอยู่โดยสงบ และพร้อมกับการจำกัดสิทธิ์นั้น ชาวพื้นเมืองจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่ที่จะถูกกวาดต้อนไปรักษาระบอบอาณานิคมในอาณานิคมต่างแดน เช่นแขกโมรอคโคจากอาฟริกาเหนือถูกกวาดต้อนมารักษาระบอบอาณานิคมในอินโดจีนเป็นต้น
No comments:
Post a Comment