ดังได้กล่าวแล้วว่า การแย่งยุคสมัยของสังคมออกเป็นยุคๆนั้น นักวิทยาศาสตร์สังคมเป็นหลักของการแบ่งยุคแบ่งสมัย ก็แหละโดยหลักที่ว่า “ทุกๆสิ่งในโลกอยู่ในอาการเคลื่อนไหว ชีวิตเปลี่ยนแปลง พลังผลิตขยายตัว ความสัมพันธ์อย่างเก่าแตกสลาย” นี่เอง ที่ได้ทำให้สังคมของมนุษย์พัฒนาก้าวหน้าสูงขึ้นไปเป็นลำดับ และได้วิวัฒนาการมาอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วและกำลังจะเป็นต่อไปอีกตามหลักอนิจจัง แต่ทว่าจะเป็นไปช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและทางสังคม ในสมัยบุพกาลการพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติแต่ประการเดียว แต่ในยุคต่อมาและจนกระทั่งบัดนี้ สภาวะทางสังคมอันรวมถึงพลังทางความคิด พลังทางกำลังกายของมนุษย์ ได้เข้ามาช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเป็นการไม่แปลก และเป็นความจริงที่จะกล่าวว่า ความเจริญก้าวหน้าของสังคมในยุคอารยธรรมนี้ มากกว่ามากนัก ต่อความเจริญก้าวหน้าของยุคคนป่าและยุคอนารยชนรวมกัน
และเนื่องจากสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติและภาวะแวดล้อมของสังคมอันไม่เท่าเทียมกันและไม่เหมือนกันระหว่างตะวันออกกับตะวันตกนี้เองที่เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศตะวันตก และดังกล่าวแล้วว่าในขณะที่ประเทศแถบตะวันตกย่างเข้าสู่ทุนนิยมนั้น ประเทศทางแถบตะวันออกยังงมงายอยู่ในยุคของศักดินา นั่นก็หมายความว่า ในขณะที่ประเทศแถบตะวันตกได้ก้าวจากงานหัตถกรรมเล็กๆ ไปสู่งานอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่นั้น ประเทศแถบตะวันออกยังดำเนินการเลี้ยงชีพอยู่ด้วยงานกสิกรรมและบางทีก็งานหัตถกรรมเล็กๆ ด้วย
จากการที่ระบบการผลิตของประเทศตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จึงทำให้ผลิตผลเกินความต้องการของประชาชนภายในประเทศ และดังนั้นผลิตผลที่เกินความต้องการของประชาชนภายในประเทศ จึงถูกส่งไปจำหน่ายในต่างแดน และต่างแดนที่ว่านี้ก็คือประเทศกสิกรรมนั่นเอง และนั่นคือประเทศในภูมิตะวันออก คือเอเชียและอาฟริกา และโดยเฉพาะอาฟริกานั้น ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งเลวร้ายไปกว่าเอเชียมากมายนัก ในขณะที่เอเชียอยู่ในยุคศักดินาและยุโรปอยู่ในยุคทุนนิยมนั้น อาฟริกาบางท้องถิ่นยังอยู่ในยุคบุพกาลและบางถิ่นก็อยู่ในยุคทาส และดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่อาฟริกาทั้งทวีปได้กลายเป็นประเทศอาณานิคมของพวกตะวันตก ส่วนเอเชียนั้นถึงหากจะไม่ตกเป็นอาณานิคมยกทวีปก็ตาม แต่ทว่าประเทศที่ยังคงเหลือเป็นเอกราชอยู่นั้นก็หาใช่ว่าเป็นประเทศเอกราชโดยสมบูรณ์ไม่ แต่อยู่ในฐานะที่เรียกว่าเป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้น ทั้งนี้เพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าของประเทศตะวันตกนั้นเอง ที่เป็นไม้ค้ำคอทำให้เป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้นและต่อมาอิทธิพลในทางการเมืองก็ติดตามมาช่วยกดหัวอีกแรงหนึ่งด้วย
ประเทศตะวันตกที่ใช้อิทธิพลในทางเศรษฐกิจเข้าไปรุกรานและเข้าครอบครองประเทศอื่นในระยะเริ่มแรก คือในราวคริสตศตวรรษที่ ๑๕ นั้น ที่สำคัญก็มี สเปญและโปร์ตุเกส กำลังยิ่งใหญ่อยู่นั้น ได้เกิดมีลัทธิขึ้นลัทธิหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าลิทธิเมอร์แคนไทล์ (Mercantilism) และก็โดยลัทธินี้เองที่เป็นแรงสนันสนุนให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคมในเวลาต่อมา และจากการที่สเปญและโปร์ตุเกสต่างก็แย่งชิงกันสูบเลือดสูบประเทศที่ล้าหลัง ดังนั้นจึงเกิดทะเลาะแก่งแย่งกันขึ้น แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้โดยการไกล่เกลี่ยของสังฆราชอเล็กซานเดอร์ที่ ๖ ซึ่งพำนักอยู่ในสเปญ ทั้งนี้เพราะทั้งสเปญและโปร์ตุเกสเป็นชาวคริสเตียนด้วยกัน และนับถือสังฆราชองค์เดียวกัน ความตกลงกันครั้งนั้นก็คือการแบ่งกันกินคนละครึ่งโลก คือ โปร์ตุเกสมีอำนาจที่แผ่อิทธิพลไปทางทิศตะวันออก คือทางเอเชีย และให้สเปญมีอำนาจในการแผ่อิทธิพลไปทางตะวันตก คือทางอเมริกา เช่นเดียวกับที่สมัยหนึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้แบ่งเขตแผ่อิทธิพลหาผลประโยชน์ในสุวรรณภูมิโดยถือเอาลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่ง
และจากการตกลงครั้งนั้น ทำให้เสปญมีเมืองขึ้นในแถบอเมริกาใต้ ส่วนโปร์ตุเกสมีเมืองขึ้นในแถบเอเชีย แต่ต่อแต่นั้นมาประเทศต่างๆ ในยุโรปก็เข้าขบวนแข่งขันกันและไปกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลัง และโดยที่การแผ่อิทธิพลไปยังประเทศที่ล้าหลังนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยทางทะเล ดังนั้นประเทศที่ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร และมีกองทัพเรือเป็นเจ้าทะเลอยู่จึงย่อมได้เปรียบ เช่นอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้นสองประเทศนี้จึงมีอาณานิคมอยู่ทั่วโลก
จากการแข่งขันกันแผ่อิทธิพลของประเทศตะวันตกเข้าไปช่วงชิงผลประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลังนั้นเอง ได้ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ต้องเพิ่มเข้าไปอีกคำหนึ่งคือ “ลัทธิล่าเมืองขึ้น” หรือ โคโลเนียลลิสม์ (Colonialism)
และเนื่องจากสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติและภาวะแวดล้อมของสังคมอันไม่เท่าเทียมกันและไม่เหมือนกันระหว่างตะวันออกกับตะวันตกนี้เองที่เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศตะวันตก และดังกล่าวแล้วว่าในขณะที่ประเทศแถบตะวันตกย่างเข้าสู่ทุนนิยมนั้น ประเทศทางแถบตะวันออกยังงมงายอยู่ในยุคของศักดินา นั่นก็หมายความว่า ในขณะที่ประเทศแถบตะวันตกได้ก้าวจากงานหัตถกรรมเล็กๆ ไปสู่งานอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่นั้น ประเทศแถบตะวันออกยังดำเนินการเลี้ยงชีพอยู่ด้วยงานกสิกรรมและบางทีก็งานหัตถกรรมเล็กๆ ด้วย
จากการที่ระบบการผลิตของประเทศตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จึงทำให้ผลิตผลเกินความต้องการของประชาชนภายในประเทศ และดังนั้นผลิตผลที่เกินความต้องการของประชาชนภายในประเทศ จึงถูกส่งไปจำหน่ายในต่างแดน และต่างแดนที่ว่านี้ก็คือประเทศกสิกรรมนั่นเอง และนั่นคือประเทศในภูมิตะวันออก คือเอเชียและอาฟริกา และโดยเฉพาะอาฟริกานั้น ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งเลวร้ายไปกว่าเอเชียมากมายนัก ในขณะที่เอเชียอยู่ในยุคศักดินาและยุโรปอยู่ในยุคทุนนิยมนั้น อาฟริกาบางท้องถิ่นยังอยู่ในยุคบุพกาลและบางถิ่นก็อยู่ในยุคทาส และดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่อาฟริกาทั้งทวีปได้กลายเป็นประเทศอาณานิคมของพวกตะวันตก ส่วนเอเชียนั้นถึงหากจะไม่ตกเป็นอาณานิคมยกทวีปก็ตาม แต่ทว่าประเทศที่ยังคงเหลือเป็นเอกราชอยู่นั้นก็หาใช่ว่าเป็นประเทศเอกราชโดยสมบูรณ์ไม่ แต่อยู่ในฐานะที่เรียกว่าเป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้น ทั้งนี้เพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าของประเทศตะวันตกนั้นเอง ที่เป็นไม้ค้ำคอทำให้เป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้นและต่อมาอิทธิพลในทางการเมืองก็ติดตามมาช่วยกดหัวอีกแรงหนึ่งด้วย
ประเทศตะวันตกที่ใช้อิทธิพลในทางเศรษฐกิจเข้าไปรุกรานและเข้าครอบครองประเทศอื่นในระยะเริ่มแรก คือในราวคริสตศตวรรษที่ ๑๕ นั้น ที่สำคัญก็มี สเปญและโปร์ตุเกส กำลังยิ่งใหญ่อยู่นั้น ได้เกิดมีลัทธิขึ้นลัทธิหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าลิทธิเมอร์แคนไทล์ (Mercantilism) และก็โดยลัทธินี้เองที่เป็นแรงสนันสนุนให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคมในเวลาต่อมา และจากการที่สเปญและโปร์ตุเกสต่างก็แย่งชิงกันสูบเลือดสูบประเทศที่ล้าหลัง ดังนั้นจึงเกิดทะเลาะแก่งแย่งกันขึ้น แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้โดยการไกล่เกลี่ยของสังฆราชอเล็กซานเดอร์ที่ ๖ ซึ่งพำนักอยู่ในสเปญ ทั้งนี้เพราะทั้งสเปญและโปร์ตุเกสเป็นชาวคริสเตียนด้วยกัน และนับถือสังฆราชองค์เดียวกัน ความตกลงกันครั้งนั้นก็คือการแบ่งกันกินคนละครึ่งโลก คือ โปร์ตุเกสมีอำนาจที่แผ่อิทธิพลไปทางทิศตะวันออก คือทางเอเชีย และให้สเปญมีอำนาจในการแผ่อิทธิพลไปทางตะวันตก คือทางอเมริกา เช่นเดียวกับที่สมัยหนึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้แบ่งเขตแผ่อิทธิพลหาผลประโยชน์ในสุวรรณภูมิโดยถือเอาลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่ง
และจากการตกลงครั้งนั้น ทำให้เสปญมีเมืองขึ้นในแถบอเมริกาใต้ ส่วนโปร์ตุเกสมีเมืองขึ้นในแถบเอเชีย แต่ต่อแต่นั้นมาประเทศต่างๆ ในยุโรปก็เข้าขบวนแข่งขันกันและไปกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลัง และโดยที่การแผ่อิทธิพลไปยังประเทศที่ล้าหลังนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยทางทะเล ดังนั้นประเทศที่ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร และมีกองทัพเรือเป็นเจ้าทะเลอยู่จึงย่อมได้เปรียบ เช่นอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้นสองประเทศนี้จึงมีอาณานิคมอยู่ทั่วโลก
จากการแข่งขันกันแผ่อิทธิพลของประเทศตะวันตกเข้าไปช่วงชิงผลประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลังนั้นเอง ได้ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ต้องเพิ่มเข้าไปอีกคำหนึ่งคือ “ลัทธิล่าเมืองขึ้น” หรือ โคโลเนียลลิสม์ (Colonialism)
No comments:
Post a Comment