การปลดแอกประชาชนจีนให้พ้นจากความเป็นทาสอย่างแท้จริงจะดำเนินไปไม่ได้ ถ้าปราศจากความปรารถนาอันแรงกล้าและจริงใจ ซึ่งปลุกมวลชนกรรมาชีพในประเทศจีนให้ตื่นขึ้นและสามารถกระทำการเป็นผลสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์ ดังปรากฏเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วตามคำแถลงนโยบายของซุนยัดเซนทุกประการ
แต่การนิยมจีนในลัทธินารอดก็ผสมผสานลัทธินิยมทางประชาธิปไตยเข้ากับความใฝ่ฝันในทางสังคมนิยมซึ่งหวังจะให้จีนพ้นจากความครอบงำของลัทธินายทุนประการหนึ่ง กับมีแผนจะสนับสนุนให้จีนได้มีการปฏิรูปทางเกษตรกรรมอีกประการหนึ่ง นี่คือการมีแนวโน้มทางลัทธินิยมและทางการเมืองตามแบบลัทธินารอดตามความหมายที่ว่า ลัทธินี้มีความผิดแผกจากลัทธิประชาธิปไตย แต่ก็เป็นปัจจัยที่สนับสนุนลัทธิประชาธิปไตย
แนวโน้มเช่นกล่าวข้างต้น มีความเป็นมาอย่างไรและมีความสำคัญเพียงใด จะได้กล่าวดังต่อไปนี้
หากมวลชนจีนมิได้ตื่นตัวขึ้นเป็นอย่างมากในทางมีจิตใจปฏิวัติ ฝ่ายประชาธิปไตยก็จะไม่สามารถโค่นล้มระบอบเก่า และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นในประเทศนั้นได้ การตื่นตัวของจิตใจปฏิวัติได้ทำให้เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อภาวะของชนกรรมาชีพในประเทศจีน และทำให้เกิดความรู้สึกชิงชังอย่างที่สุดต่อผู้กดขี่และผู้แสวงหาผลประโยชน์ในประเทศนั้น ขณะเดียวกัน ทางยุโรปและอเมริกา ก็มีการใช้ลัทธิสังคมนิยมเป็นเครื่องมือปลดแอกจากชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย ทำให้นักประชาธิปไตยในประเทศจีนเกิดความเลื่อมใสในลัทธิสังคมนิยมขึ้นด้วย
นักประชาธิปไตยจีนเกิดความเลื่อมใสในลัทธิสังคมนิยมเพราะไม่เห็นชอบด้วยกับการกดขี่และการแสวงหาประโยชน์จากมวลชน แต่ภาวะของประเทศจีนก็อยู่ในลักษณะเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ล้าหลังและยังอยู่ในกึ่งสมัยขุนศึกหรือสมัยกลางกับมีพลเมืองเป็นจำนวนมากถึงเกือบ ๕๐๐ ล้านคน (ในปี ๑๙๑๒)มาตรฐานทางเศรษฐกิจของสมัยกลางย่อมขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นส่วนมากที่สุด และโดยนัยนั้นชนชั้นที่แสวงหาประโยชน์ จึงกระทำการแสวงหาประโยชน์จากกสิกรชาวนา โดยฉวยโอกาสจากข้อที่ว่าบรรดากสิกรชาวนาถือว่าพวกเขามีส่วนผูกพันอยู่กับที่ดินทำกินไม่ในรูปแบบใดก็รูปหนึ่ง ดังนี้ โครงการปฏิวัติของซุนยัดเซนจึงเป็นไปในแบบกึ่งสังคมนิยมและมีแนวโน้มไปทางลัทธินารอดเพราะมุ่งหมายจะปฏิรูปเกษตรกรรมของจีนให้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยด้วย
อย่างไรก็ดี ซุนยัดเซนก็ยังยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ความจำเป็นบังคับให้เขาต้องกล่าวในทำนองขัดแย้งกับลัทธินารอดว่าจำเป็นจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าของจีนอย่างขนานใหญ่เหมือนกัน เพื่อให้มีศูนย์กลางอุตสาหกรรมการค้าอย่างเมืองเซี่ยงไฮ้อีกหลายแห่งภายใน ๕๐ ปีข้างหน้า ถึงแม้ใครจะว่าเป็นการพัฒนาตามลัทธินายทุนก็ตามที
ปัญหาจึงมีว่า โครงการพัฒนาเศรษฐกิจของซุนยัดเซนทั้งในทางเกษตรกรรมและอุตสาหรรมมีลักษณะเป็นไปตามลัทธิทุนนิยมหรือไม่ ? ตอบได้ว่าใช่ แต่ทว่าเป็นลัทธินายทุนแบบบริสุทธิ์และเหมาะสมในทางอุดมการณ์อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ คาร์ล มาร์กซ์ ก็ได้ให้คำชี้แจงในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดแจ้งในหนังสือของเขาชื่อ “ความยากจนของปรัชญา” (The Provery of Philosophy) และ หนังสือ คาปิตาล (Capital) เล่มสามด้วย
แต่การนิยมจีนในลัทธินารอดก็ผสมผสานลัทธินิยมทางประชาธิปไตยเข้ากับความใฝ่ฝันในทางสังคมนิยมซึ่งหวังจะให้จีนพ้นจากความครอบงำของลัทธินายทุนประการหนึ่ง กับมีแผนจะสนับสนุนให้จีนได้มีการปฏิรูปทางเกษตรกรรมอีกประการหนึ่ง นี่คือการมีแนวโน้มทางลัทธินิยมและทางการเมืองตามแบบลัทธินารอดตามความหมายที่ว่า ลัทธินี้มีความผิดแผกจากลัทธิประชาธิปไตย แต่ก็เป็นปัจจัยที่สนับสนุนลัทธิประชาธิปไตย
แนวโน้มเช่นกล่าวข้างต้น มีความเป็นมาอย่างไรและมีความสำคัญเพียงใด จะได้กล่าวดังต่อไปนี้
หากมวลชนจีนมิได้ตื่นตัวขึ้นเป็นอย่างมากในทางมีจิตใจปฏิวัติ ฝ่ายประชาธิปไตยก็จะไม่สามารถโค่นล้มระบอบเก่า และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นในประเทศนั้นได้ การตื่นตัวของจิตใจปฏิวัติได้ทำให้เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อภาวะของชนกรรมาชีพในประเทศจีน และทำให้เกิดความรู้สึกชิงชังอย่างที่สุดต่อผู้กดขี่และผู้แสวงหาผลประโยชน์ในประเทศนั้น ขณะเดียวกัน ทางยุโรปและอเมริกา ก็มีการใช้ลัทธิสังคมนิยมเป็นเครื่องมือปลดแอกจากชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย ทำให้นักประชาธิปไตยในประเทศจีนเกิดความเลื่อมใสในลัทธิสังคมนิยมขึ้นด้วย
นักประชาธิปไตยจีนเกิดความเลื่อมใสในลัทธิสังคมนิยมเพราะไม่เห็นชอบด้วยกับการกดขี่และการแสวงหาประโยชน์จากมวลชน แต่ภาวะของประเทศจีนก็อยู่ในลักษณะเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ล้าหลังและยังอยู่ในกึ่งสมัยขุนศึกหรือสมัยกลางกับมีพลเมืองเป็นจำนวนมากถึงเกือบ ๕๐๐ ล้านคน (ในปี ๑๙๑๒)มาตรฐานทางเศรษฐกิจของสมัยกลางย่อมขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นส่วนมากที่สุด และโดยนัยนั้นชนชั้นที่แสวงหาประโยชน์ จึงกระทำการแสวงหาประโยชน์จากกสิกรชาวนา โดยฉวยโอกาสจากข้อที่ว่าบรรดากสิกรชาวนาถือว่าพวกเขามีส่วนผูกพันอยู่กับที่ดินทำกินไม่ในรูปแบบใดก็รูปหนึ่ง ดังนี้ โครงการปฏิวัติของซุนยัดเซนจึงเป็นไปในแบบกึ่งสังคมนิยมและมีแนวโน้มไปทางลัทธินารอดเพราะมุ่งหมายจะปฏิรูปเกษตรกรรมของจีนให้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยด้วย
อย่างไรก็ดี ซุนยัดเซนก็ยังยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ความจำเป็นบังคับให้เขาต้องกล่าวในทำนองขัดแย้งกับลัทธินารอดว่าจำเป็นจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าของจีนอย่างขนานใหญ่เหมือนกัน เพื่อให้มีศูนย์กลางอุตสาหกรรมการค้าอย่างเมืองเซี่ยงไฮ้อีกหลายแห่งภายใน ๕๐ ปีข้างหน้า ถึงแม้ใครจะว่าเป็นการพัฒนาตามลัทธินายทุนก็ตามที
ปัญหาจึงมีว่า โครงการพัฒนาเศรษฐกิจของซุนยัดเซนทั้งในทางเกษตรกรรมและอุตสาหรรมมีลักษณะเป็นไปตามลัทธิทุนนิยมหรือไม่ ? ตอบได้ว่าใช่ แต่ทว่าเป็นลัทธินายทุนแบบบริสุทธิ์และเหมาะสมในทางอุดมการณ์อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ คาร์ล มาร์กซ์ ก็ได้ให้คำชี้แจงในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดแจ้งในหนังสือของเขาชื่อ “ความยากจนของปรัชญา” (The Provery of Philosophy) และ หนังสือ คาปิตาล (Capital) เล่มสามด้วย
No comments:
Post a Comment