ประเทศจีนในสภาพเกิดใหม่
นานาประเทศทางยุโรปซึ่งได้ชื่อว่าเจริญแล้วมิได้แสดงความสนใจอย่างใดในประเทศจีน ซึ่งอยุ่ในสภาพเสมือนหนึ่งได้เกิดใหม่ โดยมวลชนประมาณ ๔๐๐ ล้านคนในประเทศล้าหลังนั้นได้มีเสรีภาพและมีความตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน พลเมืองจีนซึ่งมีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ส่วนของพลเมืองโลกทั้งหมด ได้ผ่านสภาวะของความล้าหลังไม่ก้าวหน้า เข้าสู่สภาวะการตื่นตัวเพื่อการรณรงค์แล้ว
กระนั้น ยุโรปที่เจริญแล้วก็ยังไม่แยแสอย่างใดโดยแม้แต่สาธารณรัฐฝรั่งเศสก็ยังมิได้รับรองสาธารณรัฐจีนเป็นทางการ ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? ตอบได้ว่าเป็นเพราะนานาประเทศทางยุโรปตะวันตกอยู่ภายใต้ระบอบปกครองของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายผู้เป็นจักรวรรดินิยม ทั้งๆที่ชนชั้นนั้นอยู่ในสภาพเสื่อมจนใกล้จะโทรมแล้ว และพร้อมจะหากำไรแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ หรือพร้อมจะขายตนให้แก่นักเสี่ยงโชคผู้ใดที่ขันอาสาจะปราบชนกรรมาชีพด้วยวิธีการเฉียบขาดที่สุด
ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายเหล่านี้มองเห็นประเทศจีนเป็นแต่เพียงเหยื่อ ซึ่งอังกฤษ เยอรมัน ฯลฯ หรือญี่ปุ่นก็ได้ อาจพยายามจะแย่งชิงกันเอาไปเป็นส่วนๆ ในเมื่อรุสเซียก็ได้ดินแดนมองโกเลียไว้ในคุ้มครองแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเกิดใหม่ของประเทศจีนก็ดำเนินก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งแรกในประเทศซึ่งเคยอยู่ในปกครองทรราชย์นั้น ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีจำนวน ๖๐๐ คน สมาชิกวุฒิสภา ๒๗๔ คน ประชาชนผู้มีอายุ ๒๑ ปีขึ้นไปมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองปี เป็นผู้เสียภาษีโดยตรงคนละประมาณ ๒ รูเบิล หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่า ๕๐๐ รูเบิล จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอีกทอดหนึ่ง การให้สิทธิในทำนองนี้แสดงว่ายังมีการเป็นพันธมิตรกันอยู่ระหว่างชนชั้น กสิกรชาวนาผู้มีอันจะกินกับชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย โดยยังไม่มีชนชั้นกรรมาชีพหรือถ้าหากมีก็เป็นชั้นชนที่ไม่มีอิทธิพลอย่างใด
ส่วนการจัดตั้งพรรคการเมืองของจีนก็ยังเป็นไปในทำนองที่ปราศจากอิทธิพลของชนชั้นกรรมชีพเช่นเดียวกัน โดยพรรคการเมืองสำคัญๆ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นแล้วมีอยู่สามพรรคด้วยกันคือ –
๑. พรรคราดิกัลสังคมนิยม ซึ่งความจริงไม่มีอะไรข้องเกี่ยวกับลัทธิสังคมนิยมเลย เหมือนอย่างพรรคประชาชนสังคมนิยมของรัสเซีย พรรคนี้เป็นพรรคของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายระดับต่ำต้อยที่เป็นประชาธิปไตย มีนโยบายเรียกร้องเอกภาพทางการเมืองสำหรับจีน กับเรียกร้องการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้า “ตามแนวสังคมนิยม” และเรียกร้องการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ
๒. พรรคลิเบอรัล ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพรรคที่กล่าวในข้อ ๑ และรวมเรียกว่าพรรคแห่งชาติ พรรคนี้มีหัวหน้าคือ ซุนยัดเซน และมีโอกาสมากที่สุดที่จะได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาชุดแรกของจีน
๓.พรรคสันนิบาตสาธารณรัฐ ซึ่งความจริงเป็นพรรคอนุรักษนิยม ได้รับความสนับสนุนจากข้ารัฐการเจ้าของที่ดิน และชนชั้นเจ้าขุนมูลนายในภาคเหนือของจีนเป็นส่วนมาก จีนภาคเหนือเป็นดินแดนล้าหลังที่สุดของประเทศจีน ตรงกันข้ามกับภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนที่พัฒนาอุตสาหกรรม และเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคแห่งชาติซึ่งก็มีมวลกสิกรชาวนาให้ความสนับสนุนด้วย อนึ่งหัวหน้าพรรคแห่งชาติก็เป็นปัญญาชนผู้ได้รับการศึกษาในต่างประเทศ
ความมีชัยในการปฏิวัติของจีนได้มาจากการร่วมมือระหว่างกสิกรชาวนาฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับชนชั้นเจ้าขุนมูลนายฝ่ายนิยมลัทธิลิเบอรัล ส่วนข้อที่ว่าฝ่ายกสิกรชาวนาประชาธิปไตยซึ่งไม่มีพรรคชนกรรมาชีพเป็นผู้นำ จะสามารถรักษาสถานะของตนไว้ได้หรือไม่ในการต่อต้านฝ่ายลิเบอรัล ซึ่งกำลังรอโอกาสจะแปรพักตร์ไปทางฝ่ายขวานั้น เป็นเรื่องที่อนาคตเท่านั้นจะแสดงให้เห็นได้.
วี.ไอ. เลนิน ลงใน นสพ.ปราฟดา ๘ พ.ย. ๑๙๑๒
นานาประเทศทางยุโรปซึ่งได้ชื่อว่าเจริญแล้วมิได้แสดงความสนใจอย่างใดในประเทศจีน ซึ่งอยุ่ในสภาพเสมือนหนึ่งได้เกิดใหม่ โดยมวลชนประมาณ ๔๐๐ ล้านคนในประเทศล้าหลังนั้นได้มีเสรีภาพและมีความตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน พลเมืองจีนซึ่งมีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ส่วนของพลเมืองโลกทั้งหมด ได้ผ่านสภาวะของความล้าหลังไม่ก้าวหน้า เข้าสู่สภาวะการตื่นตัวเพื่อการรณรงค์แล้ว
กระนั้น ยุโรปที่เจริญแล้วก็ยังไม่แยแสอย่างใดโดยแม้แต่สาธารณรัฐฝรั่งเศสก็ยังมิได้รับรองสาธารณรัฐจีนเป็นทางการ ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? ตอบได้ว่าเป็นเพราะนานาประเทศทางยุโรปตะวันตกอยู่ภายใต้ระบอบปกครองของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายผู้เป็นจักรวรรดินิยม ทั้งๆที่ชนชั้นนั้นอยู่ในสภาพเสื่อมจนใกล้จะโทรมแล้ว และพร้อมจะหากำไรแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ หรือพร้อมจะขายตนให้แก่นักเสี่ยงโชคผู้ใดที่ขันอาสาจะปราบชนกรรมาชีพด้วยวิธีการเฉียบขาดที่สุด
ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายเหล่านี้มองเห็นประเทศจีนเป็นแต่เพียงเหยื่อ ซึ่งอังกฤษ เยอรมัน ฯลฯ หรือญี่ปุ่นก็ได้ อาจพยายามจะแย่งชิงกันเอาไปเป็นส่วนๆ ในเมื่อรุสเซียก็ได้ดินแดนมองโกเลียไว้ในคุ้มครองแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเกิดใหม่ของประเทศจีนก็ดำเนินก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งแรกในประเทศซึ่งเคยอยู่ในปกครองทรราชย์นั้น ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีจำนวน ๖๐๐ คน สมาชิกวุฒิสภา ๒๗๔ คน ประชาชนผู้มีอายุ ๒๑ ปีขึ้นไปมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองปี เป็นผู้เสียภาษีโดยตรงคนละประมาณ ๒ รูเบิล หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่า ๕๐๐ รูเบิล จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอีกทอดหนึ่ง การให้สิทธิในทำนองนี้แสดงว่ายังมีการเป็นพันธมิตรกันอยู่ระหว่างชนชั้น กสิกรชาวนาผู้มีอันจะกินกับชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย โดยยังไม่มีชนชั้นกรรมาชีพหรือถ้าหากมีก็เป็นชั้นชนที่ไม่มีอิทธิพลอย่างใด
ส่วนการจัดตั้งพรรคการเมืองของจีนก็ยังเป็นไปในทำนองที่ปราศจากอิทธิพลของชนชั้นกรรมชีพเช่นเดียวกัน โดยพรรคการเมืองสำคัญๆ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นแล้วมีอยู่สามพรรคด้วยกันคือ –
๑. พรรคราดิกัลสังคมนิยม ซึ่งความจริงไม่มีอะไรข้องเกี่ยวกับลัทธิสังคมนิยมเลย เหมือนอย่างพรรคประชาชนสังคมนิยมของรัสเซีย พรรคนี้เป็นพรรคของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายระดับต่ำต้อยที่เป็นประชาธิปไตย มีนโยบายเรียกร้องเอกภาพทางการเมืองสำหรับจีน กับเรียกร้องการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้า “ตามแนวสังคมนิยม” และเรียกร้องการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ
๒. พรรคลิเบอรัล ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพรรคที่กล่าวในข้อ ๑ และรวมเรียกว่าพรรคแห่งชาติ พรรคนี้มีหัวหน้าคือ ซุนยัดเซน และมีโอกาสมากที่สุดที่จะได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาชุดแรกของจีน
๓.พรรคสันนิบาตสาธารณรัฐ ซึ่งความจริงเป็นพรรคอนุรักษนิยม ได้รับความสนับสนุนจากข้ารัฐการเจ้าของที่ดิน และชนชั้นเจ้าขุนมูลนายในภาคเหนือของจีนเป็นส่วนมาก จีนภาคเหนือเป็นดินแดนล้าหลังที่สุดของประเทศจีน ตรงกันข้ามกับภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนที่พัฒนาอุตสาหกรรม และเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคแห่งชาติซึ่งก็มีมวลกสิกรชาวนาให้ความสนับสนุนด้วย อนึ่งหัวหน้าพรรคแห่งชาติก็เป็นปัญญาชนผู้ได้รับการศึกษาในต่างประเทศ
ความมีชัยในการปฏิวัติของจีนได้มาจากการร่วมมือระหว่างกสิกรชาวนาฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับชนชั้นเจ้าขุนมูลนายฝ่ายนิยมลัทธิลิเบอรัล ส่วนข้อที่ว่าฝ่ายกสิกรชาวนาประชาธิปไตยซึ่งไม่มีพรรคชนกรรมาชีพเป็นผู้นำ จะสามารถรักษาสถานะของตนไว้ได้หรือไม่ในการต่อต้านฝ่ายลิเบอรัล ซึ่งกำลังรอโอกาสจะแปรพักตร์ไปทางฝ่ายขวานั้น เป็นเรื่องที่อนาคตเท่านั้นจะแสดงให้เห็นได้.
วี.ไอ. เลนิน ลงใน นสพ.ปราฟดา ๘ พ.ย. ๑๙๑๒
No comments:
Post a Comment